วอนรัฐใส่ใจปัญหาเด็กด้อยโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำก่อนลุกลาม

แสดงความคิดเห็น

จากการเสวนาวิชาการเวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ ๙ ในประเด็นเรื่องการดูแลเด็กด้อยโอกาสในสังคมไทย สู่การจัดการเชิงระบบที่ยั่งยืน จัดโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ฐานะประธานการเสวนา กล่าวว่า ขณะนี้ทุกคนมองว่าคุณภาพเด็กและเยาวชนของประเทศเป็นเรื่องใหญ่ แต่ความจริงเรื่องของเด็กด้อยโอกาสก็เป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน เพราะจากข้อมูลจะพบว่าประเทศไทยมีเด็กด้อยโอกาสอยู่นับหลายล้านคน ดังนั้น การพูดถึงการศึกษาและการพัฒนาจะพูดแต่เรื่องการเรียนรู้อย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะการที่พ่อแม่ ครอบครัวมีฐานะยากจน รวมถึงความอยุติธรรมในสังคมซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่และเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กด้อยโอกาส

"จากผลการวิจัยในต่างประเทศ พบข้อมูลว่า เรื่องความเหลื่อมล้ำของรายได้ ปัญหาสุขภาพ การพัฒนาสังคม มีความสัมพันธ์กันเกือบเป็นเส้นตรง โดยสหรัฐอเมริกามีความเหลื่อมล้ำมากที่สุด ส่วนญี่ปุ่น สแกนดิเนเวีย เหลื่อมล้ำน้อยที่สุด ส่วนการแก้ปัญหาความด้อยโอกาสของเด็กและเยาวชนนั้น งานวิจัยบอกว่าต้องนึกถึงการสร้างความเป็นธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ดังนั้นจึงอยากเสนอให้มหาวิทยาลัยในประเทศไทยหันมาทำเรื่องความเป็นธรรม เพื่อนำไปสู่นโยบายสาธารณะ เพราะวันนี้เรื่องเด็กด้อยโอกาสในสังคมไทยเป็นเรื่องเร่งด่วนซึ่งต้องดูเชิงระบบว่าจะทำอะไรได้บ้าง"ศ.นพ.ประเวศกล่าว

ดร.ไกรยส ภทราวาท นักเศรษฐศาสตร์ สสค.กล่าวว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำกำลังเป็นมะเร็งของสังคมที่ต้องการการแก้ไข มีคำถามเกิดขึ้นว่าทำไมสังคมสร้างยาแก้ไขออกมารักษาได้หลายโรคแต่ยังไม่มียา รักษาโรคของความเหลื่อมล้ำได้ การแก้ปัญหาด้วยการย้ายทรัพยากรที่ปลายทางกับงบประมาณมหาศาลไม่ใช่แนวทางที่ ถูกต้อง หากปล่อยไว้ก็จะกลายเป็นมะเร็งที่ลุกลาม จึงอยากให้รัฐบาลมีนโยบายและสนับสนุนงบประมาณมาแก้ไข รวมถึงลงทุนในมนุษย์สังคมให้มากขึ้น อย่าปล่อยให้ลุกลามแล้วมาแก้ด้วยงบประมาณที่มากมายมหาศาล

ด้าน ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาด้านวิชาการ สสค. กล่าวว่า ข้อมูลเด็กด้อยโอกาสที่พบในประเทศไทยมีกว่า ๕ ล้านคน หรือประมาณ ๓๐% ของเด็กทั่วประเทศ เฉลี่ย ๕-๗ หมื่นคนต่อจังหวัด หรือราว ๔๐๐-๕๐๐ คนต่อตำบล โดยสามารถแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่มคือ ๑. กลุ่มเด็กที่ต้องการดูแลมิติเรื่องการแพทย์ สุขอนามัย รวมถึงการออกแบบการเรียนรู้ โดยเฉพาะ เด็กพิการ บกพร่องทางการเรียนรู้ (LD/สมาธิสั้น ออทิสติก) ๒. ภาวะด้อยโอกาสเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ ๓. ภาวะด้อยโอกาสจากปัญหาสังคม ประกอบด้วยกลุ่มแม่วัยรุ่น โดยจากข้อมูลตัวเลขของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ ๔. กลุ่มเด็กที่มีปัญหาเฉพาะ เช่น กลุ่มที่ถูกใช้แรงงานต่างด้าว เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น ซึ่งหากครอบครัว โรงเรียน ชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดการเข้าไปร่วมกันดูแลก็จะกลายเป็น ความสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจนับสิบล้านบาทต่อตำบลและนับพันล้านบาทต่อ จังหวัดต่อปี ยังไม่รวมถึงความสูญเสียทางสังคมอีกมหาศาล

ที่มา: เดลินิวส์รายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๔ ต.ค.๕๕
วันที่โพสต์: 5/10/2555 เวลา 13:22:13

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีเรตติ้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

จากการเสวนาวิชาการเวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ ๙ ในประเด็นเรื่องการดูแลเด็กด้อยโอกาสในสังคมไทย สู่การจัดการเชิงระบบที่ยั่งยืน จัดโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ฐานะประธานการเสวนา กล่าวว่า ขณะนี้ทุกคนมองว่าคุณภาพเด็กและเยาวชนของประเทศเป็นเรื่องใหญ่ แต่ความจริงเรื่องของเด็กด้อยโอกาสก็เป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน เพราะจากข้อมูลจะพบว่าประเทศไทยมีเด็กด้อยโอกาสอยู่นับหลายล้านคน ดังนั้น การพูดถึงการศึกษาและการพัฒนาจะพูดแต่เรื่องการเรียนรู้อย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะการที่พ่อแม่ ครอบครัวมีฐานะยากจน รวมถึงความอยุติธรรมในสังคมซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่และเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กด้อยโอกาส "จากผลการวิจัยในต่างประเทศ พบข้อมูลว่า เรื่องความเหลื่อมล้ำของรายได้ ปัญหาสุขภาพ การพัฒนาสังคม มีความสัมพันธ์กันเกือบเป็นเส้นตรง โดยสหรัฐอเมริกามีความเหลื่อมล้ำมากที่สุด ส่วนญี่ปุ่น สแกนดิเนเวีย เหลื่อมล้ำน้อยที่สุด ส่วนการแก้ปัญหาความด้อยโอกาสของเด็กและเยาวชนนั้น งานวิจัยบอกว่าต้องนึกถึงการสร้างความเป็นธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ดังนั้นจึงอยากเสนอให้มหาวิทยาลัยในประเทศไทยหันมาทำเรื่องความเป็นธรรม เพื่อนำไปสู่นโยบายสาธารณะ เพราะวันนี้เรื่องเด็กด้อยโอกาสในสังคมไทยเป็นเรื่องเร่งด่วนซึ่งต้องดูเชิงระบบว่าจะทำอะไรได้บ้าง"ศ.นพ.ประเวศกล่าว ดร.ไกรยส ภทราวาท นักเศรษฐศาสตร์ สสค.กล่าวว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำกำลังเป็นมะเร็งของสังคมที่ต้องการการแก้ไข มีคำถามเกิดขึ้นว่าทำไมสังคมสร้างยาแก้ไขออกมารักษาได้หลายโรคแต่ยังไม่มียา รักษาโรคของความเหลื่อมล้ำได้ การแก้ปัญหาด้วยการย้ายทรัพยากรที่ปลายทางกับงบประมาณมหาศาลไม่ใช่แนวทางที่ ถูกต้อง หากปล่อยไว้ก็จะกลายเป็นมะเร็งที่ลุกลาม จึงอยากให้รัฐบาลมีนโยบายและสนับสนุนงบประมาณมาแก้ไข รวมถึงลงทุนในมนุษย์สังคมให้มากขึ้น อย่าปล่อยให้ลุกลามแล้วมาแก้ด้วยงบประมาณที่มากมายมหาศาล ด้าน ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาด้านวิชาการ สสค. กล่าวว่า ข้อมูลเด็กด้อยโอกาสที่พบในประเทศไทยมีกว่า ๕ ล้านคน หรือประมาณ ๓๐% ของเด็กทั่วประเทศ เฉลี่ย ๕-๗ หมื่นคนต่อจังหวัด หรือราว ๔๐๐-๕๐๐ คนต่อตำบล โดยสามารถแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่มคือ ๑. กลุ่มเด็กที่ต้องการดูแลมิติเรื่องการแพทย์ สุขอนามัย รวมถึงการออกแบบการเรียนรู้ โดยเฉพาะ เด็กพิการ บกพร่องทางการเรียนรู้ (LD/สมาธิสั้น ออทิสติก) ๒. ภาวะด้อยโอกาสเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ ๓. ภาวะด้อยโอกาสจากปัญหาสังคม ประกอบด้วยกลุ่มแม่วัยรุ่น โดยจากข้อมูลตัวเลขของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ ๔. กลุ่มเด็กที่มีปัญหาเฉพาะ เช่น กลุ่มที่ถูกใช้แรงงานต่างด้าว เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น ซึ่งหากครอบครัว โรงเรียน ชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดการเข้าไปร่วมกันดูแลก็จะกลายเป็น ความสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจนับสิบล้านบาทต่อตำบลและนับพันล้านบาทต่อ จังหวัดต่อปี

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...