จัดโครงการผ่าตัดลดคนตาบอดจากต้อกระจกที่เลย

แสดงความคิดเห็น

นายสมพงษ์ อรุณโรจน์ปัญญา ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ

วันที่ 20 พ.ค.2556 ที่โรงพยาบาลค่ายศรีสองรัก (สังกัดกองทัพบก) จังหวัดเลย คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดโครงการผ่าตัดเพื่อลดจำนวนคนตาบอดจากต้อกระจก เพื่อผ่าตัดให้คนตาบอดจากต้อกระจกในพื้นที่จังหวัดเลย โดยมีนายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษา และส่งเสริมการพัฒนาด้านสาธารณสุข ในคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายสมพงษ์ อรุณโรจน์ปัญญา ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานเปิดโครงการฯ

แพทย์กำลังผ่าตัดดวงตาให้คนไข้ นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ เปิดเผยว่า โครงการลดจำนวนคนตาบอดจากต้อกระจกในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นโครงการที่คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ แห่งประเทศไทย และโรงพยาบาลศุภมิตร จัดรณรงค์ผ่าตัดต้อกระจกในพื้นที่ชนบทห่างไกลของประเทศไทย กัมพูชา ลาว และพม่า ในปี 2556 จำนวนตามเป้าหมาย 10,000 ดวงตา ส่วนการผ่าตัดที่จังหวัดเลย ถือว่าเป็นครั้งที่มีการผ่าตัดต้อกระจกมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ทั้งเป็นรูปแบบที่เกิดจากความร่วมมือกันจากหลายภาคส่วน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย เป็นองค์กรหลักประสานงาน และสนับสนุนค่าใช้จ่ายเดินทางของคนไข้ อาหารคนไข้ และญาติ กระทั่งมีคนไข้ที่รับการผ่าตัดครั้งนี้เป็นจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ ถึง 1,925 คน ใช้ห้องผ่าตัดของโรงพยาบาลค่ายศรีสองรัก และรถผ่าตัดเคลื่อนที่ของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ตั้งแต่วันที่ 17 ถึง 26 พฤษภาคม 2556 รวม 10 วัน เฉลี่ยผ่าตัดได้วันละ 200 คน

ทหารช่วยเข็นรถคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดดวงตา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย แจ้งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกับ อสม.จังหวัดเลย เชิญชวนผู้สูงอายุที่มีปัญหาการมองเห็น และประสงค์จะรับตรวจรักษา ส่งรายชื่อมาที่ อบจ.เลย เพื่อตรวจคัดกรอง โดยส่งรายชื่อมาทั้งหมด 19,000 คน ผลการคัดกรองคนไข้ต้อกระจกด้วยทีมจักษุแพทย์จากโรงพยาบาลบ้านแพ้ว พร้อมอุปกรณ์ตรวจตา เช่น กล้องจุลทรรศน์ตรวจตา (slit Lamp) เครื่องตรวจวัดความดันลูกตา (Pneumo Tonometer)

กระทั่งได้ผู้ป่วยที่จะรับการผ่าตัดเหลือ จำนวน 1,925 คน จากนั้นได้นัดหมายรับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลค่ายศรีสองรักกองทัพบก วันที่ 17 ถึง 26 พฤษภาคม 2556 หลังผ่าตัดได้จัดให้ผู้ป่วยนอนพักที่โรงนอนศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหารค่ายศรี สองรัก 1 คืน จึงส่งกลับภูมิลำเนา และนัดตรวจกับจักษุแพทย์หลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ และ 1 เดือน

ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีคนตาบอดจากโรคต้อกระจก รอรับการผ่าตัดมากกว่า 100,000 คน ได้รับการผ่าตัดทั้งหมดประมาณปีละ 90,000 คน และมีผู้ป่วยเกิดใหม่ปีละประมาณ 60,000 คน ตาบอดจากต้อกระจกเป็นตาบอดที่รักษาได้โดยการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน การกระจายตัวของจักษุแพทย์ในประเทศไทยยังไม่ทั่วถึง ทำให้ผู้ป่วยบางจังหวัดต้องรอคิวผ่าตัดนาน ที่สำคัญ มีผู้ป่วยตาบอดจากต้อกระจกจำนวนหนึ่งรอผ่าตัดนานมาก จนเสียชีวิตก่อนผ่าตัด

ทั้งนี้ มีทีมผ่าตัดจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนที่พร้อมจะออกไปผ่าตัด ตามจังหวัดต่างๆ เช่น โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์กรมหาชน) โรงพยาบาลศุภมิตร คณะแพทย์จากราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย จักษุแพทย์อาสาจากโรงพยาบาลต่างๆ ได้ออกผ่าตัดนอกสถานที่ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จนเป็นที่ยอมรับในศักยภาพ และผลการดำเนินการอยู่ในเกณฑ์ดีตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000060269 (ขนาดไฟล์: 185)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 21/05/2556 เวลา 03:21:32 ดูภาพสไลด์โชว์ จัดโครงการผ่าตัดลดคนตาบอดจากต้อกระจกที่เลย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายสมพงษ์ อรุณโรจน์ปัญญา ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ วันที่ 20 พ.ค.2556 ที่โรงพยาบาลค่ายศรีสองรัก (สังกัดกองทัพบก) จังหวัดเลย คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดโครงการผ่าตัดเพื่อลดจำนวนคนตาบอดจากต้อกระจก เพื่อผ่าตัดให้คนตาบอดจากต้อกระจกในพื้นที่จังหวัดเลย โดยมีนายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษา และส่งเสริมการพัฒนาด้านสาธารณสุข ในคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายสมพงษ์ อรุณโรจน์ปัญญา ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานเปิดโครงการฯ แพทย์กำลังผ่าตัดดวงตาให้คนไข้ นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ เปิดเผยว่า โครงการลดจำนวนคนตาบอดจากต้อกระจกในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นโครงการที่คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ แห่งประเทศไทย และโรงพยาบาลศุภมิตร จัดรณรงค์ผ่าตัดต้อกระจกในพื้นที่ชนบทห่างไกลของประเทศไทย กัมพูชา ลาว และพม่า ในปี 2556 จำนวนตามเป้าหมาย 10,000 ดวงตา ส่วนการผ่าตัดที่จังหวัดเลย ถือว่าเป็นครั้งที่มีการผ่าตัดต้อกระจกมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ทั้งเป็นรูปแบบที่เกิดจากความร่วมมือกันจากหลายภาคส่วน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย เป็นองค์กรหลักประสานงาน และสนับสนุนค่าใช้จ่ายเดินทางของคนไข้ อาหารคนไข้ และญาติ กระทั่งมีคนไข้ที่รับการผ่าตัดครั้งนี้เป็นจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ ถึง 1,925 คน ใช้ห้องผ่าตัดของโรงพยาบาลค่ายศรีสองรัก และรถผ่าตัดเคลื่อนที่ของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ตั้งแต่วันที่ 17 ถึง 26 พฤษภาคม 2556 รวม 10 วัน เฉลี่ยผ่าตัดได้วันละ 200 คน ทหารช่วยเข็นรถคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดดวงตา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย แจ้งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกับ อสม.จังหวัดเลย เชิญชวนผู้สูงอายุที่มีปัญหาการมองเห็น และประสงค์จะรับตรวจรักษา ส่งรายชื่อมาที่ อบจ.เลย เพื่อตรวจคัดกรอง โดยส่งรายชื่อมาทั้งหมด 19,000 คน ผลการคัดกรองคนไข้ต้อกระจกด้วยทีมจักษุแพทย์จากโรงพยาบาลบ้านแพ้ว พร้อมอุปกรณ์ตรวจตา เช่น กล้องจุลทรรศน์ตรวจตา (slit Lamp) เครื่องตรวจวัดความดันลูกตา (Pneumo Tonometer) กระทั่งได้ผู้ป่วยที่จะรับการผ่าตัดเหลือ จำนวน 1,925 คน จากนั้นได้นัดหมายรับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลค่ายศรีสองรักกองทัพบก วันที่ 17 ถึง 26 พฤษภาคม 2556 หลังผ่าตัดได้จัดให้ผู้ป่วยนอนพักที่โรงนอนศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหารค่ายศรี สองรัก 1 คืน จึงส่งกลับภูมิลำเนา และนัดตรวจกับจักษุแพทย์หลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ และ 1 เดือน ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีคนตาบอดจากโรคต้อกระจก รอรับการผ่าตัดมากกว่า 100,000 คน ได้รับการผ่าตัดทั้งหมดประมาณปีละ 90,000 คน และมีผู้ป่วยเกิดใหม่ปีละประมาณ 60,000 คน ตาบอดจากต้อกระจกเป็นตาบอดที่รักษาได้โดยการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน การกระจายตัวของจักษุแพทย์ในประเทศไทยยังไม่ทั่วถึง ทำให้ผู้ป่วยบางจังหวัดต้องรอคิวผ่าตัดนาน ที่สำคัญ มีผู้ป่วยตาบอดจากต้อกระจกจำนวนหนึ่งรอผ่าตัดนานมาก จนเสียชีวิตก่อนผ่าตัด ทั้งนี้ มีทีมผ่าตัดจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนที่พร้อมจะออกไปผ่าตัด ตามจังหวัดต่างๆ เช่น โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์กรมหาชน) โรงพยาบาลศุภมิตร คณะแพทย์จากราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย จักษุแพทย์อาสาจากโรงพยาบาลต่างๆ ได้ออกผ่าตัดนอกสถานที่ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จนเป็นที่ยอมรับในศักยภาพ และผลการดำเนินการอยู่ในเกณฑ์ดีตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000060269

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...