แชมป์ร้ายทำโลกมืด!! 'ภัยเงียบต้อหิน' ไม่เท่าทัน 'บอดถาวร'
บรรดาโรคภัยไข้เจ็บที่คุกคามมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าหลาย ๆ โรควิทยาการการแพทย์ของมนุษย์จะสามารถเอาชนะ หรือบรรเทาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังมีหลาย ๆ โรคที่ยังไม่อาจจะเอาชนะได้ หรือ ไม่อาจเอาชนะได้หากรู้เมื่อสายเกิน ซึ่งกรณีหลังนี้ก็รวมถึงภัยจากโรคเกี่ยวกับดวงตาที่เรียกว่า ’ต้อหิน“
“ต้อหิน” เป็นโรคภัยที่ยังคุกคามมนุษย์ทั่วโลกในไทยเป็นภัยเบอร์ 1 ที่ทำให้ ’ตาบอดถาวร“ “เป็นสาเหตุนำอันดับหนึ่งของโรคตาบอดอย่างถาวรในประเทศไทย และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของคนไทย” ...นี่เป็นการระบุของ รศ.นพ.ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์ หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโอกาสที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมกับโรงพยาบาลอุดรธานี และบริษัท แอลเลอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด จัดมหกรรมตรวจสุขภาพตาเบื้องต้น “วันต้อหินโลก” โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและต่างประเทศ พร้อมทั้งจัดเสวนา “ต้อหิน ตรวจก่อน รู้ก่อน ป้องกันตาบอดได้” ด้วย
หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ระบุไว้ว่า...ต้อหินเป็นโรคที่รุนแรงและทำให้ตาบอดได้โดยไม่รู้ตัว รุนแรงกว่าต้อกระจก โรคเบาหวานขึ้นตา โดย ผู้ป่วย 9 ใน 10 ราย จะไม่รู้ว่าตัวเองเป็นต้อหิน อาการของผู้ป่วยคือจะค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็น และเป็นสาเหตุสำคัญของการตาบอด ซึ่งในไทยปัจจุบันคาดว่ามีผู้เป็นต้อหินเกือบ 3 ล้านคน โดยพบมากที่สุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ น้อยที่สุดคือภาคใต้ กลุ่มเสี่ยงคือผู้มีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป หรือมีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นต้อหิน
แม้แต่ในกรุงเทพฯที่เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้สะดวกกว่าต่างจังหวัด ทาง รศ.นพ.ปริญญ์บอกไว้ว่า...ก็เป็นต้อหินกันมาก จากการสำรวจในกรุงเทพฯพบว่า แต่หากปล่อยไว้ก็อาจนำไปสู่โรคต้อหินถาวร อย่างไรก็ดี หากมีการตรวจพบก่อน และรีบทำการรักษา ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้อย่างถาวรได้ แต่ปัญหาก็คือมักไม่รู้ตัว
“ปัญหาที่สำคัญที่สุดของต้อหินคือการไม่รู้ตัวว่าตนเองป่วยเป็นโรค เพราะในระยะแรกจะไม่มีอาการใด ๆ ซึ่งนี่เป็นสาเหตุทำให้ประสาทตาถูกทำลายไปมากแล้ว กว่าที่จะรู้ตัว และเมื่อโรคลุกลามไปมาก การรักษาก็มักไม่ได้ผล โรคต้อหินเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว และทำลายคุณภาพชีวิตในระยะยาว นำมาซึ่งความทุกข์ และคุณภาพชีวิตที่ด้อยลงอย่างมากเมื่อสูญเสียการมองเห็น”...รศ.นพ.ปริญญ์ระบุไว้ พร้อมทั้งยังบอกไว้ด้วยว่า...ปัจจุบันมีคนไทยจำนวนมากที่ยังละเลยการดูแลใส่ใจสุขภาพดวงตาของตนเองและคนในครอบครัว จึงก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพดวงตา และเกิดปัญหาทางสังคมตามมา ซึ่งการตรวจพบโรคต้อหินในระยะเริ่มแรกจะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยตาบอด ช่วยลดปัญหาทางสังคม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดีขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันรณรงค์ให้ความรู้ กระตุ้นเตือนให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรค “ต้อหิน” เพื่อให้ประชาชนทราบ เท่าทัน และระวังป้องกันการ “ตาบอด” เพราะโรคต้อหิน
ทางด้าน นพ.ศิริวัฒน์ ไชยเอีย หัวหน้ากลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลอุดรธานี ระบุไว้ว่า... ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคต้อหินในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความดันในลูกตา โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง การใช้ยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ และรวมถึงการที่สังคมไทยมีผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้เรื่องต้อหิน ส่งผลให้มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากการ ’ตาบอดถาวรจากโรคต้อหิน“
“...จริง ๆ แล้วสามารถจะป้องกันได้ หากได้รับการวินิจฉัยรักษาแต่เนิ่น ๆ ดังนั้น การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลและเฝ้าระวังการเกิดโรคต้อหินไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึง จึงเป็นสิ่งสำคัญ” ...นพ.ศิริวัฒน์ ระบุไว้ พร้อมบอกว่า... การที่ภาครัฐ และภาคเอกชน ร่วมมือกันดำเนินการเรื่องนี้ นับเป็นเรื่องที่ดีขณะที่ ดร.มาร์กอต กูดคิน (Dr.Margot Goodkin) ผู้บริหารของบริษัท แอลเลอร์แกน ระบุไว้ว่า... ทางบริษัทฯมีนโยบายขยายการเข้าถึงของโครงการเกี่ยวกับต้อหินนี้ให้ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ ในไทยให้มากที่สุด เพื่อสนับสนุนภาครัฐในการส่งเสริมให้ประชาชนรู้เท่าทันโรคต้อหิน ช่วยให้เกิดการเข้าใจถึงปัญหาสุขภาพ ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อันเป็นสาเหตุของโรค ที่เกิดขึ้นในชุมชนต่างๆ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาและรับมือได้อย่างถูกต้อง และทิ้งท้าย ผู้บริหารภาคเอกชนรายนี้บอกไว้ว่า... ’ทุกคนควรใส่ใจดูแลดวงตาของตนเองและคนรอบข้าง เพื่อรู้เท่าทัน รับคำแนะนำเพื่อปรับการดำรงชีวิตให้เหมาะสม เพื่อป้องกันต้อหินได้ทันท่วงที“ หลาย ๆ ฝ่ายก็ช่วยกันตรวจ และช่วยกันเตือน ประชาชนเองก็ ’อย่าได้ละเลยสุขภาพดวงตา“ ’ต้อหิน“ ทำตาบอดได้ ’ต้องกลัวก่อนโลกมืด“.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/188897 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
จักษุวิทยา ตรวจวัดสายตาผู้ป่วย บรรดาโรคภัยไข้เจ็บที่คุกคามมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าหลาย ๆ โรควิทยาการการแพทย์ของมนุษย์จะสามารถเอาชนะ หรือบรรเทาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังมีหลาย ๆ โรคที่ยังไม่อาจจะเอาชนะได้ หรือ ไม่อาจเอาชนะได้หากรู้เมื่อสายเกิน ซึ่งกรณีหลังนี้ก็รวมถึงภัยจากโรคเกี่ยวกับดวงตาที่เรียกว่า ’ต้อหิน“ “ต้อหิน” เป็นโรคภัยที่ยังคุกคามมนุษย์ทั่วโลกในไทยเป็นภัยเบอร์ 1 ที่ทำให้ ’ตาบอดถาวร“ “เป็นสาเหตุนำอันดับหนึ่งของโรคตาบอดอย่างถาวรในประเทศไทย และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของคนไทย” ...นี่เป็นการระบุของ รศ.นพ.ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์ หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโอกาสที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมกับโรงพยาบาลอุดรธานี และบริษัท แอลเลอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด จัดมหกรรมตรวจสุขภาพตาเบื้องต้น “วันต้อหินโลก” โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและต่างประเทศ พร้อมทั้งจัดเสวนา “ต้อหิน ตรวจก่อน รู้ก่อน ป้องกันตาบอดได้” ด้วย หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ระบุไว้ว่า...ต้อหินเป็นโรคที่รุนแรงและทำให้ตาบอดได้โดยไม่รู้ตัว รุนแรงกว่าต้อกระจก โรคเบาหวานขึ้นตา โดย ผู้ป่วย 9 ใน 10 ราย จะไม่รู้ว่าตัวเองเป็นต้อหิน อาการของผู้ป่วยคือจะค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็น และเป็นสาเหตุสำคัญของการตาบอด ซึ่งในไทยปัจจุบันคาดว่ามีผู้เป็นต้อหินเกือบ 3 ล้านคน โดยพบมากที่สุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ น้อยที่สุดคือภาคใต้ กลุ่มเสี่ยงคือผู้มีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป หรือมีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นต้อหิน แม้แต่ในกรุงเทพฯที่เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้สะดวกกว่าต่างจังหวัด ทาง รศ.นพ.ปริญญ์บอกไว้ว่า...ก็เป็นต้อหินกันมาก จากการสำรวจในกรุงเทพฯพบว่า แต่หากปล่อยไว้ก็อาจนำไปสู่โรคต้อหินถาวร อย่างไรก็ดี หากมีการตรวจพบก่อน และรีบทำการรักษา ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้อย่างถาวรได้ แต่ปัญหาก็คือมักไม่รู้ตัว “ปัญหาที่สำคัญที่สุดของต้อหินคือการไม่รู้ตัวว่าตนเองป่วยเป็นโรค เพราะในระยะแรกจะไม่มีอาการใด ๆ ซึ่งนี่เป็นสาเหตุทำให้ประสาทตาถูกทำลายไปมากแล้ว กว่าที่จะรู้ตัว และเมื่อโรคลุกลามไปมาก การรักษาก็มักไม่ได้ผล โรคต้อหินเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว และทำลายคุณภาพชีวิตในระยะยาว นำมาซึ่งความทุกข์ และคุณภาพชีวิตที่ด้อยลงอย่างมากเมื่อสูญเสียการมองเห็น”...รศ.นพ.ปริญญ์ระบุไว้ พร้อมทั้งยังบอกไว้ด้วยว่า...ปัจจุบันมีคนไทยจำนวนมากที่ยังละเลยการดูแลใส่ใจสุขภาพดวงตาของตนเองและคนในครอบครัว จึงก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพดวงตา และเกิดปัญหาทางสังคมตามมา ซึ่งการตรวจพบโรคต้อหินในระยะเริ่มแรกจะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยตาบอด ช่วยลดปัญหาทางสังคม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดีขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันรณรงค์ให้ความรู้ กระตุ้นเตือนให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรค “ต้อหิน” เพื่อให้ประชาชนทราบ เท่าทัน และระวังป้องกันการ “ตาบอด” เพราะโรคต้อหิน ทางด้าน นพ.ศิริวัฒน์ ไชยเอีย หัวหน้ากลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลอุดรธานี ระบุไว้ว่า... ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคต้อหินในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความดันในลูกตา โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง การใช้ยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ และรวมถึงการที่สังคมไทยมีผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้เรื่องต้อหิน ส่งผลให้มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากการ ’ตาบอดถาวรจากโรคต้อหิน“ “...จริง ๆ แล้วสามารถจะป้องกันได้ หากได้รับการวินิจฉัยรักษาแต่เนิ่น ๆ ดังนั้น การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลและเฝ้าระวังการเกิดโรคต้อหินไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึง จึงเป็นสิ่งสำคัญ” ...นพ.ศิริวัฒน์ ระบุไว้ พร้อมบอกว่า... การที่ภาครัฐ และภาคเอกชน ร่วมมือกันดำเนินการเรื่องนี้ นับเป็นเรื่องที่ดีขณะที่ ดร.มาร์กอต กูดคิน (Dr.Margot Goodkin) ผู้บริหารของบริษัท แอลเลอร์แกน ระบุไว้ว่า... ทางบริษัทฯมีนโยบายขยายการเข้าถึงของโครงการเกี่ยวกับต้อหินนี้ให้ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ ในไทยให้มากที่สุด เพื่อสนับสนุนภาครัฐในการส่งเสริมให้ประชาชนรู้เท่าทันโรคต้อหิน ช่วยให้เกิดการเข้าใจถึงปัญหาสุขภาพ ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อันเป็นสาเหตุของโรค ที่เกิดขึ้นในชุมชนต่างๆ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาและรับมือได้อย่างถูกต้อง และทิ้งท้าย ผู้บริหารภาคเอกชนรายนี้บอกไว้ว่า... ’ทุกคนควรใส่ใจดูแลดวงตาของตนเองและคนรอบข้าง เพื่อรู้เท่าทัน รับคำแนะนำเพื่อปรับการดำรงชีวิตให้เหมาะสม เพื่อป้องกันต้อหินได้ทันท่วงที“ หลาย ๆ ฝ่ายก็ช่วยกันตรวจ และช่วยกันเตือน ประชาชนเองก็ ’อย่าได้ละเลยสุขภาพดวงตา“ ’ต้อหิน“ ทำตาบอดได้ ’ต้องกลัวก่อนโลกมืด“. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/188897
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)