ผู้ป่วยจิตเวชจำนวนไม่เพิ่ม แต่การเข้าถึงยังน้อย
นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เผยความเครียดของคนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ 2 อย่าง คือตัวผู้ป่วย และสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว และในปัจจุบันสถานการณ์ของผู้ป่วยจิตเวชมีจำนวนไม่เพิ่มขึ้น ในโรคหลักๆที่รุนแรง อย่างเช่น โรคจิต โรคซึมเศร้า หรือปัญหาการฆ่าตัวตาย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะยังไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ ด้วยปัญหาหลายอย่าง อาทิ ตัวผู้ป่วยเองไม่มีการยอมรับสิ่งที่ตนเองเป็น คนที่ซึมเศร้าก็ไม่ยอมรับว่าตัวเองเจ็บป่วย ซึ่งรู้ว่าตัวเองดีว่ามีความ เซ็ง เบื่อหน่าย แต่ก็ไม่ต้องการเปิดตัวว่าตัวเองมีอาการอย่างนี้ เพราะรู้สึกอายว่าตัวเองอ่อนแอ และที่สำคัญคือ ญาติก็ไม่ยอมรับเช่นกัน ก็ทำให้การบริการเข้าถึงในส่วนของการรักษานี้ทำได้เพียง ร้อยละ 29 ซึ่งพอทิ้งไปนานๆ อาการก็จะพัฒนาไปสู่ความรุนแรงมากขึ้น และที่สำคัญในทุกวันนี้ โรคซึมเศร้าสามารถรักษาหายได้ ดังนั้น ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นคือ จำนวนคนป่วยไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก แต่การเข้าถึงบริการยังน้อยอยู่ ยิ่งโรคบางโรคที่ประชาชนไม่เข้าใจ อาทิ ปัญหาสุขภาพจิตในเด็กในวัยเรียน ปัญหาที่เด็กสมาธิสั้น เด็กซนเด็กพูดไม่รู้เรื่อง และยังนิยมกิจกรรมที่มีความรุนแรง สิ่งเหล่านี้คืออาการเจ็บป่วย แต่ผู้ปกครอง และครูไม่รู้ว่านี่เป็นการเจ็บป่วย จึงไม่ได้มีการรักษา เด็กสมาธิสั้น เด็กซน เด็กไม่นิ่ง เด็กที่ไม่ยอมเรียนหนังสือ ถือเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่สามารถรักษาให้หายได้ และที่ผ่านมามีสถิติการมารักษาไม่ถึง 10 % และในจำนวนนี้เด็กที่มารักษา 10 คน สามารถรักษาหายได้ 8-9 คน
นอกจากนี้ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ยังได้กล่าวถึงวิธีสังเกตเด็กที่มีปัญหาด้านนี้ คือเด็กซน ไม่รู้เรื่อง นั่งไม่นิ่งอยู่ไม่ติดเพราะเด็กสมาธิสั้น ซึ่งเมื่ออยู่ที่โรงเรียน นักเรียนไม่สนใจเรียน พอกวนเพื่อนกวนครู ครูก็เอาไปไว้หลังห้อง พอกวนอีก ครูก็เอาไปอยู่นอกห้องโดยที่ไม่รู้ว่านี่เป็นปัญหา ซึ่งทางกรมสุขภาพจิตก็ได้มีการรณรงค์ ว่าสิ่งเหล่านี้ต้องดูให้เป็นว่าเด็กเป็นโรค ไม่ใช่แค่การดื้อซนตามปกติ แต่สามารถรักษาหายได้ ซึ่งจิตแพทย์เด็กปัจจุบันก็เก่งให้ยาแล้วดีขึ้น เด็กสามารถเรียนได้ ใช้ชีวิตได้ตามปกติ พ่อแม่ก็ดีใจที่ลูกสามารถกลับมาเรียนและรู้เรื่องในบทเรียนมากขึ้น
ขอบคุณ… http://www.kctv.co.th/content/7595/ผู้ป่วยจิตเวชจำนวนไม่เพิ่มแต่การเข้าถึงยังน้อย
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เผยความเครียดของคนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ 2 อย่าง คือตัวผู้ป่วย และสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว และในปัจจุบันสถานการณ์ของผู้ป่วยจิตเวชมีจำนวนไม่เพิ่มขึ้น ในโรคหลักๆที่รุนแรง อย่างเช่น โรคจิต โรคซึมเศร้า หรือปัญหาการฆ่าตัวตาย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะยังไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ ด้วยปัญหาหลายอย่าง อาทิ ตัวผู้ป่วยเองไม่มีการยอมรับสิ่งที่ตนเองเป็น คนที่ซึมเศร้าก็ไม่ยอมรับว่าตัวเองเจ็บป่วย ซึ่งรู้ว่าตัวเองดีว่ามีความ เซ็ง เบื่อหน่าย แต่ก็ไม่ต้องการเปิดตัวว่าตัวเองมีอาการอย่างนี้ เพราะรู้สึกอายว่าตัวเองอ่อนแอ และที่สำคัญคือ ญาติก็ไม่ยอมรับเช่นกัน ก็ทำให้การบริการเข้าถึงในส่วนของการรักษานี้ทำได้เพียง ร้อยละ 29 ซึ่งพอทิ้งไปนานๆ อาการก็จะพัฒนาไปสู่ความรุนแรงมากขึ้น และที่สำคัญในทุกวันนี้ โรคซึมเศร้าสามารถรักษาหายได้ ดังนั้น ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นคือ จำนวนคนป่วยไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก แต่การเข้าถึงบริการยังน้อยอยู่ ยิ่งโรคบางโรคที่ประชาชนไม่เข้าใจ อาทิ ปัญหาสุขภาพจิตในเด็กในวัยเรียน ปัญหาที่เด็กสมาธิสั้น เด็กซนเด็กพูดไม่รู้เรื่อง และยังนิยมกิจกรรมที่มีความรุนแรง สิ่งเหล่านี้คืออาการเจ็บป่วย แต่ผู้ปกครอง และครูไม่รู้ว่านี่เป็นการเจ็บป่วย จึงไม่ได้มีการรักษา เด็กสมาธิสั้น เด็กซน เด็กไม่นิ่ง เด็กที่ไม่ยอมเรียนหนังสือ ถือเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่สามารถรักษาให้หายได้ และที่ผ่านมามีสถิติการมารักษาไม่ถึง 10 % และในจำนวนนี้เด็กที่มารักษา 10 คน สามารถรักษาหายได้ 8-9 คน นอกจากนี้ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ยังได้กล่าวถึงวิธีสังเกตเด็กที่มีปัญหาด้านนี้ คือเด็กซน ไม่รู้เรื่อง นั่งไม่นิ่งอยู่ไม่ติดเพราะเด็กสมาธิสั้น ซึ่งเมื่ออยู่ที่โรงเรียน นักเรียนไม่สนใจเรียน พอกวนเพื่อนกวนครู ครูก็เอาไปไว้หลังห้อง พอกวนอีก ครูก็เอาไปอยู่นอกห้องโดยที่ไม่รู้ว่านี่เป็นปัญหา ซึ่งทางกรมสุขภาพจิตก็ได้มีการรณรงค์ ว่าสิ่งเหล่านี้ต้องดูให้เป็นว่าเด็กเป็นโรค ไม่ใช่แค่การดื้อซนตามปกติ แต่สามารถรักษาหายได้ ซึ่งจิตแพทย์เด็กปัจจุบันก็เก่งให้ยาแล้วดีขึ้น เด็กสามารถเรียนได้ ใช้ชีวิตได้ตามปกติ พ่อแม่ก็ดีใจที่ลูกสามารถกลับมาเรียนและรู้เรื่องในบทเรียนมากขึ้น ขอบคุณ… http://www.kctv.co.th/content/7595/ผู้ป่วยจิตเวชจำนวนไม่เพิ่มแต่การเข้าถึงยังน้อย
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)