เผย 3 ด.ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังขอเปลี่ยนสิทธิ 3 กองทุน 146 ราย
สปสช.เผยยอดเปลี่ยนสิทธิผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 3 กองทุนมีถึง 146 ราย ยันยังได้รับบริการคงเดิม ระบุเพิ่มยาต้านไวรัสเอชไอวี ดารูนาเวียร์เข้าบัญชียาหลักทั้ง 3 กองทุน จากเดิมมีแต่สิทธิข้าราชการเล็งปรับการตรวจปริมาณไวรัสให้ผู้ใช้สิทธิ30บาทเพิ่มเป็นปีละ2ครั้ง
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในการบูรณาการดูแลรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ทั้ง 3 กองทุน ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2555 นั้น กองทุนสวัสดิการข้าราชการมีผู้ป่วยจำนวน 8,810 ราย กองทุนประกันสังคมมีผู้ป่วยจำนวน 9,193 ราย และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค จำนวน 20,777 ราย ซึ่งจากเดิมนั้นแต่ละกองทุนใช้เกณฑ์มาตรฐานทางการแพทย์ในการวินิจฉัยให้ สิทธิผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่แตกต่างกัน และเมื่อมีการเปลี่ยนสิทธิการรักษาพยาบาลทำให้ได้รับการรักษาที่ต่างกันและ ไม่ต่อเนื่อง แต่ภายหลังการบูรณาการใหม่โดยทุกกองทุนใช้เกณฑ์มาตรฐานทางการแพทย์เดียวกัน ในการวินิจฉัยให้สิทธิผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย และให้ผู้ป่วยมีสิทธิใช้วิธีบำบัดทดแทนไตแบบเดิมเมื่อมีการโอนย้ายสิทธิจาก กองทุนหนึ่งไปกองทุนอื่น และหน่วยบริการสาธารณสุขได้รับการชดเชยค่าบริการและเวชภัณฑ์ตามระเบียบของกองทุนที่ผู้ป่วยย้ายเข้าใหม่
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า ผลการดำเนินการ ตั้งแต่ 1 ต.ค. - 31 ธ.ค. 2555 มีการเปลี่ยนสิทธิ 146 ราย แบ่งเป็น 1.จากผู้ใช้สิทธิ 30 บาท เป็นสิทธิประกันสังคมจำนวน 38 ราย 2.จากผู้ใช้สิทธิ 30 บาท เป็นสิทธิสวัสดิการข้าราชการจำนวน 31 ราย 3.จากสิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิ 30 บาทจำนวน 24 ราย และ 4.จากสิทธิข้าราชการเป็นสิทธิ 30 บาท 53 ราย ซึ่งผู้ที่เปลี่ยนสิทธิทุกคนได้รับบริการเหมือนเดิมทำให้มีความต่อเนื่องใน การรักษาและส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
“การบูรณาการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ ให้ทั้ง 3 กองทุนมีมาตรฐานการดูแลรักษาและสิทธิประโยชน์เดียวกัน มีระบบสารสนเทศกลางร่วมกัน และมีการจัดเครือข่ายบริการให้สามารถเลือกรับบริการได้สะดวก” เลขาธิการ สปสช. กล่าวและว่า ความคืบหน้าการปรับสิทธิ ประโยชน์ของ 3 กองทุนมีดังนี้ 1.ยาต้านไวรัสเอชไอวี ดารูนาเวียร์ (Darunavir) เดิมเป็นยาต้านไวรัสดื้อยาสูตรที่ 3 ซึ่งอยู่นอกบัญชียาหลักแห่งชาติมีเฉพาะสิทธิข้าราชการเท่านั้นที่เข้าถึง เมื่อมีการบูรณาการรทั้ง 3 สิทธิได้มีการปรับสิทธิประโยชน์ใหม่ให้ได้รับการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยกรมควบคุมโรคจัดทำหลักเกณฑ์การใช้ และ สปสช.จะจัดซื้อยาเข้าสต็อคภายในเดือนมีนาคมนี้ขณะที่สำนักงานประกันสังคมรอมติคณะกรรมการการแพทย์
นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า กรณีที่ 2. การส่งตรวจปริมาณไวรัส (Viral Load) เดิมนั้นผู้ป่วยสิทธิ 30 บาท ได้รับสิทธิไม่เกิน 1 ครั้ง/ปี ผู้ป่วยประกันสังคมและข้าราชการได้สิทธิ 2 ครั้ง/ปี เมื่อมีการบูรณาการและได้ปรับสิทธิประโยชน์ใหม่ โดยกรมควบคุมโรคปรับปรุงแนวปฏิบัติใหม่ตรวจได้ 1-2 ครั้ง/ปีตามระยะของโรค
“ความคืบหน้าของการดำเนินการหลังจากเริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555 โดยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ทั้ง 3 กองทุน มีทั้งหมด 264,052 คน ทุกรายทุกสิทธิ์เข้าถึงการบำบัดรักษาด้วยมาตรฐานเดียวกัน และได้รับการรักษาแบบเดิมอย่างต่อเนื่องแม้จะเปลี่ยนสิทธิการรักษาก็ตาม” เลขาธิการ สปสช.กล่าว
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000026546 (ขนาดไฟล์: 164)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) สปสช.เผยยอดเปลี่ยนสิทธิผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 3 กองทุนมีถึง 146 ราย ยันยังได้รับบริการคงเดิม ระบุเพิ่มยาต้านไวรัสเอชไอวี ดารูนาเวียร์เข้าบัญชียาหลักทั้ง 3 กองทุน จากเดิมมีแต่สิทธิข้าราชการเล็งปรับการตรวจปริมาณไวรัสให้ผู้ใช้สิทธิ30บาทเพิ่มเป็นปีละ2ครั้ง นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในการบูรณาการดูแลรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ทั้ง 3 กองทุน ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2555 นั้น กองทุนสวัสดิการข้าราชการมีผู้ป่วยจำนวน 8,810 ราย กองทุนประกันสังคมมีผู้ป่วยจำนวน 9,193 ราย และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค จำนวน 20,777 ราย ซึ่งจากเดิมนั้นแต่ละกองทุนใช้เกณฑ์มาตรฐานทางการแพทย์ในการวินิจฉัยให้ สิทธิผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่แตกต่างกัน และเมื่อมีการเปลี่ยนสิทธิการรักษาพยาบาลทำให้ได้รับการรักษาที่ต่างกันและ ไม่ต่อเนื่อง แต่ภายหลังการบูรณาการใหม่โดยทุกกองทุนใช้เกณฑ์มาตรฐานทางการแพทย์เดียวกัน ในการวินิจฉัยให้สิทธิผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย และให้ผู้ป่วยมีสิทธิใช้วิธีบำบัดทดแทนไตแบบเดิมเมื่อมีการโอนย้ายสิทธิจาก กองทุนหนึ่งไปกองทุนอื่น และหน่วยบริการสาธารณสุขได้รับการชดเชยค่าบริการและเวชภัณฑ์ตามระเบียบของกองทุนที่ผู้ป่วยย้ายเข้าใหม่ นพ.วินัย กล่าวอีกว่า ผลการดำเนินการ ตั้งแต่ 1 ต.ค. - 31 ธ.ค. 2555 มีการเปลี่ยนสิทธิ 146 ราย แบ่งเป็น 1.จากผู้ใช้สิทธิ 30 บาท เป็นสิทธิประกันสังคมจำนวน 38 ราย 2.จากผู้ใช้สิทธิ 30 บาท เป็นสิทธิสวัสดิการข้าราชการจำนวน 31 ราย 3.จากสิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิ 30 บาทจำนวน 24 ราย และ 4.จากสิทธิข้าราชการเป็นสิทธิ 30 บาท 53 ราย ซึ่งผู้ที่เปลี่ยนสิทธิทุกคนได้รับบริการเหมือนเดิมทำให้มีความต่อเนื่องใน การรักษาและส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น “การบูรณาการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ ให้ทั้ง 3 กองทุนมีมาตรฐานการดูแลรักษาและสิทธิประโยชน์เดียวกัน มีระบบสารสนเทศกลางร่วมกัน และมีการจัดเครือข่ายบริการให้สามารถเลือกรับบริการได้สะดวก” เลขาธิการ สปสช. กล่าวและว่า ความคืบหน้าการปรับสิทธิ ประโยชน์ของ 3 กองทุนมีดังนี้ 1.ยาต้านไวรัสเอชไอวี ดารูนาเวียร์ (Darunavir) เดิมเป็นยาต้านไวรัสดื้อยาสูตรที่ 3 ซึ่งอยู่นอกบัญชียาหลักแห่งชาติมีเฉพาะสิทธิข้าราชการเท่านั้นที่เข้าถึง เมื่อมีการบูรณาการรทั้ง 3 สิทธิได้มีการปรับสิทธิประโยชน์ใหม่ให้ได้รับการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยกรมควบคุมโรคจัดทำหลักเกณฑ์การใช้ และ สปสช.จะจัดซื้อยาเข้าสต็อคภายในเดือนมีนาคมนี้ขณะที่สำนักงานประกันสังคมรอมติคณะกรรมการการแพทย์ นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า กรณีที่ 2. การส่งตรวจปริมาณไวรัส (Viral Load) เดิมนั้นผู้ป่วยสิทธิ 30 บาท ได้รับสิทธิไม่เกิน 1 ครั้ง/ปี ผู้ป่วยประกันสังคมและข้าราชการได้สิทธิ 2 ครั้ง/ปี เมื่อมีการบูรณาการและได้ปรับสิทธิประโยชน์ใหม่ โดยกรมควบคุมโรคปรับปรุงแนวปฏิบัติใหม่ตรวจได้ 1-2 ครั้ง/ปีตามระยะของโรค “ความคืบหน้าของการดำเนินการหลังจากเริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555 โดยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ทั้ง 3 กองทุน มีทั้งหมด 264,052 คน ทุกรายทุกสิทธิ์เข้าถึงการบำบัดรักษาด้วยมาตรฐานเดียวกัน และได้รับการรักษาแบบเดิมอย่างต่อเนื่องแม้จะเปลี่ยนสิทธิการรักษาก็ตาม” เลขาธิการ สปสช.กล่าว ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000026546
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)