ไทยถอยหลังรั้งเพื่อนอาเซียน ติดหล่มพัฒนาการเมือง-ศก.

แสดงความคิดเห็น

ภาพ เวทีบรรยายสรุปสำหรับสื่อมวลชน เรื่อง “การชุมนุมทางการเมือง : ภาพสะท้อนการเติบโตของประชาธิปไตยในดินแดนอาเซียน”

มุมมอง-ผู้สันทัดกรณี บนเวทีบรรยายสรุปสำหรับสื่อมวลชน เรื่อง “การชุมนุมทางการเมือง : ภาพสะท้อนการเติบโตของประชาธิปไตยในดินแดนอาเซียน” ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย.

“การชุมนุมยืดเยื้อ ไม่จบ เหตุเข้าข่ายซีโร่ซัมเกม สองฝ่ายต้องการเป็นผู้ชนะ ฉุดขาดโอกาสพัฒนาการเมืองและเศรษฐกิจ ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปีจึงจะหลุดกับดัก ไทยเดินถอยหลังขณะที่เพื่อนบ้านอาเซียนเดินหน้าสู่การพัฒนา” นั่นคือ “ไฮไลต์” ส่วนหนึ่งในงานบรรยายสรุปสำหรับสื่อมวลชน เรื่อง “การชุมนุมทางการเมือง : ภาพสะท้อนการเติบโตของประชาธิปไตยในดินแดนอาเซียน” จัดโดย ชมรมนักข่าว ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งสาระเข้มข้นน่ารับฟังยิ่ง

รศ.ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง มองความขัดแย้งจากการชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นจะยืดเยื้ออีกยาวนาน เพราะรัฐบาลเป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงเล่นเกมลากยาวได้ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ที่เรียก “ชนะได้หมด แพ้เสียหมด” (zero sum game) ทั้งสองฝ่ายจึงแข่งขันกันเพื่อเป็นผู้ชนะ ไม่มีผู้ต้องการเป็นฝ่ายแพ้ ฝ่ายหนึ่งต้องการล้มล้างอำนาจรัฐบาล ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลมีฐานมวลชนกลุ่มที่ผูกพันและชื่นชอบนโยบายผลประโยชน์ตอบแทน ด้วยประชานิยมจากรัฐบาล

ดังนั้น การต่อสู้ครั้งนี้ ทำให้ไทยต้องติดอยู่ในกับดัก “วงจรอุบาทว์” ที่มีนักการเมืองแสวงหาอำนาจด้วยการซื้อเสียงและโกงการเลือกตั้ง รัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้งก็ดำเนินนโยบายระยะสั้นที่เอาใจฐานเสียงทางการเมืองแทนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาว จึงทำให้ประชาชนอีกฝ่ายที่ไม่พอใจรัฐบาลที่มีอำนาจลุกขึ้นมาขับไล่รัฐบาล

เขา กล่าวเพิ่มเติมว่า เมืองไทยต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปีในการปฏิรูป เรียนรู้การพัฒนาประเทศไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เช่นเดียวกันกับโมเดลการปฏิรูปประชาธิปไตยของยุโรป ที่ไม่ได้มีความหมายแค่เพียงการเลือกตั้ง แต่ต้องเริ่มต้นจากการได้มาซึ่งการเลือกตั้ง การคงอยู่ และการจบหรือลงจากตำแหน่ง ซึ่งหากมีประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน การเมืองจะเกิดประโยชน์ที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศก็ต่อเมื่อนักการเมืองทั้งสองฝ่าย มองเห็นประโยชน์ของประเทศ เปิดเจรจาแบบแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมทั้งสองฝ่าย (Win Win) หรือต่อสู้ไปจนเริ่มเกิดความเสียหายทั้งสองฝ่ายจนไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ (Negative sum game) คู่ขัดแย้งจึงจะเดินเข้าสู่แนวทางเจรจา

ภาพ ตำรวจประเทศกัมพูชาพยายามปิดประตูไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าประตูได้

คล้าย ไทย?-ตำรวจกัมพูชาปิดกั้นประตูศาลอุทธรณ์ในกรุงพนมเปญ ขณะฝูงชนลุกฮือประท้วงที่ศาลฯ ตัดสินไม่ให้ประกันตัวนักเคลื่อนไหว 21 คนที่เป็นแกนนำการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล (รอยเตอร์)

ตัวอย่างที่ จบแบบผลประโยชน์ประเทศเป็นตัวนำ คือ จีนและญี่ปุ่นทะเลาะกันเรื่องหมู่เกาะเซนกากุหรือเตียวหยู ที่ทั้งสองฝ่ายรู้ดีว่ายิ่งทะเลาะกันยิ่งมีแต่เสียหายทั้งคู่ จึงหันมาจบโดยยึดผลประโยชน์ชาติเป็นหลัก ยุติการทะเลาะ แต่นักการเมืองไทย ยังไม่มีใครที่มองผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก

สถานการณ์ความขัดแย้ง ทางการเมืองของไทยเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านในอาเซียน มีทั้งเหมือนและคล้ายกัน โดยโครงสร้างของไทยคล้ายกัมพูชาที่สุด ซึ่งปัญหาเริ่มต้นจากการเปิดเสรีเศรษฐกิจ ระบบทุนนิยมเข้ามามีบทบาท ทำให้เกิดช่องว่างคนรวย-คนจนมากขึ้น ขณะที่ระบบการศึกษายังไม่พัฒนา รู้ไม่เท่าทันนักการเมือง ประชาชนไม่สามารถแยกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ของชาติ นักการเมืองจึงใช้นโยบายประชานิยมเข้ามาสร้างคะแนนนิยม

ส่วนประเทศ ที่กำลังจะเปลี่ยนไปเป็นประชาธิปไตยที่เกือบสมบูรณ์คือ มาเลเซียและสิงคโปร์ เนื่องจากมีพื้นฐานการศึกษาที่แข็งแรง ประชาชนไม่ยอมรับการคอร์รัปชัน ขณะที่ลาวและเวียดนาม มีโอกาสน้อยมากที่จะนำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมือง เนื่องจากเป็นระบอบสังคมนิยมที่รัฐบาลยังมีอำนาจควบคุมสื่อ ประชาชนจึงไม่มีการแตกแยกเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน

ขณะที่พม่ามีรัฐบาลที่แข็งแกร่งและพร้อมในการวางโครงสร้างการเปิดรับทางเศรษฐกิจ แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดความวุ่นวายทางการเมืองได้ เพราะเริ่มถูกบีบให้เปิดประเทศจากกลุ่มทุนต่างชาติ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางแนวคิดของประชาชน ที่จะเริ่มลุกขึ้นมาไม่ยอมรับอำนาจทหาร หากยังคงบริหารโดยยึดผลประโยชน์ในแบบเดิม

ส่วนฟิลิปปินส์ได้ผ่านพ้นจากความวุ่นวายทางการเมืองแล้ว หลังมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ ขับไล่ประธานาธิบดี มาร์กอส ที่มีปัญหาคอร์รัปชัน ทำให้คนเริ่มหันมามองประโยชน์ของชาติ เช่นเดียวกันกับอินโดนีเซีย ก็หลุดจากอำนาจของซูฮาร์โตแล้ว จึงเหลือเพียงไทยประเทศเดียวที่ยังถูกครอบงำโดยอำนาจทางการเมืองด้วยทุนนิยม

ด้าน นายทรงฤทธิ์ โพนเงิน นักเขียนและนักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญประเทศลุ่มน้ำโขง กล่าวถึงความวุ่นวายทางการเมืองของกัมพูชาว่าคล้ายคลึงกับไทย โดยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็น 2 ขั้ว แต่กัมพูชามีพลังของคนรุ่นใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาถึง 2 ล้านเสียงให้กับนายสม รังสี พรรคการเมืองขั้วตรงข้ามกับนายกฯ ฮุน เซน จึงมีแนวโน้มเกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญขึ้นได้ในอนาคต แต่ฮุน เซน พยายามยื้อการเลือกตั้งออกไป เพราะรู้ดีว่าฐานเสียงของตัวเองหายไปมาก จึงพยายามปฏิรูปบางส่วน โดยเปิดทางให้พรรคฝ่ายค้านเข้ามามีบทบาทในการเป็นคณะกรรมาธิการในสภา

ขณะที่อาจารย์สกุล สื่อทรงธรรม กรรมการ ANFREL และมูลนิธิองค์กรสื่อกลางเพื่อประชาธิปไตยกล่าวว่า กระบวนการได้มาซึ่งประชาธิปไตยของประเทศไทยไม่สมบูรณ์ เนื่องมาจากขาดองค์ประกอบหลายด้าน อาทิ สื่อขาดความเป็นกลาง และยังเปิดทางให้เกิดการซื้อเสียงมากมาย ทำให้ระบบการเลือกตั้งของไทยขาดความบริสุทธิ์ยุติธรรม

“ผู้สมัครต้อง ให้ข้อมูลนโยบายหลังได้รับเลือกตั้ง คนที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนให้พรรค เช่น หัวคะแนน ต้องได้รับการอบรม มีการให้ข้อมูล ถือเป็นประชาธิปไตยที่ดี แต่เราไม่ค่อยให้ความสำคัญ สื่อชอบความหวือหวา การนำเสนอของสื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้ประชาชนเกิดความคิด ใหม่”.

ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/column/oversea/7days/405296

( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.พ.57 )

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 23/02/2557 เวลา 02:12:11 ดูภาพสไลด์โชว์ ไทยถอยหลังรั้งเพื่อนอาเซียน ติดหล่มพัฒนาการเมือง-ศก.

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพ เวทีบรรยายสรุปสำหรับสื่อมวลชน เรื่อง “การชุมนุมทางการเมือง : ภาพสะท้อนการเติบโตของประชาธิปไตยในดินแดนอาเซียน” มุมมอง-ผู้สันทัดกรณี บนเวทีบรรยายสรุปสำหรับสื่อมวลชน เรื่อง “การชุมนุมทางการเมือง : ภาพสะท้อนการเติบโตของประชาธิปไตยในดินแดนอาเซียน” ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. “การชุมนุมยืดเยื้อ ไม่จบ เหตุเข้าข่ายซีโร่ซัมเกม สองฝ่ายต้องการเป็นผู้ชนะ ฉุดขาดโอกาสพัฒนาการเมืองและเศรษฐกิจ ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปีจึงจะหลุดกับดัก ไทยเดินถอยหลังขณะที่เพื่อนบ้านอาเซียนเดินหน้าสู่การพัฒนา” นั่นคือ “ไฮไลต์” ส่วนหนึ่งในงานบรรยายสรุปสำหรับสื่อมวลชน เรื่อง “การชุมนุมทางการเมือง : ภาพสะท้อนการเติบโตของประชาธิปไตยในดินแดนอาเซียน” จัดโดย ชมรมนักข่าว ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งสาระเข้มข้นน่ารับฟังยิ่ง รศ.ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง มองความขัดแย้งจากการชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นจะยืดเยื้ออีกยาวนาน เพราะรัฐบาลเป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงเล่นเกมลากยาวได้ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ที่เรียก “ชนะได้หมด แพ้เสียหมด” (zero sum game) ทั้งสองฝ่ายจึงแข่งขันกันเพื่อเป็นผู้ชนะ ไม่มีผู้ต้องการเป็นฝ่ายแพ้ ฝ่ายหนึ่งต้องการล้มล้างอำนาจรัฐบาล ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลมีฐานมวลชนกลุ่มที่ผูกพันและชื่นชอบนโยบายผลประโยชน์ตอบแทน ด้วยประชานิยมจากรัฐบาล ดังนั้น การต่อสู้ครั้งนี้ ทำให้ไทยต้องติดอยู่ในกับดัก “วงจรอุบาทว์” ที่มีนักการเมืองแสวงหาอำนาจด้วยการซื้อเสียงและโกงการเลือกตั้ง รัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้งก็ดำเนินนโยบายระยะสั้นที่เอาใจฐานเสียงทางการเมืองแทนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาว จึงทำให้ประชาชนอีกฝ่ายที่ไม่พอใจรัฐบาลที่มีอำนาจลุกขึ้นมาขับไล่รัฐบาล เขา กล่าวเพิ่มเติมว่า เมืองไทยต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปีในการปฏิรูป เรียนรู้การพัฒนาประเทศไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เช่นเดียวกันกับโมเดลการปฏิรูปประชาธิปไตยของยุโรป ที่ไม่ได้มีความหมายแค่เพียงการเลือกตั้ง แต่ต้องเริ่มต้นจากการได้มาซึ่งการเลือกตั้ง การคงอยู่ และการจบหรือลงจากตำแหน่ง ซึ่งหากมีประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน การเมืองจะเกิดประโยชน์ที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศก็ต่อเมื่อนักการเมืองทั้งสองฝ่าย มองเห็นประโยชน์ของประเทศ เปิดเจรจาแบบแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมทั้งสองฝ่าย (Win Win) หรือต่อสู้ไปจนเริ่มเกิดความเสียหายทั้งสองฝ่ายจนไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ (Negative sum game) คู่ขัดแย้งจึงจะเดินเข้าสู่แนวทางเจรจา ภาพ ตำรวจประเทศกัมพูชาพยายามปิดประตูไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าประตูได้ คล้าย ไทย?-ตำรวจกัมพูชาปิดกั้นประตูศาลอุทธรณ์ในกรุงพนมเปญ ขณะฝูงชนลุกฮือประท้วงที่ศาลฯ ตัดสินไม่ให้ประกันตัวนักเคลื่อนไหว 21 คนที่เป็นแกนนำการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล (รอยเตอร์) ตัวอย่างที่ จบแบบผลประโยชน์ประเทศเป็นตัวนำ คือ จีนและญี่ปุ่นทะเลาะกันเรื่องหมู่เกาะเซนกากุหรือเตียวหยู ที่ทั้งสองฝ่ายรู้ดีว่ายิ่งทะเลาะกันยิ่งมีแต่เสียหายทั้งคู่ จึงหันมาจบโดยยึดผลประโยชน์ชาติเป็นหลัก ยุติการทะเลาะ แต่นักการเมืองไทย ยังไม่มีใครที่มองผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก สถานการณ์ความขัดแย้ง ทางการเมืองของไทยเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านในอาเซียน มีทั้งเหมือนและคล้ายกัน โดยโครงสร้างของไทยคล้ายกัมพูชาที่สุด ซึ่งปัญหาเริ่มต้นจากการเปิดเสรีเศรษฐกิจ ระบบทุนนิยมเข้ามามีบทบาท ทำให้เกิดช่องว่างคนรวย-คนจนมากขึ้น ขณะที่ระบบการศึกษายังไม่พัฒนา รู้ไม่เท่าทันนักการเมือง ประชาชนไม่สามารถแยกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ของชาติ นักการเมืองจึงใช้นโยบายประชานิยมเข้ามาสร้างคะแนนนิยม ส่วนประเทศ ที่กำลังจะเปลี่ยนไปเป็นประชาธิปไตยที่เกือบสมบูรณ์คือ มาเลเซียและสิงคโปร์ เนื่องจากมีพื้นฐานการศึกษาที่แข็งแรง ประชาชนไม่ยอมรับการคอร์รัปชัน ขณะที่ลาวและเวียดนาม มีโอกาสน้อยมากที่จะนำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมือง เนื่องจากเป็นระบอบสังคมนิยมที่รัฐบาลยังมีอำนาจควบคุมสื่อ ประชาชนจึงไม่มีการแตกแยกเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน ขณะที่พม่ามีรัฐบาลที่แข็งแกร่งและพร้อมในการวางโครงสร้างการเปิดรับทางเศรษฐกิจ แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดความวุ่นวายทางการเมืองได้ เพราะเริ่มถูกบีบให้เปิดประเทศจากกลุ่มทุนต่างชาติ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางแนวคิดของประชาชน ที่จะเริ่มลุกขึ้นมาไม่ยอมรับอำนาจทหาร หากยังคงบริหารโดยยึดผลประโยชน์ในแบบเดิม ส่วนฟิลิปปินส์ได้ผ่านพ้นจากความวุ่นวายทางการเมืองแล้ว หลังมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ ขับไล่ประธานาธิบดี มาร์กอส ที่มีปัญหาคอร์รัปชัน ทำให้คนเริ่มหันมามองประโยชน์ของชาติ เช่นเดียวกันกับอินโดนีเซีย ก็หลุดจากอำนาจของซูฮาร์โตแล้ว จึงเหลือเพียงไทยประเทศเดียวที่ยังถูกครอบงำโดยอำนาจทางการเมืองด้วยทุนนิยม ด้าน นายทรงฤทธิ์ โพนเงิน นักเขียนและนักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญประเทศลุ่มน้ำโขง กล่าวถึงความวุ่นวายทางการเมืองของกัมพูชาว่าคล้ายคลึงกับไทย โดยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็น 2 ขั้ว แต่กัมพูชามีพลังของคนรุ่นใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาถึง 2 ล้านเสียงให้กับนายสม รังสี พรรคการเมืองขั้วตรงข้ามกับนายกฯ ฮุน เซน จึงมีแนวโน้มเกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญขึ้นได้ในอนาคต แต่ฮุน เซน พยายามยื้อการเลือกตั้งออกไป เพราะรู้ดีว่าฐานเสียงของตัวเองหายไปมาก จึงพยายามปฏิรูปบางส่วน โดยเปิดทางให้พรรคฝ่ายค้านเข้ามามีบทบาทในการเป็นคณะกรรมาธิการในสภา ขณะที่อาจารย์สกุล สื่อทรงธรรม กรรมการ ANFREL และมูลนิธิองค์กรสื่อกลางเพื่อประชาธิปไตยกล่าวว่า กระบวนการได้มาซึ่งประชาธิปไตยของประเทศไทยไม่สมบูรณ์ เนื่องมาจากขาดองค์ประกอบหลายด้าน อาทิ สื่อขาดความเป็นกลาง และยังเปิดทางให้เกิดการซื้อเสียงมากมาย ทำให้ระบบการเลือกตั้งของไทยขาดความบริสุทธิ์ยุติธรรม “ผู้สมัครต้อง ให้ข้อมูลนโยบายหลังได้รับเลือกตั้ง คนที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนให้พรรค เช่น หัวคะแนน ต้องได้รับการอบรม มีการให้ข้อมูล ถือเป็นประชาธิปไตยที่ดี แต่เราไม่ค่อยให้ความสำคัญ สื่อชอบความหวือหวา การนำเสนอของสื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้ประชาชนเกิดความคิด ใหม่”. ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/column/oversea/7days/405296 ( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.พ.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...