ร้านอาหารแดนมะกะโรนี “ทำเจ๋ง” จ้างงานผู้ป่วย “ดาวน์ซินโดรม” หวังฝึกทักษะ - พัฒนาอาชีพ

แสดงความคิดเห็น

ผู้ป่วย “ดาวน์ซินโดรม” ฝึกอาชีพเป็นพนักงานประจำร้านอาหาร

เอเอฟพี - เป็นอีกคืนหนึ่งที่พนักงานซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรมของร้าน “จีราโซลิ” ในกรุงโรมต้องรับมือกับลูกค้าที่แห่แหนกันมาอย่างเนืองแน่น แต่ร้านนี้ไม่ได้มีดีเฉพาะพิซซ่าและพาสต้าเท่านั้น แต่ยังมีบริการเปิดมุมมองใหม่ๆ ในเรื่องการมอบโอกาสให้คนพิการทำงานอีกด้วย

ร้านอาหารที่ป้ายร้านประดิดประดอยขึ้นจากไฟนีออนแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นในพื้นที่ชานกรุงโรมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยพ่อแม่คู่หนึ่งที่มีลูกพิการ และมีลักษณะเหมือนร้านอาหารโดยทั่วไป ยกเว้นก็แต่การที่มีลูกจ้าง 13 คนจากทั้งหมด 18 คนเป็นคนพิการ

“ฉันชอบห้องนี้ ชอบการได้มองไปรอบๆ คอยให้บริการลูกค้าและพูดคุยกับพวกเขา” ซีโมเน พนักงานของร้านวัย 24 ปีกล่าว โดยภายหลังที่เขาผ่านการฝึกงาน 600 ชั่วโมง ก็ได้เซ็นสัญญาเป็นพนักงานประจำของร้านจีราโซลิ (ดอกทานตะวัน)

“แต่ที่สำคัญกว่าอะไรอื่น คือฉันมีความสุขที่ได้อยู่ที่นี่” เขาบอก เมื่อมีผู้หญิงกลุ่มหนึ่งเดินเข้ามา ซีโมเนก็พาพวกเธอไปที่โต๊ะอย่างว่องไว พร้อมหยิบเมนูติดมือไป 2-3 เล่ม

“เราได้ยินเรื่องดีๆ เกี่ยวกับร้านนี้จึงอยากมาลอง” หญิงคนหนึ่งในกลุ่มบอก ขณะที่เพื่อนของเธอกล่าวเสริมว่า “โดยรวมแล้วเหมือนร้านอาหารทั่วไป ยกเว้นก็แต่พนักงานเสิร์ฟที่นี่บริการดีมาก”

ในขณะที่ จูเซปเป คุณครูวัย 64 ปีกำลังละเลียดพาสต้าอามาตรีเชียนา เขากล่าวว่า “ครั้งแรกที่คุณมาที่นี่ คุณอาจคาดหวังอะไรบางอย่าง แต่ไม่นานก็จะรู้ได้ว่าไม่จำเป็นต้องตั้งความหวังเลย”

ผู้ป่วย “ดาวน์ซินโดรม” ฝึกอาชีพเป็นพนักงานประจำร้านอาหาร ร้านอาหารแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2000 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างงานให้แก่ผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรม โรคที่เกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรม ซึ่งโดยปกติแล้วจะส่งผลให้ร่างกายเติบโตช้าและมีความบกพร่องทางสติปัญญา

“ลูกน้องของฉันทำงานเป็น แล้วก็ทำได้ดีมากด้วย” อูโก เมนกีนี หัวหน้าบริกรที่มีร่างกายสมประกอบกล่าวยกย่องลูกจ้างของเขาว่า ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและว่องไว

“ถ้าผมจะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ผมจะไม่ลังเลเลย ที่จะจ้างคนเป็นดาวน์ซินโดรม”

เช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ ในอีตาลี ร้านอาหารแห่งนี้ก็ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจถดถอย และจำเป็นต้องปิดกิจการชั่วคราวนานหลายเดือนเพื่อปรับโครงสร้างและปรับปรุงร้าน ตอนนี้ร้านแห่งนี้บริหารงานโดย “กอนซอร์ซิโอ ซินเตซี” สมาคมสหกรณ์ที่มีความชำนาญการด้านหางานให้ผู้พิการ และเป็นผู้บริหารคอลเซ็นเตอร์สามแห่งให้แก่เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ “วินด์”

“รัฐเป็นผู้ผลักดันให้มีความช่วยเหลือ แต่เราต้องการฝึกอาชีพให้พวกเขามากกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่นี่เป็นเงินทุนส่วนตัวทั้งหมด เราไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ” เอนโซ รีมิชชีกล่าว พร้อมทั้งยกตัวอย่างกรณีของมาร์โก พนักงานคนหนึ่งที่ขี้อายจนไม่กล้ารับลูกค้า แต่สามารถทำงานในห้องครัวได้ราวกับเครื่องจักร

ผู้ป่วย “ดาวน์ซินโดรม” ฝึกอาชีพเป็นพนักงานประจำร้านอาหาร การฝึกงานของร้านนี้เป็นไปอย่างเข้มงวดกวดขัน และในบรรดาพนักงานที่เป็นดาวน์ซินโดรมทั้งหมด 13 คน เป็นเด็กฝึกงาน 9 คน เมื่อร้านจีราโซลิปิดในตอนเช้า ก็จะมีพนักงานอีกทีมหนึ่งเข้ามาทำคุกกี้และเค้กไว้ขายลูกค้าในช่วงเย็น แม้จะเป็นวันที่ไม่ต้องทำงาน อันนา พนักงานสาววัย 22 ปีก็ยังคงเข้ามาที่ร้าน เพื่อรับประทานอาหารกับพ่อแม่ของเธอทุกคืน

“สิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้ คือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่สำหรับพวกเรา และสำหรับเธอ” การ์โล พ่อของเธอบอก ในเวลาที่ดวงตาของเขาเอ่อล้นไปด้วยน้ำตาขณะพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของลูกสาว ตัวเองนับตั้งแต่เริ่มทำงานที่นี่”

“ลูกสาวของเรามีความเป็นตัวของตัวเองขึ้นมาก เมื่อกลับจากที่ทำงาน เธอดูมีความสุขและภาคภูมิใจในสิ่งที่เธอทำ” เขาเผย พร้อมกล่าวเสริมว่า อันนามีพัฒนาการ “ในการสื่อสารกับผู้คน ด้วยภาษาของเธอ”

สัญญาณอีกประการหนึ่งซึ่งบ่งชี้ว่าร้านแห่งนี้กำลังประสบความสำเร็จ คือจีราโซลิอีกสาขาหนึ่งกำลังจะเปิดตัว

ทั้งนี้ ร้านแห่งใหม่มีกำหนดจะเปิดตัวในเร็วๆ นี้ที่เมืองปาแลร์โม แคว้นซิซิลี โดยรีมิชชิกล่าวว่า มีแผนที่จะขาย

แฟรนไชส์และเพิ่มจำนวนสาขา

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000018857 (ขนาดไฟล์: 185)

(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.พ.57 )

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 19/02/2557 เวลา 04:02:10 ดูภาพสไลด์โชว์ ร้านอาหารแดนมะกะโรนี “ทำเจ๋ง” จ้างงานผู้ป่วย “ดาวน์ซินโดรม” หวังฝึกทักษะ - พัฒนาอาชีพ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้ป่วย “ดาวน์ซินโดรม” ฝึกอาชีพเป็นพนักงานประจำร้านอาหาร เอเอฟพี - เป็นอีกคืนหนึ่งที่พนักงานซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรมของร้าน “จีราโซลิ” ในกรุงโรมต้องรับมือกับลูกค้าที่แห่แหนกันมาอย่างเนืองแน่น แต่ร้านนี้ไม่ได้มีดีเฉพาะพิซซ่าและพาสต้าเท่านั้น แต่ยังมีบริการเปิดมุมมองใหม่ๆ ในเรื่องการมอบโอกาสให้คนพิการทำงานอีกด้วย ร้านอาหารที่ป้ายร้านประดิดประดอยขึ้นจากไฟนีออนแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นในพื้นที่ชานกรุงโรมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยพ่อแม่คู่หนึ่งที่มีลูกพิการ และมีลักษณะเหมือนร้านอาหารโดยทั่วไป ยกเว้นก็แต่การที่มีลูกจ้าง 13 คนจากทั้งหมด 18 คนเป็นคนพิการ “ฉันชอบห้องนี้ ชอบการได้มองไปรอบๆ คอยให้บริการลูกค้าและพูดคุยกับพวกเขา” ซีโมเน พนักงานของร้านวัย 24 ปีกล่าว โดยภายหลังที่เขาผ่านการฝึกงาน 600 ชั่วโมง ก็ได้เซ็นสัญญาเป็นพนักงานประจำของร้านจีราโซลิ (ดอกทานตะวัน) “แต่ที่สำคัญกว่าอะไรอื่น คือฉันมีความสุขที่ได้อยู่ที่นี่” เขาบอก เมื่อมีผู้หญิงกลุ่มหนึ่งเดินเข้ามา ซีโมเนก็พาพวกเธอไปที่โต๊ะอย่างว่องไว พร้อมหยิบเมนูติดมือไป 2-3 เล่ม “เราได้ยินเรื่องดีๆ เกี่ยวกับร้านนี้จึงอยากมาลอง” หญิงคนหนึ่งในกลุ่มบอก ขณะที่เพื่อนของเธอกล่าวเสริมว่า “โดยรวมแล้วเหมือนร้านอาหารทั่วไป ยกเว้นก็แต่พนักงานเสิร์ฟที่นี่บริการดีมาก” ในขณะที่ จูเซปเป คุณครูวัย 64 ปีกำลังละเลียดพาสต้าอามาตรีเชียนา เขากล่าวว่า “ครั้งแรกที่คุณมาที่นี่ คุณอาจคาดหวังอะไรบางอย่าง แต่ไม่นานก็จะรู้ได้ว่าไม่จำเป็นต้องตั้งความหวังเลย” ผู้ป่วย “ดาวน์ซินโดรม” ฝึกอาชีพเป็นพนักงานประจำร้านอาหาร ร้านอาหารแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2000 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างงานให้แก่ผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรม โรคที่เกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรม ซึ่งโดยปกติแล้วจะส่งผลให้ร่างกายเติบโตช้าและมีความบกพร่องทางสติปัญญา “ลูกน้องของฉันทำงานเป็น แล้วก็ทำได้ดีมากด้วย” อูโก เมนกีนี หัวหน้าบริกรที่มีร่างกายสมประกอบกล่าวยกย่องลูกจ้างของเขาว่า ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและว่องไว “ถ้าผมจะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ผมจะไม่ลังเลเลย ที่จะจ้างคนเป็นดาวน์ซินโดรม” เช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ ในอีตาลี ร้านอาหารแห่งนี้ก็ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจถดถอย และจำเป็นต้องปิดกิจการชั่วคราวนานหลายเดือนเพื่อปรับโครงสร้างและปรับปรุงร้าน ตอนนี้ร้านแห่งนี้บริหารงานโดย “กอนซอร์ซิโอ ซินเตซี” สมาคมสหกรณ์ที่มีความชำนาญการด้านหางานให้ผู้พิการ และเป็นผู้บริหารคอลเซ็นเตอร์สามแห่งให้แก่เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ “วินด์” “รัฐเป็นผู้ผลักดันให้มีความช่วยเหลือ แต่เราต้องการฝึกอาชีพให้พวกเขามากกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่นี่เป็นเงินทุนส่วนตัวทั้งหมด เราไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ” เอนโซ รีมิชชีกล่าว พร้อมทั้งยกตัวอย่างกรณีของมาร์โก พนักงานคนหนึ่งที่ขี้อายจนไม่กล้ารับลูกค้า แต่สามารถทำงานในห้องครัวได้ราวกับเครื่องจักร ผู้ป่วย “ดาวน์ซินโดรม” ฝึกอาชีพเป็นพนักงานประจำร้านอาหาร การฝึกงานของร้านนี้เป็นไปอย่างเข้มงวดกวดขัน และในบรรดาพนักงานที่เป็นดาวน์ซินโดรมทั้งหมด 13 คน เป็นเด็กฝึกงาน 9 คน เมื่อร้านจีราโซลิปิดในตอนเช้า ก็จะมีพนักงานอีกทีมหนึ่งเข้ามาทำคุกกี้และเค้กไว้ขายลูกค้าในช่วงเย็น แม้จะเป็นวันที่ไม่ต้องทำงาน อันนา พนักงานสาววัย 22 ปีก็ยังคงเข้ามาที่ร้าน เพื่อรับประทานอาหารกับพ่อแม่ของเธอทุกคืน “สิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้ คือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่สำหรับพวกเรา และสำหรับเธอ” การ์โล พ่อของเธอบอก ในเวลาที่ดวงตาของเขาเอ่อล้นไปด้วยน้ำตาขณะพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของลูกสาว ตัวเองนับตั้งแต่เริ่มทำงานที่นี่” “ลูกสาวของเรามีความเป็นตัวของตัวเองขึ้นมาก เมื่อกลับจากที่ทำงาน เธอดูมีความสุขและภาคภูมิใจในสิ่งที่เธอทำ” เขาเผย พร้อมกล่าวเสริมว่า อันนามีพัฒนาการ “ในการสื่อสารกับผู้คน ด้วยภาษาของเธอ” สัญญาณอีกประการหนึ่งซึ่งบ่งชี้ว่าร้านแห่งนี้กำลังประสบความสำเร็จ คือจีราโซลิอีกสาขาหนึ่งกำลังจะเปิดตัว ทั้งนี้ ร้านแห่งใหม่มีกำหนดจะเปิดตัวในเร็วๆ นี้ที่เมืองปาแลร์โม แคว้นซิซิลี โดยรีมิชชิกล่าวว่า มีแผนที่จะขาย แฟรนไชส์และเพิ่มจำนวนสาขา ขอบคุณ... http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000018857 (ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.พ.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...