ไม่อยากหูตึง แนะดื่มไวน์แดง
นานมาแล้ว เรารับรู้กันว่า การดื่มไวน์แดงในปริมาณที่เหมาะสม หรือประมาณ 1 แก้วต่อวัน สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและโรคสมองเสื่อมได้ ล่าสุด มีผลวิจัยหนึ่งที่ขอเพิ่มเติมประโยชน์จากการดื่มไวน์แดงไปอีกข้อ เนื่องจากการศึกษาพบว่า ไวน์แดงมีส่วนช่วยป้องกันการสูญเสียการได้ยิน
การศึกษานี้เป็นของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเฮนรี ฟอร์ด ในเมืองดีทรอยด์ สหรัฐ ทำการทดลองกับหนูในห้องแล็บ โดยให้สารเรสเวอราทรอล (Resveratrol) ซึ่งสารนี้พบได้ในองุ่นแดงและไวน์แดง จากนั้นจึงเปิดเสียงดังอึกทึกคึกโคมเป็นระยะเวลานานให้หนูฟัง เพราะโดยหลักการแล้ว ถือว่าเสียงอันดังนั้นมีส่วนทำให้ประสิทธิภาพการได้ยินลดลง หลังการทดลองผ่านไป ทีมวิจัยพบว่า การให้สารเรสเวอราทรอล ส่งผลให้หนูทดลองเหล่านั้นมีประสิทธิภาพในการได้ยินไม่ลดลง แม้จะผ่านสภาพแวดล้อมที่มีเสียงอันดังมานานก็ตาม โดยหัวหน้าทีมวิจัยอธิบายเพิ่มเติมว่า การศึกษาครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ตัวสารดังกล่าวและผลการตอบสนองของร่างกายเมื่อได้รับบาดเจ็บ หรือถูกรบกวนให้เกิดความเสื่อม
สำหรับสารเรสเวอราทรอลนั้น จัดเป็นสารที่มีประสิทธิภาพมาก เพราะตามคำกล่าวอ้างของทีมวิจัยชี้ว่า สารนี้อาจช่วยป้องกันการอักเสบของร่างกาย ชะลอความเสื่อมตามวัย ตลอดจนการทำงานของสมอง และการสูญเสียการได้ยิน หากอนาคตมีการทดลองอย่างต่อเนื่อง หรือมีการนำมาทดลองกับคนอย่างปลอดภัย เราอาจมีตัวช่วยป้องกันหูตึง หูหนวก ซึ่งถือเป็นปัญหาสุขภาพที่มักเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่วัย 60 ปี ทั้งนี้ในปัจจุบัน ผู้คนวัย 40-50 ปี จำนวนไม่น้อย เริ่มประสบปัญหาสูญเสียการได้ยินแล้ว.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/822/186343 (ขนาดไฟล์: 167)
ทีมเดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.พ.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ชายชรา แสดงอาการป้องหูฟังนานมาแล้ว เรารับรู้กันว่า การดื่มไวน์แดงในปริมาณที่เหมาะสม หรือประมาณ 1 แก้วต่อวัน สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและโรคสมองเสื่อมได้ ล่าสุด มีผลวิจัยหนึ่งที่ขอเพิ่มเติมประโยชน์จากการดื่มไวน์แดงไปอีกข้อ เนื่องจากการศึกษาพบว่า ไวน์แดงมีส่วนช่วยป้องกันการสูญเสียการได้ยิน การศึกษานี้เป็นของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเฮนรี ฟอร์ด ในเมืองดีทรอยด์ สหรัฐ ทำการทดลองกับหนูในห้องแล็บ โดยให้สารเรสเวอราทรอล (Resveratrol) ซึ่งสารนี้พบได้ในองุ่นแดงและไวน์แดง จากนั้นจึงเปิดเสียงดังอึกทึกคึกโคมเป็นระยะเวลานานให้หนูฟัง เพราะโดยหลักการแล้ว ถือว่าเสียงอันดังนั้นมีส่วนทำให้ประสิทธิภาพการได้ยินลดลง หลังการทดลองผ่านไป ทีมวิจัยพบว่า การให้สารเรสเวอราทรอล ส่งผลให้หนูทดลองเหล่านั้นมีประสิทธิภาพในการได้ยินไม่ลดลง แม้จะผ่านสภาพแวดล้อมที่มีเสียงอันดังมานานก็ตาม โดยหัวหน้าทีมวิจัยอธิบายเพิ่มเติมว่า การศึกษาครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ตัวสารดังกล่าวและผลการตอบสนองของร่างกายเมื่อได้รับบาดเจ็บ หรือถูกรบกวนให้เกิดความเสื่อม สำหรับสารเรสเวอราทรอลนั้น จัดเป็นสารที่มีประสิทธิภาพมาก เพราะตามคำกล่าวอ้างของทีมวิจัยชี้ว่า สารนี้อาจช่วยป้องกันการอักเสบของร่างกาย ชะลอความเสื่อมตามวัย ตลอดจนการทำงานของสมอง และการสูญเสียการได้ยิน หากอนาคตมีการทดลองอย่างต่อเนื่อง หรือมีการนำมาทดลองกับคนอย่างปลอดภัย เราอาจมีตัวช่วยป้องกันหูตึง หูหนวก ซึ่งถือเป็นปัญหาสุขภาพที่มักเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่วัย 60 ปี ทั้งนี้ในปัจจุบัน ผู้คนวัย 40-50 ปี จำนวนไม่น้อย เริ่มประสบปัญหาสูญเสียการได้ยินแล้ว. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/822/186343 ทีมเดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.พ.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)