สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์...บริการเวชศาสตร์สื่อความหมายสำหรับคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีแนวคิดในการขยายบริการทางการแพทย์ออกไปทางภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดงที่เต็มไปด้วยโรงงานอุตสาหกรรม และยังมีเมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่สำคัญ รวมถึงมีนักธุรกิจและกลุ่มผู้ใช้แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก

แต่สถานพยาบาลในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการยังมีจำกัด มีเพียงโรงพยาบาลสมุทรปราการ โรงพยาบาลรัฐเพียงแห่งเดียว ด้วยเหตุนี้ทางคณะแพทยศาสตร์จึงได้ตั้ง "สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์" (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนาม) บนพื้นที่กว่า 300 ไร่ ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทราปราการเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนารามาธิบดีสู่คณะแพทยศาสตร์ชั้นนำในเอเชีย

น.พ.วินิต พัวประดิษฐ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายว่า ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระรามที่ 6 มีข้อจำกัดในด้านอาคารสถานที่ มีผู้ป่วยเข้ารับบริการไม่ต่ำกว่าวันละ 5,000 ราย ไม่รวมญาติและบุคลากร จึงมีความแออัด และลักษณะผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคซับซ้อน อาการหนัก มีหลายโรคในผู้ป่วยรายเดียวกัน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีจึงไม่เหมาะสำหรับการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล และนักศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย แต่เหมาะสำหรับฝึกอบรมผู้เชึ่ยวชาญเฉพาะสาขา

คณะจึงเสนอโครงการพัฒนารามาธิบดีสู่คณะแพทยศาสตร์ชั้นนำในเอเชียกับ น.พ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เกิดเป็นสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ เชื่อมโยงกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ถนนพระรามที่ 6 เน้นในด้านการศึกษาฝึกอบรมของแพทย์ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์ เภสัชกร ทันตแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยซับซ้อน

อีกหนึ่งภารกิจหลักของทางสถาบัน มุ่งเน้นการดูแลสุขอนามัยของคนในพื้นที่ ตามที่ น.พ.สมิง เก่าเจริญ ผู้จัดการโครงการอาชีวอนามัยและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม บอกว่า โรคจากการประกอบอาชีพเพิ่มสูงขึ้นทุกปี พันธกิจหลักของสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ มุ่งเน้นให้บุคลากรทุกคนอยู่และทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ภายใต้การทำงานเป็นทีม ดูแลซึ่งกันและกันเสมือนเป็นคนในครอบครัว ผลิตแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ใน รูปแบบใหม่ร่วมกัน การให้บริการที่ดีกับผู้ป่วยที่ได้รับทุกขเวทนา หรือการสร้างองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในสังคมได้อย่างแท้จริงในอีก 4 ปีข้างหน้า

เวชศาสตร์สื่อความหมาย - ผศ.กาญจน์ลักษณ์ คันธพสุนธรา หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย อธิบายถึงหลักสูตรใหม่ ตามนโยบายคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บริการแก่ผู้ที่มีความผิดปกติของการสื่อความหมายอย่างมีคุณภาพ และเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติสำหรับนักศึกษา โดยจะมีการจัดการอบรมทางวิชาการ และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานด้านความผิดปกติของการสื่อความหมายแก่บุคลากรทางการแพทย์ต่าง ๆ เช่น แพทย์ประจำบ้านจากสถาบันต่าง ๆ

"หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต และมหาบัณฑิต สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย เป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศไทย ที่ผลิตนักแก้ไขการพูดและนักแก้ไขการได้ยิน"

ผศ.กาญจน์ลักษณ์เพิ่มเติมว่า นักแก้ไขการได้ยิน เป็นผู้ตรวจประเมินระดับการได้ยินด้วยวิธีการต่าง ๆ และให้ความช่วยเหลือแก้ไข ฟื้นฟูผู้ที่มีปัญหาด้านการได้ยิน ตั้งแต่ทารกแรกเกิด จนกระทั่งผู้สูงอายุ และนักแก้ไขการพูดมีหน้าที่ประเมิน วินิจฉัย และแก้ไขปัญหาด้านภาษาและการพูดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การได้ยินบกพร่อง เพดานโหว่ ความบกพร่องของสติปัญญา ปัญหาพฤติกรรมและการเรียนรู้ ออทิสติก ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

ปัจจุบันนักแก้ไขการพูดและนักแก้ไขการได้ยินในประเทศไทยมีประมาณ 200 คน ซึ่งไม่เพียงพอ การขยายงานของภาควิชาที่สถาบันฯ จะผลิตนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายปีละ 50 คน ตามสถิติของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ สำรวจถึง 31 มีนาคม 2556 พบว่าจำนวนผู้มาจดทะเบียนเป็นผู้พิการถึง 1,356,003 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีความพิการด้านการได้ยินและการสื่อความหมาย 169,277 ราย บกพร่องทางสติปัญญา 102,327 ราย ออทิสติก 75,556 ราย และผู้พิการซ้ำซ้อน 83,277 ราย นอกจากนี้ยังมีผู้ที่มีปัญหาในสิทธิการรับบริการสุขภาพโดยไม่จดทะเบียนผู้พิการอีกจำนวนหนึ่ง

ขอบคุณ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1370584015

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 8/06/2556 เวลา 04:13:31 ดูภาพสไลด์โชว์ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์...บริการเวชศาสตร์สื่อความหมายสำหรับคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีแนวคิดในการขยายบริการทางการแพทย์ออกไปทางภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดงที่เต็มไปด้วยโรงงานอุตสาหกรรม และยังมีเมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่สำคัญ รวมถึงมีนักธุรกิจและกลุ่มผู้ใช้แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก แต่สถานพยาบาลในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการยังมีจำกัด มีเพียงโรงพยาบาลสมุทรปราการ โรงพยาบาลรัฐเพียงแห่งเดียว ด้วยเหตุนี้ทางคณะแพทยศาสตร์จึงได้ตั้ง "สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์" (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนาม) บนพื้นที่กว่า 300 ไร่ ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทราปราการเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนารามาธิบดีสู่คณะแพทยศาสตร์ชั้นนำในเอเชีย น.พ.วินิต พัวประดิษฐ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายว่า ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระรามที่ 6 มีข้อจำกัดในด้านอาคารสถานที่ มีผู้ป่วยเข้ารับบริการไม่ต่ำกว่าวันละ 5,000 ราย ไม่รวมญาติและบุคลากร จึงมีความแออัด และลักษณะผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคซับซ้อน อาการหนัก มีหลายโรคในผู้ป่วยรายเดียวกัน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีจึงไม่เหมาะสำหรับการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล และนักศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย แต่เหมาะสำหรับฝึกอบรมผู้เชึ่ยวชาญเฉพาะสาขา คณะจึงเสนอโครงการพัฒนารามาธิบดีสู่คณะแพทยศาสตร์ชั้นนำในเอเชียกับ น.พ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เกิดเป็นสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ เชื่อมโยงกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ถนนพระรามที่ 6 เน้นในด้านการศึกษาฝึกอบรมของแพทย์ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์ เภสัชกร ทันตแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยซับซ้อน อีกหนึ่งภารกิจหลักของทางสถาบัน มุ่งเน้นการดูแลสุขอนามัยของคนในพื้นที่ ตามที่ น.พ.สมิง เก่าเจริญ ผู้จัดการโครงการอาชีวอนามัยและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม บอกว่า โรคจากการประกอบอาชีพเพิ่มสูงขึ้นทุกปี พันธกิจหลักของสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ มุ่งเน้นให้บุคลากรทุกคนอยู่และทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ภายใต้การทำงานเป็นทีม ดูแลซึ่งกันและกันเสมือนเป็นคนในครอบครัว ผลิตแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ใน รูปแบบใหม่ร่วมกัน การให้บริการที่ดีกับผู้ป่วยที่ได้รับทุกขเวทนา หรือการสร้างองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในสังคมได้อย่างแท้จริงในอีก 4 ปีข้างหน้า เวชศาสตร์สื่อความหมาย - ผศ.กาญจน์ลักษณ์ คันธพสุนธรา หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย อธิบายถึงหลักสูตรใหม่ ตามนโยบายคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บริการแก่ผู้ที่มีความผิดปกติของการสื่อความหมายอย่างมีคุณภาพ และเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติสำหรับนักศึกษา โดยจะมีการจัดการอบรมทางวิชาการ และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานด้านความผิดปกติของการสื่อความหมายแก่บุคลากรทางการแพทย์ต่าง ๆ เช่น แพทย์ประจำบ้านจากสถาบันต่าง ๆ "หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต และมหาบัณฑิต สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย เป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศไทย ที่ผลิตนักแก้ไขการพูดและนักแก้ไขการได้ยิน" ผศ.กาญจน์ลักษณ์เพิ่มเติมว่า นักแก้ไขการได้ยิน เป็นผู้ตรวจประเมินระดับการได้ยินด้วยวิธีการต่าง ๆ และให้ความช่วยเหลือแก้ไข ฟื้นฟูผู้ที่มีปัญหาด้านการได้ยิน ตั้งแต่ทารกแรกเกิด จนกระทั่งผู้สูงอายุ และนักแก้ไขการพูดมีหน้าที่ประเมิน วินิจฉัย และแก้ไขปัญหาด้านภาษาและการพูดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การได้ยินบกพร่อง เพดานโหว่ ความบกพร่องของสติปัญญา ปัญหาพฤติกรรมและการเรียนรู้ ออทิสติก ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ปัจจุบันนักแก้ไขการพูดและนักแก้ไขการได้ยินในประเทศไทยมีประมาณ 200 คน ซึ่งไม่เพียงพอ การขยายงานของภาควิชาที่สถาบันฯ จะผลิตนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายปีละ 50 คน ตามสถิติของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ สำรวจถึง 31 มีนาคม 2556 พบว่าจำนวนผู้มาจดทะเบียนเป็นผู้พิการถึง 1,356,003 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีความพิการด้านการได้ยินและการสื่อความหมาย 169,277 ราย บกพร่องทางสติปัญญา 102,327 ราย ออทิสติก 75,556 ราย และผู้พิการซ้ำซ้อน 83,277 ราย นอกจากนี้ยังมีผู้ที่มีปัญหาในสิทธิการรับบริการสุขภาพโดยไม่จดทะเบียนผู้พิการอีกจำนวนหนึ่ง ขอบคุณ… http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1370584015

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...