Happy Family วันดีๆ ของ "คนพิการ" ที่ "พิพิธภัณฑ์ไทย"

Happy Family วันดีๆ ของ "คนพิการ" ที่ "พิพิธภัณฑ์ไทย"

"คนพิการ" ในสังคมไทย ยังคงต้องเผชิญกับการใช้ชีวิตประจำวันที่แสนยากลำบากมากกว่าคนทั่วไปหลายเท่า เพียงแค่ออกไปปากซอยหน้าบ้าน ไปโรงเรียน ทำงาน หรือท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย ขณะที่ผู้คนก็ดูเหมือนไม่ได้ให้ความสนใจ หลายคนมีทัศนคติต่อคนพิการว่าควรอยู่บ้าน ไม่ควรออกไปเป็นภาระของสังคม ทั้งๆ ที่คนพิการก็มีสิทธิใช้ชีวิตเช่นเดียวกับคนทั่วไปในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเสรีภาพและมีศักดิ์ศรี

"คนพิการมีข้อจำกัดเรื่องของการมีส่วนร่วมกับคนในสังคม กิจกรรมทางสังคมที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย มันไม่ได้ง่ายสำหรับคนพิการ บวกกับความคิดที่ว่า คนพิการ เด็กพิการ ต้องอยู่แต่ในบ้านเท่านั้น ไม่แปลกที่เราแทบไม่ค่อยเห็นคนที่ใช้วีลแชร์ คนใช้ไม้เท้า หรือคนพิการประเภทอื่นๆ ออกจากบ้านมาเที่ยว หรือทำกิจกรรมนอกบ้านร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคม" ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก ๙) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำ และความไม่เท่าเทียมกันตอกย้ำให้เห็นชัด

ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. มองว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ต้องนั่งวีลแชร์ หรือความพิการใดๆ แต่คือการยอมรับว่า มีกลุ่มคนพิการอยู่ในสังคมของเรา และพวกเขาก็ต้องการให้สังคมเห็น "คุณค่า" เท่ากับคนอื่น ดังนั้น หนึ่งในเป้าหมายสำคัญ ที่ สสส. มุ่งหวังอยากให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งความหลากหลายและเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง จึงเกิดแนวคิดในการเข้าไปสนับสนุนให้เกิดพื้นที่การเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันระหว่างคนทั่วไปกับคนพิการ จนเกิดเป็น "โครงการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับคนพิการผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์" ที่คนพิการและครอบครัวของคนพิการกล้าออกจากบ้านทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน โดยกิจกรรมแรกที่จัดขึ้นในเดือนกันยายน เป็นการพาคนพิการ 40 คนจาก 32 ครอบครัว มาร่วมเรียนรู้ ดู ชม ประวัติศาสตร์และความเป็นไทยในพิพิธภัณฑ์ไทย ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และนิทรรศรัตนโกสินทร์

Happy Family วันดีๆ ของ "คนพิการ" ที่ "พิพิธภัณฑ์ไทย"

ภรณี ย้ำว่า สสส. ต้องการพัฒนาทักษะชีวิตคนพิการด้วยกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ชั้นดีอย่าง "พิพิธภัณฑ์" ซึ่งถือเป็นก้าวย่างแรกๆ ของการพาคนพิการออกจากบ้าน และถือเป็นพื้นที่ตัวอย่างให้กลุ่มคนพิการได้ลองเข้ามาเปิดประสบการณ์เรียนรู้ และค่อยๆ ปรับตัวเข้ากับสังคมในด้านต่างๆ ซึ่งนอกจากความรู้ และความสนุกแล้ว เชื่อว่า จะช่วยเพิ่มทักษะชีวิตในการอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมเพราะถ้าวันใดวันหนึ่งไม่มีคนดูแล คนกลุ่มนี้ต้องอยู่ในสังคมให้ได้

ไม่เพียงเท่านี้ ที่ผ่านมา สสส. ได้เข้าไปสนับสนุนกลุ่มผู้พิการในหลายๆ ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการศึกษา ได้สนับสนุน เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเด็กๆ ออทิสติก โดยจัดทำคู่มือ หรือเอกสารการเรียนรู้ที่ย่อยง่ายสำหรับคุณครูเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน จัดทำสติกเกอร์ไลน์ที่ต้องการเปิดพื้นที่เด็กพิการได้แสดงความสามารถ และปรับตัวให้ทันยุคที่เปลี่ยนไป นอกจากนั้นยังมีแพลตฟอร์มให้คนพิการได้ออกกำลังกาย ได้รู้วิธีการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วย 2. ด้านอาชีพ เพิ่มโอกาสการมีงานทำ เพื่อให้กลุ่มคนพิการใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี โดยที่ผ่านมา เกิดการจ้างงานมากกว่า 20,000 โอกาสงาน และ 3. ด้านกิจกรรมทางสังคม เอื้อให้เกิดพื้นที่ปลอดภัย เพื่อให้คนพิการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมได้

"นอกจากการส่งเสริมด้านสุขภาพแล้ว หลายๆ ครั้งที่คนพิการถูกเลือกปฏิบัติ ขาดโอกาสในหลายด้าน สสส. จึงอยากเห็นกลุ่มคนพิการมีสุขภาวะที่ดีขึ้น มองเห็นคุณค่า และความสามารถของตัวเอง นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติอื่นๆ ให้ดีขึ้น" ภรณี กล่าว

ด้าน อรรถพล คู่กระสังข์ ผู้จัดการโครงการการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับคนพิการผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เล่าที่มาที่ไปกว่าจะมาเป็นกิจกรรม Happy Family วันดีๆ ที่พิพิธภัณฑ์ครั้งนี้ว่า ได้สำรวจความต้องการของคนพิการทั้ง 4 กลุ่มคือ คนพิการทางด้านการเคลื่อนไหว, การได้ยิน, การมองเห็น และกลุ่มที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือเด็กออทิสติก ผ่านกระบวนการ Focus group ชวนคิด ชวนคุย เพื่อร่วมกันออกเเบบกิจกรรมที่พวกเขาอยากได้ มีข้อสรุปในทิศทางเดียวกันคือ กิจกรรมอะไรก็ได้ที่ได้ออกจากบ้านมาทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่นในสังคม

"หลังรู้ความต้องการของพวกเขาแล้ว ก็ออกแบบกิจกรรมให้ครอบคลุมทุกมิติของ สสส. คือ กาย ใจ ปัญญา และสังคม ประจวบเหมาะกับ วันที่ 19 กันยายน เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย กิจกรรมแรกในเดือนนี้จึงพามาเรียนรู้ ดู ชม ประวัติศาสตร์และความเป็นไทยที่นิทรรศรัตนโกสินทร์ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ซึ่งสนุกสนานกันมากครับ" อรรถพลเล่า

อรรถพล บอกด้วยว่า สสส. จะจัดกิจกรรมให้เป็นวาระประจำ อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง ในเดือนหน้าจะเป็นกิจกรรมจิตอาสา “คัด จัด เคลียร์” ร่วมกับกับมูลนิธิกระจกเงา และกิจกรรมไฮไลต์ในเดือนสุขภาพจิตโลก คือ ร่วมเวิร์คช๊อปศิลปะบำบัด ผ่านเรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิตของคนพิการในแต่ละท่าน ที่ MOCA (พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย กรุงเทพ) นอกจากนั้นยังมีแผนที่ขยายกิจกรรมไปต่างจังหวัด และอาจจะได้เห็น "งานกีฬาสี" สำหรับคนพิการร่วมกับคนทั่วไปด้วย

"โครงการนี้เป็นการนำร่อง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้สรุปเป็นชุดข้อมูล หาชุดรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสำหรับกับคนพิการ เพื่อจะเป็นคู่มือที่เป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงาน องค์กรที่ทำงานร่วมกับคนพิการ เช่น ถ้าจะจัดกิจกรรมทางกาย กิจกรรมแบบไหนเหมาะกับคนพิการ หรือกิจกรรมส่งเสริมอาชีพ อาชีพแบบไหนเหมาะกับคนพิการ เป็นต้น เราอยากให้เกิดความยั่งยืนของโครงการ ไม่ใช่จัดกิจกรรมวันเดียวแล้วจบไป" อรรถพลเผย พร้อมกับฝากถึงสังคมที่ไม่ควรเพิกเฉยต่อกลุ่มคนพิการ

"ตั้งแต่ทำงานกับคนพิการมา จริงๆ แล้วคนพิการไม่ได้ต้องการอะไรมากมาย มีเพียงบางอย่างที่ควรจะเอื้อประโยชน์ในการใช้ชีวิตของพวกเขาให้มากขึ้น เช่น ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน การเดินทาง หรือพื้นที่ต่างๆ ที่ควรจะเอื้อให้พวกเขาได้เข้าถึงมากขึ้น"

มาฟังเสียงผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่าง "กัญตญา แซ่ตั้ง" หรือกิฟท์ อายุ 26 ปี ผู้พิการทางสายตา เธอเล่าความรู้สึกว่า ถือเป็นอีกหนึ่งวันดีๆ ที่พิเศษมาก ได้เปิดโลกการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ที่ไม่เคยได้มีโอกาสแบบนี้ พร้อมชื่นชมเจ้าหน้าที่ที่สามารถบรรยายได้เห็นภาพจนรู้ได้เลยว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้า มีลักษณะอย่างไร นอกจากนั้น ทางพิพิธภัณฑ์ยังเปิดโอกาสพิเศษให้ได้สัมผัสชุดไทยที่อยากรู้ว่าเขาใส่กันอย่างไร เนื้อผ้าเป็นอย่างไร แขนสั้นหรือแขนยาว เป็นต้น

แน่นอนว่า พิพิธภัณฑ์ต้องใช้ตาดู แต่สำหรับกลุ่มผู้พิการทางสายตา นับเป็นอีกหนึ่งโจทย์ที่ท้าท้ายสำหรับเจ้าหน้าที่อย่าง "สุชาดา สิทธิบรรเจิด" อายุ 27 ปี เจ้าหน้าที่ดูแลพิพิธภัณฑ์ หรือนิทรรศการที่คอยให้ความรู้กับกลุ่มคนพิการในกิจกรรมครั้งนี้ ซึ่งต้องย่อยข้อมูลและถ่ายทอดเรื่องราวออกมาให้เห็นภาพมากที่สุด

"สิ่งที่ตื่นเต้นสำหรับพวกเขาคือ การได้สัมผัสของต่างๆ จนร้อง “อ๋อ” เช่น ผ้าสไบเป็นแบบนี้ มีเนื้อผ้าเป็นคลื่นๆ เป็นชั้นๆ หรือ อ๋อ การะเกด ออเจ้าใส่กันแบบนี้ หรือเสื้อผ้าในสมัยรัชกาลที่ 5 แขนพอง แขนหมูแฮม เราก็จะถามว่า เคยใส่เสื้อที่แขนพองๆ กันมั้ยคะ บางคนก็พูดขึ้นมาว่า ที่เหมือนแขนตุ๊กตาใช้มั้ยคะ พอเขาได้สัมผัส ได้จับ สิ่งที่เขาเคยคิด เคยจินตนาการก็จะถูกต้อง ชัดเจนขึ้น ยิ่งได้สอดแทรกเรื่องราวความรู้ทางประวัติศาสตร์เข้าไปด้วย ก็จะยิ่งเปิดโลกการเรียนรู้ให้กับพวกเขา ส่วนตัวเราก็ได้เรียนรู้ เข้าใจโลกของพวกเขาด้วยเหมือนกัน ต่างฝ่ายต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกัน" สุชาดา บอกเล่าประสบการณ์ทิ้งท้าย

ภรณี ย้ำว่า สสส. ต้องการพัฒนาทักษะชีวิตคนพิการด้วยกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ชั้นดีอย่าง "พิพิธภัณฑ์" ซึ่งถือเป็นก้าวย่างแรกๆ ของการพาคนพิการออกจากบ้าน และถือเป็นพื้นที่ตัวอย่างให้กลุ่มคนพิการได้ลองเข้ามาเปิดประสบการณ์เรียนรู้ และค่อยๆ ปรับตัวเข้ากับสังคมในด้านต่างๆ ซึ่งนอกจากความรู้ และความสนุกแล้ว เชื่อว่า จะช่วยเพิ่มทักษะชีวิตในการอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมเพราะถ้าวันใดวันหนึ่งไม่มีคนดูแล คนกลุ่มนี้ต้องอยู่ในสังคมให้ได้

ไม่เพียงเท่านี้ ที่ผ่านมา สสส. ได้เข้าไปสนับสนุนกลุ่มผู้พิการในหลายๆ ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการศึกษา ได้สนับสนุน เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเด็กๆ ออทิสติก โดยจัดทำคู่มือ หรือเอกสารการเรียนรู้ที่ย่อยง่ายสำหรับคุณครูเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน จัดทำสติกเกอร์ไลน์ที่ต้องการเปิดพื้นที่เด็กพิการได้แสดงความสามารถ และปรับตัวให้ทันยุคที่เปลี่ยนไป นอกจากนั้นยังมีแพลตฟอร์มให้คนพิการได้ออกกำลังกาย ได้รู้วิธีการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วย 2. ด้านอาชีพ เพิ่มโอกาสการมีงานทำ เพื่อให้กลุ่มคนพิการใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี โดยที่ผ่านมา เกิดการจ้างงานมากกว่า 20,000 โอกาสงาน และ 3. ด้านกิจกรรมทางสังคม เอื้อให้เกิดพื้นที่ปลอดภัย เพื่อให้คนพิการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมได้

"นอกจากการส่งเสริมด้านสุขภาพแล้ว หลายๆ ครั้งที่คนพิการถูกเลือกปฏิบัติ ขาดโอกาสในหลายด้าน สสส. จึงอยากเห็นกลุ่มคนพิการมีสุขภาวะที่ดีขึ้น มองเห็นคุณค่า และความสามารถของตัวเอง นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติอื่นๆ ให้ดีขึ้น" ภรณี กล่าว

ด้าน อรรถพล คู่กระสังข์ ผู้จัดการโครงการการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับคนพิการผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เล่าที่มาที่ไปกว่าจะมาเป็นกิจกรรม Happy Family วันดีๆ ที่พิพิธภัณฑ์ครั้งนี้ว่า ได้สำรวจความต้องการของคนพิการทั้ง 4 กลุ่มคือ คนพิการทางด้านการเคลื่อนไหว, การได้ยิน, การมองเห็น และกลุ่มที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือเด็กออทิสติก ผ่านกระบวนการ Focus group ชวนคิด ชวนคุย เพื่อร่วมกันออกเเบบกิจกรรมที่พวกเขาอยากได้ มีข้อสรุปในทิศทางเดียวกันคือ กิจกรรมอะไรก็ได้ที่ได้ออกจากบ้านมาทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่นในสังคม

"หลังรู้ความต้องการของพวกเขาแล้ว ก็ออกแบบกิจกรรมให้ครอบคลุมทุกมิติของ สสส. คือ กาย ใจ ปัญญา และสังคม ประจวบเหมาะกับ วันที่ 19 กันยายน เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย กิจกรรมแรกในเดือนนี้จึงพามาเรียนรู้ ดู ชม ประวัติศาสตร์และความเป็นไทยที่นิทรรศรัตนโกสินทร์ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ซึ่งสนุกสนานกันมากครับ" อรรถพลเล่า

อรรถพล บอกด้วยว่า สสส. จะจัดกิจกรรมให้เป็นวาระประจำ อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง ในเดือนหน้าจะเป็นกิจกรรมจิตอาสา “คัด จัด เคลียร์” ร่วมกับกับมูลนิธิกระจกเงา และกิจกรรมไฮไลต์ในเดือนสุขภาพจิตโลก คือ ร่วมเวิร์คช๊อปศิลปะบำบัด ผ่านเรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิตของคนพิการในแต่ละท่าน ที่ MOCA (พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย กรุงเทพ) นอกจากนั้นยังมีแผนที่ขยายกิจกรรมไปต่างจังหวัด และอาจจะได้เห็น "งานกีฬาสี" สำหรับคนพิการร่วมกับคนทั่วไปด้วย

"โครงการนี้เป็นการนำร่อง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้สรุปเป็นชุดข้อมูล หาชุดรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสำหรับกับคนพิการ เพื่อจะเป็นคู่มือที่เป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงาน องค์กรที่ทำงานร่วมกับคนพิการ เช่น ถ้าจะจัดกิจกรรมทางกาย กิจกรรมแบบไหนเหมาะกับคนพิการ หรือกิจกรรมส่งเสริมอาชีพ อาชีพแบบไหนเหมาะกับคนพิการ เป็นต้น เราอยากให้เกิดความยั่งยืนของโครงการ ไม่ใช่จัดกิจกรรมวันเดียวแล้วจบไป" อรรถพลเผย พร้อมกับฝากถึงสังคมที่ไม่ควรเพิกเฉยต่อกลุ่มคนพิการ

"ตั้งแต่ทำงานกับคนพิการมา จริงๆ แล้วคนพิการไม่ได้ต้องการอะไรมากมาย มีเพียงบางอย่างที่ควรจะเอื้อประโยชน์ในการใช้ชีวิตของพวกเขาให้มากขึ้น เช่น ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน การเดินทาง หรือพื้นที่ต่างๆ ที่ควรจะเอื้อให้พวกเขาได้เข้าถึงมากขึ้น"

มาฟังเสียงผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่าง "กัญตญา แซ่ตั้ง" หรือกิฟท์ อายุ 26 ปี ผู้พิการทางสายตา เธอเล่าความรู้สึกว่า ถือเป็นอีกหนึ่งวันดีๆ ที่พิเศษมาก ได้เปิดโลกการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ที่ไม่เคยได้มีโอกาสแบบนี้ พร้อมชื่นชมเจ้าหน้าที่ที่สามารถบรรยายได้เห็นภาพจนรู้ได้เลยว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้า มีลักษณะอย่างไร นอกจากนั้น ทางพิพิธภัณฑ์ยังเปิดโอกาสพิเศษให้ได้สัมผัสชุดไทยที่อยากรู้ว่าเขาใส่กันอย่างไร เนื้อผ้าเป็นอย่างไร แขนสั้นหรือแขนยาว เป็นต้น

แน่นอนว่า พิพิธภัณฑ์ต้องใช้ตาดู แต่สำหรับกลุ่มผู้พิการทางสายตา นับเป็นอีกหนึ่งโจทย์ที่ท้าท้ายสำหรับเจ้าหน้าที่อย่าง "สุชาดา สิทธิบรรเจิด" อายุ 27 ปี เจ้าหน้าที่ดูแลพิพิธภัณฑ์ หรือนิทรรศการที่คอยให้ความรู้กับกลุ่มคนพิการในกิจกรรมครั้งนี้ ซึ่งต้องย่อยข้อมูลและถ่ายทอดเรื่องราวออกมาให้เห็นภาพมากที่สุด

"สิ่งที่ตื่นเต้นสำหรับพวกเขาคือ การได้สัมผัสของต่างๆ จนร้อง “อ๋อ” เช่น ผ้าสไบเป็นแบบนี้ มีเนื้อผ้าเป็นคลื่นๆ เป็นชั้นๆ หรือ อ๋อ การะเกด ออเจ้าใส่กันแบบนี้ หรือเสื้อผ้าในสมัยรัชกาลที่ 5 แขนพอง แขนหมูแฮม เราก็จะถามว่า เคยใส่เสื้อที่แขนพองๆ กันมั้ยคะ บางคนก็พูดขึ้นมาว่า ที่เหมือนแขนตุ๊กตาใช้มั้ยคะ พอเขาได้สัมผัส ได้จับ สิ่งที่เขาเคยคิด เคยจินตนาการก็จะถูกต้อง ชัดเจนขึ้น ยิ่งได้สอดแทรกเรื่องราวความรู้ทางประวัติศาสตร์เข้าไปด้วย ก็จะยิ่งเปิดโลกการเรียนรู้ให้กับพวกเขา ส่วนตัวเราก็ได้เรียนรู้ เข้าใจโลกของพวกเขาด้วยเหมือนกัน ต่างฝ่ายต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกัน" สุชาดา บอกเล่าประสบการณ์ทิ้งท้าย

ขอบคุณ... https://mgronline.com/qol/detail/9650000094010

ที่มา: mgronline.com/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ต.ค.65
วันที่โพสต์: 3/10/2565 เวลา 13:46:00 ดูภาพสไลด์โชว์ Happy Family วันดีๆ ของ "คนพิการ" ที่ "พิพิธภัณฑ์ไทย"