โรงพยาบาลเด็กรณรงค์ตรวจเช็คหูลูกน้อย ให้รู้ทันพัฒนาการ

แสดงความคิดเห็น

แพทย์กำลังตรวจเช็คหูเด็กน้อย

การได้ยินเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการพูดและพัฒนาการทางภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 ขวบปีแรกของชีวิต สาเหตุที่พบบ่อยของความผิดปกติทางภาษาและพัฒนาการพูดช้าในเด็ก เกิดจากความบกพร่องทางการได้ยิน นอกจากนี้ยังมีผลวิจัยพบว่า การได้ยินบกพร่องมีผลกระทบต่อการติดต่อสื่อสาร ความจำ พฤติกรรม การพัฒนาทางอารมณ์และสังคม ความสามารถในการเรียน ซึ่งรัฐบาลต้องสูญเสียรายได้ในด้านการรักษาพยาบาล การฟื้นฟู รวมทั้งการศึกษา ให้แก่เด็กที่มีภาวะหูหนวกและเป็นใบ้ สถิติสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว พบว่าทารกแรกเกิด 1,000 คน จะมีทารกแรกเกิดที่การได้ยินบกพร่องประมาณ 1-2 คน และพบอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นเป็น 10-20เท่า ในทารกแรกเกิดที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการได้ยินบกพร่อง ในประเทศไทยมีการศึกษาอุบัติการณ์เกิดภาวะการณ์ได้ยินบกพร่องในทารกแรกเกิด เท่ากับ 1.7 ต่อทารกคลอดมีชีพ 1,000 ราย ซึ่งจะเห็นได้ว่าอุบัติการณ์ของการได้ยินบกพร่องในประเทศไทยใกล้เคียงกับ รายงานจากต่างประเทศ

พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ( รพ.เด็ก )กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ สถาบันสุขภาพเด็กฯ ในฐานะสถาบันหลักของกระทรวงสาธารณสุข ในการให้การดูแลรักษาสุขภาพเด็กไทย และสานต่อนโยบายของกระทรวงในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจสำหรับผู้ปกครองใน การดูแลสุขภาพลูกหลาน โดยสถาบันฯ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีความประสงค์ที่จะพัฒนารูปแบบการค้นหาความพิการทางการได้ยินและฟื้นฟู สมรรถภาพทางการได้ยินสำหรับเด็กเล็ก เพื่อให้การวินิจฉัยและรักษาช่วยเหลือให้เด็กที่มีภาวะสูญเสียการได้ยิน มีโอกาสพัฒนาการด้านภาษา การสื่อความหมายที่ดีขึ้น และเพิ่มโอกาสการเรียนรู้เพื่อให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญของแพทย์โสต ศอ นาสิก และแพทย์ทั่วไป และทำการเผยแพร่และสร้างเครือข่ายโครงการดังกล่าวเพื่อเป็นประโยชน์แก่ ประชากรเด็กไทย

ปัจจุบัน กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี(รพ.เด็ก) ได้มีการให้บริการตรวจวินิจฉัยภาวะสูญเสียการได้ยินโดยเครื่องมือตรวจวัดการ ได้ยินระดับก้านสมอง

( Auditory Brainstem Response ) ซึ่งเป็นการตรวจวินิจฉัยที่จำเป็นในการวินิจฉัยภาวะสูญเสียการได้ยินในเด็ก เล็ก ทางสถาบันสุขภาพเด็กฯ เป็นหน่วยงานตติยภูมิที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขต่างๆ ในการให้การวินิจฉัย และให้การรักษาเด็กเบื้องต้นทั้งประเทศอย่างเป็นระบบ โดยผู้ป่วยที่ส่งต่อมารับการตรวจวินิจฉัยด้านโสต ศอ นาสิก ปีละกว่า 16,000 รายและมีแนวโน้มมากขึ้นในแต่ละปี ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยเด็กรอรับบริการการวินิจฉัยอีกหลายราย สถาบันฯ จึงจัดโครงการ “ลดคิวตรวจหู ให้รู้ว่าหนูได้ยินเสียงไหม” โดยมีเป้าหมายเพื่อลดคิวการตรวจวินิจฉัยให้เป็นไปอย่างทั่วถึงทันต่อปัญหา ซึ่งโครงการฯดังกล่าวจัดขึ้นจากการสนับสนุนโดยสโมสรซอนต้า กรุงเทพ 3 กลุ่มผู้ใหญ่ใจดีภาคเอกชน ที่เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเด็กไทย

แพทย์หญิง ภาวินี อินทกรณ์ กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถิติผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อมาที่กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก ปี 2552-2554 พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง เพื่อหาความผิดปกติของการได้ยิน อันดับแรกของสถาบันฯ คือ ผู้ป่วยที่มีพัฒนาการทางการพูดและการสื่อสารที่ช้า (delayed speech ) โดยพบว่ามีภาวะสูญเสียการได้ยินร้อยละ 18.1 นั่นอาจหมายความว่า ทารกเหล่านี้อาจมีโอกาสกลายเป็นคนพิการทางการได้ยินหรือการพูด หรือมีความบกพร่องในการเรียนรู้ในอนาคต

เนื่องจากเด็กเล็กหรือทารกแรกเกิดยังไม่สามารถบอกได้ว่าเขามีการได้ยิน ปกติหรือไม่ เพื่อให้การค้นหาเด็กที่มีการได้ยินบกพร่องตั้งแต่อายุน้อยและให้การฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มความสามารถในการติดต่อสื่อสาร ผู้ปกครองควรพาเด็กไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก ทันทีที่สงสัยว่าเด็กมีการได้ยินผิดปกติ หรือมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน อาทิ เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ไม่สะดุ้งตกใจเวลามีเสียงดัง ไม่หันหาเสียง เด็กอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 1 ปี แต่ไม่ตอบสนองต่อเสียง เรียกชื่อไม่หัน ไม่เข้าใจคำสั่งง่ายๆ เด็กอายุระหว่าง 1ปี 8 เดือน ถึง 2 ปี แต่ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้ สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการรับบริการการตรวจคัดกรองการได้ยิน สามารถพา ลูกน้อยเข้ารับการตรวจวินิจฉัยได้ที่สถานพยาบาลทั่วประเทศใกล้บ้าน

คุณพูลศรี จงแสงทอง นายกสโมสรซอนต้ากรุงเทพ 3 กล่าวถึงการสนับสนุนโครงการ “ลดคิวตรวจหู ให้รู้ว่าหนูได้ยินเสียงไหม” ครั้งนี้ว่า “ซอนต้าสากล” นับเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ให้บริการด้านสาธารณกุศลที่ไม่หวังผลประโยชน์ ทางธุรกิจหรือใดๆ โดยต้องการเข้าช่วยเหลือสังคมพร้อมมุ่งมั่นในการยกระดับสถานภาพของสังคม ภายใต้วัตถุประสงค์ที่ต้องการบริหารจัดสรรและจัดหาทุนและเงินช่วยเหลือต่างๆ ผ่านกองทุนต่างๆ ที่สโมสรจัดทำขึ้น ซึ่งครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่ทางสโมสรซอนต้าได้เข้าช่วยเหลือสถาบัน สุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ผ่านโครงการ “ลดคิวตรวจหู ให้รู้ว่าหนูได้ยินเสียงไหม” โดยได้ดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เพื่อช่วยลดคิวในการตรวจคัดกรองป้องกันแก้ไขความผิดปกติแต่เนิ่นๆ ในเด็กตั้งแต่อายุยังน้อยอย่างเป็นระบบ อีกทั้งช่วยเพิ่มความสามารถในการติดต่อสื่อสาร สร้างโอกาสในด้านการศึกษาสังคมและการประกอบอาชีพในผู้ป่วยประสาทหูพิการ เพราะเล็งเห็นโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กเล็กๆ ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจกับความมั่นคงของชาติในอนาคต

ขอบคุณ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1366973082&grpid=03&catid=12&subcatid=1203

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 27/04/2556 เวลา 02:57:01 ดูภาพสไลด์โชว์ โรงพยาบาลเด็กรณรงค์ตรวจเช็คหูลูกน้อย ให้รู้ทันพัฒนาการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แพทย์กำลังตรวจเช็คหูเด็กน้อย การได้ยินเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการพูดและพัฒนาการทางภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 ขวบปีแรกของชีวิต สาเหตุที่พบบ่อยของความผิดปกติทางภาษาและพัฒนาการพูดช้าในเด็ก เกิดจากความบกพร่องทางการได้ยิน นอกจากนี้ยังมีผลวิจัยพบว่า การได้ยินบกพร่องมีผลกระทบต่อการติดต่อสื่อสาร ความจำ พฤติกรรม การพัฒนาทางอารมณ์และสังคม ความสามารถในการเรียน ซึ่งรัฐบาลต้องสูญเสียรายได้ในด้านการรักษาพยาบาล การฟื้นฟู รวมทั้งการศึกษา ให้แก่เด็กที่มีภาวะหูหนวกและเป็นใบ้ สถิติสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว พบว่าทารกแรกเกิด 1,000 คน จะมีทารกแรกเกิดที่การได้ยินบกพร่องประมาณ 1-2 คน และพบอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นเป็น 10-20เท่า ในทารกแรกเกิดที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการได้ยินบกพร่อง ในประเทศไทยมีการศึกษาอุบัติการณ์เกิดภาวะการณ์ได้ยินบกพร่องในทารกแรกเกิด เท่ากับ 1.7 ต่อทารกคลอดมีชีพ 1,000 ราย ซึ่งจะเห็นได้ว่าอุบัติการณ์ของการได้ยินบกพร่องในประเทศไทยใกล้เคียงกับ รายงานจากต่างประเทศ พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ( รพ.เด็ก )กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ สถาบันสุขภาพเด็กฯ ในฐานะสถาบันหลักของกระทรวงสาธารณสุข ในการให้การดูแลรักษาสุขภาพเด็กไทย และสานต่อนโยบายของกระทรวงในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจสำหรับผู้ปกครองใน การดูแลสุขภาพลูกหลาน โดยสถาบันฯ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีความประสงค์ที่จะพัฒนารูปแบบการค้นหาความพิการทางการได้ยินและฟื้นฟู สมรรถภาพทางการได้ยินสำหรับเด็กเล็ก เพื่อให้การวินิจฉัยและรักษาช่วยเหลือให้เด็กที่มีภาวะสูญเสียการได้ยิน มีโอกาสพัฒนาการด้านภาษา การสื่อความหมายที่ดีขึ้น และเพิ่มโอกาสการเรียนรู้เพื่อให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญของแพทย์โสต ศอ นาสิก และแพทย์ทั่วไป และทำการเผยแพร่และสร้างเครือข่ายโครงการดังกล่าวเพื่อเป็นประโยชน์แก่ ประชากรเด็กไทย ปัจจุบัน กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี(รพ.เด็ก) ได้มีการให้บริการตรวจวินิจฉัยภาวะสูญเสียการได้ยินโดยเครื่องมือตรวจวัดการ ได้ยินระดับก้านสมอง ( Auditory Brainstem Response ) ซึ่งเป็นการตรวจวินิจฉัยที่จำเป็นในการวินิจฉัยภาวะสูญเสียการได้ยินในเด็ก เล็ก ทางสถาบันสุขภาพเด็กฯ เป็นหน่วยงานตติยภูมิที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขต่างๆ ในการให้การวินิจฉัย และให้การรักษาเด็กเบื้องต้นทั้งประเทศอย่างเป็นระบบ โดยผู้ป่วยที่ส่งต่อมารับการตรวจวินิจฉัยด้านโสต ศอ นาสิก ปีละกว่า 16,000 รายและมีแนวโน้มมากขึ้นในแต่ละปี ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยเด็กรอรับบริการการวินิจฉัยอีกหลายราย สถาบันฯ จึงจัดโครงการ “ลดคิวตรวจหู ให้รู้ว่าหนูได้ยินเสียงไหม” โดยมีเป้าหมายเพื่อลดคิวการตรวจวินิจฉัยให้เป็นไปอย่างทั่วถึงทันต่อปัญหา ซึ่งโครงการฯดังกล่าวจัดขึ้นจากการสนับสนุนโดยสโมสรซอนต้า กรุงเทพ 3 กลุ่มผู้ใหญ่ใจดีภาคเอกชน ที่เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเด็กไทย แพทย์หญิง ภาวินี อินทกรณ์ กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถิติผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อมาที่กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก ปี 2552-2554 พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง เพื่อหาความผิดปกติของการได้ยิน อันดับแรกของสถาบันฯ คือ ผู้ป่วยที่มีพัฒนาการทางการพูดและการสื่อสารที่ช้า (delayed speech ) โดยพบว่ามีภาวะสูญเสียการได้ยินร้อยละ 18.1 นั่นอาจหมายความว่า ทารกเหล่านี้อาจมีโอกาสกลายเป็นคนพิการทางการได้ยินหรือการพูด หรือมีความบกพร่องในการเรียนรู้ในอนาคต เนื่องจากเด็กเล็กหรือทารกแรกเกิดยังไม่สามารถบอกได้ว่าเขามีการได้ยิน ปกติหรือไม่ เพื่อให้การค้นหาเด็กที่มีการได้ยินบกพร่องตั้งแต่อายุน้อยและให้การฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มความสามารถในการติดต่อสื่อสาร ผู้ปกครองควรพาเด็กไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก ทันทีที่สงสัยว่าเด็กมีการได้ยินผิดปกติ หรือมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน อาทิ เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ไม่สะดุ้งตกใจเวลามีเสียงดัง ไม่หันหาเสียง เด็กอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 1 ปี แต่ไม่ตอบสนองต่อเสียง เรียกชื่อไม่หัน ไม่เข้าใจคำสั่งง่ายๆ เด็กอายุระหว่าง 1ปี 8 เดือน ถึง 2 ปี แต่ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้ สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการรับบริการการตรวจคัดกรองการได้ยิน สามารถพา ลูกน้อยเข้ารับการตรวจวินิจฉัยได้ที่สถานพยาบาลทั่วประเทศใกล้บ้าน คุณพูลศรี จงแสงทอง นายกสโมสรซอนต้ากรุงเทพ 3 กล่าวถึงการสนับสนุนโครงการ “ลดคิวตรวจหู ให้รู้ว่าหนูได้ยินเสียงไหม” ครั้งนี้ว่า “ซอนต้าสากล” นับเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ให้บริการด้านสาธารณกุศลที่ไม่หวังผลประโยชน์ ทางธุรกิจหรือใดๆ โดยต้องการเข้าช่วยเหลือสังคมพร้อมมุ่งมั่นในการยกระดับสถานภาพของสังคม ภายใต้วัตถุประสงค์ที่ต้องการบริหารจัดสรรและจัดหาทุนและเงินช่วยเหลือต่างๆ ผ่านกองทุนต่างๆ ที่สโมสรจัดทำขึ้น ซึ่งครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่ทางสโมสรซอนต้าได้เข้าช่วยเหลือสถาบัน สุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ผ่านโครงการ “ลดคิวตรวจหู ให้รู้ว่าหนูได้ยินเสียงไหม” โดยได้ดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เพื่อช่วยลดคิวในการตรวจคัดกรองป้องกันแก้ไขความผิดปกติแต่เนิ่นๆ ในเด็กตั้งแต่อายุยังน้อยอย่างเป็นระบบ อีกทั้งช่วยเพิ่มความสามารถในการติดต่อสื่อสาร สร้างโอกาสในด้านการศึกษาสังคมและการประกอบอาชีพในผู้ป่วยประสาทหูพิการ เพราะเล็งเห็นโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กเล็กๆ ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจกับความมั่นคงของชาติในอนาคต ขอบคุณ … http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1366973082&grpid=03&catid=12&subcatid=1203

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...