กระตุ้นพ่อแม่พาลูกตรวจหู ลดเสี่ยงพิการ

แสดงความคิดเห็น

ภาพหมู่คณะผู้บริหารจากสโมสรซอนต้ากรุงเทพ3

ภายหลัง สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ หรือ รพ.เด็ก ดำเนินโครงการ “ลดคิวตรวจหู...ให้รู้ว่าหนูได้ยินไหม” ให้บริการตรวจวินิจฉัยภาวการณ์สูญเสียการได้ยินในเด็กเล็กโดยเครื่องมือตรวจ วัดการได้ยินระดับก้านสมองในวันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างวันที่ 17 ก.พ.-30 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการสนับสนุนมอบเครื่องมือการตรวจวัดจากสโมสรซอนต้า กรุงเทพ 3 ทำให้สามารถเพิ่มการตรวจรักษา ลดคิวรอตรวจได้ 300 คน และเมื่อเร็ว ๆ นี้ พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กฯ เผยถึงความสำเร็จของโครงการและรับมอบเครื่องมือตรวจวัดการได้ยินระดับก้าน สมอง จาก พูลศรี จงแสงทอง ประธานสโมสรซอนต้า กรุงเทพ 3 อย่างเป็นทางการ ที่ชั้น 13 อาคารสถาบันสุขภาพเด็กฯ

แพทย์กำลังตรวจการได้ยินของเด็กน้อย ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กฯ กล่าวว่า จากสถิติในประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่าทารกแรกเกิด 1,000 คน มีทารกที่การได้ยินบกพร่อง 1-2 คน และมีอัตราเพิ่มขึ้นเกือบ 20 เท่า ส่วนในประเทศไทยทารกแรกเกิดมีอัตราเสี่ยงถึง 1.7 เท่าต่อเด็ก 1,000 คน ซึ่งการได้ยินนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการพูดและพัฒนาการทางภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 ขวบแรก และหากการได้ยินบกพร่องก็จะส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร ความจำ พฤติกรรม การพัฒนาทางอารมณ์และสังคม ความสามารถในการเรียนรู้ ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ส่งต่อมารับการตรวจด้านโสต ศอ นาสิก ปีละ 16,000 คน และมีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี

“กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก สถาบันสุขภาพเด็กฯ ได้มีการให้บริการตรวจวินิจฉัยโดยเครื่องมือตรวจวัดการได้ยินระดับก้านสมอง ในวันธรรมดาด้วยเครื่องมือเพียง 2 เครื่อง หนึ่งในนั้นมีอายุการใช้งานมานาน ทำให้ไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็กที่รอคิวตรวจจำนวนมาก บางรายต้องรอคิวตรวจการได้ยินนานถึง 6-7 เดือน อาจไม่ทันการในการรักษา เพราะเด็กที่ได้รับการรักษาช้าเกินกว่าอายุ 6 ขวบ จะทำให้พิการทางการได้ยินไปตลอด และด้วยความตั้งใจของสถาบันฯ ที่ได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา จึงมีผู้ใหญ่ใจดีเล็งเห็นถึงปัญหาได้ให้การสนับสนุนมอบเครื่องมือการตรวจวัด การได้ยินระดับก้านสมองจำนวน 3 เครื่อง ทำให้สามารถร่นระยะเวลาคิวการตรวจผู้ป่วยได้ร่วม 300 คน หรือการลดคิวตรวจกว่า 1 เดือน และคาดว่า ในอนาคตอาจมีโครงการดี ๆ แบบนี้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง” พญ.ศิราภรณ์ กล่าว

ผู้ปกครองกำลังดูแลลูกน้อยที่นอรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ด้านคำแนะนำแก่ผู้ปกครอง พญ.ภาวินี อินทกรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มโสต ศอ นาสิก สถาบันสุขภาพเด็กฯ เผยว่า เนื่องจากเด็กเล็กหรือทารกแรกเกิดไม่สามารถบอกได้ว่าเขาได้ยินหรือไม่ เพื่อให้การพบข้อบกพร่องของเด็กตั้งแต่มีอายุน้อยและฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะ สม ผู้ปกครองควรพาเด็กมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก ทันทีหากสงสัยว่ามีอาการผิดปกติทางการได้ยินหรือมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า กว่าเด็กวัยเดียวกัน อาทิ เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ไม่สะดุ้งตกใจเวลามีเสียงดัง ไม่หันหาเสียง เด็กอายุระหว่าง 6 เดือน-1 ขวบ ไม่ตอบสนองต่อเสียง เรียกชื่อไม่หัน ไม่เข้าใจคำสั่งง่ายๆ และเด็กอายุ 1 ขวบ 8 เดือน-2 ขวบ ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/society/200993 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 1/05/2556 เวลา 03:41:02 ดูภาพสไลด์โชว์ กระตุ้นพ่อแม่พาลูกตรวจหู ลดเสี่ยงพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพหมู่คณะผู้บริหารจากสโมสรซอนต้ากรุงเทพ3 ภายหลัง สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ หรือ รพ.เด็ก ดำเนินโครงการ “ลดคิวตรวจหู...ให้รู้ว่าหนูได้ยินไหม” ให้บริการตรวจวินิจฉัยภาวการณ์สูญเสียการได้ยินในเด็กเล็กโดยเครื่องมือตรวจ วัดการได้ยินระดับก้านสมองในวันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างวันที่ 17 ก.พ.-30 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการสนับสนุนมอบเครื่องมือการตรวจวัดจากสโมสรซอนต้า กรุงเทพ 3 ทำให้สามารถเพิ่มการตรวจรักษา ลดคิวรอตรวจได้ 300 คน และเมื่อเร็ว ๆ นี้ พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กฯ เผยถึงความสำเร็จของโครงการและรับมอบเครื่องมือตรวจวัดการได้ยินระดับก้าน สมอง จาก พูลศรี จงแสงทอง ประธานสโมสรซอนต้า กรุงเทพ 3 อย่างเป็นทางการ ที่ชั้น 13 อาคารสถาบันสุขภาพเด็กฯ แพทย์กำลังตรวจการได้ยินของเด็กน้อย ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กฯ กล่าวว่า จากสถิติในประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่าทารกแรกเกิด 1,000 คน มีทารกที่การได้ยินบกพร่อง 1-2 คน และมีอัตราเพิ่มขึ้นเกือบ 20 เท่า ส่วนในประเทศไทยทารกแรกเกิดมีอัตราเสี่ยงถึง 1.7 เท่าต่อเด็ก 1,000 คน ซึ่งการได้ยินนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการพูดและพัฒนาการทางภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 ขวบแรก และหากการได้ยินบกพร่องก็จะส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร ความจำ พฤติกรรม การพัฒนาทางอารมณ์และสังคม ความสามารถในการเรียนรู้ ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ส่งต่อมารับการตรวจด้านโสต ศอ นาสิก ปีละ 16,000 คน และมีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี “กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก สถาบันสุขภาพเด็กฯ ได้มีการให้บริการตรวจวินิจฉัยโดยเครื่องมือตรวจวัดการได้ยินระดับก้านสมอง ในวันธรรมดาด้วยเครื่องมือเพียง 2 เครื่อง หนึ่งในนั้นมีอายุการใช้งานมานาน ทำให้ไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็กที่รอคิวตรวจจำนวนมาก บางรายต้องรอคิวตรวจการได้ยินนานถึง 6-7 เดือน อาจไม่ทันการในการรักษา เพราะเด็กที่ได้รับการรักษาช้าเกินกว่าอายุ 6 ขวบ จะทำให้พิการทางการได้ยินไปตลอด และด้วยความตั้งใจของสถาบันฯ ที่ได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา จึงมีผู้ใหญ่ใจดีเล็งเห็นถึงปัญหาได้ให้การสนับสนุนมอบเครื่องมือการตรวจวัด การได้ยินระดับก้านสมองจำนวน 3 เครื่อง ทำให้สามารถร่นระยะเวลาคิวการตรวจผู้ป่วยได้ร่วม 300 คน หรือการลดคิวตรวจกว่า 1 เดือน และคาดว่า ในอนาคตอาจมีโครงการดี ๆ แบบนี้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง” พญ.ศิราภรณ์ กล่าว ผู้ปกครองกำลังดูแลลูกน้อยที่นอรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ด้านคำแนะนำแก่ผู้ปกครอง พญ.ภาวินี อินทกรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มโสต ศอ นาสิก สถาบันสุขภาพเด็กฯ เผยว่า เนื่องจากเด็กเล็กหรือทารกแรกเกิดไม่สามารถบอกได้ว่าเขาได้ยินหรือไม่ เพื่อให้การพบข้อบกพร่องของเด็กตั้งแต่มีอายุน้อยและฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะ สม ผู้ปกครองควรพาเด็กมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก ทันทีหากสงสัยว่ามีอาการผิดปกติทางการได้ยินหรือมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า กว่าเด็กวัยเดียวกัน อาทิ เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ไม่สะดุ้งตกใจเวลามีเสียงดัง ไม่หันหาเสียง เด็กอายุระหว่าง 6 เดือน-1 ขวบ ไม่ตอบสนองต่อเสียง เรียกชื่อไม่หัน ไม่เข้าใจคำสั่งง่ายๆ และเด็กอายุ 1 ขวบ 8 เดือน-2 ขวบ ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/society/200993

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...