เผยผลวิเคราะห์ยากลูโคซามีน สร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยคุณภาพยากลูโคซามีนทั้งรูปแบบยาผงละลายน้ำ ยาแคปซูล และยาเม็ด ที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้าส่วนใหญ่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด จาก 90 ตัวอย่างมีเพียง 2 ตัวอย่างที่ผิดมาตรฐานในหัวข้อความแตกต่างจากน้ำหนักเฉลี่ย และ ปริมาณตัวยาสำคัญต่ำกว่าเกณฑ์ หัวข้อละ 1 ตัวอย่าง พร้อมแนะนำผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมให้พิจารณาเลือกใช้ยี่ห้อและราคาตามความ เหมาะสม
นายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่ายากลูโคซามีน เป็นยา ที่นำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการเสื่อมและอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งปัจจุบันในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อ ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า โดยข้อมูลการขึ้นทะเบียนตำรับยากลูโคซามีนที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่ามีจำนวน 131 ตำรับ จาก 44 บริษัท และมีหลายรูปแบบทั้งในรูปแบบยาผงละลายน้ำ ยาแคปซูล และยาเม็ด ดังนั้นในปีงบประมาณ 2554
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดำเนินการสุ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพยากลูโคซามีนจากผู้ผลิตและโรงพยาบาลของรัฐ ทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพยาให้แก่ประชาชน จำนวน 90 ตัวอย่าง ทั้งประเภทยาเม็ด ยาแคปซูล และยาผงสำหรับละลายน้ำ โดยพบว่า ยาเม็ดขนาดความแรง 500,750 และ1,000 มิลลิกรัมต่อเม็ด จำนวน 8 ตัวอย่างผ่านเกณฑ์ทุกตัวอย่าง ยาแคปซูลขนาดความแรง 250 และ500 มิลลิกรัมต่อแคปซูล จำนวน 47 ตัวอย่าง พบว่าผิดมาตรฐาน 1 ตัวอย่างในหัวข้อความแตกต่างจากน้ำหนักเฉลี่ย ซึ่งเป็นการทดสอบน้ำหนักยาแต่ละแคปซูลที่สุ่มตรวจว่าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนยาผงสำหรับละลายน้ำขนาด 1,500 มิลลิกรัมต่อซอง จำนวน 35 ตัวอย่าง พบผิดมาตรฐานเรื่องปริมาณตัวยาสำคัญต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 1 ตัวอย่าง
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวพบว่าส่วนใหญ่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับตัวอย่างที่พบผิดมาตรฐานทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้แจ้งให้ทางสำนัก งานคณะกรรมการอาหารและยาดำเนินการต่อไปแล้ว ยากลูโคซามีนเป็นยาที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูงซึ่งในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาจัดให้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ประชาชนสามารถเลือกซื้อรับ ประทานได้เอง สำหรับประเทศไทยอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเฉพาะเป็นยาเท่านั้น ดังนั้นผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ต้องการใช้ยากลูโคซามีนเพื่อเป็นทางเลือก ในการบรรเทาอาการข้อเข้าเสื่อม ควรพิจารณาเลือกใช้ยี่ห้อและราคาตามความเหมาะสม เนื่องจากกลูโคซามีนที่จำหน่ายในท้องตลาดมีความแตกต่างของราคามาก
ภญ.นิดาพรรณ เรืองฤทธินนท์ ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด กล่าว เพิ่มเติมว่า ปัจจุบันกลไกการออกฤทธิ์ของยากลูโคซามีนยังไม่ทราบชัดเจนและยังเป็นที่ถกเถียงทางการแพทย์เกี่ยวกับประสิทธิผลของการใช้รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งในต่างประเทศมีการขึ้นทะเบียนกลูโคซามีนทั้งที่เป็นยาและหรือผลิตภัณฑ์ เสริมอาหาร แต่สำหรับประเทศไทยอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเฉพาะเป็นยาเท่านั้น และที่ผ่านมาพบว่ายากลูโคซามีนเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีมูลค่าการเบิกจ่ายสูงทำให้เป็นประเด็นในเรื่องของประสิทธิผลและความคุ้มค่าของการใช้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้มีการเจรจาต่อรองราคายาและจัดทำราคากลางเพื่อควบคุม การเบิกจ่ายยาให้เกิดการใช้ยาที่เหมาะสมและคุ้มค่า
ส่วนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ผ่านมาได้จัดทำ “โครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยา” โดยการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาจากโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ และตัวอย่างที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาส่งตรวจวิเคราะห์ มาตรวจวิเคราะห์คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยาตามหัวข้อที่กำหนดไว้ใน ตำรายาสากล เช่น ปริมาณตัวยาสำคัญ การละลายของตัวยา ปริมาณความชื้น เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนผู้ใช้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพ ตั้งแต่ปี 2545 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันพร้อมกับจัดทำเอกสารสรุปผลวิเคราะห์ทั้งหมดเผยแพร่ ให้เครือข่ายสาธารณสุขภาครัฐทราบทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ทางเว็ปไซต์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และจัดทำหนังสือ “รายชื่อผลิตภัณฑ์ยาคุณภาพและผู้ผลิต” หรือ “GREEN BOOK” เพื่อให้โรงพยาบาลได้นำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการจัดซื้อยาเข้าโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้ได้มีการเผยแพร่แล้วจำนวน 8 เล่ม
ขอบคุณ... http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/33551 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
รวมภาพลักษณะอาการผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยคุณภาพยากลูโคซามีนทั้งรูปแบบยาผงละลายน้ำ ยาแคปซูล และยาเม็ด ที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้าส่วนใหญ่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด จาก 90 ตัวอย่างมีเพียง 2 ตัวอย่างที่ผิดมาตรฐานในหัวข้อความแตกต่างจากน้ำหนักเฉลี่ย และ ปริมาณตัวยาสำคัญต่ำกว่าเกณฑ์ หัวข้อละ 1 ตัวอย่าง พร้อมแนะนำผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมให้พิจารณาเลือกใช้ยี่ห้อและราคาตามความ เหมาะสม นายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่ายากลูโคซามีน เป็นยา ที่นำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการเสื่อมและอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งปัจจุบันในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อ ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า โดยข้อมูลการขึ้นทะเบียนตำรับยากลูโคซามีนที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่ามีจำนวน 131 ตำรับ จาก 44 บริษัท และมีหลายรูปแบบทั้งในรูปแบบยาผงละลายน้ำ ยาแคปซูล และยาเม็ด ดังนั้นในปีงบประมาณ 2554 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดำเนินการสุ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพยากลูโคซามีนจากผู้ผลิตและโรงพยาบาลของรัฐ ทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพยาให้แก่ประชาชน จำนวน 90 ตัวอย่าง ทั้งประเภทยาเม็ด ยาแคปซูล และยาผงสำหรับละลายน้ำ โดยพบว่า ยาเม็ดขนาดความแรง 500,750 และ1,000 มิลลิกรัมต่อเม็ด จำนวน 8 ตัวอย่างผ่านเกณฑ์ทุกตัวอย่าง ยาแคปซูลขนาดความแรง 250 และ500 มิลลิกรัมต่อแคปซูล จำนวน 47 ตัวอย่าง พบว่าผิดมาตรฐาน 1 ตัวอย่างในหัวข้อความแตกต่างจากน้ำหนักเฉลี่ย ซึ่งเป็นการทดสอบน้ำหนักยาแต่ละแคปซูลที่สุ่มตรวจว่าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนยาผงสำหรับละลายน้ำขนาด 1,500 มิลลิกรัมต่อซอง จำนวน 35 ตัวอย่าง พบผิดมาตรฐานเรื่องปริมาณตัวยาสำคัญต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 1 ตัวอย่าง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวพบว่าส่วนใหญ่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับตัวอย่างที่พบผิดมาตรฐานทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้แจ้งให้ทางสำนัก งานคณะกรรมการอาหารและยาดำเนินการต่อไปแล้ว ยากลูโคซามีนเป็นยาที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูงซึ่งในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาจัดให้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ประชาชนสามารถเลือกซื้อรับ ประทานได้เอง สำหรับประเทศไทยอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเฉพาะเป็นยาเท่านั้น ดังนั้นผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ต้องการใช้ยากลูโคซามีนเพื่อเป็นทางเลือก ในการบรรเทาอาการข้อเข้าเสื่อม ควรพิจารณาเลือกใช้ยี่ห้อและราคาตามความเหมาะสม เนื่องจากกลูโคซามีนที่จำหน่ายในท้องตลาดมีความแตกต่างของราคามาก ภญ.นิดาพรรณ เรืองฤทธินนท์ ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด กล่าว เพิ่มเติมว่า ปัจจุบันกลไกการออกฤทธิ์ของยากลูโคซามีนยังไม่ทราบชัดเจนและยังเป็นที่ถกเถียงทางการแพทย์เกี่ยวกับประสิทธิผลของการใช้รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งในต่างประเทศมีการขึ้นทะเบียนกลูโคซามีนทั้งที่เป็นยาและหรือผลิตภัณฑ์ เสริมอาหาร แต่สำหรับประเทศไทยอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเฉพาะเป็นยาเท่านั้น และที่ผ่านมาพบว่ายากลูโคซามีนเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีมูลค่าการเบิกจ่ายสูงทำให้เป็นประเด็นในเรื่องของประสิทธิผลและความคุ้มค่าของการใช้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้มีการเจรจาต่อรองราคายาและจัดทำราคากลางเพื่อควบคุม การเบิกจ่ายยาให้เกิดการใช้ยาที่เหมาะสมและคุ้มค่า ส่วนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ผ่านมาได้จัดทำ “โครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยา” โดยการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาจากโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ และตัวอย่างที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาส่งตรวจวิเคราะห์ มาตรวจวิเคราะห์คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยาตามหัวข้อที่กำหนดไว้ใน ตำรายาสากล เช่น ปริมาณตัวยาสำคัญ การละลายของตัวยา ปริมาณความชื้น เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนผู้ใช้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพ ตั้งแต่ปี 2545 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันพร้อมกับจัดทำเอกสารสรุปผลวิเคราะห์ทั้งหมดเผยแพร่ ให้เครือข่ายสาธารณสุขภาครัฐทราบทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ทางเว็ปไซต์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และจัดทำหนังสือ “รายชื่อผลิตภัณฑ์ยาคุณภาพและผู้ผลิต” หรือ “GREEN BOOK” เพื่อให้โรงพยาบาลได้นำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการจัดซื้อยาเข้าโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้ได้มีการเผยแพร่แล้วจำนวน 8 เล่ม ขอบคุณ... http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/33551
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)