สร้างเสริมกลไกรองรับ‘เด็กออทิสติก’ดูแลดี‘เป็นเลิศได้!’

แสดงความคิดเห็น

พยาบาลกระตุ้นพัฒนาการการเรียนรู้ให้กับเด็กออทิสติก

“มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี แต่เนื่องจากข้อจำกัดหน่วยบริการสาธารณสุขและบุคลากรไม่เพียงพอ ปัจจุบันมีจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นประมาณ 100 คนทั่วประเทศ ขณะที่พยาบาลกระตุ้นพัฒนาการมีน้อยมาก สถาบันที่ให้การอบรมสามารถอบรมได้ปีละ 30 คน ในอนาคตจึงดำเนินการให้เด็กกลุ่มเด็กพิเศษเข้าถึงบริการมากขึ้น”

... นี่เป็นการระบุถึงกลุ่ม ’เด็กพิเศษ“ หรือ ’เด็กออทิสติก“ โดยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นพ.วินัย สวัสดิวร ระหว่างดูงานการดำเนินงานเพื่อดูแลเด็กพิเศษครบวงจรที่ จ.ระนอง ซึ่งที่โรงพยาบาลระนองนั้น ปี 2553 มีผู้ป่วยนอกออทิสติก 6,753 คน เข้ารับบริการ 28,005 ครั้ง, ปี 2554 มี 12,531 คน เข้ารับบริการ 75,817 ครั้ง, ปี 2555 มี 15,234 คน เข้ารับบริการ 108,298 ครั้ง

ทั้งนี้ กลุ่มเด็กพิเศษเป็นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าไม่เป็นไปตามวัย มีพัฒนาการบกพร่อง มีความผิดปกติด้านพัฒนาการอย่างรอบด้าน จะแสดงอาการชัดเจนในวัยเด็ก โดยพัฒนาการด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และการสื่อสาร จะไม่เป็นไปตามปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากความผิดปกติของระบบประสาทบางส่วนจากหลายสาเหตุ

เด็กกลุ่มนี้นับวันจะเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย และกับการดูแลเด็กกลุ่มนี้ นพ.วินัยระบุว่า...แม้การดูแลเด็กพิเศษก็อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของ สปสช. แต่ส่วนตัวเห็นว่าสิ่งสำคัญคือ ต้องสร้างกลไกของระบบที่ใกล้บ้านมากที่สุด รวมถึงพ่อและแม่ ที่ถือเป็นคนใกล้ชิดเด็กมากที่สุด ซึ่งต้องช่วยให้สามารถพบว่าลูกเป็นออทิสติกหรือไม่ในเวลาที่รวดเร็ว เพราะถือเป็นส่วนที่สำคัญมากในกระบวนการรักษา โดยในวันที่ 11-12 ก.ค.2556สปสช.ก็ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องนี้

การประชุมดังกล่าวนี้จัดขึ้นเพื่อระดมความเห็นเกี่ยวกับการจัดระบบดูแล พัฒนาการเด็ก ตั้งแต่การดูแลโดยพ่อแม่ ชุมชน หน่วยบริการ และการดูแลต่อเนื่องในชุมชน ซึ่ง สปสช. สนับสนุนโรงพยาบาล ที่มีการจัดบริการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า โดยปัจจุบันมีโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการ 42 แห่งทั่วประเทศ

“การเริ่มต้นให้ผู้ป่วยเข้าถึงสิทธิ จำเป็นจะต้องมีการบูรณาการทุกด้าน จำเป็นต้องวางแนวคิด สร้างโมเดล และออกแบบระบบว่าจะทำให้เกิดการบริหารคนและงบประมาณอย่างไร ส่วนเรื่องการตั้งกองทุนเฉพาะโรคด้านออทิสติก ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจำเป็นต้องให้งบพิเศษด้านนี้ เพื่อบูรณาการทุกฝ่าย ทั้งการให้ยา การสร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองเกี่ยวกับการสังเกตอาการบุตรหลาน รวมทั้งโรงเรียนต้องให้ความสำคัญ ซึ่งเรื่องยานั้นที่ผ่านมา สปสช. ก็มีการ เพิ่มสิทธิการให้ยาริสเพอริโดน ซึ่งมีการให้อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ อยู่แล้ว เพราะถือเป็นสิทธิอัตโนมัติของผู้ป่วย”...เลขาธิการสปสช.ระบุ

ขณะที่ นพ.ทินกร พงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลระนอง ระบุไว้ว่า...หลังพบข้อมูลจากการสำรวจว่ามีเด็ก 11% ที่มีปัญหาพัฒนาการช้า ทางโรงพยาบาลระนองก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้มากขึ้นอีก โดยตั้งคลินิกพัฒนาการเด็กตั้งแต่ปี 2546 ดูแลแบบครบวงจร ตั้งแต่การรักษา การส่งเสริมพัฒนาการ และความร่วมมือกับผู้ปกครองและโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันให้การดูแลเด็กพิเศษประมาณ150คน

“เด็กพิเศษหรือเด็กออทิสติกส่วนใหญ่จะแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจนในระยะ 3 ขวบ ซึ่งอุบัติการณ์นั้นพบได้ 1 : 2,000 ของประชากรเด็ก และพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4-5 เท่า แต่ในเด็กหญิงมักมีความรุนแรงมากกว่าเด็กชาย นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดโรคในพี่น้องของเด็กออทิสติก 1 : 50”...นพ.ทินกร กล่าว และว่า...

การดูแลรักษาเด็กพิเศษกลุ่มนี้ควรมีการเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 2-3 ปี เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมาก ทั้งนี้ กับกรณีศึกษาการดูแลเด็กกลุ่มนี้ เสาวคนธ์ ประธานชมรมผู้ปกครองเด็กออทิสติก จ.ระนอง คุณแม่ของเด็กพิเศษที่ตอนนี้อายุ 12 ปี โดยมีความเป็นเลิศ ชนะเลิศการแข่งขันคณิตศาสตร์ระดับชาติ เล่าให้ฟังว่า...แรกเริ่มเธอก็รับไม่ได้เรื่องลูกเป็นเด็กออทิสติก จนได้ ปิยนุช อิสริยะวานิช พยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลเด็ก คลินิกพัฒนา การเด็ก ผู้จัดระบบเครือข่าย ให้ความรู้และแนะนำว่าหากผู้ปกครองไม่ ยอมรับจะเหมือนกำแพงกั้น จะทำอะไรไม่ได้เลย ต้องเปิดใจรับความจริง และยอมรับให้ได้ว่าการใช้ชีวิตของลูกจะไม่เหมือนเด็กปกติ ต้องดูแลเอาใจใส่เขาให้มาก จุดสำคัญคือเด็กกลุ่มนี้ต้องการความอบอุ่น และต้องการอยู่ในสังคมให้ได้

“พ่อแม่ผู้ปกครองต้องตั้งความหวังที่มันใกล้ ๆ อย่าตั้งความหวังไปไกลเกิน เช่นตอนนี้ลูกยังพูดไม่ได้ ก็ตั้งไว้ว่าต่อไปลูกเราจะพูดได้เป็นคำ ๆ เอาแค่นั้นก่อน พอลูกพูดได้เป็นคำแล้ว ต่อไปลูกจะพูดเป็นประโยค อย่าไปคิดว่าลูกจะพูดไม่ได้ ต้องเป็นสเต็ป ๆ เรามาแลกเปลี่ยนให้ความรู้และให้กำลังใจกันในชมรม เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครอง มีกำลังใจสามารถเลี้ยงลูกได้ดีเด็กก็จะมีพัฒนาการดีขึ้น” นี่ก็เป็นสถานการณ์ และพร้อมด้วยกรณีศึกษากับเรื่องเกี่ยวกับ ’เด็กพิเศษ-เด็กออทิสติก“ที่ทั้งรัฐและประชาชนต้องให้ความสำคัญ!!!.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/219623

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 18/07/2556 เวลา 03:36:59 ดูภาพสไลด์โชว์ สร้างเสริมกลไกรองรับ‘เด็กออทิสติก’ดูแลดี‘เป็นเลิศได้!’

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พยาบาลกระตุ้นพัฒนาการการเรียนรู้ให้กับเด็กออทิสติก “มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี แต่เนื่องจากข้อจำกัดหน่วยบริการสาธารณสุขและบุคลากรไม่เพียงพอ ปัจจุบันมีจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นประมาณ 100 คนทั่วประเทศ ขณะที่พยาบาลกระตุ้นพัฒนาการมีน้อยมาก สถาบันที่ให้การอบรมสามารถอบรมได้ปีละ 30 คน ในอนาคตจึงดำเนินการให้เด็กกลุ่มเด็กพิเศษเข้าถึงบริการมากขึ้น” ... นี่เป็นการระบุถึงกลุ่ม ’เด็กพิเศษ“ หรือ ’เด็กออทิสติก“ โดยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นพ.วินัย สวัสดิวร ระหว่างดูงานการดำเนินงานเพื่อดูแลเด็กพิเศษครบวงจรที่ จ.ระนอง ซึ่งที่โรงพยาบาลระนองนั้น ปี 2553 มีผู้ป่วยนอกออทิสติก 6,753 คน เข้ารับบริการ 28,005 ครั้ง, ปี 2554 มี 12,531 คน เข้ารับบริการ 75,817 ครั้ง, ปี 2555 มี 15,234 คน เข้ารับบริการ 108,298 ครั้ง ทั้งนี้ กลุ่มเด็กพิเศษเป็นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าไม่เป็นไปตามวัย มีพัฒนาการบกพร่อง มีความผิดปกติด้านพัฒนาการอย่างรอบด้าน จะแสดงอาการชัดเจนในวัยเด็ก โดยพัฒนาการด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และการสื่อสาร จะไม่เป็นไปตามปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากความผิดปกติของระบบประสาทบางส่วนจากหลายสาเหตุ เด็กกลุ่มนี้นับวันจะเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย และกับการดูแลเด็กกลุ่มนี้ นพ.วินัยระบุว่า...แม้การดูแลเด็กพิเศษก็อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของ สปสช. แต่ส่วนตัวเห็นว่าสิ่งสำคัญคือ ต้องสร้างกลไกของระบบที่ใกล้บ้านมากที่สุด รวมถึงพ่อและแม่ ที่ถือเป็นคนใกล้ชิดเด็กมากที่สุด ซึ่งต้องช่วยให้สามารถพบว่าลูกเป็นออทิสติกหรือไม่ในเวลาที่รวดเร็ว เพราะถือเป็นส่วนที่สำคัญมากในกระบวนการรักษา โดยในวันที่ 11-12 ก.ค.2556สปสช.ก็ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องนี้ การประชุมดังกล่าวนี้จัดขึ้นเพื่อระดมความเห็นเกี่ยวกับการจัดระบบดูแล พัฒนาการเด็ก ตั้งแต่การดูแลโดยพ่อแม่ ชุมชน หน่วยบริการ และการดูแลต่อเนื่องในชุมชน ซึ่ง สปสช. สนับสนุนโรงพยาบาล ที่มีการจัดบริการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า โดยปัจจุบันมีโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการ 42 แห่งทั่วประเทศ “การเริ่มต้นให้ผู้ป่วยเข้าถึงสิทธิ จำเป็นจะต้องมีการบูรณาการทุกด้าน จำเป็นต้องวางแนวคิด สร้างโมเดล และออกแบบระบบว่าจะทำให้เกิดการบริหารคนและงบประมาณอย่างไร ส่วนเรื่องการตั้งกองทุนเฉพาะโรคด้านออทิสติก ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจำเป็นต้องให้งบพิเศษด้านนี้ เพื่อบูรณาการทุกฝ่าย ทั้งการให้ยา การสร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองเกี่ยวกับการสังเกตอาการบุตรหลาน รวมทั้งโรงเรียนต้องให้ความสำคัญ ซึ่งเรื่องยานั้นที่ผ่านมา สปสช. ก็มีการ เพิ่มสิทธิการให้ยาริสเพอริโดน ซึ่งมีการให้อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ อยู่แล้ว เพราะถือเป็นสิทธิอัตโนมัติของผู้ป่วย”...เลขาธิการสปสช.ระบุ ขณะที่ นพ.ทินกร พงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลระนอง ระบุไว้ว่า...หลังพบข้อมูลจากการสำรวจว่ามีเด็ก 11% ที่มีปัญหาพัฒนาการช้า ทางโรงพยาบาลระนองก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้มากขึ้นอีก โดยตั้งคลินิกพัฒนาการเด็กตั้งแต่ปี 2546 ดูแลแบบครบวงจร ตั้งแต่การรักษา การส่งเสริมพัฒนาการ และความร่วมมือกับผู้ปกครองและโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันให้การดูแลเด็กพิเศษประมาณ150คน “เด็กพิเศษหรือเด็กออทิสติกส่วนใหญ่จะแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจนในระยะ 3 ขวบ ซึ่งอุบัติการณ์นั้นพบได้ 1 : 2,000 ของประชากรเด็ก และพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4-5 เท่า แต่ในเด็กหญิงมักมีความรุนแรงมากกว่าเด็กชาย นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดโรคในพี่น้องของเด็กออทิสติก 1 : 50”...นพ.ทินกร กล่าว และว่า... การดูแลรักษาเด็กพิเศษกลุ่มนี้ควรมีการเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 2-3 ปี เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมาก ทั้งนี้ กับกรณีศึกษาการดูแลเด็กกลุ่มนี้ เสาวคนธ์ ประธานชมรมผู้ปกครองเด็กออทิสติก จ.ระนอง คุณแม่ของเด็กพิเศษที่ตอนนี้อายุ 12 ปี โดยมีความเป็นเลิศ ชนะเลิศการแข่งขันคณิตศาสตร์ระดับชาติ เล่าให้ฟังว่า...แรกเริ่มเธอก็รับไม่ได้เรื่องลูกเป็นเด็กออทิสติก จนได้ ปิยนุช อิสริยะวานิช พยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลเด็ก คลินิกพัฒนา การเด็ก ผู้จัดระบบเครือข่าย ให้ความรู้และแนะนำว่าหากผู้ปกครองไม่ ยอมรับจะเหมือนกำแพงกั้น จะทำอะไรไม่ได้เลย ต้องเปิดใจรับความจริง และยอมรับให้ได้ว่าการใช้ชีวิตของลูกจะไม่เหมือนเด็กปกติ ต้องดูแลเอาใจใส่เขาให้มาก จุดสำคัญคือเด็กกลุ่มนี้ต้องการความอบอุ่น และต้องการอยู่ในสังคมให้ได้ “พ่อแม่ผู้ปกครองต้องตั้งความหวังที่มันใกล้ ๆ อย่าตั้งความหวังไปไกลเกิน เช่นตอนนี้ลูกยังพูดไม่ได้ ก็ตั้งไว้ว่าต่อไปลูกเราจะพูดได้เป็นคำ ๆ เอาแค่นั้นก่อน พอลูกพูดได้เป็นคำแล้ว ต่อไปลูกจะพูดเป็นประโยค อย่าไปคิดว่าลูกจะพูดไม่ได้ ต้องเป็นสเต็ป ๆ เรามาแลกเปลี่ยนให้ความรู้และให้กำลังใจกันในชมรม เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครอง มีกำลังใจสามารถเลี้ยงลูกได้ดีเด็กก็จะมีพัฒนาการดีขึ้น” นี่ก็เป็นสถานการณ์ และพร้อมด้วยกรณีศึกษากับเรื่องเกี่ยวกับ ’เด็กพิเศษ-เด็กออทิสติก“ที่ทั้งรัฐและประชาชนต้องให้ความสำคัญ!!!. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/219623 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...