ผลวิจัยใหม่ "หัวใจ" มีประสาทรับ "กลิ่น" !
ปีเตอร์ ชีเบอร์เล่ นักโภชนะเคมีจาก มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งมิวนิก และศูนย์วิจัยเพื่อโภชนะเคมีแห่งเยอรมนี นำเสนอผลงานการวิจัยใหม่ที่ระบุว่า จมูกของคนเราไม่ได้เป็นอวัยวะเพียงอย่างเดียวที่มีขีดความสามารถในการรับรู้กลิ่น แต่ประสาทรับรู้กลิ่นทำนองเดียวกันยังพบในอีกหลายอวัยวะ รวมทั้ง หัวใจ,ปอดและเม็ดเลือด
"แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า หัวใจ ของคนเราสามารถได้กลิ่นสเต๊กที่คุณเพิ่งกินลงท้องไป เรายังไม่รู้ลึกซึ้งลงไปมากมายขนาดนั้น" ศาสตราจารย์ชีเบอร์เล่กล่าวในการนำเสนอผลงานวิจัยดังกล่าวต่อสมาคมเคมี อเมริกันในนิวออร์ลีนส์เมื่อวันที่7เมษายนที่ผ่านมา
ในกรณีทั่วไปนั้น เมื่อสารประกอบทางเคมีที่ก่อให้เกิดกลิ่นจากอาหารและอื่นๆ เข้าสู่จมูกของเรา ตัวฆานประสาทหรือประสาทรับรู้กลิ่นจะทำงานกระตุ้นให้เกิดการถ่ายทอดไปยัง สมองสร้างความรับรู้ให้เกิดขึ้นว่ากลิ่นนั้นเป็นอย่างไร หอม หรือเหม็นหรืออื่นๆ ประสาทรับกลิ่นดังกล่าวนี้เคยคิดกันว่า มีอยู่แต่เฉพาะในเนื้อเยื่อที่เต็มไปด้วยเมือกด้านในของโพรงจมูก แต่มีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า อวัยวะอย่างอื่นของคนเราก็สามารถรับรู้ถึงกลิ่นได้ด้วย
ตัวอย่างที่ ชัดเจนที่สุดเป็นกรณีของ สเปิร์ม เซลล์ ซึ่งตอนนี้มีการชี้ชัดกันแล้วว่า มีประสาทรับกลิ่นอยู่ในตัวมันเองที่ทำหน้าที่สำคัญช่วยให้สเปิร์มสามารถล่วง รู้ว่า "ไข่" นั้นอยู่ตรงจุดไหนเพื่อแหวกว่ายไปยังที่ดังกล่าว ศาสตราจารย์ ชีเบอร์เล่ ระบุว่ามีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ประสาทรับรู้กลิ่นในทำนองเดียวกันนี้มีอยู่ในหัวใจ,ปอดและเลือดด้วยเช่นกัน
เมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ชีเบอร์เล่ กับเพื่อนร่วมทีม ช่วยกันทดสอบปฏิกิริยาต่อกลิ่นของเม็ดเลือดของคนเรา และพบว่า เซลล์เม็ดเลือดถูกดึงดูดเข้าหาโมเลกุลซึ่งมีส่วนของกลิ่นจำเพาะบางอย่างอยู่ด้วย วิธีการทดสอบกรณีดังกล่าวก็คือการนำเอาเซลล์เม็ดเลือดไปวางไว้ด้านหนึ่งที่ มีผนังกั้นแล้ววางสารประกอบที่ก่อให้เกิดกลิ่นไว้อีกด้านหนึ่ง เพียงไม่นาน ทีมวิจัยพบว่าเซลล์เม็ดเลือดเคลื่อนย้ายจากที่เดิมไปสู่ด้านที่ติดกับสารประกอบเกิดกลิ่นดังกล่าว
ศาสตราจารย์ปีเตอร์ ชีเบอร์เล่ ศึกษาค้นคว้าในวิชาการทางเคมีสาขาใหม่ที่เรียกกันว่า "เซนส์โซมิคส์" ซึ่งเป็นวิชาเพื่อทำความเข้าใจว่าสารประกอบกลิ่นอย่างหนึ่งอย่างใด จากจำนวนที่มีอยู่มากมายนั้นมีความหมายและส่งผลอย่างไรต่อการจำแนกกลิ่นและ รสชาติของคนเรา เพื่อช่วยอธิบายว่าอะไรทำให้อาหารบางอย่างมีรสอร่อยและกลิ่นหอมชวนกินในขณะที่อีกบางอย่างไม่น่ากินทั้งกลิ่นและรส
ศาสตราจารย์ชีเบอร์เล่ ให้ความสนใจต่อองค์ประกอบของกลิ่นที่สลับซับซ้อนสูงอย่างเช่นกลิ่นช็อคโกแล ตและกาแฟ ห้องปฏิบัติการของชีเบอร์เล่ พยายามแยกองค์ประกอบของกลิ่นเหล่านี้ลงไปจนถึงระดับองค์ประกอบทางเคมี จากนั้นก็นำองค์ประกอบดังกล่าวมาประกอบกันขึ้นใหม่ให้ผิดแปลกออกไป เพื่อทดสอบรสชาด
ทีมวิจัยของชีเบอร์เล่พบว่า กาแฟ มีสารก่อให้เกิดกลิ่นอยู่มากถึง 1,000 ตัว แต่มีเพียง 25 ตัวเท่านั้นที่ไปกระตุ้นให้ประสาทรับรู้กลิ่นในจมูกบอกต่อสมองว่ากลิ่นเป็น อย่างไร สำหรับประสาทรับรู้กลิ่นในร่างกายของคนเรานั้น มีอยู่ประมาณ 400 ชนิดแตกต่างกันในขณะที่มีประสาทรับรู้รสชาดเพียง 27 ชนิดเท่านั้นเอง
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1365475234&grpid=&catid=12&subcatid=1203
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สื่อทางการแพทย์ แสดงรูปหัวใจของมนุษย์ ปีเตอร์ ชีเบอร์เล่ นักโภชนะเคมีจาก มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งมิวนิก และศูนย์วิจัยเพื่อโภชนะเคมีแห่งเยอรมนี นำเสนอผลงานการวิจัยใหม่ที่ระบุว่า จมูกของคนเราไม่ได้เป็นอวัยวะเพียงอย่างเดียวที่มีขีดความสามารถในการรับรู้กลิ่น แต่ประสาทรับรู้กลิ่นทำนองเดียวกันยังพบในอีกหลายอวัยวะ รวมทั้ง หัวใจ,ปอดและเม็ดเลือด "แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า หัวใจ ของคนเราสามารถได้กลิ่นสเต๊กที่คุณเพิ่งกินลงท้องไป เรายังไม่รู้ลึกซึ้งลงไปมากมายขนาดนั้น" ศาสตราจารย์ชีเบอร์เล่กล่าวในการนำเสนอผลงานวิจัยดังกล่าวต่อสมาคมเคมี อเมริกันในนิวออร์ลีนส์เมื่อวันที่7เมษายนที่ผ่านมา ในกรณีทั่วไปนั้น เมื่อสารประกอบทางเคมีที่ก่อให้เกิดกลิ่นจากอาหารและอื่นๆ เข้าสู่จมูกของเรา ตัวฆานประสาทหรือประสาทรับรู้กลิ่นจะทำงานกระตุ้นให้เกิดการถ่ายทอดไปยัง สมองสร้างความรับรู้ให้เกิดขึ้นว่ากลิ่นนั้นเป็นอย่างไร หอม หรือเหม็นหรืออื่นๆ ประสาทรับกลิ่นดังกล่าวนี้เคยคิดกันว่า มีอยู่แต่เฉพาะในเนื้อเยื่อที่เต็มไปด้วยเมือกด้านในของโพรงจมูก แต่มีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า อวัยวะอย่างอื่นของคนเราก็สามารถรับรู้ถึงกลิ่นได้ด้วย ตัวอย่างที่ ชัดเจนที่สุดเป็นกรณีของ สเปิร์ม เซลล์ ซึ่งตอนนี้มีการชี้ชัดกันแล้วว่า มีประสาทรับกลิ่นอยู่ในตัวมันเองที่ทำหน้าที่สำคัญช่วยให้สเปิร์มสามารถล่วง รู้ว่า "ไข่" นั้นอยู่ตรงจุดไหนเพื่อแหวกว่ายไปยังที่ดังกล่าว ศาสตราจารย์ ชีเบอร์เล่ ระบุว่ามีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ประสาทรับรู้กลิ่นในทำนองเดียวกันนี้มีอยู่ในหัวใจ,ปอดและเลือดด้วยเช่นกัน เมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ชีเบอร์เล่ กับเพื่อนร่วมทีม ช่วยกันทดสอบปฏิกิริยาต่อกลิ่นของเม็ดเลือดของคนเรา และพบว่า เซลล์เม็ดเลือดถูกดึงดูดเข้าหาโมเลกุลซึ่งมีส่วนของกลิ่นจำเพาะบางอย่างอยู่ด้วย วิธีการทดสอบกรณีดังกล่าวก็คือการนำเอาเซลล์เม็ดเลือดไปวางไว้ด้านหนึ่งที่ มีผนังกั้นแล้ววางสารประกอบที่ก่อให้เกิดกลิ่นไว้อีกด้านหนึ่ง เพียงไม่นาน ทีมวิจัยพบว่าเซลล์เม็ดเลือดเคลื่อนย้ายจากที่เดิมไปสู่ด้านที่ติดกับสารประกอบเกิดกลิ่นดังกล่าว ศาสตราจารย์ปีเตอร์ ชีเบอร์เล่ ศึกษาค้นคว้าในวิชาการทางเคมีสาขาใหม่ที่เรียกกันว่า "เซนส์โซมิคส์" ซึ่งเป็นวิชาเพื่อทำความเข้าใจว่าสารประกอบกลิ่นอย่างหนึ่งอย่างใด จากจำนวนที่มีอยู่มากมายนั้นมีความหมายและส่งผลอย่างไรต่อการจำแนกกลิ่นและ รสชาติของคนเรา เพื่อช่วยอธิบายว่าอะไรทำให้อาหารบางอย่างมีรสอร่อยและกลิ่นหอมชวนกินในขณะที่อีกบางอย่างไม่น่ากินทั้งกลิ่นและรส ศาสตราจารย์ชีเบอร์เล่ ให้ความสนใจต่อองค์ประกอบของกลิ่นที่สลับซับซ้อนสูงอย่างเช่นกลิ่นช็อคโกแล ตและกาแฟ ห้องปฏิบัติการของชีเบอร์เล่ พยายามแยกองค์ประกอบของกลิ่นเหล่านี้ลงไปจนถึงระดับองค์ประกอบทางเคมี จากนั้นก็นำองค์ประกอบดังกล่าวมาประกอบกันขึ้นใหม่ให้ผิดแปลกออกไป เพื่อทดสอบรสชาด ทีมวิจัยของชีเบอร์เล่พบว่า กาแฟ มีสารก่อให้เกิดกลิ่นอยู่มากถึง 1,000 ตัว แต่มีเพียง 25 ตัวเท่านั้นที่ไปกระตุ้นให้ประสาทรับรู้กลิ่นในจมูกบอกต่อสมองว่ากลิ่นเป็น อย่างไร สำหรับประสาทรับรู้กลิ่นในร่างกายของคนเรานั้น มีอยู่ประมาณ 400 ชนิดแตกต่างกันในขณะที่มีประสาทรับรู้รสชาดเพียง 27 ชนิดเท่านั้นเอง ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1365475234&grpid=&catid=12&subcatid=1203
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)