ป้องกันภัย “ลื่นล้ม” ช่วงหน้าฝน ปฐมพยาบาลถูกวิธี...ลดความเสี่ยง!

แสดงความคิดเห็น

นพ.ประวิทย์ สุขเจริญชัยกุล ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ  และรวมภาพผู้ประสบเหตุจากภาวะลื่นล้มส่งผลต่อกระดูกแขน-ขา

หน้าฝนนอกจากเรื่องสุขภาพที่เสี่ยงแล้ว “ภาวะลื่นล้ม” ถือเป็นอีกปัญหาน่าสนใจ เพราะการลื่นบางครั้งเหมือนไม่มีอะไรแต่จริงๆ แล้วมีผลข้างเคียงตามมามากมาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุหลังจากลื่นล้มหลายรายมีปัญหาถึงชีวิตจึงเป็นเรื่องที่ต้องระวังสำหรับหน้าฝนนี้

นพ.ประวิทย์ สุขเจริญชัยกุล ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ ให้ความเห็นว่า ช่วงหน้าฝนเมื่อล้มแล้วคนไข้ส่วนใหญ่มีปัญหาในการทรงตัวลำบาก เจอได้ทุกเพศทุกวัย ที่น่าเป็นห่วงคือผู้สูงอายุที่กระดูกเริ่มบางลง ผู้สูงอายุหลายคนลื่นในห้องน้ำ ห้องครัวหรือเพิ่งลุกจากที่นอนแล้วกำลังลงจากเตียงก็ลื่นได้ ส่วนเด็กพบมากเมื่ออยู่ที่โรงเรียนในการเล่นต่างๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนไม่ควรปูพื้นปูนในส่วนที่เด็กเล่นซึ่งมีความสูง

ด้านคนวัยทำงานปัญหาใหญ่ของการลื่นคือ ในระหว่างทำงานช่วงหน้าฝน หรือการขึ้นบันไดบนรถไฟฟ้า และการออกกำลังในช่วงฝนตกทำให้ลื่นหรือลงเท้าผิดจังหวะ“ส่วนที่หักและพบบ่อยเป็นกระดูกข้อมือ ขณะที่เด็กเป็นส่วนข้อศอก คนทำงานปัญหาอยู่ที่กระดูกข้อเท้า แต่ผู้สูงอายุพบทั้งข้อมือ ขา และสะโพก จะเห็นว่าส่วนที่หักซึ่งพบบ่อยเป็นจุดเปราะบางที่พอเวลาลื่นจะเอาส่วนนั้นๆลง

บางอาการของโรคกระดูกเวลาลื่นแล้วอาจไม่แสดงให้เห็นทันที แต่ซ่อนไว้คนไข้สามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ แต่พอใช้ส่วนที่มีอาการร้าวซ่อนอยู่คนไข้จะเริ่มเจ็บ ซึ่งเป็นอาการของกระดูกแตกที่ซ่อนอยู่ หรือบางคนเป็นอาการกล้ามเนื้อฉีก ถ้ากล้ามเนื้อฉีกต้องมีการรัดเพื่อพยุงกล้ามเนื้อส่วนนั้นไม่ให้เคลื่อนไหว แต่ถ้ากระดูกแตกร้าวต้องรีบมาพบแพทย์

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากมีอาการฟกช้ำควรประคบเย็นก่อน แต่ต้องระวังหากส่วนนั้นมีแผลร่วมด้วยไม่ควรประคบเพราะอาจมีอาการติดเชื้อ โดยหลักใหญ่ของการปฐมพยาบาลคือต้องยึดส่วนที่หักไม่ให้เคลื่อนไหว ซึ่งดามด้วยพลาสติก ไม้กระดาน หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ เช่น กระดูกหักที่ขาต้องดามด้วยบอร์ดตั้งแต่น่องถึงปลายเท้า ใช้ผ้าพันทับไม่ให้ส่วนนั้นเคลื่อนไหวแต่การพันไม่ควรแน่นมากเพราะเลือดอาจไม่ไปหล่อเลี้ยงส่วนนั้นขณะเดียวกันคนที่เข้าไปช่วยต้องดูความบาดเจ็บส่วนอื่นๆ ที่ประกอบด้วย เช่น หมดสติ หรือมีความบาดเจ็บในช่องท้องซึ่งการปฐมพยาบาลส่วนใหญ่เป็นไปในแนวทางนี้

การปฐมพยาบาลคนที่กระดูกหลังหัก ควรเคลื่อนย้ายในท่านอนเท่านั้น โดยต้องนำคนไข้ลงเปลอย่างเดียว และพยายามสังเกตจุดกดเจ็บที่อยู่ด้านหลังด้วย ที่สำคัญคือการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุต้องระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากกระดูกที่บางซึ่งบางครั้งเพียงแค่นั่งบนโถที่ค่อยๆ หย่อนตัวลง แต่เกิดลื่นนั่งลงไปอย่างแรงก็อาจมีผลให้กระดูกส่วนนั้นหักได้

“คนที่อายุยังน้อยเมื่อกระดูกหักมักหายเร็วกว่าคนที่อายุมาก การรักษาเมื่อถึงมือแพทย์จะทำการวินิจฉัยว่ามีโรคอื่นๆ ด้วยหรือไม่ ก่อนทำการใส่เฝือกในส่วนที่บาดเจ็บ” ครั้นพอใส่เฝือกสิ่งที่คนไข้ต้องดูแลตัวเองคือ ต้องสังเกตส่วนปลาย เช่น หากหักที่แขนต้องดูนิ้วว่าเป็นสีแดงอมชมพูปกติหรือไม่ และสัมผัสว่าส่วนปลายมีความรู้สึกเป็นปกติไหม แต่ความเข้าใจผิดของคนไข้คือส่วนที่หักห้ามขยับ แต่จริงๆ แล้วขยับได้อย่างหักที่แขนส่วนนิ้วขยับได้ หรือยกแขนขึ้นได้เพราะส่วนที่ใส่เฝือกแพทย์ได้ทำให้ไม่ขยับได้แล้ว แต่ถ้ายิ่งไม่ขยับเลยอวัยวะส่วนนั้นจะเริ่มอ่อนแอเพราะไม่ได้ใช้งาน

สิ่งที่ต้องระวังเมื่อใส่เฝือกอย่างขาหักไม่ควรไปวิ่งเพราะเฝือกอาจแตก และมีผลต่อส่วนที่บาดเจ็บอยู่ แต่การที่กระดูกหักแล้วหายช้าอาจมีองค์ประกอบจากโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน คนไข้ใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ทางที่ดีควรกินอาหารให้ครบห้าหมู่และออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเสริมสร้าง ภาวะกระดูก

โดยเฉพาะผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้หญิงที่หมดประจำเดือน อาจมีภาวะกระดูกบางขึ้น จำเป็นต้องกินอาหารที่เสริมสร้างกระดูกอย่าง นม,โยเกิร์ต,งาดำ,เต้าหู้ก้อน,ผักใบเขียว ที่สำคัญต้องออกกำลังกายเฉลี่ยวันละครึ่งชั่วโมงอาทิตย์ละห้าวันเป็นอย่างน้อย

“เมื่อกระดูกที่หักต่อติดแล้วการใช้งานเหมือนเดิม แต่หลายคนพยายามระวังส่วนนั้นเป็นพิเศษ ซึ่งความจริงไม่จำเป็นขนาดนั้นเพราะถ้าหากกระดูกส่วนนั้นไม่ได้ใช้งานความ แข็งแกร่งก็จะหายไป” อยากฝากกับทุกคนในช่วงหน้าฝนให้ระวังหากออกกำลังกายต้องระวังลื่น ซึ่งการออกกำลังกายควรทำเป็นประจำเพื่อเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรง ช่วงหน้าฝน การลื่น ถือเป็นประเด็นที่ต้องระวัง เพราะหากพลาดแล้วอาจถึงชีวิต หรือมีความผิดปกติในส่วนนั้นตลอดไป.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/212116 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 18/06/2556 เวลา 03:25:00 ดูภาพสไลด์โชว์ ป้องกันภัย “ลื่นล้ม” ช่วงหน้าฝน ปฐมพยาบาลถูกวิธี...ลดความเสี่ยง!

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.ประวิทย์ สุขเจริญชัยกุล ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ และรวมภาพผู้ประสบเหตุจากภาวะลื่นล้มส่งผลต่อกระดูกแขน-ขา หน้าฝนนอกจากเรื่องสุขภาพที่เสี่ยงแล้ว “ภาวะลื่นล้ม” ถือเป็นอีกปัญหาน่าสนใจ เพราะการลื่นบางครั้งเหมือนไม่มีอะไรแต่จริงๆ แล้วมีผลข้างเคียงตามมามากมาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุหลังจากลื่นล้มหลายรายมีปัญหาถึงชีวิตจึงเป็นเรื่องที่ต้องระวังสำหรับหน้าฝนนี้ นพ.ประวิทย์ สุขเจริญชัยกุล ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ ให้ความเห็นว่า ช่วงหน้าฝนเมื่อล้มแล้วคนไข้ส่วนใหญ่มีปัญหาในการทรงตัวลำบาก เจอได้ทุกเพศทุกวัย ที่น่าเป็นห่วงคือผู้สูงอายุที่กระดูกเริ่มบางลง ผู้สูงอายุหลายคนลื่นในห้องน้ำ ห้องครัวหรือเพิ่งลุกจากที่นอนแล้วกำลังลงจากเตียงก็ลื่นได้ ส่วนเด็กพบมากเมื่ออยู่ที่โรงเรียนในการเล่นต่างๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนไม่ควรปูพื้นปูนในส่วนที่เด็กเล่นซึ่งมีความสูง ด้านคนวัยทำงานปัญหาใหญ่ของการลื่นคือ ในระหว่างทำงานช่วงหน้าฝน หรือการขึ้นบันไดบนรถไฟฟ้า และการออกกำลังในช่วงฝนตกทำให้ลื่นหรือลงเท้าผิดจังหวะ“ส่วนที่หักและพบบ่อยเป็นกระดูกข้อมือ ขณะที่เด็กเป็นส่วนข้อศอก คนทำงานปัญหาอยู่ที่กระดูกข้อเท้า แต่ผู้สูงอายุพบทั้งข้อมือ ขา และสะโพก จะเห็นว่าส่วนที่หักซึ่งพบบ่อยเป็นจุดเปราะบางที่พอเวลาลื่นจะเอาส่วนนั้นๆลง” บางอาการของโรคกระดูกเวลาลื่นแล้วอาจไม่แสดงให้เห็นทันที แต่ซ่อนไว้คนไข้สามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ แต่พอใช้ส่วนที่มีอาการร้าวซ่อนอยู่คนไข้จะเริ่มเจ็บ ซึ่งเป็นอาการของกระดูกแตกที่ซ่อนอยู่ หรือบางคนเป็นอาการกล้ามเนื้อฉีก ถ้ากล้ามเนื้อฉีกต้องมีการรัดเพื่อพยุงกล้ามเนื้อส่วนนั้นไม่ให้เคลื่อนไหว แต่ถ้ากระดูกแตกร้าวต้องรีบมาพบแพทย์ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากมีอาการฟกช้ำควรประคบเย็นก่อน แต่ต้องระวังหากส่วนนั้นมีแผลร่วมด้วยไม่ควรประคบเพราะอาจมีอาการติดเชื้อ โดยหลักใหญ่ของการปฐมพยาบาลคือต้องยึดส่วนที่หักไม่ให้เคลื่อนไหว ซึ่งดามด้วยพลาสติก ไม้กระดาน หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ เช่น กระดูกหักที่ขาต้องดามด้วยบอร์ดตั้งแต่น่องถึงปลายเท้า ใช้ผ้าพันทับไม่ให้ส่วนนั้นเคลื่อนไหวแต่การพันไม่ควรแน่นมากเพราะเลือดอาจไม่ไปหล่อเลี้ยงส่วนนั้นขณะเดียวกันคนที่เข้าไปช่วยต้องดูความบาดเจ็บส่วนอื่นๆ ที่ประกอบด้วย เช่น หมดสติ หรือมีความบาดเจ็บในช่องท้องซึ่งการปฐมพยาบาลส่วนใหญ่เป็นไปในแนวทางนี้ การปฐมพยาบาลคนที่กระดูกหลังหัก ควรเคลื่อนย้ายในท่านอนเท่านั้น โดยต้องนำคนไข้ลงเปลอย่างเดียว และพยายามสังเกตจุดกดเจ็บที่อยู่ด้านหลังด้วย ที่สำคัญคือการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุต้องระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากกระดูกที่บางซึ่งบางครั้งเพียงแค่นั่งบนโถที่ค่อยๆ หย่อนตัวลง แต่เกิดลื่นนั่งลงไปอย่างแรงก็อาจมีผลให้กระดูกส่วนนั้นหักได้ “คนที่อายุยังน้อยเมื่อกระดูกหักมักหายเร็วกว่าคนที่อายุมาก การรักษาเมื่อถึงมือแพทย์จะทำการวินิจฉัยว่ามีโรคอื่นๆ ด้วยหรือไม่ ก่อนทำการใส่เฝือกในส่วนที่บาดเจ็บ” ครั้นพอใส่เฝือกสิ่งที่คนไข้ต้องดูแลตัวเองคือ ต้องสังเกตส่วนปลาย เช่น หากหักที่แขนต้องดูนิ้วว่าเป็นสีแดงอมชมพูปกติหรือไม่ และสัมผัสว่าส่วนปลายมีความรู้สึกเป็นปกติไหม แต่ความเข้าใจผิดของคนไข้คือส่วนที่หักห้ามขยับ แต่จริงๆ แล้วขยับได้อย่างหักที่แขนส่วนนิ้วขยับได้ หรือยกแขนขึ้นได้เพราะส่วนที่ใส่เฝือกแพทย์ได้ทำให้ไม่ขยับได้แล้ว แต่ถ้ายิ่งไม่ขยับเลยอวัยวะส่วนนั้นจะเริ่มอ่อนแอเพราะไม่ได้ใช้งาน สิ่งที่ต้องระวังเมื่อใส่เฝือกอย่างขาหักไม่ควรไปวิ่งเพราะเฝือกอาจแตก และมีผลต่อส่วนที่บาดเจ็บอยู่ แต่การที่กระดูกหักแล้วหายช้าอาจมีองค์ประกอบจากโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน คนไข้ใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ทางที่ดีควรกินอาหารให้ครบห้าหมู่และออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเสริมสร้าง ภาวะกระดูก โดยเฉพาะผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้หญิงที่หมดประจำเดือน อาจมีภาวะกระดูกบางขึ้น จำเป็นต้องกินอาหารที่เสริมสร้างกระดูกอย่าง นม,โยเกิร์ต,งาดำ,เต้าหู้ก้อน,ผักใบเขียว ที่สำคัญต้องออกกำลังกายเฉลี่ยวันละครึ่งชั่วโมงอาทิตย์ละห้าวันเป็นอย่างน้อย “เมื่อกระดูกที่หักต่อติดแล้วการใช้งานเหมือนเดิม แต่หลายคนพยายามระวังส่วนนั้นเป็นพิเศษ ซึ่งความจริงไม่จำเป็นขนาดนั้นเพราะถ้าหากกระดูกส่วนนั้นไม่ได้ใช้งานความ แข็งแกร่งก็จะหายไป” อยากฝากกับทุกคนในช่วงหน้าฝนให้ระวังหากออกกำลังกายต้องระวังลื่น ซึ่งการออกกำลังกายควรทำเป็นประจำเพื่อเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรง ช่วงหน้าฝน การลื่น ถือเป็นประเด็นที่ต้องระวัง เพราะหากพลาดแล้วอาจถึงชีวิต หรือมีความผิดปกติในส่วนนั้นตลอดไป. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/212116

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...