นั่งหน้าคอมพ์เสี่ยงกระดูกเสื่อม
- นพ.ธีรศักดิ์ พื้นงาม แพทย์หัวหน้าศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.พญาไท 1
- พยาบาลกำลังให้ความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคกระดูก
ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทสูงขึ้น โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศและคนที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกวัน วันละนานๆ เนื่องจากระหว่างใช้คอมพิวเตอร์มีการเกร็งและใช้งานบริเวณส่วนหลัง อาจมีการใช้อย่างไม่ถูกต้องและเคลื่อนไหวไม่เหมาะสม เมื่อทับถมเป็นเวลานานส่งผลให้เกิดกระดูกเสื่อม ทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูก นพ.ธีรศักดิ์ พื้นงาม แพทย์หัวหน้าศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.พญาไท 1 ให้ข้อมูลว่า โรคนี้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ โรคหมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท จะมีอาการปวดร้าวจากเอวลงไปที่ขา ขาชาและอ่อนแรงขาข้างใดข้างหนึ่ง และโรคหมอนรองกระดูกส่วนคอกดทับเส้นประสาทจะปวดต้นคอร้าวไปที่สะบักข้างใด ข้างหนึ่ง หรืออาจปวดถึงแขนหรือมือ มืออ่อนแรงจับสิ่งของไม่ถนัด มือและแขนมีอาการชา หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ และรีบรักษาก่อนอาการลุกลามรุนแรง สำหรับการรักษาขั้นต้นจะให้ยากินลดอาการบวมและอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณ หมอนรองกระดูกกดทับ รวมทั้งการประคบนวด การจัดกระดูก การยืดตัว และทำกายภาพบำบัด จะช่วยลดอาการเกร็งกล้ามเนื้อ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานและอาการยังไม่ดีขึ้นควรต้องเข้ารับการผ่าตัด
สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท นพ.ธีรศักดิ์ แนะนำว่าปัจจุบันได้มีการรักษาหลายวิธี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก และการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ ปัจจุบันเทคโนโลยีการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจาก ประเทศอเมริกาและในประเทศ อื่น ๆ ด้วยขั้นตอนในการผ่าตัดที่ง่ายและได้ผลดีมากขึ้น ในแง่ของผู้เข้ารับการผ่าตัดจะสามารถฟื้นตัวเร็ว และกลับมาใช้ชีวิตประจำวันปกติได้อย่างรวดเร็ว ส่วนโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เมื่อรักษาแล้วก็มีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก หากไม่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเรื่องปวดหลังคือ “การป้องกันไม่ให้เกิด” โดยพยายามจัดท่าทางการทำงานหรือกิจวัตรประจำวันให้ถูกต้อง ให้แนวกระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรงเสมอ และหลีกเลี่ยงการทำอะไรที่ใช้กล้ามเนื้อหลังมาก ๆ รวมถึงหมั่นบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงไว้เสมอ เพราะเป็นกล้ามเนื้อที่คอยตรึงแนวกระดูกสันหลังไม่ให้เคลื่อนไหวมากเกินไป.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/society/199496 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
(นพ.ธีรศักดิ์ พื้นงาม แพทย์หัวหน้าศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.พญาไท 1) (พยาบาลกำลังให้ความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคกระดูก) ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทสูงขึ้น โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศและคนที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกวัน วันละนานๆ เนื่องจากระหว่างใช้คอมพิวเตอร์มีการเกร็งและใช้งานบริเวณส่วนหลัง อาจมีการใช้อย่างไม่ถูกต้องและเคลื่อนไหวไม่เหมาะสม เมื่อทับถมเป็นเวลานานส่งผลให้เกิดกระดูกเสื่อม ทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูก นพ.ธีรศักดิ์ พื้นงาม แพทย์หัวหน้าศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.พญาไท 1 ให้ข้อมูลว่า โรคนี้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ โรคหมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท จะมีอาการปวดร้าวจากเอวลงไปที่ขา ขาชาและอ่อนแรงขาข้างใดข้างหนึ่ง และโรคหมอนรองกระดูกส่วนคอกดทับเส้นประสาทจะปวดต้นคอร้าวไปที่สะบักข้างใด ข้างหนึ่ง หรืออาจปวดถึงแขนหรือมือ มืออ่อนแรงจับสิ่งของไม่ถนัด มือและแขนมีอาการชา หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ และรีบรักษาก่อนอาการลุกลามรุนแรง สำหรับการรักษาขั้นต้นจะให้ยากินลดอาการบวมและอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณ หมอนรองกระดูกกดทับ รวมทั้งการประคบนวด การจัดกระดูก การยืดตัว และทำกายภาพบำบัด จะช่วยลดอาการเกร็งกล้ามเนื้อ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานและอาการยังไม่ดีขึ้นควรต้องเข้ารับการผ่าตัด สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท นพ.ธีรศักดิ์ แนะนำว่าปัจจุบันได้มีการรักษาหลายวิธี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก และการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ ปัจจุบันเทคโนโลยีการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจาก ประเทศอเมริกาและในประเทศ อื่น ๆ ด้วยขั้นตอนในการผ่าตัดที่ง่ายและได้ผลดีมากขึ้น ในแง่ของผู้เข้ารับการผ่าตัดจะสามารถฟื้นตัวเร็ว และกลับมาใช้ชีวิตประจำวันปกติได้อย่างรวดเร็ว ส่วนโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เมื่อรักษาแล้วก็มีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก หากไม่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเรื่องปวดหลังคือ “การป้องกันไม่ให้เกิด” โดยพยายามจัดท่าทางการทำงานหรือกิจวัตรประจำวันให้ถูกต้อง ให้แนวกระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรงเสมอ และหลีกเลี่ยงการทำอะไรที่ใช้กล้ามเนื้อหลังมาก ๆ รวมถึงหมั่นบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงไว้เสมอ เพราะเป็นกล้ามเนื้อที่คอยตรึงแนวกระดูกสันหลังไม่ให้เคลื่อนไหวมากเกินไป. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/society/199496
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)