สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕.... ชูประเด็น ‘ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ’

แสดงความคิดเห็น

โลโก้ สปสช.

เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๕ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.) ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและให้ข้อเสนอต่อเอกสาร (ร่าง๑) มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ ณ โรงแรมริชมอนด์ มีผู้เข้าร่วมประมาณ ๒๐๐ คน

เนื่องจากพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ในมาตรา ๒๕(๓) กำหนดให้ “คสช. จะต้องจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง เพื่อประสานให้ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพร่วมกัน” โดยได้กำหนดจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ ประจำปี ๒๕๕๕ ในวันที่ ๑๘-๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

นางกรรณิการ์ บันเทิงจิตร รองเลขาธิการ คสช. ได้กล่าวว่า การจัดสมัชชามีเป้าหมายเพื่อให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุข เน้นการสร้างสุขภาพนำการซ่อมสุขภาพ และนำไปสู่การพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม โดยในปีนี้มีเน้นประเด็น “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ” ซึ่งผู้เสนอประเด็นเพื่อพิจารณาทั้งหมดมี ๘๖๑ ภาคี/เครือข่าย รวมเป็น ๕๐ ข้อเสนอประเด็นนโยบาย พิจารณาเหลือ ๙ ประเด็น/ระเบียบวาระการประชุม เพื่อเข้าสู่กระบวนพิจารณาในการประชุมสมัชชาชาติแห่งชาติต่อไป ได้แก่ ๑)การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ๒)การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก๒๔ ชั่วโมง : กรณีเด็กไทยกับไอที ๓) พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ ๔) การปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย๕)การปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA) ๖)การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ๗) การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ๘)ความปลอดภัยทางอาหาร : การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และ๙)การพัฒนากลไกและกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารและอาหาร

ผู้แทนคนพิการ ได้เสนอขอให้ในพิจารณาตามประเด็นต่างๆ ขอให้มีเรื่องของคนพิการด้วย เพราะคนพิการคือส่วนหนึ่งของสังคมที่มักถูกสังคมลืมทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการต่างๆในสังคม เช่น “ประเด็นการจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน” ผู้เข้าร่วมได้เสนอให้มีการปรับเป็น “การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินทางเพื่อทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ในชีวิต ประจำวัน” ซึ่งเป็นการรณรงค์จัดระบบและโครงสร้างที่เอื้อให้ทั้งคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ หรือผู้ป่วยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ จากทางเท้าได้(มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๓๐ ก.ย.๕๕)

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๓๐ ก.ย.๕๕
วันที่โพสต์: 3/10/2555 เวลา 14:44:25 ดูภาพสไลด์โชว์ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕.... ชูประเด็น ‘ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ’

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีเรตติ้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โลโก้ สปสช. เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๕ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.) ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและให้ข้อเสนอต่อเอกสาร (ร่าง๑) มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ ณ โรงแรมริชมอนด์ มีผู้เข้าร่วมประมาณ ๒๐๐ คน เนื่องจากพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ในมาตรา ๒๕(๓) กำหนดให้ “คสช. จะต้องจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง เพื่อประสานให้ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพร่วมกัน” โดยได้กำหนดจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ ประจำปี ๒๕๕๕ ในวันที่ ๑๘-๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา นางกรรณิการ์ บันเทิงจิตร รองเลขาธิการ คสช. ได้กล่าวว่า การจัดสมัชชามีเป้าหมายเพื่อให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุข เน้นการสร้างสุขภาพนำการซ่อมสุขภาพ และนำไปสู่การพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม โดยในปีนี้มีเน้นประเด็น “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ” ซึ่งผู้เสนอประเด็นเพื่อพิจารณาทั้งหมดมี ๘๖๑ ภาคี/เครือข่าย รวมเป็น ๕๐ ข้อเสนอประเด็นนโยบาย พิจารณาเหลือ ๙ ประเด็น/ระเบียบวาระการประชุม เพื่อเข้าสู่กระบวนพิจารณาในการประชุมสมัชชาชาติแห่งชาติต่อไป ได้แก่ ๑)การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ๒)การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก๒๔ ชั่วโมง : กรณีเด็กไทยกับไอที ๓) พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ ๔) การปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย๕)การปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA) ๖)การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ๗) การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ๘)ความปลอดภัยทางอาหาร : การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และ๙)การพัฒนากลไกและกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารและอาหาร ผู้แทนคนพิการ ได้เสนอขอให้ในพิจารณาตามประเด็นต่างๆ ขอให้มีเรื่องของคนพิการด้วย เพราะคนพิการคือส่วนหนึ่งของสังคมที่มักถูกสังคมลืมทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการต่างๆในสังคม เช่น “ประเด็นการจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน” ผู้เข้าร่วมได้เสนอให้มีการปรับเป็น “การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินทางเพื่อทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ในชีวิต ประจำวัน” ซึ่งเป็นการรณรงค์จัดระบบและโครงสร้างที่เอื้อให้ทั้งคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ หรือผู้ป่วยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ จากทางเท้าได้(มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๓๐

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...