ตรวจเสี่ยงตั้งครรภ์เป็นพิษแบบใหม่ แม่นยำ-รู้เร็ว

แสดงความคิดเห็น

แพทย์สอนวิธีดูแลครรภ์ผู้เป็นแม่ จากโมเดลเด็กทารกในครรภ์มารดา

เพราะในทุกวันที่ทารกเติบโตอยู่ในครรภ์มารดานั้นมีความหมายต่อพัฒนาการ และโอกาสการรอดชีวิต โดยเฉลี่ยแล้วทารกควรอยู่ในครรภ์นาน 9 เดือน หากแต่มีอยู่หนึ่งปัญหาสำคัญที่มักทำให้แพทย์ต้องหยุดการตั้งครรภ์ หรือทำคลอดให้ก่อนกำหนด นั่นคือ "ภาวะครรภ์เป็นพิษ"

รศ.ดร.นพ.บุญศรี จันทร์รัชชกูล สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด จากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เล่าว่า ภาวะครรภ์เป็นพิษมิใช่จะเกิดขึ้นกับหญิงที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 40 ปีเท่านั้น แม้ แต่ผู้หญิงสุขภาพดีก็เสี่ยงเกิดขึ้นได้ หากเข้าข่ายปัจจัยอันได้แก่ ตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี ตั้งครรภ์ครั้งแรก ครรภ์แฝด น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ตนเองหรือคนครอบครัวเคยมีประวัติครรภ์เป็นพิษ ป่วยโรคอายุรกรรมต่างๆ โดยเฉพาะความดันสูงเรื้อรัง โรคไต โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ตัวเองหรือ SLE โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ มีภาวะเลือดแข็งตัวง่าย และตั้งครรภ์ด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย อย่างการทำกิ๊ฟท์ ทำเด็กหลอดแก้ว

แต่เดิมหลักทางการแพทย์ที่ใช้ประเมินความเสี่ยง นอกจากซักประวัติเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงข้างต้นแล้ว หมอบุญศรีบอกว่า แพทย์ยังต้องตรวจความดันโลหิต และตรวจค่าโปรตีนในปัสสาวะ หากผลปรากฏว่า ความดันสูงเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มม.ปรอท และมีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 300 มก.ใน24ชั่วโมง แพทย์อาจชี้ว่า หญิงดังกล่าวมีอาการครรภ์เป็นพิษ แต่ก็เป็นการวินิจฉัยที่ทำได้ยาก เนื่องจากอาการทั้งสองนั้น ไม่ใช่อาการเฉพาะของภาวะครรภ์เป็นพิษ

หากถามว่า อาการครรภ์เป็นพิษจะแสดงให้เห็นชัดเจนเมื่อใด หมอบุญศรีตอบว่า มักเกิดขึ้นหลังอายุครรภ์ผ่านไป 20 สัปดาห์ หรือราว 5 เดือน ไปจนถึง 48 ชั่วโมงก่อนคลอด แต่ส่วนใหญ่มักพบหลังอายุครรภ์ผ่านไป 32 สัปดาห์ หรือราว 8 เดือน นอกจากนี้ยังมักเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อความพิการและเสียชีวิตของมารดาและทารก โดยภาวะแทรกซ้อนในมารดาอาจเกิดอาการชัก ไตวาย รกลอกตัวก่อนกำหนด เลือดออกขณะตั้งครรภ์ และเลือดออในสมอง ส่วนภาวะแทรกซ้อนในทารก มีทั้งเจริญเติบโตช้าในครรภ์ แรกคลอดน้ำหนักน้อย คลอดก่อนกำหนด และเสียชีวิตในครรภ์

อย่างไรก็ตาม สาเหตุของภาวะครรภ์เป็นพิษยังไม่ทราบแน่ชัด แต่หลักฐานทางการแพทย์ส่วนใหญ่บ่งชี้ว่า น่าจะเกิดจากการพัฒนาของรกที่ผิดปกติ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีหนทางป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษได้อย่างมประสิทธิภาพ ทางวงการแพทย์จึงพยายามพัฒนานวัตกรรมการตรวจวินิจฉัยความเสี่ยงที่รวดเร็ว ชัดเจน ยิ่งถ้าช่วยให้รู้ความเสี่ยงได้ก่อนอายุครรภ์ 5 เดือน ยิ่งเพิ่มความปลอดภัยให้ทั้งมารดาและทารกได้

ล่าสุด การตรวจวินิจฉัยมีความก้าวหน้าอีกขั้น โดยหมอบุญศรีเล่าว่า ปัจจุบันมีการนำสารบ่งชี้ภาวะครรภ์เป็นพิษ มาใช้วัดระดับโปรตีนสำคัญ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นโปรตีนส่งเสริมการสร้างหลอดเลือด หรือ PIGF และอีกกลุ่มคือโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างหลอดเลือด หรือ sFlt-1 โดยใช้วินิจฉัยร่วมกับวัดการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดที่เลี้ยงมดลูก ซึ่งเหล่านี้ควรตรวจช่วงอายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์

การตรวจไม่ยุ่งยาก แพทย์จะเจาะเลือดบริเวณแขนของหญิงตั้งครรภ์ไปตรวจโดยใช้สารบ่งชี้ และวินิจฉัยด้วยเครื่องมืออัตโนมัติที่แม่นยำและรวดเร็ว เพียง 18-20 นาที ก็จะรู้ผล หากผลชี้ว่า มีความไม่สมดุลระหว่างโปรตีนทั้ง 2 กลุ่มนี้ คือ โปรตีนส่งเสริมการสร้างหลอดเลือดมีระดับต่ำลง แต่โปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างหลอดเลือดมีระดับสูงขึ้น ประกอบกับการไหลเวียนเลือดที่หลอดเลือดเลี้ยงมดลูกไม่ดี ก็จะทำให้แพทย์รู้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ว่ามีโอกาสสูงในการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ

เมื่อมีหลายปัจจัยสุขภาพที่ทำให้เกิดความเสี่ยงตั้งครรภ์เป็นพิษได้ไม่ยาก แนะหญิงที่วางแผนหรือกำลังตั้งครรภ์อย่าละเลยการฝากครรภ์ การตรวจสุขภาพครรภ์ตามแพทย์นัด เพราะถ้าพบความเสี่ยง แพทย์จะได้วางแผนการรักษาได้ทัน เพื่อให้ลูกเกิดรอด และแม่ปลอดภัยนั้นเอง.ทีมเดลินิวส์ออนไลน์ takecareDD@gmail.com

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/822/188382

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 มิ.ย.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 14/06/2556 เวลา 02:42:54 ดูภาพสไลด์โชว์ ตรวจเสี่ยงตั้งครรภ์เป็นพิษแบบใหม่ แม่นยำ-รู้เร็ว

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แพทย์สอนวิธีดูแลครรภ์ผู้เป็นแม่ จากโมเดลเด็กทารกในครรภ์มารดา เพราะในทุกวันที่ทารกเติบโตอยู่ในครรภ์มารดานั้นมีความหมายต่อพัฒนาการ และโอกาสการรอดชีวิต โดยเฉลี่ยแล้วทารกควรอยู่ในครรภ์นาน 9 เดือน หากแต่มีอยู่หนึ่งปัญหาสำคัญที่มักทำให้แพทย์ต้องหยุดการตั้งครรภ์ หรือทำคลอดให้ก่อนกำหนด นั่นคือ "ภาวะครรภ์เป็นพิษ" รศ.ดร.นพ.บุญศรี จันทร์รัชชกูล สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด จากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เล่าว่า ภาวะครรภ์เป็นพิษมิใช่จะเกิดขึ้นกับหญิงที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 40 ปีเท่านั้น แม้ แต่ผู้หญิงสุขภาพดีก็เสี่ยงเกิดขึ้นได้ หากเข้าข่ายปัจจัยอันได้แก่ ตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี ตั้งครรภ์ครั้งแรก ครรภ์แฝด น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ตนเองหรือคนครอบครัวเคยมีประวัติครรภ์เป็นพิษ ป่วยโรคอายุรกรรมต่างๆ โดยเฉพาะความดันสูงเรื้อรัง โรคไต โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ตัวเองหรือ SLE โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ มีภาวะเลือดแข็งตัวง่าย และตั้งครรภ์ด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย อย่างการทำกิ๊ฟท์ ทำเด็กหลอดแก้ว แต่เดิมหลักทางการแพทย์ที่ใช้ประเมินความเสี่ยง นอกจากซักประวัติเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงข้างต้นแล้ว หมอบุญศรีบอกว่า แพทย์ยังต้องตรวจความดันโลหิต และตรวจค่าโปรตีนในปัสสาวะ หากผลปรากฏว่า ความดันสูงเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มม.ปรอท และมีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 300 มก.ใน24ชั่วโมง แพทย์อาจชี้ว่า หญิงดังกล่าวมีอาการครรภ์เป็นพิษ แต่ก็เป็นการวินิจฉัยที่ทำได้ยาก เนื่องจากอาการทั้งสองนั้น ไม่ใช่อาการเฉพาะของภาวะครรภ์เป็นพิษ หากถามว่า อาการครรภ์เป็นพิษจะแสดงให้เห็นชัดเจนเมื่อใด หมอบุญศรีตอบว่า มักเกิดขึ้นหลังอายุครรภ์ผ่านไป 20 สัปดาห์ หรือราว 5 เดือน ไปจนถึง 48 ชั่วโมงก่อนคลอด แต่ส่วนใหญ่มักพบหลังอายุครรภ์ผ่านไป 32 สัปดาห์ หรือราว 8 เดือน นอกจากนี้ยังมักเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อความพิการและเสียชีวิตของมารดาและทารก โดยภาวะแทรกซ้อนในมารดาอาจเกิดอาการชัก ไตวาย รกลอกตัวก่อนกำหนด เลือดออกขณะตั้งครรภ์ และเลือดออในสมอง ส่วนภาวะแทรกซ้อนในทารก มีทั้งเจริญเติบโตช้าในครรภ์ แรกคลอดน้ำหนักน้อย คลอดก่อนกำหนด และเสียชีวิตในครรภ์ อย่างไรก็ตาม สาเหตุของภาวะครรภ์เป็นพิษยังไม่ทราบแน่ชัด แต่หลักฐานทางการแพทย์ส่วนใหญ่บ่งชี้ว่า น่าจะเกิดจากการพัฒนาของรกที่ผิดปกติ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีหนทางป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษได้อย่างมประสิทธิภาพ ทางวงการแพทย์จึงพยายามพัฒนานวัตกรรมการตรวจวินิจฉัยความเสี่ยงที่รวดเร็ว ชัดเจน ยิ่งถ้าช่วยให้รู้ความเสี่ยงได้ก่อนอายุครรภ์ 5 เดือน ยิ่งเพิ่มความปลอดภัยให้ทั้งมารดาและทารกได้ ล่าสุด การตรวจวินิจฉัยมีความก้าวหน้าอีกขั้น โดยหมอบุญศรีเล่าว่า ปัจจุบันมีการนำสารบ่งชี้ภาวะครรภ์เป็นพิษ มาใช้วัดระดับโปรตีนสำคัญ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นโปรตีนส่งเสริมการสร้างหลอดเลือด หรือ PIGF และอีกกลุ่มคือโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างหลอดเลือด หรือ sFlt-1 โดยใช้วินิจฉัยร่วมกับวัดการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดที่เลี้ยงมดลูก ซึ่งเหล่านี้ควรตรวจช่วงอายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์ การตรวจไม่ยุ่งยาก แพทย์จะเจาะเลือดบริเวณแขนของหญิงตั้งครรภ์ไปตรวจโดยใช้สารบ่งชี้ และวินิจฉัยด้วยเครื่องมืออัตโนมัติที่แม่นยำและรวดเร็ว เพียง 18-20 นาที ก็จะรู้ผล หากผลชี้ว่า มีความไม่สมดุลระหว่างโปรตีนทั้ง 2 กลุ่มนี้ คือ โปรตีนส่งเสริมการสร้างหลอดเลือดมีระดับต่ำลง แต่โปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างหลอดเลือดมีระดับสูงขึ้น ประกอบกับการไหลเวียนเลือดที่หลอดเลือดเลี้ยงมดลูกไม่ดี ก็จะทำให้แพทย์รู้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ว่ามีโอกาสสูงในการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ เมื่อมีหลายปัจจัยสุขภาพที่ทำให้เกิดความเสี่ยงตั้งครรภ์เป็นพิษได้ไม่ยาก แนะหญิงที่วางแผนหรือกำลังตั้งครรภ์อย่าละเลยการฝากครรภ์ การตรวจสุขภาพครรภ์ตามแพทย์นัด เพราะถ้าพบความเสี่ยง แพทย์จะได้วางแผนการรักษาได้ทัน เพื่อให้ลูกเกิดรอด และแม่ปลอดภัยนั้นเอง.ทีมเดลินิวส์ออนไลน์ takecareDD@gmail.com ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/822/188382 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 มิ.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...