เด็กแอลดีกว่า 7 แสนหลุดจากระบบ สธ.-สสค.ตั้งเป้าปี 59 ไอคิวเด็กไทยเกิน 100

แสดงความคิดเห็น

ช็อกเด็กแอลดีเสี่ยงหลุดจากระบบกว่า 7 แสนคน กรมสุขภาพจิต-สสค.ราชานุกูลร่วมวางระบบดูแลตั้งแต่เด็กเล็ก ตั้งเป้าเด็กไทยไอคิวเกิน 100 ในปี 59 เล็งพัฒนาระบบจัดการพื้นที่จับมือ สธ.-ท้องถิ่น-สพฐ. ส่งต่อข้อมูลเด็กเล็กจากโรงหมอสู่โรงเรียน

เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.56 ที่กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในการแถลงข่าว “เด็กไทย IQ เกิน 100” โดยกรมสุขภาพจิตร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และสถาบันราชานุกูลเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ในการเชื่อมต่อข้อมูลและการให้บริการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและเชาวน์ปัญญาเด็กไทย เพื่อให้เกิดการส่งต่อข้อมูลและระบบดูแลเด็กเล็ก 0-5 ปี ซึ่งเป็นยุคทองของการพัฒนาการเรียนรู้โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่เด็กไอคิวเกิน 100 ในปี 2559

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล กล่าวว่า อัตราการเกิดของเด็กไทยเฉลี่ยปีละ 8 แสนคน แต่กลุ่มนี้พัฒนาการล่าช้า 2.4 แสนคนต่อปี หรือร้อยละ 30 สะท้อนระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือไอคิวต่ำกว่า 100 ซึ่งพบสูงถึง 49% รวมถึงความฉลาดทางอารม หรืออีคิวที่ต่ำกว่าเกณฑ์ หากเด็กได้รับการดูแลตั้งแต่ 0-5 ปี จะช่วยเหลือเด็กได้ถึง 1.6 แสนคนต่อปี ทั้งนี้ มีเป้าหมายให้เด็กไทยมีไอคิวเกิน 100 ในปี 2559 และความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ร่วมกับสสค. และสถาบันราชานุกูล เพื่อพัฒนาระบบจัดการพื้นที่จับมือ สธ. ท้องถิ่น-สพฐ. ส่งต่อข้อมูลเด็กเล็กจากโรงหมอสู่โรงเรียน

ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาวิชาการ สสค. กล่าวว่า อนาคตของชาติอยู่ที่เด็ก 0-5 ปี ต้องได้รับการพัฒนามากที่สุด ทั้งที่ 90% ของเด็กที่บกพร่องการเรียนรู้แก้ไข ทั้งนี้ ปัจจุบันครอบครัวไทย 20 ล้านครอบครัวเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์ “แม่วัยใส ยายวัยซ่า ย่าวัยซิ่ง” โดยประกอบด้วย 5 ล้านครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ 2 ล้านครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว และอีก 2 ล้านครอบครัวที่แหว่งกลาง ปล่อยให้ปู่ย่าตายายเลี้ยง หากเราไม่มีระบบช่วยเหลือสุขภาพจิตครอบครัวไทยย่ำแย่แน่

ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กบกพร่องการเรียนรู้ มีสมาธิสั้น แอลดี เรียนช้า และออทิสติกมีถึง 12-13% ของประชากรเด็กทั้งหมด จากข้อมูลของสมาคมแอลดีแห่งประเทศไทยพบว่า ขณะมีการคัดกรองเด็กในระบบโรงเรียนจำนวน 1.4 แสนคน แต่ยังมีเด็กที่มีสัญญาณบกพร่องการเรียนรู้อีกถึง 9 แสนคน นั้นคือมีเด็กกว่า 7 แสนคน หลุดออกจากระบบการศึกษา อีกทั้ง 3 หมื่นโรงเรียนมีครูสอนเด็กพิเศษ 1 หมื่นแห่ง ดังนั้นระบบข้อมูลเชื่อมต่อกันจะนำไปสู่การดูแลเด็กและทันเวลามากขึ้น โดยเป็นความร่วมมือทั้งฝ่ายสาธารณสุขท้องถิ่น และสพฐ.

ที่มา: คมชัดลึกรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 18/06/2556 เวลา 03:22:28

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ช็อกเด็กแอลดีเสี่ยงหลุดจากระบบกว่า 7 แสนคน กรมสุขภาพจิต-สสค.ราชานุกูลร่วมวางระบบดูแลตั้งแต่เด็กเล็ก ตั้งเป้าเด็กไทยไอคิวเกิน 100 ในปี 59 เล็งพัฒนาระบบจัดการพื้นที่จับมือ สธ.-ท้องถิ่น-สพฐ. ส่งต่อข้อมูลเด็กเล็กจากโรงหมอสู่โรงเรียน เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.56 ที่กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในการแถลงข่าว “เด็กไทย IQ เกิน 100” โดยกรมสุขภาพจิตร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และสถาบันราชานุกูลเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ในการเชื่อมต่อข้อมูลและการให้บริการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและเชาวน์ปัญญาเด็กไทย เพื่อให้เกิดการส่งต่อข้อมูลและระบบดูแลเด็กเล็ก 0-5 ปี ซึ่งเป็นยุคทองของการพัฒนาการเรียนรู้โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่เด็กไอคิวเกิน 100 ในปี 2559 พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล กล่าวว่า อัตราการเกิดของเด็กไทยเฉลี่ยปีละ 8 แสนคน แต่กลุ่มนี้พัฒนาการล่าช้า 2.4 แสนคนต่อปี หรือร้อยละ 30 สะท้อนระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือไอคิวต่ำกว่า 100 ซึ่งพบสูงถึง 49% รวมถึงความฉลาดทางอารม หรืออีคิวที่ต่ำกว่าเกณฑ์ หากเด็กได้รับการดูแลตั้งแต่ 0-5 ปี จะช่วยเหลือเด็กได้ถึง 1.6 แสนคนต่อปี ทั้งนี้ มีเป้าหมายให้เด็กไทยมีไอคิวเกิน 100 ในปี 2559 และความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ร่วมกับสสค. และสถาบันราชานุกูล เพื่อพัฒนาระบบจัดการพื้นที่จับมือ สธ. ท้องถิ่น-สพฐ. ส่งต่อข้อมูลเด็กเล็กจากโรงหมอสู่โรงเรียน ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาวิชาการ สสค. กล่าวว่า อนาคตของชาติอยู่ที่เด็ก 0-5 ปี ต้องได้รับการพัฒนามากที่สุด ทั้งที่ 90% ของเด็กที่บกพร่องการเรียนรู้แก้ไข ทั้งนี้ ปัจจุบันครอบครัวไทย 20 ล้านครอบครัวเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์ “แม่วัยใส ยายวัยซ่า ย่าวัยซิ่ง” โดยประกอบด้วย 5 ล้านครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ 2 ล้านครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว และอีก 2 ล้านครอบครัวที่แหว่งกลาง ปล่อยให้ปู่ย่าตายายเลี้ยง หากเราไม่มีระบบช่วยเหลือสุขภาพจิตครอบครัวไทยย่ำแย่แน่ ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กบกพร่องการเรียนรู้ มีสมาธิสั้น แอลดี เรียนช้า และออทิสติกมีถึง 12-13% ของประชากรเด็กทั้งหมด จากข้อมูลของสมาคมแอลดีแห่งประเทศไทยพบว่า ขณะมีการคัดกรองเด็กในระบบโรงเรียนจำนวน 1.4 แสนคน แต่ยังมีเด็กที่มีสัญญาณบกพร่องการเรียนรู้อีกถึง 9 แสนคน นั้นคือมีเด็กกว่า 7 แสนคน หลุดออกจากระบบการศึกษา อีกทั้ง 3 หมื่นโรงเรียนมีครูสอนเด็กพิเศษ 1 หมื่นแห่ง ดังนั้นระบบข้อมูลเชื่อมต่อกันจะนำไปสู่การดูแลเด็กและทันเวลามากขึ้น โดยเป็นความร่วมมือทั้งฝ่ายสาธารณสุขท้องถิ่น และสพฐ.

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...