กรมจิต เผยเด็กสมาธิสั้นโอกาสกลายเป็นคนก้าวร้าวสูง

แสดงความคิดเห็น

เด็กเล็ก กำลังฝึกท่องหนังสือ

กรมสุขภาพจิตเผย เด็กสมาธิสั้นมีโอกาสพัฒนาไปสู่ความก้าวร้าว หลังอายุ 16 มีแนวโน้มเกเร ต่อต้านสังคมมากกว่าเด็กปกติ 3.5-4 เท่า สอดคล้องผลวิจัยเด็กในสถานพินิจ พบเป็นโรคสมาธิสั้นถึง 28%เป็นควบภาวะเกเรก้าวราวมากถึง82%

นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า โรคสมาธิสั้นส่งผลต่อความรุนแรงและปัญหาในเด็กและเยาวชน ซึ่งหากให้ความสนใจและรักษาก็จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ โดยโรคสมาธิสั้น (Attention-Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD) เป็นภาวะบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมองทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรม 3 ด้าน คือ 1.ขาดสมาธิต่อเนื่อง 2.ซนมากกว่าปกติไม่นิ่ง 3.ขาดการยั้งคิด หุนหันพลันแล่น ซึ่งจะเกิด 2 สถานการณ์ขึ้นไป ทำให้มีปัญหาต่อการเรียน เข้าสังคม จะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่เด็กก่อน 7 ขวบจนต่อเนื่องเข้าวัยผู้ใหญ่ สมาธิสั้นจึงถือเป็นโรคทางจิตเวช ร้อยละ 5 ของเด็กอายุ 8-11 ปี และร้อยละ 5-10 ของเด็กวัยเรียน โดยพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4-6 เท่า ซึ่งสาเหตุของโรคมีหลายปัจจัยทั้งความผิดปกติของยีน และปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น สารตะกั่ว การสูบบุหรี่ของมารดาขณะตั้งครรภ์ ความผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด เป็นต้น

นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า จากการวิจัยในกลุ่มเด็กที่ต้องคดีในสถานพินิจกรุงเทพมหานคร อายุ 11-18 ปี พบว่ามีเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นอย่างเดียว ร้อยละ 28 และเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมกับภาวะเกเร ก้าวร้าว ถึงร้อยละ 82 สอดคล้องกับงานวิจัยในต่างประเทศว่า เด็กที่มีโรคสมาธิสั้นจะพัฒนาไปสู่ความก้าวร้าวรุนแรง และเมื่อหลังอายุ 16 ก็มีแนวโน้มเกเร ต่อต้านสังคมมากกว่าเด็กปกติ 3.5-4 เท่า ซึ่งเด็กกลุ่มนี้หากได้รับการรักษา เด็ก 10 คนมีโอกาสปกติได้ 8 คน แต่พบว่า ผู้ใหญ่มักไม่เข้าใจ ว่าความก้าวร้าวรุนแรงเกิดจากโรคสมาธิสั้น จึงมักโดนลงโทษ ซึ่งพบว่าจะยิ่งทำให้มีอาการซึมเศร้า พฤติกรรมทำร้ายตนเอง ติดสุรา เมื่อโตขึ้นจะมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อคนอื่น เช่นการทุบตี ทำร้ายคู่สมรสของตนเอง มักนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในครอบครัว

“การแก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้นถือเป็น เรื่องจำเป็น โดยกรมสุขภาพจิตอยู่ระหว่างนำตัวเลขปัญหาไปสู่นโยบายคัดกรองเด็กและให้เด็ก ที่เกิดปัญหาเข้าถึงการรักษาได้ โดยในปีนี้จะดำเนินโครงการนำร่อง โดยจับคู่โรงเรียนกับโรงพยาบาล เพื่อคัดกรองเด็กและทดสอบกลไกแก้ปัญหา ก่อนดำเนินโครงการเต็มรูปแบบในปี 2557 ซึ่งจะมีการพัฒนาคลินิกในการดูแลเด็กสมาธิสั้นด้วย ถือเป็นการสร้างคุณภาพเด็กและแก้ปัญหาสังคม ซึ่งผู้ปกครอง ครู สังคมต้องเร่งทำความเข้าใจร่วมกัน” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000026551 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 4/03/2556 เวลา 03:34:51 ดูภาพสไลด์โชว์ กรมจิต เผยเด็กสมาธิสั้นโอกาสกลายเป็นคนก้าวร้าวสูง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เด็กเล็ก กำลังฝึกท่องหนังสือ กรมสุขภาพจิตเผย เด็กสมาธิสั้นมีโอกาสพัฒนาไปสู่ความก้าวร้าว หลังอายุ 16 มีแนวโน้มเกเร ต่อต้านสังคมมากกว่าเด็กปกติ 3.5-4 เท่า สอดคล้องผลวิจัยเด็กในสถานพินิจ พบเป็นโรคสมาธิสั้นถึง 28%เป็นควบภาวะเกเรก้าวราวมากถึง82% นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า โรคสมาธิสั้นส่งผลต่อความรุนแรงและปัญหาในเด็กและเยาวชน ซึ่งหากให้ความสนใจและรักษาก็จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ โดยโรคสมาธิสั้น (Attention-Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD) เป็นภาวะบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมองทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรม 3 ด้าน คือ 1.ขาดสมาธิต่อเนื่อง 2.ซนมากกว่าปกติไม่นิ่ง 3.ขาดการยั้งคิด หุนหันพลันแล่น ซึ่งจะเกิด 2 สถานการณ์ขึ้นไป ทำให้มีปัญหาต่อการเรียน เข้าสังคม จะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่เด็กก่อน 7 ขวบจนต่อเนื่องเข้าวัยผู้ใหญ่ สมาธิสั้นจึงถือเป็นโรคทางจิตเวช ร้อยละ 5 ของเด็กอายุ 8-11 ปี และร้อยละ 5-10 ของเด็กวัยเรียน โดยพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4-6 เท่า ซึ่งสาเหตุของโรคมีหลายปัจจัยทั้งความผิดปกติของยีน และปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น สารตะกั่ว การสูบบุหรี่ของมารดาขณะตั้งครรภ์ ความผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด เป็นต้น นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า จากการวิจัยในกลุ่มเด็กที่ต้องคดีในสถานพินิจกรุงเทพมหานคร อายุ 11-18 ปี พบว่ามีเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นอย่างเดียว ร้อยละ 28 และเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมกับภาวะเกเร ก้าวร้าว ถึงร้อยละ 82 สอดคล้องกับงานวิจัยในต่างประเทศว่า เด็กที่มีโรคสมาธิสั้นจะพัฒนาไปสู่ความก้าวร้าวรุนแรง และเมื่อหลังอายุ 16 ก็มีแนวโน้มเกเร ต่อต้านสังคมมากกว่าเด็กปกติ 3.5-4 เท่า ซึ่งเด็กกลุ่มนี้หากได้รับการรักษา เด็ก 10 คนมีโอกาสปกติได้ 8 คน แต่พบว่า ผู้ใหญ่มักไม่เข้าใจ ว่าความก้าวร้าวรุนแรงเกิดจากโรคสมาธิสั้น จึงมักโดนลงโทษ ซึ่งพบว่าจะยิ่งทำให้มีอาการซึมเศร้า พฤติกรรมทำร้ายตนเอง ติดสุรา เมื่อโตขึ้นจะมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อคนอื่น เช่นการทุบตี ทำร้ายคู่สมรสของตนเอง มักนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในครอบครัว “การแก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้นถือเป็น เรื่องจำเป็น โดยกรมสุขภาพจิตอยู่ระหว่างนำตัวเลขปัญหาไปสู่นโยบายคัดกรองเด็กและให้เด็ก ที่เกิดปัญหาเข้าถึงการรักษาได้ โดยในปีนี้จะดำเนินโครงการนำร่อง โดยจับคู่โรงเรียนกับโรงพยาบาล เพื่อคัดกรองเด็กและทดสอบกลไกแก้ปัญหา ก่อนดำเนินโครงการเต็มรูปแบบในปี 2557 ซึ่งจะมีการพัฒนาคลินิกในการดูแลเด็กสมาธิสั้นด้วย ถือเป็นการสร้างคุณภาพเด็กและแก้ปัญหาสังคม ซึ่งผู้ปกครอง ครู สังคมต้องเร่งทำความเข้าใจร่วมกัน” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000026551

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...