21 มีนาคม วันดาวน์ซินโดรมโลก

แสดงความคิดเห็น

วันดาวน์ซินโดรมโลก (WDSD)

"วันดาวน์ซินโดรมโลก (WDSD) ตรงกับวันที่ 21 มีนาคมของทุกปี ในวันนี้ องค์การดาวน์ซินโดรมทั่วโลกจะจัดและเข้าร่วมงานที่ต้องการให้สาธารณชน เพิ่มความตระหนักเกี่ยวกับดาวน์ซินโดรม โดยมีการจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 ในประเทศสิงคโปร์ และปัจจุบัน มีการจัดงานขึ้นโดยสมาคมดาวน์ซินโดรมในหลายประเทศ" "ดาวน์ซินโดรม ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกเป็นความผิดปกติของโครโมโซมใน ค.ศ. 1959 โดยกุมารแพทย์และนักพันธุศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เจอโรม เลอเจอร์ เด็กทารก 1 คน ใน 733 คนป่วยด้วยโรคดาวน์ซินโดรมแต่กำเนิดในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว มีผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมถึงกว่า 400,000 คนซึ่งวันดังกล่าวได้รับการเลือกโดย Down Syndrome International (DSI) เพื่อบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้อย่างเดียวของความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 และถูกใช้โดยมีความหมายเดียวกันกับดาวน์ซินโดรมดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม แบ่งสาเหตุได้เป็น 3 กลุ่ม คือ1. การมีโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า TRISOMY 21 นับเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โดยมีมากถึง 95% 2. การที่มีสารพันธุกรรมของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา แต่จำนวนแท่งของโครโมโซมไม่เพิ่มขึ้น คือโครโมโซมมีการเคลื่อนที่ หรือที่เรียกกันว่า TRANSLOCATION เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 เป็นต้น ซึ่งพบได้ 4%3. มีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่งในคนๆ เดียว พบได้เพียง 1% เท่านั้นเรียกว่า MOSAIC เป็นสาเหตุที่พบได้น้อยที่สุด โดยพบได้เพียง 1% เท่านั้น

ลักษณะเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมจะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน ตาห่าง และเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น นิ้วก้อยโค้งงอ ลายมือมีลักษณะมีเส้นขวางฝ่ามือ (Simian line) อาจมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิดปัญหาสำคัญที่สุดของเด็กกลุ่มนี้ คือ ระดับสติปัญญา (IQ) ต่ำกว่าเด็กปกติ หรือปัญญาอ่อน ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันหลายระดับ มักจะมีพัฒนาการช้า เด็กจะชันคอ นั่ง ยืน เดิน และพูดได้ช้ากว่าเด็กปกติ ถ้าไม่ได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม เด็กจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อัตราการเสี่ยงที่จะมีลูกป่วยเป็นดาวน์ซินโดรม ซึ่งโอกาสจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุมารดาขณะตั้งครรภ์ ประวัติทางครอบครัว เป็นต้น ซึ่งหญิงที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุเท่ากับหรือมากกว่า 35 ปี จะมีความเสี่ยงสูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่อายุน้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า หญิงตั้งครรภ์ที่อายุน้อยจะไม่มีโอกาสคลอดลูกเป็นดาวน์ซินโดรมเลยการป้องกันการเกิดโรคดาวน์ซินโดรมสามารถป้องกันโดยการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด โดยแพทย์สามารถเจาะน้ำคร่ำมาตรวจดูโครโมโซมของเด็กในครรภ์ว่าผิดปกติหรือไม่ หากพบความผิดปกติคู่สามีภรรยาอาจเลือกยุติการตั้งครรภ์ได้ หรือหากมีเด็กป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรม ควรให้การดูแลอย่างใกล้ชิดและพาไปตรวจพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจสอบความผิดปกติในภาวะการเจริญเติบโต"

ขอบคุณ... http://www.nationtv.tv/main/content/social/378539536/ (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: nationtv.tvออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 มี.ค.60
วันที่โพสต์: 28/03/2560 เวลา 10:16:02 ดูภาพสไลด์โชว์ 21 มีนาคม วันดาวน์ซินโดรมโลก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

วันดาวน์ซินโดรมโลก (WDSD) "วันดาวน์ซินโดรมโลก (WDSD) ตรงกับวันที่ 21 มีนาคมของทุกปี ในวันนี้ องค์การดาวน์ซินโดรมทั่วโลกจะจัดและเข้าร่วมงานที่ต้องการให้สาธารณชน เพิ่มความตระหนักเกี่ยวกับดาวน์ซินโดรม โดยมีการจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 ในประเทศสิงคโปร์ และปัจจุบัน มีการจัดงานขึ้นโดยสมาคมดาวน์ซินโดรมในหลายประเทศ" "ดาวน์ซินโดรม ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกเป็นความผิดปกติของโครโมโซมใน ค.ศ. 1959 โดยกุมารแพทย์และนักพันธุศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เจอโรม เลอเจอร์ เด็กทารก 1 คน ใน 733 คนป่วยด้วยโรคดาวน์ซินโดรมแต่กำเนิดในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว มีผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมถึงกว่า 400,000 คนซึ่งวันดังกล่าวได้รับการเลือกโดย Down Syndrome International (DSI) เพื่อบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้อย่างเดียวของความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 และถูกใช้โดยมีความหมายเดียวกันกับดาวน์ซินโดรมดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม แบ่งสาเหตุได้เป็น 3 กลุ่ม คือ1. การมีโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า TRISOMY 21 นับเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โดยมีมากถึง 95% 2. การที่มีสารพันธุกรรมของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา แต่จำนวนแท่งของโครโมโซมไม่เพิ่มขึ้น คือโครโมโซมมีการเคลื่อนที่ หรือที่เรียกกันว่า TRANSLOCATION เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 เป็นต้น ซึ่งพบได้ 4%3. มีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่งในคนๆ เดียว พบได้เพียง 1% เท่านั้นเรียกว่า MOSAIC เป็นสาเหตุที่พบได้น้อยที่สุด โดยพบได้เพียง 1% เท่านั้น ลักษณะเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมจะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน ตาห่าง และเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น นิ้วก้อยโค้งงอ ลายมือมีลักษณะมีเส้นขวางฝ่ามือ (Simian line) อาจมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิดปัญหาสำคัญที่สุดของเด็กกลุ่มนี้ คือ ระดับสติปัญญา (IQ) ต่ำกว่าเด็กปกติ หรือปัญญาอ่อน ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันหลายระดับ มักจะมีพัฒนาการช้า เด็กจะชันคอ นั่ง ยืน เดิน และพูดได้ช้ากว่าเด็กปกติ ถ้าไม่ได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม เด็กจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อัตราการเสี่ยงที่จะมีลูกป่วยเป็นดาวน์ซินโดรม ซึ่งโอกาสจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุมารดาขณะตั้งครรภ์ ประวัติทางครอบครัว เป็นต้น ซึ่งหญิงที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุเท่ากับหรือมากกว่า 35 ปี จะมีความเสี่ยงสูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่อายุน้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า หญิงตั้งครรภ์ที่อายุน้อยจะไม่มีโอกาสคลอดลูกเป็นดาวน์ซินโดรมเลยการป้องกันการเกิดโรคดาวน์ซินโดรมสามารถป้องกันโดยการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด โดยแพทย์สามารถเจาะน้ำคร่ำมาตรวจดูโครโมโซมของเด็กในครรภ์ว่าผิดปกติหรือไม่ หากพบความผิดปกติคู่สามีภรรยาอาจเลือกยุติการตั้งครรภ์ได้ หรือหากมีเด็กป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรม ควรให้การดูแลอย่างใกล้ชิดและพาไปตรวจพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจสอบความผิดปกติในภาวะการเจริญเติบโต" ขอบคุณ... http://www.nationtv.tv/main/content/social/378539536/

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...