ตั้งศูนย์รักษา "บาดเจ็บกระดูกสันหลัง" ลดเสียชีวิต-พิการ

ตั้งศูนย์รักษา "บาดเจ็บกระดูกสันหลัง" ลดเสียชีวิต-พิการ

เริ่มต้นเทศกาลส่งท้ายปีเก่าเข้าสู่ปีใหม่ 2561 คน กทม. เริ่มทยอยออกต่างจังหวัดกันเรื่อยๆ แน่นอนที่สุด สิ่งที่เกิดขึ้นในทุกช่วงเทศกาลสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นช่วงปีใหม่หรือสงกรานต์ ก็คือสถิติอุบัติเหตุทางท้องถนน ซึ่งประเทศไทยมีสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกล่าสุด สิ้นสุด ณ วันที่ 22 พ.ย. 2560 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 13,424 คน บาดเจ็บ 884,494 คน รวมทั้งสิ้น 897,918 คน

นอกเหนือจากการเสียชีวิตแล้ว การบาดเจ็บด้านกระดูกสันหลังและไขสันหลัง เป็นหนึ่งในอาการบาดเจ็บที่พบได้มากลำดับต้นๆ ของการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอุบัติเหตุทางถนน ที่ส่วนหนึ่งก็นำไปสู่ความพิการ ทุพพลภาพด้วย

ตั้งศูนย์รักษา "บาดเจ็บกระดูกสันหลัง" ลดเสียชีวิต-พิการ

นพ.เอกกิตติ์ สุรการ ผู้อำนวยการอาวุโส แผนกฉุกเฉินและศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ รพ.กรุงเทพ บอกว่าสถิติผู้ป่วยอุบัติเหตุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกรุงเทพ มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี โดยแต่ละเคสมีความซับซ้อนของการบาดเจ็บในหลายอวัยวะ ต้องใช้ทีม แพทย์สหสาขาในการรักษาการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง วิธีการช่วยเหลือและรักษาผู้ป่วยมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ การสังเกตอาการของผู้บาดเจ็บในเบื้องต้นเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อวางแผนการเคลื่อนย้ายและดูแลได้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐานการดูแลผู้บาดเจ็บ ก่อนนำส่งยังสถานพยาบาลที่มีความพร้อมอย่างรวดเร็ว ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการ

คุณหมอเอกกิตติ์บอกว่า การบาดเจ็บบริเวณกระดูก สันหลังและไขสันหลัง Spinal Cord Injury เป็น หนึ่งในการบาดเจ็บที่พบบ่อย ทั้งนี้ ไขสันหลังเป็นโครงสร้างหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง ที่ต่อเนื่องลงมาจากก้านสมอง การบาดเจ็บไขสันหลัง คืออาการบาดเจ็บไขสันหลังรวมถึงรากประสาทที่อยู่ในโพรงของกระดูกสันหลัง ซึ่งการบาดเจ็บลักษณะนี้มีโอกาสสูงที่จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอัมพาต โดยการบาดเจ็บของไขสันหลังนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อยคือเกิดจากอุบัติเหตุทั้งบนถนนหรือพลัดตกหกล้มจากที่สูง

ตั้งศูนย์รักษา "บาดเจ็บกระดูกสันหลัง" ลดเสียชีวิต-พิการ

“สถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ ร่วมกับศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ รพ.กรุงเทพ สำนักงานใหญ่ จัดทำ Spinal Injury Fast Track โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้ เกิดความพร้อมในทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางด้านกระดูก สันหลังและไขสันหลัง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ครบถ้วนและไม่ติดขัด เปรียบได้กับการเปิดช่องทางด่วนเพื่อให้รถฉุกเฉินได้เข้าทำการรักษาผู้ป่วยโดยสะดวกและรวดเร็ว” คุณหมอเอกกิตติ์บอก พร้อมกับให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า ความหมายของ Spinal Injury Fast Track คือ code หรือสัญญาณภายในโรงพยาบาลกรุงเทพ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมมือกันของบุคลากร ตลอดจน แพทย์ที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาอุบัติเหตุทางกระดูกสันหลังและไขสันหลัง โดยจะให้ลำดับความสำคัญเหนือกว่าภาวะปกติ

ตั้งศูนย์รักษา "บาดเจ็บกระดูกสันหลัง" ลดเสียชีวิต-พิการ

ตั้งศูนย์รักษา "บาดเจ็บกระดูกสันหลัง" ลดเสียชีวิต-พิการ

ผู้อำนวยการอาวุโส แผนก ฉุกเฉินและศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ บอกด้วยว่า Spinal In– jury Fast Track ประกอบ ด้วยทีมแพทย์สหสาขาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาอุบัติเหตุทางกระดูก สันหลัง และไขสันหลังประกอบไปด้วย แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกสันหลังและไขสันหลัง ศัลยแพทย์ฉุกเฉิน อายุรแพทย์ (ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว) อุปกรณ์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องมือในการทำผ่าตัด ตลอดจน บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกๆฝ่าย เพื่อทำให้เกิดความพร้อมในการให้การรักษาที่มีมาตรฐาน ตลอดจนการผ่าตัดผู้ป่วยในกรณีที่จำเป็น การทำการผ่าตัดจะกระทำเมื่อทุกอย่างพร้อม ถือเป็นการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและพิการลงได้ หากผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง เหมาะสมและทันท่วงที

สำหรับการเตรียมความพร้อมนั้น คุณหมอเอกกิตติ์ อธิบายว่า เริ่มจาก 1.ผู้ป่วยจะต้องถูกเตรียมพร้อม โดยทีมแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน อายุรแพทย์ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย สูงสุด 2. ความพร้อมในส่วนของโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจเอกซเรย์ CT Scan หรือ MRI โดยละเอียดบุคลากรในห้องแล็บ และธนาคารเลือด จะจัดเตรียมความพร้อมอย่างครบถ้วน บุคลากรในห้องผ่าตัดจะจัดเตรียมอุปกรณ์ทำการผ่าตัด โดยให้ลำดับความสำคัญของผู้ป่วยอุบัติเหตุทางกระดูกสันหลังก่อน เมื่อทุกอย่างพร้อม ผู้ป่วยก็จะได้รับการรักษา โดยการผ่าตัดตามที่ศัลยแพทย์วางแผนการรักษาไว้

ตั้งศูนย์รักษา "บาดเจ็บกระดูกสันหลัง" ลดเสียชีวิต-พิการ

ส่วนการประเมินอาการของผู้บาดเจ็บ จะใช้การประเมินตามรูปแบบ ของ American Spinal Injury Association (ASIA) ซึ่ง ผอ.อาวุโส แผนกฉุกเฉินและศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ บอกว่า มีด้วยกัน 3 ส่วน คือ 1.การตรวจระบบประสาทสั่งการ เพื่อประเมินระดับกำลังของกล้ามเนื้อมัดหลัก ข้างละ 10 มัด ทั้ง 2 ข้างของร่างกายในท่านอนหงาย 2.การตรวจระบบประสาทรับความรู้สึกส่วนที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทไขสันหลังทั้ง 2 ข้างของร่างกาย 3.การตรวจทวารหนัก เพื่อประเมินการทำงานของประสาท ของผู้ป่วยว่ายังสามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักได้หรือไม่ ในกรณีที่มีการกดทับไขสันหลังหรือกระดูกสันหลังแตกหักเคลื่อน ไม่มั่นคง จะเกิดการกดทับไขสันหลัง การรักษาที่เหมาะสม คือ แก้ไขการกดทับ และ ยึดตรึงให้กระดูกสันหลังมั่นคง ไม่กลับมากดทับไขสันหลังซ้ำอีก ผู้ป่วยจะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยไม่รอช้า เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน

ทั้งนี้ ในวันรำลึกถึงผู้สูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน (World Day of Remembrance for Road Traffic Victims) ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี และในปีนี้องค์การอนามัยโลกได้กำหนดเป้าหมายปี 2563 ที่จะลดการเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่รุนแรงจากอุบัติเหตุทางถนนลง 50% เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ทุกๆ ภาคส่วนตระหนักถึงสภาพปัญหาความ สูญเสียและผลกระทบจากอุบัติเหตุทางถนน

โดยในช่วง 7 วันอันตรายนี้ ทางสถาบันโรค กระดูกสันหลังกรุงเทพ และศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ รพ.กรุงเทพ ได้เตรียมความพร้อมของทีมแพทย์ พยาบาลสหสาขา และเทคโนโลยีในการตรวจรักษาที่ทันสมัย เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับอุบัติเหตุฉุกเฉินทุกรูปแบบ รวมทั้งแนะนำวิธีการช่วยดูแลรักษา ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บอย่างถูกวิธี เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุหนักจะได้รับการรักษาที่เหมาะสมและมีผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ เพราะแต่ละวินาทีที่ผ่านไปอาจหมายถึงชีวิต หรือความพิการ ของผู้บาดเจ็บ

ตั้งศูนย์รักษา "บาดเจ็บกระดูกสันหลัง" ลดเสียชีวิต-พิการ

โดยสามารถแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง ที่เบอร์โทร. 1724 หรือ 1719 โดยศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ (Bangkok Trauma Center) พร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางในการประสานงานและอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ รวมทั้งการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยทั้งทางบกและทางอากาศด้วย และนอกจากการรักษาแล้ว ยังมีระบบดูแล รักษาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการพึ่งตนเองได้มากที่สุดในการทำกิจวัตร ประจำวันหรือกลับเข้าทำงานประกอบอาชีพตามศักยภาพของตนเอง ที่เรียกว่า Return to work as work functional capacity ด้วย.

ขอบคุณ... https://www.thairath.co.th/content/1165247

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ธ.ค.60
วันที่โพสต์: 3/01/2561 เวลา 09:58:24 ดูภาพสไลด์โชว์ ตั้งศูนย์รักษา "บาดเจ็บกระดูกสันหลัง" ลดเสียชีวิต-พิการ