ตื่นตัว ตรวจตา ป้องกันตาบอดจากต้อหิน
“ต้อหิน”เป็นโรคความเสื่อม เกิดจากขั้วประสาทตา ซึ่งมีหน้าที่รับสัญญาณภาพส่งไปยังสมองถูกทำลายด้วยความดันลูกตา เซลล์เส้นประสาทที่ตายไปแล้ว ไม่สามารถทำให้กลับฟื้นคืนมาได้ เป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถรักษาเพื่อหยุดไม่ให้อาการแย่ลงได้ โดยการหยอดตา เลเซอร์ หรือผ่าตัด จัดเป็นภัยเงียบอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากในระยะแรกจะไม่มีอาการใด ๆ ถ้าไม่ตรวจก็ไม่สามารถรู้ได้ โรคจะค่อย ๆ เป็นไปอย่างช้า ๆ จะทำให้การมองเห็นแคบลง แต่ตรงกลางยังคงมองเห็นได้ดี ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกผิดปกติใด ๆ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็อาจมีอาการมากแล้วถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆอาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นได้
ในอดีต คนไทยมักเรียกผู้ป่วยที่สูญเสียการมองเห็นเนื่องจากเป็นโรคต้อหินว่า “บอดตาใส” เนื่องจากลักษณะนัยน์ตาจะเหมือนคนปกติ ไม่มีลักษณะขุ่นขาว หรืออาการผิดสังเกตอื่น ๆ และเนื่องจากเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความเสื่อม ดังนั้นอายุยิ่งเยอะก็ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคมากขึ้น ปัจจุบันประชากรทั่วโลกมีแนวโน้มอายุยืนขึ้น ทำให้มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคต้อหินกันมากขึ้น ความชุกของการเกิดโรค 2-6% ของประชากร และทุกๆช่วงอายุ10ปีที่เพิ่มขึ้นก็จะยิ่งมีความชุกของการเกิดโรคมากขึ้น
ปัจจุบันทั่วโลกมีคนเป็นโรคต้อหินประมาณ 60-70 ล้านคน และในจำนวนนี้ 6-7 ล้านคนมีอาการรุนแรงถึงขั้นตาบอด จากการศึกษาพบว่ามีคนไม่รู้มากกว่า 50-90% เพราะไม่เคยตรวจตา นายแพทย์บุญส่ง วนิชเวชารุ่งเรือง นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา ประธานชมรมต้อหินแห่งประเทศไทย ในราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ต้อหินเป็นสาเหตุทำให้เกิดตาบอด การสูญเสียการมองเห็น นอกจากจะเป็นภาระต่อตนเองแล้ว ยังจะเป็นภาระต่อครอบครัว และสังคมอีกด้วย แต่ถ้าหากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดตาบอดแบบถาวรได้ดังนั้นการตรวจตาเป็นประจำทุกปีจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ซึ่งได้แก่ คนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี, มีประวัติครอบครัว พ่อแม่พี่น้องสายตรงเป็นต้อหิน, คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดในลูกตา มีอุบัติเหตุทางตา, มีสายตาสั้นหรือยาวมาก ๆ, มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไทรอยด์, ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ เช่นคนไข้โรคพุ่มพวง เป็นต้น 10-16 มีนาคม นี้ เป็นช่วงสัปดาห์ต้อหินโลก ทั่วโลกร่วมกันรณรงค์ ภายใต้คำขวัญ “รวมพลัง ระวังต้อหิน ตื่นตัว ตรวจตา ป้องกันตาบอดจากต้อหินได้”เน้นคนกลุ่มเสี่ยงดังที่กล่าวไปข้างต้นควรจะได้รับการตรวจตาเป็นประจำทุกปี
“ตรวจร่างกายประจำปี อย่าลืมตรวจตาร่วมด้วย โรงพยาบาลทั่วไปที่มีจักษุแพทย์ก็สามารถทำการตรวจได้ ไม่จำเป็นต้องแห่เข้ามาตรวจในงาน ใช้เวลาตรวจเพียงแค่ 15-60 นาทีก็สามารถรู้ผลได้ ไม่เสียเวลามาก และหากตรวจพบว่าเป็นโรคต้อหิน ก็จำเป็นต้องทำการรักษาและไปพบแพทย์ตลอด เพราะโรคต้อหินจัดเป็นโรคเรื้อรัง เหมือนเบาหวาน ความดัน ไม่ควรหยุดยาเอง”นายแพทย์บุญส่ง วนิชเวชารุ่งเรือง กล่าวสรุป.ทีมเดลินิวส์38 y_38@dailynews.co.th
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/348/190283 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
“ต้อหิน”เป็นโรคความเสื่อม เกิดจากขั้วประสาทตา ซึ่งมีหน้าที่รับสัญญาณภาพส่งไปยังสมองถูกทำลายด้วยความดันลูกตา เซลล์เส้นประสาทที่ตายไปแล้ว ไม่สามารถทำให้กลับฟื้นคืนมาได้ เป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถรักษาเพื่อหยุดไม่ให้อาการแย่ลงได้ โดยการหยอดตา เลเซอร์ หรือผ่าตัด จัดเป็นภัยเงียบอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากในระยะแรกจะไม่มีอาการใด ๆ ถ้าไม่ตรวจก็ไม่สามารถรู้ได้ โรคจะค่อย ๆ เป็นไปอย่างช้า ๆ จะทำให้การมองเห็นแคบลง แต่ตรงกลางยังคงมองเห็นได้ดี ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกผิดปกติใด ๆ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็อาจมีอาการมากแล้วถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆอาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นได้ ในอดีต คนไทยมักเรียกผู้ป่วยที่สูญเสียการมองเห็นเนื่องจากเป็นโรคต้อหินว่า “บอดตาใส” เนื่องจากลักษณะนัยน์ตาจะเหมือนคนปกติ ไม่มีลักษณะขุ่นขาว หรืออาการผิดสังเกตอื่น ๆ และเนื่องจากเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความเสื่อม ดังนั้นอายุยิ่งเยอะก็ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคมากขึ้น ปัจจุบันประชากรทั่วโลกมีแนวโน้มอายุยืนขึ้น ทำให้มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคต้อหินกันมากขึ้น ความชุกของการเกิดโรค 2-6% ของประชากร และทุกๆช่วงอายุ10ปีที่เพิ่มขึ้นก็จะยิ่งมีความชุกของการเกิดโรคมากขึ้น ปัจจุบันทั่วโลกมีคนเป็นโรคต้อหินประมาณ 60-70 ล้านคน และในจำนวนนี้ 6-7 ล้านคนมีอาการรุนแรงถึงขั้นตาบอด จากการศึกษาพบว่ามีคนไม่รู้มากกว่า 50-90% เพราะไม่เคยตรวจตา นายแพทย์บุญส่ง วนิชเวชารุ่งเรือง นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา ประธานชมรมต้อหินแห่งประเทศไทย ในราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ต้อหินเป็นสาเหตุทำให้เกิดตาบอด การสูญเสียการมองเห็น นอกจากจะเป็นภาระต่อตนเองแล้ว ยังจะเป็นภาระต่อครอบครัว และสังคมอีกด้วย แต่ถ้าหากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดตาบอดแบบถาวรได้ดังนั้นการตรวจตาเป็นประจำทุกปีจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ซึ่งได้แก่ คนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี, มีประวัติครอบครัว พ่อแม่พี่น้องสายตรงเป็นต้อหิน, คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดในลูกตา มีอุบัติเหตุทางตา, มีสายตาสั้นหรือยาวมาก ๆ, มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไทรอยด์, ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ เช่นคนไข้โรคพุ่มพวง เป็นต้น 10-16 มีนาคม นี้ เป็นช่วงสัปดาห์ต้อหินโลก ทั่วโลกร่วมกันรณรงค์ ภายใต้คำขวัญ “รวมพลัง ระวังต้อหิน ตื่นตัว ตรวจตา ป้องกันตาบอดจากต้อหินได้”เน้นคนกลุ่มเสี่ยงดังที่กล่าวไปข้างต้นควรจะได้รับการตรวจตาเป็นประจำทุกปี “ตรวจร่างกายประจำปี อย่าลืมตรวจตาร่วมด้วย โรงพยาบาลทั่วไปที่มีจักษุแพทย์ก็สามารถทำการตรวจได้ ไม่จำเป็นต้องแห่เข้ามาตรวจในงาน ใช้เวลาตรวจเพียงแค่ 15-60 นาทีก็สามารถรู้ผลได้ ไม่เสียเวลามาก และหากตรวจพบว่าเป็นโรคต้อหิน ก็จำเป็นต้องทำการรักษาและไปพบแพทย์ตลอด เพราะโรคต้อหินจัดเป็นโรคเรื้อรัง เหมือนเบาหวาน ความดัน ไม่ควรหยุดยาเอง”นายแพทย์บุญส่ง วนิชเวชารุ่งเรือง กล่าวสรุป.ทีมเดลินิวส์38 y_38@dailynews.co.th ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/348/190283
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)