คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตกว่า 7 ล้านคน

แสดงความคิดเห็น

หญิงสาวนั่งซึมเศร้า

กรมสุขภาพจิตเผยผลสำรวจล่าสุดในปี 2556 พบคนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศมีปัญหาสุขภาพจิตกว่า 7 ล้านคน ขณะที่มีจิตแพทย์และพยาบาลจิตเวชทั่วประเทศเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ต้องมีตามมาตรฐาน โดยเร่งแก้ไขโดยให้ 3 หน่วยงานในสังกัดผลิตจิตแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเปิดหลักสูตรระยะสั้นอบรมแพทย์ พยาบาลรวม จากการประเมินผลพบว่าผู้ป่วยโรคจิตเวชซึ่งทั่วประเทศมีเกือบ 6 แสนคน เข้าถึงบริการรักษามากกว่าเดิมถึงเท่าตัว ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 70

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ที่มหาวิทยาลัยพะเยา จ.พะเยา น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือเอ็มโอยู ( MOU) กับ ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ม.พะเยา ในการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์และสาธารณสุขของ ม.พะเยาให้มีคุณภาพมาตรฐาน และให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยมีมากและหลากหลายขึ้น ผลสำรวจระดับชาติ โดยกรมสุขภาพจิตล่าสุดในปี 2556 พบว่าคนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ เจ็บป่วยจากโรคจิตเวช มีปัญหาสุขภาพจิต ดื่มสุราและใช้สารเสพติดเฉลี่ยร้อยละ 14 หรือประมาณ 7.16 ล้านคน ขณะที่จำนวนของบุคลากรสุขภาพจิตยังมีน้อยและขาดแคลน โดยเฉพาะ 2 วิชาชีพหลักคือ จิตแพทย์และพยาบาลจิตเวช โดยจิตแพทย์ทั้งประเทศมีเพียง 675 คน ซึ่งต่ำกว่าจำนวนที่น่าจะเป็นคือ 1,319 คน คิดตามอัตราเฉลี่ยจิตแพทย์ 2 คนต่อประชากร 1 แสนคน ส่วนจำนวนพยาบาลจิตเวชปัจจุบันมีเพียง 3,422 คน ยังต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งต้องมีค่าเฉลี่ยพยาบาลจิตเวช 7.1 คนต่อประชากร 1 แสนคน และยังขาดพยาบาลจิตเวชสำหรับเด็กและวัยรุ่นอย่างมาก ปัจจุบันกรมสุขภาพจิตได้เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและการกระจายตัวให้ครอบคลุมเขตสุขภาพ 13 เขตทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพจิตเข้าถึงบริการใกล้บ้านที่สุดและทั่วถึงเช่นเดียวกับโรคเรื้อรังทั่วไป โดยใช้ 2 มาตรการหลักคือ จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นให้แพทย์และพยาบาลทั่วไป และผลิตจิตแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการรักษาโรคที่ยุ่งยากซับซ้อน

อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวต่อว่า ในการอบรมแพทย์ระยะสั้นได้ร่วมกับแพทยสภาจัดหลักสูตรแพทย์สาขาเวชศาสตร์ป้องกันแขนงสุขภาพจิต ใช้เวลาอบรมเพียง 1 เดือน ขณะนี้มีแพทย์ทั่วไปผ่านการอบรมและได้รับวุฒิบัตรสาขาจิตเวชแล้ว 904 คน ในปีนี้อบรมอีก 79 คน ส่วนความร่วมมือในการผลิตจิตแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในปีนี้ได้เปิดสถาบันผลิตสาขาจิตเวชศาสตร์เพิ่มอีก 1 แห่งคือ ที่โรงพยาบาลศรีธัญญา ซึ่งเดิมมีผลิตเพียง 2 แห่งคือ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา และ รพ.ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ทั้ง 3 แห่งนี้มีความเชี่ยวชาญทั้งโรคจิตเวชในผู้ใหญ่และในเด็ก ผลิตได้ปีละ 12 คน ในส่วนของพยาบาลได้ร่วมกับสภาการพยาบาล จัดหลักสูตรอบรมพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชผู้ใหญ่ เด็กและวัยรุ่น ระยะเวลา 4 เดือน เพื่อกระจายพยาบาลจิตเวชให้มีครอบคลุมทุกตำบล ขณะนี้อบรมไปแล้ว 3,919 คน ในปี 2560 นี้จะอบรมต่อเนื่องต่อไป

จากการประเมินผลพบว่า สามารถบรรเทาปัญหาขาดแคลนบุคลากรได้ดีขึ้น โดยมีจำนวนจิตแพทย์และพยาบาลจิตเวชทำงานเพิ่มขึ้นในพื้นที่ ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคจิตเวชสำคัญมีโอกาสเข้าถึงบริการได้มากกว่าเดิม เช่น โรคซึมเศร้าซึ่งมีผู้ป่วยประมาณ 1.5 ล้านคน เข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวเป็นเกือบร้อยละ 50 โรคจิตเวชซึ่งทั่วประเทศมีเกือบ 6 แสนคน เข้าถึงบริการรักษาได้มากกว่าเดิมถึงเท่าตัว ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 70 เด็กสมาธิสั้นเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 10 เป็นต้น เชื่อมั่นว่าผลของการพัฒนาบุคลากรจะส่งผลให้ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและผู้ป่วยจิตเวชได้เข้าถึงบริการ รวมทั้งปัญหาการกำเริบซ้ำของอาการทางจิตมีแนวโน้มจะลดลงในอนาคต

สำหรับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพะเยาครั้งนี้ กรมสุขภาพจิตได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด 4 แห่ง คือ โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลสวนปรุง โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ และสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งมีความพร้อมทุกด้าน เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติแก่นักศึกษาแพทย์ในชั้นคลินิก คือชั้นปีที่ 4 ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งจะเป็นผลดี ทำให้เกิดการพัฒนาวิชาการ และปลูกฝังให้นักศึกษาแพทย์เข้าใจปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่วมจัดทำร่างหลักสูตร คาดว่าจะเริ่มจัดการเรียนภายในปี 2563

ขอบคุณ... https://goo.gl/hDFz4v (ขนาดไฟล์: 0 )

ที่มา: thaihealth.or.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 พ.ค.60
วันที่โพสต์: 16/05/2560 เวลา 10:25:34 ดูภาพสไลด์โชว์ คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตกว่า 7 ล้านคน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หญิงสาวนั่งซึมเศร้า กรมสุขภาพจิตเผยผลสำรวจล่าสุดในปี 2556 พบคนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศมีปัญหาสุขภาพจิตกว่า 7 ล้านคน ขณะที่มีจิตแพทย์และพยาบาลจิตเวชทั่วประเทศเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ต้องมีตามมาตรฐาน โดยเร่งแก้ไขโดยให้ 3 หน่วยงานในสังกัดผลิตจิตแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเปิดหลักสูตรระยะสั้นอบรมแพทย์ พยาบาลรวม จากการประเมินผลพบว่าผู้ป่วยโรคจิตเวชซึ่งทั่วประเทศมีเกือบ 6 แสนคน เข้าถึงบริการรักษามากกว่าเดิมถึงเท่าตัว ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 70 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ที่มหาวิทยาลัยพะเยา จ.พะเยา น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือเอ็มโอยู ( MOU) กับ ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ม.พะเยา ในการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์และสาธารณสุขของ ม.พะเยาให้มีคุณภาพมาตรฐาน และให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยมีมากและหลากหลายขึ้น ผลสำรวจระดับชาติ โดยกรมสุขภาพจิตล่าสุดในปี 2556 พบว่าคนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ เจ็บป่วยจากโรคจิตเวช มีปัญหาสุขภาพจิต ดื่มสุราและใช้สารเสพติดเฉลี่ยร้อยละ 14 หรือประมาณ 7.16 ล้านคน ขณะที่จำนวนของบุคลากรสุขภาพจิตยังมีน้อยและขาดแคลน โดยเฉพาะ 2 วิชาชีพหลักคือ จิตแพทย์และพยาบาลจิตเวช โดยจิตแพทย์ทั้งประเทศมีเพียง 675 คน ซึ่งต่ำกว่าจำนวนที่น่าจะเป็นคือ 1,319 คน คิดตามอัตราเฉลี่ยจิตแพทย์ 2 คนต่อประชากร 1 แสนคน ส่วนจำนวนพยาบาลจิตเวชปัจจุบันมีเพียง 3,422 คน ยังต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งต้องมีค่าเฉลี่ยพยาบาลจิตเวช 7.1 คนต่อประชากร 1 แสนคน และยังขาดพยาบาลจิตเวชสำหรับเด็กและวัยรุ่นอย่างมาก ปัจจุบันกรมสุขภาพจิตได้เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและการกระจายตัวให้ครอบคลุมเขตสุขภาพ 13 เขตทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพจิตเข้าถึงบริการใกล้บ้านที่สุดและทั่วถึงเช่นเดียวกับโรคเรื้อรังทั่วไป โดยใช้ 2 มาตรการหลักคือ จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นให้แพทย์และพยาบาลทั่วไป และผลิตจิตแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการรักษาโรคที่ยุ่งยากซับซ้อน อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวต่อว่า ในการอบรมแพทย์ระยะสั้นได้ร่วมกับแพทยสภาจัดหลักสูตรแพทย์สาขาเวชศาสตร์ป้องกันแขนงสุขภาพจิต ใช้เวลาอบรมเพียง 1 เดือน ขณะนี้มีแพทย์ทั่วไปผ่านการอบรมและได้รับวุฒิบัตรสาขาจิตเวชแล้ว 904 คน ในปีนี้อบรมอีก 79 คน ส่วนความร่วมมือในการผลิตจิตแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในปีนี้ได้เปิดสถาบันผลิตสาขาจิตเวชศาสตร์เพิ่มอีก 1 แห่งคือ ที่โรงพยาบาลศรีธัญญา ซึ่งเดิมมีผลิตเพียง 2 แห่งคือ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา และ รพ.ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ทั้ง 3 แห่งนี้มีความเชี่ยวชาญทั้งโรคจิตเวชในผู้ใหญ่และในเด็ก ผลิตได้ปีละ 12 คน ในส่วนของพยาบาลได้ร่วมกับสภาการพยาบาล จัดหลักสูตรอบรมพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชผู้ใหญ่ เด็กและวัยรุ่น ระยะเวลา 4 เดือน เพื่อกระจายพยาบาลจิตเวชให้มีครอบคลุมทุกตำบล ขณะนี้อบรมไปแล้ว 3,919 คน ในปี 2560 นี้จะอบรมต่อเนื่องต่อไป จากการประเมินผลพบว่า สามารถบรรเทาปัญหาขาดแคลนบุคลากรได้ดีขึ้น โดยมีจำนวนจิตแพทย์และพยาบาลจิตเวชทำงานเพิ่มขึ้นในพื้นที่ ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคจิตเวชสำคัญมีโอกาสเข้าถึงบริการได้มากกว่าเดิม เช่น โรคซึมเศร้าซึ่งมีผู้ป่วยประมาณ 1.5 ล้านคน เข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวเป็นเกือบร้อยละ 50 โรคจิตเวชซึ่งทั่วประเทศมีเกือบ 6 แสนคน เข้าถึงบริการรักษาได้มากกว่าเดิมถึงเท่าตัว ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 70 เด็กสมาธิสั้นเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 10 เป็นต้น เชื่อมั่นว่าผลของการพัฒนาบุคลากรจะส่งผลให้ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและผู้ป่วยจิตเวชได้เข้าถึงบริการ รวมทั้งปัญหาการกำเริบซ้ำของอาการทางจิตมีแนวโน้มจะลดลงในอนาคต สำหรับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพะเยาครั้งนี้ กรมสุขภาพจิตได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด 4 แห่ง คือ โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลสวนปรุง โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ และสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งมีความพร้อมทุกด้าน เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติแก่นักศึกษาแพทย์ในชั้นคลินิก คือชั้นปีที่ 4 ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งจะเป็นผลดี ทำให้เกิดการพัฒนาวิชาการ และปลูกฝังให้นักศึกษาแพทย์เข้าใจปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่วมจัดทำร่างหลักสูตร คาดว่าจะเริ่มจัดการเรียนภายในปี 2563 ขอบคุณ... https://goo.gl/hDFz4v

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...