ดูแลผู้ปวยโรคอัลไซเมอร์ 'เข้าใจ ห่วงใย ไม่ทอดทิ้ง'

แสดงความคิดเห็น

"โรคอัลไซเมอร์" เป็นภาวะที่พบมากขึ้นทุกวันในผู้สูงอายุ เนื่องจากโครงสร้างประชากรของไทยในปัจจุบันมีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมาก ขึ้นเรื่อยๆ โดยโรคอัลไซเมอร์นั้น แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะสำหรับตัวผู้ป่วยเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว คนรอบข้าง และสังคมด้วย

อาจจะเคยเห็นข่าวกันอยู่บ่อยๆ ว่า ผู้สูงอายุออกไปนอกบ้านลำพังหรือพลัดหลงกับบุตรหลานแล้วไม่สามารถตามตัวกลับบ้านได้ บางคนก็ถูกบุตรหลานทอดทิ้ง บางคนอาจประสบอุบัติเหตุหรือต้องกลายเป็นบุคคลเร่ร่อนไป ในปัจจุบันผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จำนวนมากถูกทอดทิ้งและไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่คนเหล่านี้ในอดีตเคยเป็นกำลังสำคัญในการเลี้ยงดูครอบครัว และทำงานสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ

โรคอัลไซเมอร์เป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดจากความผิดปกติในด้านการทำงานของสมอง จะมีการสูญเสียหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อมๆ กัน แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เกิดขึ้นอย่างถาวร ส่งผลให้มีการเสื่อมของระบบความจำและการใช้ความคิดด้านต่างๆ ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ พฤติกรรม และส่งผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงการดำรงชีวิตประจำวัน

ในระยะสุดท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด และจะค่อยๆ แย่ลงจนถึงอาการสุดท้าย คือ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และเสียชีวิต เพราะอาการแทรกซ้อนปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าสาเหตุส่วนหนึ่งอาจเกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรม รวมถึงปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้องด้วย เช่น อาหาร สิ่งแวดล้อม สารพิษ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการติดเชื้อบางชนิด เป็นต้น

สำหรับการรักษาโรคอัลไซเมอร์ในขณะ นี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยยาต่างๆ ที่ใช้รักษาโรคนี้ ช่วยเพียงแค่ควบคุมอาการของโรคเท่านั้น ดังนั้นผู้ป่วยโรคนี้จึงต้องมีผู้ดูแล เนื่องจากผู้ป่วยจำนวนมากไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ แนวทางการดูแลผู้ป่วย

1. ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจและยอมรับกับภาวะสมองเสื่อมของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องความจำ และการใช้ความคิดด้านต่างๆ ตลอดจนการสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเอง

2. ผู้ดูแลมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร บางครั้งผู้ป่วยอาจจะจำไม่ได้ว่าตนเองรับประทานอาหารหรือยัง การขับถ่ายอย่างถูกสุขอนามัย การอาบน้ำ สวมใส่เสื้อผ้า รวมไปถึงการดูแลผู้ป่วยเมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้านเพื่อไม่ให้เกิดการพลัดหลง กัน

3. การใช้ยาและพาไปพบแพทย์ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เช่น ยาที่ช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับ ซึมเศร้า ฯลฯ โดยผู้ดูแลควรช่วยในเรื่องการรับประทานยาให้สม่ำเสมอ และพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ตามที่แพทย์นัด ตลอดจนสังเกตการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยเพื่อแจ้งแก่แพทย์ผู้รักษาทราบได้ อย่างถูกต้อง

4. อุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยกับผู้ป่วย ดังนั้น ผู้ดูแลควรระมัดระวังและดูแลสถานที่ บ้านพักอาศัยให้มีความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย

5. การดูแลด้านจิตใจและอื่นๆ โดยการให้กำลังใจ การให้รับประทานอาหารอย่างพอเพียงและถูกหลักโภชนาการ ดูแลเรื่องการออกกำลังกาย รวมถึงการมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น การพาออกนอกบ้านเพื่อทำกิจกรรมหรือการเข้ากลุ่มกับผู้สูงอายุด้วยกัน หากผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อยู่ในช่วงระยะเริ่มต้น ซึ่งความจำยังไม่บกพร่องมาก ควรหากิจกรรมฝึกความจำให้แก่ผู้ป่วยเพื่อช่วยชะลออาการของภาวะสมองเสื่อมจาก โรคอัลไซเมอร์ได้

นอกจากการดูแลผู้ป่วยแล้ว ตัวผู้ดูแลเองก็ควรจะดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองด้วย เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ตลอดเวลาอาจก่อให้เกิดความเครียดหรือ ปัญหาด้านอารมณ์ บางครั้งผู้ดูแลอาจรู้สึกผิด ไม่มั่นใจในสิ่งที่ตนเองทำถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นนอกจากผู้ดูแลจะมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แล้ว ต้องดูแลสุขภาพจิตของตนเองด้วย

จัดอบรมผู้ดูแลผู้ปวย 'โรคอัลไซเมอร์' มูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย เห็นความสำคัญของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จึงได้จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ให้แก่ญาติผู้ ป่วยหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เป็นประจำทุกปี ในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน โดยเชิญทีมวิทยากรที่หลากหลายจากหลายหน่วยงานมาให้ความรู้ พร้อมกิจกรรมต่างๆ มากมายผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารการรับสมัครได้ที่ www.alz.or.th

ขอบคุณ... http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/35317

ที่มา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 3/07/2556 เวลา 03:30:54

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

"โรคอัลไซเมอร์" เป็นภาวะที่พบมากขึ้นทุกวันในผู้สูงอายุ เนื่องจากโครงสร้างประชากรของไทยในปัจจุบันมีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมาก ขึ้นเรื่อยๆ โดยโรคอัลไซเมอร์นั้น แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะสำหรับตัวผู้ป่วยเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว คนรอบข้าง และสังคมด้วย อาจจะเคยเห็นข่าวกันอยู่บ่อยๆ ว่า ผู้สูงอายุออกไปนอกบ้านลำพังหรือพลัดหลงกับบุตรหลานแล้วไม่สามารถตามตัวกลับบ้านได้ บางคนก็ถูกบุตรหลานทอดทิ้ง บางคนอาจประสบอุบัติเหตุหรือต้องกลายเป็นบุคคลเร่ร่อนไป ในปัจจุบันผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จำนวนมากถูกทอดทิ้งและไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่คนเหล่านี้ในอดีตเคยเป็นกำลังสำคัญในการเลี้ยงดูครอบครัว และทำงานสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ โรคอัลไซเมอร์เป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดจากความผิดปกติในด้านการทำงานของสมอง จะมีการสูญเสียหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อมๆ กัน แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เกิดขึ้นอย่างถาวร ส่งผลให้มีการเสื่อมของระบบความจำและการใช้ความคิดด้านต่างๆ ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ พฤติกรรม และส่งผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงการดำรงชีวิตประจำวัน ในระยะสุดท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด และจะค่อยๆ แย่ลงจนถึงอาการสุดท้าย คือ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และเสียชีวิต เพราะอาการแทรกซ้อนปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าสาเหตุส่วนหนึ่งอาจเกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรม รวมถึงปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้องด้วย เช่น อาหาร สิ่งแวดล้อม สารพิษ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการติดเชื้อบางชนิด เป็นต้น สำหรับการรักษาโรคอัลไซเมอร์ในขณะ นี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยยาต่างๆ ที่ใช้รักษาโรคนี้ ช่วยเพียงแค่ควบคุมอาการของโรคเท่านั้น ดังนั้นผู้ป่วยโรคนี้จึงต้องมีผู้ดูแล เนื่องจากผู้ป่วยจำนวนมากไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ แนวทางการดูแลผู้ป่วย 1. ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจและยอมรับกับภาวะสมองเสื่อมของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องความจำ และการใช้ความคิดด้านต่างๆ ตลอดจนการสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเอง 2. ผู้ดูแลมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร บางครั้งผู้ป่วยอาจจะจำไม่ได้ว่าตนเองรับประทานอาหารหรือยัง การขับถ่ายอย่างถูกสุขอนามัย การอาบน้ำ สวมใส่เสื้อผ้า รวมไปถึงการดูแลผู้ป่วยเมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้านเพื่อไม่ให้เกิดการพลัดหลง กัน 3. การใช้ยาและพาไปพบแพทย์ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เช่น ยาที่ช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับ ซึมเศร้า ฯลฯ โดยผู้ดูแลควรช่วยในเรื่องการรับประทานยาให้สม่ำเสมอ และพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ตามที่แพทย์นัด ตลอดจนสังเกตการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยเพื่อแจ้งแก่แพทย์ผู้รักษาทราบได้ อย่างถูกต้อง 4. อุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยกับผู้ป่วย ดังนั้น ผู้ดูแลควรระมัดระวังและดูแลสถานที่ บ้านพักอาศัยให้มีความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย 5. การดูแลด้านจิตใจและอื่นๆ โดยการให้กำลังใจ การให้รับประทานอาหารอย่างพอเพียงและถูกหลักโภชนาการ ดูแลเรื่องการออกกำลังกาย รวมถึงการมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น การพาออกนอกบ้านเพื่อทำกิจกรรมหรือการเข้ากลุ่มกับผู้สูงอายุด้วยกัน หากผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อยู่ในช่วงระยะเริ่มต้น ซึ่งความจำยังไม่บกพร่องมาก ควรหากิจกรรมฝึกความจำให้แก่ผู้ป่วยเพื่อช่วยชะลออาการของภาวะสมองเสื่อมจาก โรคอัลไซเมอร์ได้ นอกจากการดูแลผู้ป่วยแล้ว ตัวผู้ดูแลเองก็ควรจะดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองด้วย เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ตลอดเวลาอาจก่อให้เกิดความเครียดหรือ ปัญหาด้านอารมณ์ บางครั้งผู้ดูแลอาจรู้สึกผิด ไม่มั่นใจในสิ่งที่ตนเองทำถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นนอกจากผู้ดูแลจะมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แล้ว ต้องดูแลสุขภาพจิตของตนเองด้วย จัดอบรมผู้ดูแลผู้ปวย 'โรคอัลไซเมอร์' มูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย เห็นความสำคัญของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จึงได้จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ให้แก่ญาติผู้ ป่วยหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เป็นประจำทุกปี ในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน โดยเชิญทีมวิทยากรที่หลากหลายจากหลายหน่วยงานมาให้ความรู้ พร้อมกิจกรรมต่างๆ มากมายผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารการรับสมัครได้ที่ www.alz.or.th ขอบคุณ... http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/35317

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...