เผย 3 ด.ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังขอเปลี่ยนสิทธิ 3 กองทุน 146 ราย

แสดงความคิดเห็น

นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) สปสช.เผยยอดเปลี่ยนสิทธิผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 3 กองทุนมีถึง 146 ราย ยันยังได้รับบริการคงเดิม ระบุเพิ่มยาต้านไวรัสเอชไอวี ดารูนาเวียร์เข้าบัญชียาหลักทั้ง 3 กองทุน จากเดิมมีแต่สิทธิข้าราชการเล็งปรับการตรวจปริมาณไวรัสให้ผู้ใช้สิทธิ30บาทเพิ่มเป็นปีละ2ครั้ง

นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในการบูรณาการดูแลรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ทั้ง 3 กองทุน ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2555 นั้น กองทุนสวัสดิการข้าราชการมีผู้ป่วยจำนวน 8,810 ราย กองทุนประกันสังคมมีผู้ป่วยจำนวน 9,193 ราย และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค จำนวน 20,777 ราย ซึ่งจากเดิมนั้นแต่ละกองทุนใช้เกณฑ์มาตรฐานทางการแพทย์ในการวินิจฉัยให้ สิทธิผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่แตกต่างกัน และเมื่อมีการเปลี่ยนสิทธิการรักษาพยาบาลทำให้ได้รับการรักษาที่ต่างกันและ ไม่ต่อเนื่อง แต่ภายหลังการบูรณาการใหม่โดยทุกกองทุนใช้เกณฑ์มาตรฐานทางการแพทย์เดียวกัน ในการวินิจฉัยให้สิทธิผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย และให้ผู้ป่วยมีสิทธิใช้วิธีบำบัดทดแทนไตแบบเดิมเมื่อมีการโอนย้ายสิทธิจาก กองทุนหนึ่งไปกองทุนอื่น และหน่วยบริการสาธารณสุขได้รับการชดเชยค่าบริการและเวชภัณฑ์ตามระเบียบของกองทุนที่ผู้ป่วยย้ายเข้าใหม่

นพ.วินัย กล่าวอีกว่า ผลการดำเนินการ ตั้งแต่ 1 ต.ค. - 31 ธ.ค. 2555 มีการเปลี่ยนสิทธิ 146 ราย แบ่งเป็น 1.จากผู้ใช้สิทธิ 30 บาท เป็นสิทธิประกันสังคมจำนวน 38 ราย 2.จากผู้ใช้สิทธิ 30 บาท เป็นสิทธิสวัสดิการข้าราชการจำนวน 31 ราย 3.จากสิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิ 30 บาทจำนวน 24 ราย และ 4.จากสิทธิข้าราชการเป็นสิทธิ 30 บาท 53 ราย ซึ่งผู้ที่เปลี่ยนสิทธิทุกคนได้รับบริการเหมือนเดิมทำให้มีความต่อเนื่องใน การรักษาและส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

“การบูรณาการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ ให้ทั้ง 3 กองทุนมีมาตรฐานการดูแลรักษาและสิทธิประโยชน์เดียวกัน มีระบบสารสนเทศกลางร่วมกัน และมีการจัดเครือข่ายบริการให้สามารถเลือกรับบริการได้สะดวก” เลขาธิการ สปสช. กล่าวและว่า ความคืบหน้าการปรับสิทธิ ประโยชน์ของ 3 กองทุนมีดังนี้ 1.ยาต้านไวรัสเอชไอวี ดารูนาเวียร์ (Darunavir) เดิมเป็นยาต้านไวรัสดื้อยาสูตรที่ 3 ซึ่งอยู่นอกบัญชียาหลักแห่งชาติมีเฉพาะสิทธิข้าราชการเท่านั้นที่เข้าถึง เมื่อมีการบูรณาการรทั้ง 3 สิทธิได้มีการปรับสิทธิประโยชน์ใหม่ให้ได้รับการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยกรมควบคุมโรคจัดทำหลักเกณฑ์การใช้ และ สปสช.จะจัดซื้อยาเข้าสต็อคภายในเดือนมีนาคมนี้ขณะที่สำนักงานประกันสังคมรอมติคณะกรรมการการแพทย์

นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า กรณีที่ 2. การส่งตรวจปริมาณไวรัส (Viral Load) เดิมนั้นผู้ป่วยสิทธิ 30 บาท ได้รับสิทธิไม่เกิน 1 ครั้ง/ปี ผู้ป่วยประกันสังคมและข้าราชการได้สิทธิ 2 ครั้ง/ปี เมื่อมีการบูรณาการและได้ปรับสิทธิประโยชน์ใหม่ โดยกรมควบคุมโรคปรับปรุงแนวปฏิบัติใหม่ตรวจได้ 1-2 ครั้ง/ปีตามระยะของโรค

“ความคืบหน้าของการดำเนินการหลังจากเริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555 โดยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ทั้ง 3 กองทุน มีทั้งหมด 264,052 คน ทุกรายทุกสิทธิ์เข้าถึงการบำบัดรักษาด้วยมาตรฐานเดียวกัน และได้รับการรักษาแบบเดิมอย่างต่อเนื่องแม้จะเปลี่ยนสิทธิการรักษาก็ตาม” เลขาธิการ สปสช.กล่าว

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000026546 (ขนาดไฟล์: 185)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 4/03/2556 เวลา 03:35:51 ดูภาพสไลด์โชว์ เผย 3 ด.ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังขอเปลี่ยนสิทธิ 3 กองทุน 146 ราย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) สปสช.เผยยอดเปลี่ยนสิทธิผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 3 กองทุนมีถึง 146 ราย ยันยังได้รับบริการคงเดิม ระบุเพิ่มยาต้านไวรัสเอชไอวี ดารูนาเวียร์เข้าบัญชียาหลักทั้ง 3 กองทุน จากเดิมมีแต่สิทธิข้าราชการเล็งปรับการตรวจปริมาณไวรัสให้ผู้ใช้สิทธิ30บาทเพิ่มเป็นปีละ2ครั้ง นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในการบูรณาการดูแลรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ทั้ง 3 กองทุน ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2555 นั้น กองทุนสวัสดิการข้าราชการมีผู้ป่วยจำนวน 8,810 ราย กองทุนประกันสังคมมีผู้ป่วยจำนวน 9,193 ราย และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค จำนวน 20,777 ราย ซึ่งจากเดิมนั้นแต่ละกองทุนใช้เกณฑ์มาตรฐานทางการแพทย์ในการวินิจฉัยให้ สิทธิผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่แตกต่างกัน และเมื่อมีการเปลี่ยนสิทธิการรักษาพยาบาลทำให้ได้รับการรักษาที่ต่างกันและ ไม่ต่อเนื่อง แต่ภายหลังการบูรณาการใหม่โดยทุกกองทุนใช้เกณฑ์มาตรฐานทางการแพทย์เดียวกัน ในการวินิจฉัยให้สิทธิผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย และให้ผู้ป่วยมีสิทธิใช้วิธีบำบัดทดแทนไตแบบเดิมเมื่อมีการโอนย้ายสิทธิจาก กองทุนหนึ่งไปกองทุนอื่น และหน่วยบริการสาธารณสุขได้รับการชดเชยค่าบริการและเวชภัณฑ์ตามระเบียบของกองทุนที่ผู้ป่วยย้ายเข้าใหม่ นพ.วินัย กล่าวอีกว่า ผลการดำเนินการ ตั้งแต่ 1 ต.ค. - 31 ธ.ค. 2555 มีการเปลี่ยนสิทธิ 146 ราย แบ่งเป็น 1.จากผู้ใช้สิทธิ 30 บาท เป็นสิทธิประกันสังคมจำนวน 38 ราย 2.จากผู้ใช้สิทธิ 30 บาท เป็นสิทธิสวัสดิการข้าราชการจำนวน 31 ราย 3.จากสิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิ 30 บาทจำนวน 24 ราย และ 4.จากสิทธิข้าราชการเป็นสิทธิ 30 บาท 53 ราย ซึ่งผู้ที่เปลี่ยนสิทธิทุกคนได้รับบริการเหมือนเดิมทำให้มีความต่อเนื่องใน การรักษาและส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น “การบูรณาการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ ให้ทั้ง 3 กองทุนมีมาตรฐานการดูแลรักษาและสิทธิประโยชน์เดียวกัน มีระบบสารสนเทศกลางร่วมกัน และมีการจัดเครือข่ายบริการให้สามารถเลือกรับบริการได้สะดวก” เลขาธิการ สปสช. กล่าวและว่า ความคืบหน้าการปรับสิทธิ ประโยชน์ของ 3 กองทุนมีดังนี้ 1.ยาต้านไวรัสเอชไอวี ดารูนาเวียร์ (Darunavir) เดิมเป็นยาต้านไวรัสดื้อยาสูตรที่ 3 ซึ่งอยู่นอกบัญชียาหลักแห่งชาติมีเฉพาะสิทธิข้าราชการเท่านั้นที่เข้าถึง เมื่อมีการบูรณาการรทั้ง 3 สิทธิได้มีการปรับสิทธิประโยชน์ใหม่ให้ได้รับการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยกรมควบคุมโรคจัดทำหลักเกณฑ์การใช้ และ สปสช.จะจัดซื้อยาเข้าสต็อคภายในเดือนมีนาคมนี้ขณะที่สำนักงานประกันสังคมรอมติคณะกรรมการการแพทย์ นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า กรณีที่ 2. การส่งตรวจปริมาณไวรัส (Viral Load) เดิมนั้นผู้ป่วยสิทธิ 30 บาท ได้รับสิทธิไม่เกิน 1 ครั้ง/ปี ผู้ป่วยประกันสังคมและข้าราชการได้สิทธิ 2 ครั้ง/ปี เมื่อมีการบูรณาการและได้ปรับสิทธิประโยชน์ใหม่ โดยกรมควบคุมโรคปรับปรุงแนวปฏิบัติใหม่ตรวจได้ 1-2 ครั้ง/ปีตามระยะของโรค “ความคืบหน้าของการดำเนินการหลังจากเริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555 โดยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ทั้ง 3 กองทุน มีทั้งหมด 264,052 คน ทุกรายทุกสิทธิ์เข้าถึงการบำบัดรักษาด้วยมาตรฐานเดียวกัน และได้รับการรักษาแบบเดิมอย่างต่อเนื่องแม้จะเปลี่ยนสิทธิการรักษาก็ตาม” เลขาธิการ สปสช.กล่าว ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000026546

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...