ไขปัญหาลูกซน “สมาธิสั้น” รักษาได้ด้วยยาเพิ่มสมาธิ

แสดงความคิดเห็น

ความซนกับเด็กๆ มักเป็นของคู่กัน แต่ถ้าลูกรักมีอาการอยู่ไม่สุข อยู่ไม่นิ่ง สมาธิไม่จดจ่อ หรือซนมากผิดปกติ จนกลายเป็นปัญหาคาใจพ่อแม่ว่า ลูกเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่!? คงต้องหาวิธีบำบัดรักษาต่อไป

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า “โรคซนสมาธิสั้น” (Attention Deficit Hyperactivity Disorder ; ADHD) เป็นปัญหาที่พบบ่อยในช่วงวัยเด็ก ซึ่งร้อยละ 5-15 อยู่ในวัยเรียนและต่อเนื่องไปจนถึงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเด็กจะแสดงอาการ คือไม่สามารถจดจ่อหรือมีสมาธิในสิ่งที่ทำ ไม่รวมถึงการเล่นเกมหรือดูทีวี มีความยากลำบากในการควบคุมพฤติกรรมหรือหุนหันพลันแล่นและซนอยู่ไม่สุข อาการจะรุนแรงมากจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ทั้งพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคม มักพบบ่อยในเด็กผู้ชาย

โรคซนสมาธิสั้นพบบ่อยในทุกประเทศทั่วโลก ในต่างประเทศพบว่าเด็กวัยนี้แบ่งอาการเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.ขาดสมาธิ วอกแวกง่าย ไม่ใส่ใจรายละเอียด เบื่อง่าย แม้ว่าจะเพิ่งเริ่มเล่น ขี้หลงขี้ลืมทำของหายบ่อยๆ ดูเหมือนไม่ฟังเวลาพูด เชื่องช้า ประมวลข้อมูลได้ช้าเมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน 2.ซนอยู่ไม่สุข เด็กมีลักษณะยุกยิกหรือบิดตัวไปมาเมื่อต้องนั่งอยู่กับที่ พูดมากตลอดเวลา วิ่งไปมา เล่นหรือจับของเล่นทุกชิ้นที่เห็น เล่นเสียงดังตลอดเวลา และ 3.หุนหันพลันแล่น เด็กมีพฤติกรรมไม่มีความอดทน พูดโพล่งด้วยคำพูดไม่เหมาะสม ชอบขัดจังหวะหรือพูดแทรกเวลาผู้อื่นพูดอยู่ ไม่เก็บอาการหรือทำสิ่งต่างๆ ไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา

จากผลวิจัยในปัจจุบันพบว่า โรคสมาธิสั้นเกิดจากความบกพร่องของสารเคมีที่สำคัญบางตัวในสมองโดยมีพันธุกรรมเป็นปัจจัยที่สำคัญ ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ของเด็กสมาธิสั้นจะมีคนในครอบครัวคนใดคนหนึ่งมีปัญหาอย่างเดียวกัน ส่วนปัจจัยจากการเลี้ยงดูหรือสิ่งแวดล้อมเป็นเพียงปัจจัยเสริมที่ทำให้อาการหรือความผิดปกติดีขึ้นหรือแย่ลง นอกจากนี้มารดาที่ขาดสารอาหาร ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือถูกสารพิษบางชนิด เช่น ตะกั่วในระหว่างตั้งครรภ์ มีโอกาสมีลูกเป็นโรคสมาธิสั้นสูง

การวินิจฉัยโรคซนสมาธิสั้นสามารถทำได้โดยการซักประวัติที่ละเอียด การตรวจร่างกาย การตรวจระบบประสาทและการสังเกตพฤติกรรมของเด็กเป็นหลัก ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการตรวจเลือดหรือเอ็กซเรย์สมองที่สามารถนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคซนสมาธิสั้น ในบางกรณีแพทย์จำเป็นต้องตรวจอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การตรวจตา การตรวจการได้ยิน การตรวจคลื่นสมอง การตรวจเชาวน์ปัญญา และความสามารถทางการเรียน เพื่อช่วยวินิจฉัยแยกโรคลมชัก ความบกพร่องทางสายตา การได้ยิน ออกจากโรคซนสมาธิสั้น นอกจากนี้โรคออทิสติก โรคจิตเภท ภาวะการพัฒนาการล่าช้า และโรคจิตเวชอื่นๆ ในเด็ก เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า ที่มีพฤติกรรมเหมือนโรคซนสมาธิสั้น

การรักษาโรคสมาธิสั้นปัจจุบันวิธีที่ยอมรับกันทั่วไปว่าได้ผลดี คือการให้ยาเพิ่มสมาธิ ร่วมกับการฝึกเทคนิคในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วย ผู้ดูแล และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งการรักษาด้วยยาเพิ่มสมาธิมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น 1.ยาในกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้น ได้แก่ Methylphenidate (Ritalin, Metadate, Concerta) และ Amphetamine (Dexedrine, Dextrostat, Adderall) ถือเป็นยาที่ได้ผลดีสำหรับโรคสมาธิสั้น ยาเหล่านี้เป็นยาปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อย และมีประสิทธิภาพสูง โดยจะช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น ซนน้อยลง มีความสามารถในการควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น และอาจช่วยให้ผลการเรียนดีขึ้น จากรายงานการแพทย์ล่าสุดพบว่าการรักษาเด็กสมาธิสั้นด้วยยากลุ่มนี้ได้ผลดีถึงร้อยละ 70-90 2.ยาใหม่ในกลุ่มที่ไม่กระตุ้น หมายถึง ไม่กระตุ้นสมองและระบบประสาท แต่ไม่มีความแตกต่างในยากลุ่มแรก โดย Atomoxetine (Strattera) เป็นยาที่ได้รับการวินิจฉัยอย่างมากที่สุดในปัจจุบันและใช้กันอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา ผลข้างเคียงน้อยมากและพบว่าเมื่อใช้ยานี้ร่วมกับการบำบัดทางด้านพฤติกรรมแล้วจะช่วยให้เด็กเคารพกฎเกณฑ์และมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับพ่อแม่และบุคคลรอบข้าง และ 3.ยาออกฤทธิ์ต้านเศร้า เป็นยาที่ออกฤทธิ์ปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง รู้จักกันในชื่อของ Antidepressant medications ยาในกลุ่ม Tricyclic antidepressant (TCA) ที่นำมารักษา ได้แก่ Imipramine, Desipramine, Nortripyline งานวิจัยพบว่า Bupropion (Wellbutrin) ช่วยลดอาการซนและเพิ่มสมาธิ เช่น ไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น ไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย วอกแวกง่าย ขี้ลืม หรือเด็กที่มีปัญหาอื่นร่วมด้วย เช่น ซึมเศร้า กระวนกระวาย การใช้ยาออกฤทธิ์ต้านเศร้าร่วมกับกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นจะได้ผลดีกว่าการใช้ยาออกฤทธิ์กระตุ้นเพียงอย่างเดียว

อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการช่วยเหลือทางด้านจิตใจสำหรับเด็ก ครอบครัว ผู้ปกครอง และครูของเด็กสมาธิสั้นจำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้องเพื่อช่วยในการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างของเด็ก เช่น การตีหรือการลงโทษเป็นวิธีการปรับเปลี่ยนที่ไม่ได้ผล และมีส่วนทำให้เด็กมีอารมณ์โกธรหรือต่อต้านและก้าวร้าวมากขึ้น ซึ่งวิธีที่ได้ผลดีกว่า คือการให้คำชมหรือรางวัล เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้อง รวมถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยการงดกิจกรรมที่เด็กชอบ ซึ่งเด็กซนสมาธิสั้นควรมีโอกาสได้คุยกับแพทย์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดที่เด็กมีและช่วยแนะนำแนวทางปฏิบัติตัว โดยเน้นให้เด็กได้ใช้ความสามารถอื่นทดแทนในส่วนที่บกพร่อง

เมื่อเด็กผ่านช่วงวัยรุ่นประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของเด็กสมาธิสั้นมีโอกาสหายจากการซนได้ แต่ยังคงมีความบกพร่องของสมาธิอยู่ระดับหนึ่ง เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้วบางคนหากสามารถปรับตัวหรือเลือกงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิมากนักก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จและดำเนินชีวิตได้ตามปกติ แต่บางคนก็ยังมีอาการของโรคสมาธิสั้นอยู่มาก ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการเรียนและการงานรวมทั้งการเข้าสังคมจึงควรรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นพ่อแม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกและปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธี ซึ่งจะเป็นผลดีต่อลูกในอนาคต.

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/224/190888 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 17/03/2556 เวลา 03:24:13 ดูภาพสไลด์โชว์ ไขปัญหาลูกซน “สมาธิสั้น” รักษาได้ด้วยยาเพิ่มสมาธิ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต รวมภาพเด็กวัยประถมไม่มีสมาธิในการเรียน) (โรงพยาบาลตั้งบูธให้คำปรึกษา) (สื่อทางการแพทย์ แสดงภาพภายในสมองของเด็ก) ความซนกับเด็กๆ มักเป็นของคู่กัน แต่ถ้าลูกรักมีอาการอยู่ไม่สุข อยู่ไม่นิ่ง สมาธิไม่จดจ่อ หรือซนมากผิดปกติ จนกลายเป็นปัญหาคาใจพ่อแม่ว่า ลูกเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่!? คงต้องหาวิธีบำบัดรักษาต่อไป ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า “โรคซนสมาธิสั้น” (Attention Deficit Hyperactivity Disorder ; ADHD) เป็นปัญหาที่พบบ่อยในช่วงวัยเด็ก ซึ่งร้อยละ 5-15 อยู่ในวัยเรียนและต่อเนื่องไปจนถึงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเด็กจะแสดงอาการ คือไม่สามารถจดจ่อหรือมีสมาธิในสิ่งที่ทำ ไม่รวมถึงการเล่นเกมหรือดูทีวี มีความยากลำบากในการควบคุมพฤติกรรมหรือหุนหันพลันแล่นและซนอยู่ไม่สุข อาการจะรุนแรงมากจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ทั้งพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคม มักพบบ่อยในเด็กผู้ชาย โรคซนสมาธิสั้นพบบ่อยในทุกประเทศทั่วโลก ในต่างประเทศพบว่าเด็กวัยนี้แบ่งอาการเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.ขาดสมาธิ วอกแวกง่าย ไม่ใส่ใจรายละเอียด เบื่อง่าย แม้ว่าจะเพิ่งเริ่มเล่น ขี้หลงขี้ลืมทำของหายบ่อยๆ ดูเหมือนไม่ฟังเวลาพูด เชื่องช้า ประมวลข้อมูลได้ช้าเมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน 2.ซนอยู่ไม่สุข เด็กมีลักษณะยุกยิกหรือบิดตัวไปมาเมื่อต้องนั่งอยู่กับที่ พูดมากตลอดเวลา วิ่งไปมา เล่นหรือจับของเล่นทุกชิ้นที่เห็น เล่นเสียงดังตลอดเวลา และ 3.หุนหันพลันแล่น เด็กมีพฤติกรรมไม่มีความอดทน พูดโพล่งด้วยคำพูดไม่เหมาะสม ชอบขัดจังหวะหรือพูดแทรกเวลาผู้อื่นพูดอยู่ ไม่เก็บอาการหรือทำสิ่งต่างๆ ไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา จากผลวิจัยในปัจจุบันพบว่า โรคสมาธิสั้นเกิดจากความบกพร่องของสารเคมีที่สำคัญบางตัวในสมองโดยมีพันธุกรรมเป็นปัจจัยที่สำคัญ ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ของเด็กสมาธิสั้นจะมีคนในครอบครัวคนใดคนหนึ่งมีปัญหาอย่างเดียวกัน ส่วนปัจจัยจากการเลี้ยงดูหรือสิ่งแวดล้อมเป็นเพียงปัจจัยเสริมที่ทำให้อาการหรือความผิดปกติดีขึ้นหรือแย่ลง นอกจากนี้มารดาที่ขาดสารอาหาร ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือถูกสารพิษบางชนิด เช่น ตะกั่วในระหว่างตั้งครรภ์ มีโอกาสมีลูกเป็นโรคสมาธิสั้นสูง การวินิจฉัยโรคซนสมาธิสั้นสามารถทำได้โดยการซักประวัติที่ละเอียด การตรวจร่างกาย การตรวจระบบประสาทและการสังเกตพฤติกรรมของเด็กเป็นหลัก ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการตรวจเลือดหรือเอ็กซเรย์สมองที่สามารถนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคซนสมาธิสั้น ในบางกรณีแพทย์จำเป็นต้องตรวจอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การตรวจตา การตรวจการได้ยิน การตรวจคลื่นสมอง การตรวจเชาวน์ปัญญา และความสามารถทางการเรียน เพื่อช่วยวินิจฉัยแยกโรคลมชัก ความบกพร่องทางสายตา การได้ยิน ออกจากโรคซนสมาธิสั้น นอกจากนี้โรคออทิสติก โรคจิตเภท ภาวะการพัฒนาการล่าช้า และโรคจิตเวชอื่นๆ ในเด็ก เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า ที่มีพฤติกรรมเหมือนโรคซนสมาธิสั้น การรักษาโรคสมาธิสั้นปัจจุบันวิธีที่ยอมรับกันทั่วไปว่าได้ผลดี คือการให้ยาเพิ่มสมาธิ ร่วมกับการฝึกเทคนิคในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วย ผู้ดูแล และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งการรักษาด้วยยาเพิ่มสมาธิมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น 1.ยาในกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้น ได้แก่ Methylphenidate (Ritalin, Metadate, Concerta) และ Amphetamine (Dexedrine, Dextrostat, Adderall) ถือเป็นยาที่ได้ผลดีสำหรับโรคสมาธิสั้น ยาเหล่านี้เป็นยาปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อย และมีประสิทธิภาพสูง โดยจะช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น ซนน้อยลง มีความสามารถในการควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น และอาจช่วยให้ผลการเรียนดีขึ้น จากรายงานการแพทย์ล่าสุดพบว่าการรักษาเด็กสมาธิสั้นด้วยยากลุ่มนี้ได้ผลดีถึงร้อยละ 70-90 2.ยาใหม่ในกลุ่มที่ไม่กระตุ้น หมายถึง ไม่กระตุ้นสมองและระบบประสาท แต่ไม่มีความแตกต่างในยากลุ่มแรก โดย Atomoxetine (Strattera) เป็นยาที่ได้รับการวินิจฉัยอย่างมากที่สุดในปัจจุบันและใช้กันอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา ผลข้างเคียงน้อยมากและพบว่าเมื่อใช้ยานี้ร่วมกับการบำบัดทางด้านพฤติกรรมแล้วจะช่วยให้เด็กเคารพกฎเกณฑ์และมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับพ่อแม่และบุคคลรอบข้าง และ 3.ยาออกฤทธิ์ต้านเศร้า เป็นยาที่ออกฤทธิ์ปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง รู้จักกันในชื่อของ Antidepressant medications ยาในกลุ่ม Tricyclic antidepressant (TCA) ที่นำมารักษา ได้แก่ Imipramine, Desipramine, Nortripyline งานวิจัยพบว่า Bupropion (Wellbutrin) ช่วยลดอาการซนและเพิ่มสมาธิ เช่น ไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น ไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย วอกแวกง่าย ขี้ลืม หรือเด็กที่มีปัญหาอื่นร่วมด้วย เช่น ซึมเศร้า กระวนกระวาย การใช้ยาออกฤทธิ์ต้านเศร้าร่วมกับกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นจะได้ผลดีกว่าการใช้ยาออกฤทธิ์กระตุ้นเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการช่วยเหลือทางด้านจิตใจสำหรับเด็ก ครอบครัว ผู้ปกครอง และครูของเด็กสมาธิสั้นจำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้องเพื่อช่วยในการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างของเด็ก เช่น การตีหรือการลงโทษเป็นวิธีการปรับเปลี่ยนที่ไม่ได้ผล และมีส่วนทำให้เด็กมีอารมณ์โกธรหรือต่อต้านและก้าวร้าวมากขึ้น ซึ่งวิธีที่ได้ผลดีกว่า คือการให้คำชมหรือรางวัล เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้อง รวมถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยการงดกิจกรรมที่เด็กชอบ ซึ่งเด็กซนสมาธิสั้นควรมีโอกาสได้คุยกับแพทย์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดที่เด็กมีและช่วยแนะนำแนวทางปฏิบัติตัว โดยเน้นให้เด็กได้ใช้ความสามารถอื่นทดแทนในส่วนที่บกพร่อง เมื่อเด็กผ่านช่วงวัยรุ่นประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของเด็กสมาธิสั้นมีโอกาสหายจากการซนได้ แต่ยังคงมีความบกพร่องของสมาธิอยู่ระดับหนึ่ง เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้วบางคนหากสามารถปรับตัวหรือเลือกงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิมากนักก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จและดำเนินชีวิตได้ตามปกติ แต่บางคนก็ยังมีอาการของโรคสมาธิสั้นอยู่มาก ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการเรียนและการงานรวมทั้งการเข้าสังคมจึงควรรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นพ่อแม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกและปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธี ซึ่งจะเป็นผลดีต่อลูกในอนาคต. ขอบคุณ… http://www.dailynews.co.th/article/224/190888

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...