เมื่อ “หูหนู” มีปัญหา/Health Line สายตรงสุขภาพ
อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ เพราะถ้าหากเด็กแรกเกิดหรือว่าลูกน้อยของคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน มันจะส่งผลต่อพัฒนาการในด้านอื่นๆ ของเขาตามไปด้วย ไล่ตั้งแต่การพูด การสื่อสาร ไปจนถึงการเข้าสังคมแต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยของเรามีปัญหาเช่นนั้น
นพ.พิบูล วชิรลาภไพฑูรย์ หัวหน้างานโสต คอ นาสิก โรงพยาบาลเด็ก ให้ข้อมูลว่า อาการที่หูมีปัญหาในการได้ยิน สามารถเกิดขึ้นมาได้ตั้งแต่แรกคลอด ไปจนถึงหลังคลอด และจะเป็นตลอดไป หากไม่ได้รับการรักษา “แรกคลอดก็คือเป็นโรคจากพันธุกรรม หรือว่ามีการติดเชื้อของมารดาช่วงตั้งครรภ์ อย่างพวกหัดเยอรมันซึ่งคุณแม่ไม่ได้ฉีดวัคซีนเอาไว้ เพราะถ้าติดเชื้อแล้ว มันจะแก้ไขไม่ได้เลย ส่วนอีกอย่างก็คือหลังคลอด ก็จะมีโรคหลายโรค เช่นมีความผิดปกติทางใบหน้าหรือใบหู หรือมีการติดเชื้อหลังคลอด เช่นติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นต้นอีกกลุ่มหนึ่งก็เป็นเรื่องอุบัติเหตุ”
ปัจจุบันเด็กที่มีปัญหาในการได้ยิน มีอัตราส่วนอยู่ที่หนึ่งถึงสองคน ต่อจำนวนเด็กหนึ่งพันคน และกลุ่มที่ถือว่าเสี่ยงมากที่สุด คือกลุ่มเด็กแรกคลอดที่ต้องนอนในห้องไอ.ซี.ยู.นานๆ หรือคลอดก่อนกำเนิด ในทางการแพทย์ มีวิธีการสังเกตแบบเป็นวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเฝ้าระวังเพื่อศึกษาว่าเด็กคนไหนมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน ประกอบไปด้วย 1.มีบุคคลในครอบครัวมีปัญหาเรื่องการได้ยินบกพร่อง หรือหูหนวกตั้งแต่วัยเด็ก 2.แม่มีการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ 3.ทารกที่มีปัญหากระดูกใบหน้า กะโหลกศีรษะ รูหู ใบหู ผิดรูปไปจากปกติ 4.มีปัญหาระหว่างการคลอด โดยเฉพาะทารกจะต้องได้รับการพยาบาลในห้องไอ.ซี.ยู.ตัวเหลืองได้รับการถ่ายเลือดใช้เครื่องช่วยหายใจ5.น้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่า1500กรัม
“เด็กที่ไม่ตอบสนองต่อเสียง หรือในกรณีที่ว่าเด็กโตหน่อย จะพูดช้า หรือบางคนก็อาจจะไม่ค่อยสนสิ่งแวดล้อม แต่ดีที่สุดก็คือตรวจการได้ยินตั้งแต่แรกคลอด เหมือนเป็นการคัดกรอง เพราะว่าบางที จะใช้วิธีสังเกตมันก็สังเกตได้ยากเหมือนกัน”นพ.พิบูลกล่าว
ดังนั้น วิธีการที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่สบายใจได้มากที่สุด ก็คือการตรวจคัดกรองตั้งแต่แรกเกิดว่าลูกน้อยมีปัญหาในการได้ยินหรือไม่ และยิ่งรู้ได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งรักษาได้เร็วเท่านั้น เนื่องจากบ่อยครั้งที่พ่อแม่กว่าจะรู้ว่าลูกรักมีปัญหาการได้ยิน ก็ต่อเมื่อลูกอายุ 2-3 ขวบ หรือเริ่มโตแล้ว และตอนนั้นก็อาจจะไม่ทันการต่อการรักษาเยียวยา
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ http://www.manager.co.th/vdo (ขนาดไฟล์: 276)
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000031071 (ขนาดไฟล์: 164)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แม่กระซิบข้างหูลูกน้อย อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ เพราะถ้าหากเด็กแรกเกิดหรือว่าลูกน้อยของคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน มันจะส่งผลต่อพัฒนาการในด้านอื่นๆ ของเขาตามไปด้วย ไล่ตั้งแต่การพูด การสื่อสาร ไปจนถึงการเข้าสังคมแต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยของเรามีปัญหาเช่นนั้น นพ.พิบูล วชิรลาภไพฑูรย์ หัวหน้างานโสต คอ นาสิก โรงพยาบาลเด็ก ให้ข้อมูลว่า อาการที่หูมีปัญหาในการได้ยิน สามารถเกิดขึ้นมาได้ตั้งแต่แรกคลอด ไปจนถึงหลังคลอด และจะเป็นตลอดไป หากไม่ได้รับการรักษา “แรกคลอดก็คือเป็นโรคจากพันธุกรรม หรือว่ามีการติดเชื้อของมารดาช่วงตั้งครรภ์ อย่างพวกหัดเยอรมันซึ่งคุณแม่ไม่ได้ฉีดวัคซีนเอาไว้ เพราะถ้าติดเชื้อแล้ว มันจะแก้ไขไม่ได้เลย ส่วนอีกอย่างก็คือหลังคลอด ก็จะมีโรคหลายโรค เช่นมีความผิดปกติทางใบหน้าหรือใบหู หรือมีการติดเชื้อหลังคลอด เช่นติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นต้นอีกกลุ่มหนึ่งก็เป็นเรื่องอุบัติเหตุ” ปัจจุบันเด็กที่มีปัญหาในการได้ยิน มีอัตราส่วนอยู่ที่หนึ่งถึงสองคน ต่อจำนวนเด็กหนึ่งพันคน และกลุ่มที่ถือว่าเสี่ยงมากที่สุด คือกลุ่มเด็กแรกคลอดที่ต้องนอนในห้องไอ.ซี.ยู.นานๆ หรือคลอดก่อนกำเนิด ในทางการแพทย์ มีวิธีการสังเกตแบบเป็นวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเฝ้าระวังเพื่อศึกษาว่าเด็กคนไหนมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน ประกอบไปด้วย 1.มีบุคคลในครอบครัวมีปัญหาเรื่องการได้ยินบกพร่อง หรือหูหนวกตั้งแต่วัยเด็ก 2.แม่มีการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ 3.ทารกที่มีปัญหากระดูกใบหน้า กะโหลกศีรษะ รูหู ใบหู ผิดรูปไปจากปกติ 4.มีปัญหาระหว่างการคลอด โดยเฉพาะทารกจะต้องได้รับการพยาบาลในห้องไอ.ซี.ยู.ตัวเหลืองได้รับการถ่ายเลือดใช้เครื่องช่วยหายใจ5.น้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่า1500กรัม “เด็กที่ไม่ตอบสนองต่อเสียง หรือในกรณีที่ว่าเด็กโตหน่อย จะพูดช้า หรือบางคนก็อาจจะไม่ค่อยสนสิ่งแวดล้อม แต่ดีที่สุดก็คือตรวจการได้ยินตั้งแต่แรกคลอด เหมือนเป็นการคัดกรอง เพราะว่าบางที จะใช้วิธีสังเกตมันก็สังเกตได้ยากเหมือนกัน”นพ.พิบูลกล่าว ดังนั้น วิธีการที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่สบายใจได้มากที่สุด ก็คือการตรวจคัดกรองตั้งแต่แรกเกิดว่าลูกน้อยมีปัญหาในการได้ยินหรือไม่ และยิ่งรู้ได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งรักษาได้เร็วเท่านั้น เนื่องจากบ่อยครั้งที่พ่อแม่กว่าจะรู้ว่าลูกรักมีปัญหาการได้ยิน ก็ต่อเมื่อลูกอายุ 2-3 ขวบ หรือเริ่มโตแล้ว และตอนนั้นก็อาจจะไม่ทันการต่อการรักษาเยียวยา ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ http://www.manager.co.th/vdo ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000031071
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)