ตรวจยีนจากน้ำลาย ทำนายสุขภาพวันหน้า
คนสมัยนี้โชคดีเรื่องสุขภาพ เพราะมีเทคโนโลยีที่สามารถทำนายสุขภาพในอนาคตไว้ป้องกันล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนเกิดโรคแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ว่าเราจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้อย่างไรและคุ้มค่าหรือไม่
การทำนายสุขภาพในอนาคต สามารถทำได้จากการตรวจ ยีน (Gene) ค้นหาความผิดปกติ (SNP = Single nucleotide polymorphism) ซึ่งเป็นความผิดปกติของรหัส นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) ในแต่ละยีน โดย สนิป (SNPs) จะถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งความแตกต่างทางพันธุกรรมในแต่ละจุดจะทำให้คนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เช่น มีความสูงแตกต่างกัน สีผิวต่างกัน เป็นโรคต่างกัน ยกตัวอย่างโรคทางพันธุกรรมที่เรารู้จักและพบมากในคนไทย เช่น โรคธาลัสซีเมีย (ภาวะโลหิตจางชนิดหนึ่ง)โดยในปัจจุบันนี้การตรวจยีนสามารถประเมินสิ่งต่างๆได้ดังนี้
1. โรคทางพันธุกรรม ซึ่งสามารถตรวจได้ถึง 76 ชนิด - โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย- โรคพันธุกรรมที่รบกวนระบบเผาผลาญอาหารของร่างกายที่มักพบในเด็กแรกเกิด เช่น ฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) หรือ โรคกาแลคโตซีเมีย (Galactosemia) - ภาวะหูพิการแต่กำเนิด 2. โรคที่พบได้บ่อยๆ ที่มีความซับซ้อนของโรค ถึง 24 โรค เช่น - โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นผิดปกติ - โรคเบาหวาน - โรคความดันโลหิตสูง - โรคหอบหืด - โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเม็ดเลือดขาว- โรคข้อเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ- ภาวะโรคอ้วน - โรคอัลไซเมอร์ - โรคจอประสาทตาเสื่อม - โรคสะเก็ดเงิน - โรค SLE 3. ตรวจสอบการตอบสนองต่อยาที่ใช้ 11 ชนิด เช่น - คาเฟอีน- ยาลดไขมันกลุ่ม Statins - ยาละลายลิ่มเลือด (Warfarin) ยาต้านเกร็ดเลือด (Clopidogrel = Plavix) - ยากดภูมิคุ้มกัน (Methotrexate) ยารักษาโรคมะเร็ง (Tamoxifen) - ยากันชัก (Carbamazepine) การตรวจเพื่อประเมินการตอบสนองต่อการใช้ยานี้ มีประโยชน์ คือ ทำให้ทราบถึงความเสี่ยงต่อการแพ้ยา และประสิทธิภาพจากยาที่ได้รับ เพื่อปรับการใช้ยาให้เหมาะกับยีนของตัวเรา 4. การตรวจยีน ทำให้ทราบข้อมูลทางโภชนาการ ชนิดของอาหาร และวิตามินที่เหมาะสมกับตัวเรา ที่เรียกว่า Nutri-Check up เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน พฤติกรรมการดำรงชีวิต การออกกำลังกายที่เหมาะกับพันธุกรรมของเรา
ขั้นตอนการตรวจ เก็บตัวอย่างจากน้ำลายเพื่อตรวจวิเคราะห์ ต้องเป็นน้ำลายที่เป็นน้ำ ไม่ใช่เป็นฟองจะดีที่สุด โดนให้เก็บตอนเช้าหลังตื่นนอน ยังไม่ต้องแปรงฟัน ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารใดๆ ให้บ้วนน้ำลายใส่หลอดที่จะส่งตรวจถึงขีดที่กำหนดไว้ข้างหลอด ถ้าตื่นมาแล้วคอแห้ง ไม่สามารถเก็บได้ทันที ให้แปรงฟันดื่มน้ำรับประทานอาหารก่อนแล้วรออีก1ชม.ค่อยเก็บน้ำลายใหม่
หลังจากนั้น ให้นำตัวอย่างจากน้ำลายมาส่งที่โรงพยาบาลซึ่งจะใช้ระยะเวลาวิเคราะห์รหัส พันธุกรรมประมาณ 1 เดือน โดยห้องปฏิบัติการที่ทำการตรวจวินิจฉัย ได้รับมาตรฐานจาก Clinical Laboratory Improvement Amendments หรือ CLIA เป็นมาตรฐานที่กำกับดูแลโดยรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการทดลองทางห้อง ปฏิบัติการทางคลินิก โดยใช้เทคโนโลยีสำหรับการตรวจรหัสพันธุกรรมที่ทันสมัย
โดยสรุปแล้วการตรวจยีน ทำให้เรารู้ความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคล่วงหน้า เมื่อผู้ตรวจทราบผลสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีลดโอกาสเกิดโรคในอนาคต เช่น การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง การออกกำลังกาย การปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้าน หรือที่ทำงาน รวมถึงการเฝ้าระวังการเกิดโรคอันไม่พึงประสงค์อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพสูงสุด พญ.ม.ล.ธัญญ์นภัส เทวกุล แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย สอบถามเพิ่มเติมที่ คลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัย โทร. 0 2734 0000 ต่อ 1164, 1182
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/life/335577 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ครอบครัวสุขสรรค์ คนสมัยนี้โชคดีเรื่องสุขภาพ เพราะมีเทคโนโลยีที่สามารถทำนายสุขภาพในอนาคตไว้ป้องกันล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนเกิดโรคแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ว่าเราจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้อย่างไรและคุ้มค่าหรือไม่ การทำนายสุขภาพในอนาคต สามารถทำได้จากการตรวจ ยีน (Gene) ค้นหาความผิดปกติ (SNP = Single nucleotide polymorphism) ซึ่งเป็นความผิดปกติของรหัส นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) ในแต่ละยีน โดย สนิป (SNPs) จะถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งความแตกต่างทางพันธุกรรมในแต่ละจุดจะทำให้คนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เช่น มีความสูงแตกต่างกัน สีผิวต่างกัน เป็นโรคต่างกัน ยกตัวอย่างโรคทางพันธุกรรมที่เรารู้จักและพบมากในคนไทย เช่น โรคธาลัสซีเมีย (ภาวะโลหิตจางชนิดหนึ่ง)โดยในปัจจุบันนี้การตรวจยีนสามารถประเมินสิ่งต่างๆได้ดังนี้ 1. โรคทางพันธุกรรม ซึ่งสามารถตรวจได้ถึง 76 ชนิด - โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย- โรคพันธุกรรมที่รบกวนระบบเผาผลาญอาหารของร่างกายที่มักพบในเด็กแรกเกิด เช่น ฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) หรือ โรคกาแลคโตซีเมีย (Galactosemia) - ภาวะหูพิการแต่กำเนิด 2. โรคที่พบได้บ่อยๆ ที่มีความซับซ้อนของโรค ถึง 24 โรค เช่น - โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นผิดปกติ - โรคเบาหวาน - โรคความดันโลหิตสูง - โรคหอบหืด - โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเม็ดเลือดขาว- โรคข้อเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ- ภาวะโรคอ้วน - โรคอัลไซเมอร์ - โรคจอประสาทตาเสื่อม - โรคสะเก็ดเงิน - โรค SLE 3. ตรวจสอบการตอบสนองต่อยาที่ใช้ 11 ชนิด เช่น - คาเฟอีน- ยาลดไขมันกลุ่ม Statins - ยาละลายลิ่มเลือด (Warfarin) ยาต้านเกร็ดเลือด (Clopidogrel = Plavix) - ยากดภูมิคุ้มกัน (Methotrexate) ยารักษาโรคมะเร็ง (Tamoxifen) - ยากันชัก (Carbamazepine) การตรวจเพื่อประเมินการตอบสนองต่อการใช้ยานี้ มีประโยชน์ คือ ทำให้ทราบถึงความเสี่ยงต่อการแพ้ยา และประสิทธิภาพจากยาที่ได้รับ เพื่อปรับการใช้ยาให้เหมาะกับยีนของตัวเรา 4. การตรวจยีน ทำให้ทราบข้อมูลทางโภชนาการ ชนิดของอาหาร และวิตามินที่เหมาะสมกับตัวเรา ที่เรียกว่า Nutri-Check up เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน พฤติกรรมการดำรงชีวิต การออกกำลังกายที่เหมาะกับพันธุกรรมของเรา ขั้นตอนการตรวจ เก็บตัวอย่างจากน้ำลายเพื่อตรวจวิเคราะห์ ต้องเป็นน้ำลายที่เป็นน้ำ ไม่ใช่เป็นฟองจะดีที่สุด โดนให้เก็บตอนเช้าหลังตื่นนอน ยังไม่ต้องแปรงฟัน ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารใดๆ ให้บ้วนน้ำลายใส่หลอดที่จะส่งตรวจถึงขีดที่กำหนดไว้ข้างหลอด ถ้าตื่นมาแล้วคอแห้ง ไม่สามารถเก็บได้ทันที ให้แปรงฟันดื่มน้ำรับประทานอาหารก่อนแล้วรออีก1ชม.ค่อยเก็บน้ำลายใหม่ หลังจากนั้น ให้นำตัวอย่างจากน้ำลายมาส่งที่โรงพยาบาลซึ่งจะใช้ระยะเวลาวิเคราะห์รหัส พันธุกรรมประมาณ 1 เดือน โดยห้องปฏิบัติการที่ทำการตรวจวินิจฉัย ได้รับมาตรฐานจาก Clinical Laboratory Improvement Amendments หรือ CLIA เป็นมาตรฐานที่กำกับดูแลโดยรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการทดลองทางห้อง ปฏิบัติการทางคลินิก โดยใช้เทคโนโลยีสำหรับการตรวจรหัสพันธุกรรมที่ทันสมัย โดยสรุปแล้วการตรวจยีน ทำให้เรารู้ความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคล่วงหน้า เมื่อผู้ตรวจทราบผลสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีลดโอกาสเกิดโรคในอนาคต เช่น การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง การออกกำลังกาย การปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้าน หรือที่ทำงาน รวมถึงการเฝ้าระวังการเกิดโรคอันไม่พึงประสงค์อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพสูงสุด พญ.ม.ล.ธัญญ์นภัส เทวกุล แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย สอบถามเพิ่มเติมที่ คลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัย โทร. 0 2734 0000 ต่อ 1164, 1182 ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/life/335577
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)