ชำระความเชื่อ เพื่อเอื้อความจริง (ต่อ) - ธรรมมะอินเทรนด์

แสดงความคิดเห็น

เงาของหนุ่มสาวออฟฟิต ยืนสนทนากัน

ในหนังสือชื่อ “นักวิชาการเทศ-ไทย หาความรู้ให้แน่ใช่แค่คิดเอา” ที่เขียนโดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ท่านได้กล่าวเตือนนักวิชาการที่ชอบวิจารณ์ แต่ไม่นิยมวิจัย หากแต่ใช้เพียงความนึกคิดจินตนาการเอาเองล้วน ๆ เป็นรากฐานของการทำงานไว้อย่างน่ารับฟัง ขอคัดมาให้อ่านกันเพื่อประดับความรู้และเพื่อทำความเข้าใจบรรยากาศของสังคม ไทยเวลานี้ไปด้วยในตัวดังนี้ …วิจารณ์โดยไม่วิจัย คือ มหันตภัยทางปัญญา …“รู้ก็ผิด คิดก็ไม่เป็น ชอบแสดงความคิดเห็น จะได้อะไร”…“...ที่ผ่านมา ได้พูดถึงนักวิชาการ ๔ ท่าน เริ่มด้วยท่านเมตตาฯ ต่อด้วยท่าน บก. แล้วก็ ดร.ช. และ Dr.McCargo

ทั้ง ๔ ท่านนี้แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ตัวบุคคล บอกว่าอาตมาคิดพูดทำเรื่องนั้นเรื่องนี้ และก็ได้เห็นชัดแล้วว่า ทั้ง ๔ ท่านนั้นพูดไม่ตรงตามความเป็นจริง แถมยังเลยไปกระทบกระทั่งทำให้เสียหายแก่บุคคลที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ เป็นต้น อีกด้วย การที่ความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ของนักวิชาการเหล่านี้ผิดพลาด ก็มาจากสาเหตุเดียวกันคือ ขาดความรู้ที่ถูกต้อง ไม่ได้รู้เห็นข้อมูลข้อเท็จจริงบ้าง ไม่ได้ตรวจสอบเรื่องราวให้แน่ชัดบ้าง

บางคนอ่านหนังสือพบข้อมูลนิดหน่อยยังไม่ชัดว่าอะไรเป็นอะไร เรื่องไปมาอย่างไร หรือได้ยินได้ฟังอะไรมาเป็นเค้า ยังไม่ได้ตรวจสอบดูให้ทั่วให้ชัด พอเห็นอะไรบางอย่างเข้ากับเรื่องที่ตนกำลังเพ่งจ้องอยู่ ก็คิดสรุปเอา หรือตัดสินว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ บางคนจับข้อมูลจากที่โน่นนิด จากที่นี่หน่อย แบบที่เรียกว่าจับโน่นชนนี่ แล้วก็ปรุงแต่งความคิดขึ้นมาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ บางคนได้ข้อมูลส่วนหนึ่งจากการอ่านเรื่องราวด้านความรู้ แต่มองหรือตีความไปตามความเคยชินทางความคิดของตัวเอง โดยมิได้ซักไซ้ไต่ถามต้นเรื่องให้เห็นชัดในเจตนาของเขา เป็นต้น ก็สรุปตัดสินผู้อื่นลงไปว่าเขาคิดอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งที่เขาอาจจะไม่ได้คิดอย่างที่ตนคิดนั้นเลย คือจัดให้เขาคิดตามความคิดของตน

ที่ร้ายกว่านั้น บางคนเลือกหยิบเลือกจับข้อมูลที่นั่นบ้าง ที่นี่บ้าง เฉพาะที่จะสนองข้อสรุปหรือคำตัดสินที่ตนเตรียมไว้แล้ว พอได้ตามประสงค์ ก็เอามาจัดเรียงเข้าให้ออกเป็นข้อสรุปหรือคำตัดสินที่ตนได้คิดได้เตรียมไว้ นั้น บางคนใช้วิธีง่าย ๆ คือ จับเอาความคิดเห็นตลอดจนข้อสรุปของนักวิชาการคนอื่นที่เขาทำไว้ โดยตนเองไม่ได้เข้าถึงข้อเท็จจริง หรือข้อมูลความรู้โดยตรงเลย แล้วก็มาคิดวิพากษ์วิจารณ์แตกแง่มุมขยายออกไป กลายเป็นการสันนิษฐานเชิงคิดเอาเดาเอง

ในกรณีแบบนี้ เมื่อความคิดเห็นข้อสรุปวินิจฉัยของคนอื่นที่ตนหยิบเอามานั้น ก็ไม่ได้เกิดจากความรู้อยู่แล้ว ก็กลายเป็นการคิดเห็นบนฐานของความผิดเพี้ยน (หรือเท็จ) ซึ่งหมดทางที่จะถูกต้องชอบธรรม คล้ายอย่างที่เคยเทียบว่าเหมือนแถวคนตาบอด…..โดยว.วชิรเมธี

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/630/204329 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 15/05/2556 เวลา 03:03:58 ดูภาพสไลด์โชว์ ชำระความเชื่อ เพื่อเอื้อความจริง (ต่อ) - ธรรมมะอินเทรนด์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เงาของหนุ่มสาวออฟฟิต ยืนสนทนากัน ในหนังสือชื่อ “นักวิชาการเทศ-ไทย หาความรู้ให้แน่ใช่แค่คิดเอา” ที่เขียนโดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ท่านได้กล่าวเตือนนักวิชาการที่ชอบวิจารณ์ แต่ไม่นิยมวิจัย หากแต่ใช้เพียงความนึกคิดจินตนาการเอาเองล้วน ๆ เป็นรากฐานของการทำงานไว้อย่างน่ารับฟัง ขอคัดมาให้อ่านกันเพื่อประดับความรู้และเพื่อทำความเข้าใจบรรยากาศของสังคม ไทยเวลานี้ไปด้วยในตัวดังนี้ …วิจารณ์โดยไม่วิจัย คือ มหันตภัยทางปัญญา …“รู้ก็ผิด คิดก็ไม่เป็น ชอบแสดงความคิดเห็น จะได้อะไร”…“...ที่ผ่านมา ได้พูดถึงนักวิชาการ ๔ ท่าน เริ่มด้วยท่านเมตตาฯ ต่อด้วยท่าน บก. แล้วก็ ดร.ช. และ Dr.McCargo ทั้ง ๔ ท่านนี้แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ตัวบุคคล บอกว่าอาตมาคิดพูดทำเรื่องนั้นเรื่องนี้ และก็ได้เห็นชัดแล้วว่า ทั้ง ๔ ท่านนั้นพูดไม่ตรงตามความเป็นจริง แถมยังเลยไปกระทบกระทั่งทำให้เสียหายแก่บุคคลที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ เป็นต้น อีกด้วย การที่ความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ของนักวิชาการเหล่านี้ผิดพลาด ก็มาจากสาเหตุเดียวกันคือ ขาดความรู้ที่ถูกต้อง ไม่ได้รู้เห็นข้อมูลข้อเท็จจริงบ้าง ไม่ได้ตรวจสอบเรื่องราวให้แน่ชัดบ้าง บางคนอ่านหนังสือพบข้อมูลนิดหน่อยยังไม่ชัดว่าอะไรเป็นอะไร เรื่องไปมาอย่างไร หรือได้ยินได้ฟังอะไรมาเป็นเค้า ยังไม่ได้ตรวจสอบดูให้ทั่วให้ชัด พอเห็นอะไรบางอย่างเข้ากับเรื่องที่ตนกำลังเพ่งจ้องอยู่ ก็คิดสรุปเอา หรือตัดสินว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ บางคนจับข้อมูลจากที่โน่นนิด จากที่นี่หน่อย แบบที่เรียกว่าจับโน่นชนนี่ แล้วก็ปรุงแต่งความคิดขึ้นมาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ บางคนได้ข้อมูลส่วนหนึ่งจากการอ่านเรื่องราวด้านความรู้ แต่มองหรือตีความไปตามความเคยชินทางความคิดของตัวเอง โดยมิได้ซักไซ้ไต่ถามต้นเรื่องให้เห็นชัดในเจตนาของเขา เป็นต้น ก็สรุปตัดสินผู้อื่นลงไปว่าเขาคิดอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งที่เขาอาจจะไม่ได้คิดอย่างที่ตนคิดนั้นเลย คือจัดให้เขาคิดตามความคิดของตน ที่ร้ายกว่านั้น บางคนเลือกหยิบเลือกจับข้อมูลที่นั่นบ้าง ที่นี่บ้าง เฉพาะที่จะสนองข้อสรุปหรือคำตัดสินที่ตนเตรียมไว้แล้ว พอได้ตามประสงค์ ก็เอามาจัดเรียงเข้าให้ออกเป็นข้อสรุปหรือคำตัดสินที่ตนได้คิดได้เตรียมไว้ นั้น บางคนใช้วิธีง่าย ๆ คือ จับเอาความคิดเห็นตลอดจนข้อสรุปของนักวิชาการคนอื่นที่เขาทำไว้ โดยตนเองไม่ได้เข้าถึงข้อเท็จจริง หรือข้อมูลความรู้โดยตรงเลย แล้วก็มาคิดวิพากษ์วิจารณ์แตกแง่มุมขยายออกไป กลายเป็นการสันนิษฐานเชิงคิดเอาเดาเอง ในกรณีแบบนี้ เมื่อความคิดเห็นข้อสรุปวินิจฉัยของคนอื่นที่ตนหยิบเอามานั้น ก็ไม่ได้เกิดจากความรู้อยู่แล้ว ก็กลายเป็นการคิดเห็นบนฐานของความผิดเพี้ยน (หรือเท็จ) ซึ่งหมดทางที่จะถูกต้องชอบธรรม คล้ายอย่างที่เคยเทียบว่าเหมือนแถวคนตาบอด…..โดยว.วชิรเมธี ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/630/204329

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...