เด็กออทิสติกร่วมเป็นมือใหม่หัดสวด 'โอ้เอ้วิหารราย'

แสดงความคิดเห็น

ในสมัยอยุธยา ประมาณปี ๒๐๒๕ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าฯ ให้แต่งมหาชาติคำหลวงขึ้น ๑๓ กัณฑ์ เพื่อใช้สวดในเทศกาลเข้าพรรษา ณ วิหารใหญ่ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในการสวดครั้งนั้นจะคัดเลือกเฉพาะนักสวดที่เป็นราชบัณฑิต คือ ผู้ที่มีความสามารถในการสวด ออกเสียง แบ่งวรรคตอนถูกต้อง รู้ความหมายของคำ และมีน้ำเสียงไพเราะ รวมทั้งมีกลเม็ดหรือลูกไม้ในการอ่านเท่านั้น จะได้รับคัดเลือกเข้าไปสวดในวิหารใหญ่เฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าอยู่หัว จำนวน ๓ ชุด ชุดละ ๔ คน เพื่อสับเปลี่ยนกัน

“ส่วนผู้ที่ไม่มีความสันทัด ไม่คล่อง ไม่ถูกทำนองในการสวด ก็จะได้แต่นั่งฝึก นั่งสวดอยู่ตามศาลาที่รายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีสรรเพชญ์ ผู้คนในสมัยนั้นจึงเรียกนักสวดที่ยังต้องฝึกสวดอยู่ว่า โอ้เอ้ศาลาราย หรือโอ้เอ้วิหารราย เมื่อสวดจนชำนาญแล้วจะได้รับคัดเลือกเข้าไปสวดในวิหารใหญ่เฉพาะพระพักตร์ของ พระเจ้าอยู่หัว”

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือขึ้นที่โรงทาน และโปรดเกล้าฯ ให้นักเรียนโรงทานนำหนังสือที่เรียนเรื่องใดก็ได้มาเป็นบทสวด ณ ศาลารายรอบพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยให้สวดตามที่เรียนมาตามถนัด เป็น ๓ ทำนอง คือ ทำนองยานี ฉบัง และสุรางคนางค์ ทำให้การฝึกสวดมหาชาติคำหลวงเดิม เปลี่ยนเป็นการสวดกาพย์พระไชยสุริยาเสียเป็นส่วนใหญ่ และหลังจากโรงทานเลิกไปแล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจัดนักเรียนชั้นประถมศึกษาจาก ๖ โรงเรียน มารับหน้าที่สวดโอ้เอ้วิหารรายแทน ได้แก่ โรงเรียนราชวินิต โรงเรียนมหา

วีรานุวัตร โรงเรียนวัดชัยชนะสงคราม โรงเรียนวัดพลับพลาชัย โรงเรียนวัดอมรินทราราม และโรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส ซึ่งได้รับหน้าที่สวดมาระยะหนึ่ง ก่อนจะหาผู้สืบทอดการสวดต่อไม่ได้ และเลิกสวดไปในที่สุด

ปัจจุบันสำนักพระราชวังได้ให้มีการรื้อฟื้นการสวดโอ้เอ้ วิหารรายขึ้นมาอีกครั้ง โดยให้กรมการศาสนาประสานกับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่มีสถานศึกษาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจัดนักเรียนเข้ารับการ ฝึกหัด เพื่อเข้าไปสวด ณ ศาลารายรอบพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาของทุกๆ ปี อันเป็นการสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีที่มีมาแต่โบราณ

ปรีชา กันธิยะ อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวว่า กรมการศาสนา ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่มีบทบาท และหน้าที่ในการรับสนองงานสถาบันพระมหากษัตริย์ด้านพระราชพิธี พระราชกุศล รัฐพิธี ศาสนพิธี และการสืบสานโบราณราชประเพณีการสวดพระมหาชาติคำหลวง มีหน้าที่ต้องฝึกหัดและฝึกซ้อมนักสวด ซึ่งถือเป็นงานราชการที่จะต้องส่งเจ้าหน้าที่ไปสวดทุกๆ ปี ดังนั้น จึงมีหน้าที่จัดหาผู้ฝึกสอนการสวดคำฉันท์ตามหนังสือมูลบทบรรพกิจให้แก่นักเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดหาไว้เพื่อนำเข้ามาสวดโอ้เอ้วิหารรายในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาตามหนังสือแจ้งของสำนักพระราชวัง

ล่าสุดฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา ได้จัดทำโครงการฝึกหัดสวดโอ้เอ้วิหารรายขึ้น โดยประสานความร่วมมือไปยังโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ส่งนักเรียนที่อยู่ในสังกัดเข้าร่วมกิจกรรมปีนี้ จำนวน ๑๕๐ คน อบรมที่วัดสามพระยา เมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา และคัดเลือกโรงเรียนที่รับหน้าที่ในการสวดโอ้เอ้วิหารราย ณ ศาลาราย รอบพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ปี ๒๕๕๖ จำนวน ๙ วัน

“จากการอบรมการสวดโอ้เอ้วิหารรายเมื่อปีที่ผ่านมา ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากพ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึงโรงเรียนต่างๆ ส่งบุตรหลานและนักเรียนเข้ารับการอบรมเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญยังเปิดโอกาสให้เด็กที่ด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงเด็กออทิสติก ได้เข้ารับการอบรมสวดโอ้เอ้วิหารราย ทำให้เด็กกลุ่มนี้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้เสริมสร้างทักษะความจำ มีสมาธิ สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ ถือเป็นต้นแบบให้แก่เยาวชนไทยอนุรักษ์และสืบทอดการสวดโอ้เอ้วิหารรายที่ถูก ต้องตามโบราณราชประเพณี ตามแบบแผน อักขรวิธี”

ปัจจุบันจึงกล่าวได้ว่า "การสวดโอ้เอ้วิหารราย" ก็คือ ทำนองการอ่านหนังสือสวดของเด็กนักเรียนซึ่งใช้กลอนสวดเป็นแบบฝึกอ่าน และสำหรับชื่อการสวดโอ้เอ้วิหารรายนั้น มีที่มาจากการที่ผู้สวดหรือผู้ที่เริ่มหัดสวด เสียงสวดยังอ้อแอ้อยู่ก็ให้สวดตามวิหารรายรอบโบสถ์ไปก่อน อ้อแอ้ ต่อมาเพี้ยนเป็น โอ้เอ้ ต่อมาจึงรวมเรียกการสวดแบบนี้ว่า "โอ้เอ้วิหารราย" ปัจจุบันใช้ในความหมายชักช้า ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการสวด (เรียงร้อยถ้อยไทย, ๒๕๔๖ : รายการโทรทัศน์)

การฟื้นฟูสวดโอ้เอ้วิหารรายได้รับความร่วมมือร่วมใจจากหลาย หน่วยงาน นอกจากจะได้รับประโยชน์โดยตรงที่เป็นการสืบทอดการสวดโอ้เอ้วิหารราย ซึ่งมีมานานกว่า ๔๐๐ ปี มิให้สูญหายแล้ว ยังเป็นการสร้างให้เยาวชนไทยได้ตระหนักและรับรู้ถึงคติธรรมที่ได้จากเนื้อเรื่องที่นำมาสวด รวมทั้งได้รับอรรถรสขั้นสุนทรีย์จากความงดงามของภาษาและท่วงทำนองที่ใช้ใน การสวดซึ่งจะช่วยหล่อหลอม กล่อมเกลาให้เยาวชนมีจิตใจที่งดงาม เข้าถึงแก่นแท้ของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย คิดที่จะทำนุบำรุง ปกปักรักษาให้มรดกวัฒนธรรมของไทยคงอยู่คู่ชาติไทยอย่างเข้าใจในคุณค่าอย่าง แท้จริงสืบไป

อย่างไรก็ตาม กรมการศาสนายังพบปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินงาน เช่น การจัดกิจกรรมการสวดโอ้เอ้วิหารรายมีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนน้อย เนื่องจากเป็นช่วงปิดภาคเรียน และตรงกับช่วงสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย สถานศึกษาไม่ค่อยให้ความร่วมมือ และยังไม่เห็นถึงความสำคัญในการสวดโอ้เอ้วิหารราย อีกทั้งงบประมาณในการดำเนินงานกิจกรรมมีจำกัด ทำให้ต้องรวบรัดการฝึกหัดสวดให้เร็วขึ้น ส่งผลให้มีจำนวนนักเรียนที่ร่วมสวดโอ้เอ้วิหารรายน้อย หรือซ้ำคนเดิม เนื่องจากยังสวดไม่คล่อง... โดย...ผกามาศ ใจฉลาด

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130514/158406/มือใหม่หัดสวดโอ้เอ้วิหารราย.html#.UZGlHUqkPZ4

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๔ พ.ค.๕๖
วันที่โพสต์: 15/05/2556 เวลา 04:27:36

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ในสมัยอยุธยา ประมาณปี ๒๐๒๕ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าฯ ให้แต่งมหาชาติคำหลวงขึ้น ๑๓ กัณฑ์ เพื่อใช้สวดในเทศกาลเข้าพรรษา ณ วิหารใหญ่ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในการสวดครั้งนั้นจะคัดเลือกเฉพาะนักสวดที่เป็นราชบัณฑิต คือ ผู้ที่มีความสามารถในการสวด ออกเสียง แบ่งวรรคตอนถูกต้อง รู้ความหมายของคำ และมีน้ำเสียงไพเราะ รวมทั้งมีกลเม็ดหรือลูกไม้ในการอ่านเท่านั้น จะได้รับคัดเลือกเข้าไปสวดในวิหารใหญ่เฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าอยู่หัว จำนวน ๓ ชุด ชุดละ ๔ คน เพื่อสับเปลี่ยนกัน “ส่วนผู้ที่ไม่มีความสันทัด ไม่คล่อง ไม่ถูกทำนองในการสวด ก็จะได้แต่นั่งฝึก นั่งสวดอยู่ตามศาลาที่รายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีสรรเพชญ์ ผู้คนในสมัยนั้นจึงเรียกนักสวดที่ยังต้องฝึกสวดอยู่ว่า โอ้เอ้ศาลาราย หรือโอ้เอ้วิหารราย เมื่อสวดจนชำนาญแล้วจะได้รับคัดเลือกเข้าไปสวดในวิหารใหญ่เฉพาะพระพักตร์ของ พระเจ้าอยู่หัว” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือขึ้นที่โรงทาน และโปรดเกล้าฯ ให้นักเรียนโรงทานนำหนังสือที่เรียนเรื่องใดก็ได้มาเป็นบทสวด ณ ศาลารายรอบพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยให้สวดตามที่เรียนมาตามถนัด เป็น ๓ ทำนอง คือ ทำนองยานี ฉบัง และสุรางคนางค์ ทำให้การฝึกสวดมหาชาติคำหลวงเดิม เปลี่ยนเป็นการสวดกาพย์พระไชยสุริยาเสียเป็นส่วนใหญ่ และหลังจากโรงทานเลิกไปแล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจัดนักเรียนชั้นประถมศึกษาจาก ๖ โรงเรียน มารับหน้าที่สวดโอ้เอ้วิหารรายแทน ได้แก่ โรงเรียนราชวินิต โรงเรียนมหา วีรานุวัตร โรงเรียนวัดชัยชนะสงคราม โรงเรียนวัดพลับพลาชัย โรงเรียนวัดอมรินทราราม และโรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส ซึ่งได้รับหน้าที่สวดมาระยะหนึ่ง ก่อนจะหาผู้สืบทอดการสวดต่อไม่ได้ และเลิกสวดไปในที่สุด ปัจจุบันสำนักพระราชวังได้ให้มีการรื้อฟื้นการสวดโอ้เอ้ วิหารรายขึ้นมาอีกครั้ง โดยให้กรมการศาสนาประสานกับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่มีสถานศึกษาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจัดนักเรียนเข้ารับการ ฝึกหัด เพื่อเข้าไปสวด ณ ศาลารายรอบพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาของทุกๆ ปี อันเป็นการสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีที่มีมาแต่โบราณ ปรีชา กันธิยะ อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวว่า กรมการศาสนา ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่มีบทบาท และหน้าที่ในการรับสนองงานสถาบันพระมหากษัตริย์ด้านพระราชพิธี พระราชกุศล รัฐพิธี ศาสนพิธี และการสืบสานโบราณราชประเพณีการสวดพระมหาชาติคำหลวง มีหน้าที่ต้องฝึกหัดและฝึกซ้อมนักสวด ซึ่งถือเป็นงานราชการที่จะต้องส่งเจ้าหน้าที่ไปสวดทุกๆ ปี ดังนั้น จึงมีหน้าที่จัดหาผู้ฝึกสอนการสวดคำฉันท์ตามหนังสือมูลบทบรรพกิจให้แก่นักเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดหาไว้เพื่อนำเข้ามาสวดโอ้เอ้วิหารรายในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาตามหนังสือแจ้งของสำนักพระราชวัง ล่าสุดฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา ได้จัดทำโครงการฝึกหัดสวดโอ้เอ้วิหารรายขึ้น โดยประสานความร่วมมือไปยังโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ส่งนักเรียนที่อยู่ในสังกัดเข้าร่วมกิจกรรมปีนี้ จำนวน ๑๕๐ คน อบรมที่วัดสามพระยา เมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา และคัดเลือกโรงเรียนที่รับหน้าที่ในการสวดโอ้เอ้วิหารราย ณ ศาลาราย รอบพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ปี ๒๕๕๖ จำนวน ๙ วัน “จากการอบรมการสวดโอ้เอ้วิหารรายเมื่อปีที่ผ่านมา ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากพ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึงโรงเรียนต่างๆ ส่งบุตรหลานและนักเรียนเข้ารับการอบรมเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญยังเปิดโอกาสให้เด็กที่ด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงเด็กออทิสติก ได้เข้ารับการอบรมสวดโอ้เอ้วิหารราย ทำให้เด็กกลุ่มนี้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้เสริมสร้างทักษะความจำ มีสมาธิ สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ ถือเป็นต้นแบบให้แก่เยาวชนไทยอนุรักษ์และสืบทอดการสวดโอ้เอ้วิหารรายที่ถูก ต้องตามโบราณราชประเพณี ตามแบบแผน อักขรวิธี” ปัจจุบันจึงกล่าวได้ว่า "การสวดโอ้เอ้วิหารราย" ก็คือ ทำนองการอ่านหนังสือสวดของเด็กนักเรียนซึ่งใช้กลอนสวดเป็นแบบฝึกอ่าน และสำหรับชื่อการสวดโอ้เอ้วิหารรายนั้น มีที่มาจากการที่ผู้สวดหรือผู้ที่เริ่มหัดสวด เสียงสวดยังอ้อแอ้อยู่ก็ให้สวดตามวิหารรายรอบโบสถ์ไปก่อน อ้อแอ้ ต่อมาเพี้ยนเป็น โอ้เอ้ ต่อมาจึงรวมเรียกการสวดแบบนี้ว่า "โอ้เอ้วิหารราย" ปัจจุบันใช้ในความหมายชักช้า ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการสวด (เรียงร้อยถ้อยไทย, ๒๕๔๖ : รายการโทรทัศน์) การฟื้นฟูสวดโอ้เอ้วิหารรายได้รับความร่วมมือร่วมใจจากหลาย หน่วยงาน นอกจากจะได้รับประโยชน์โดยตรงที่เป็นการสืบทอดการสวดโอ้เอ้วิหารราย ซึ่งมีมานานกว่า ๔๐๐ ปี มิให้สูญหายแล้ว ยังเป็นการสร้างให้เยาวชนไทยได้ตระหนักและรับรู้ถึงคติธรรมที่ได้จากเนื้อเรื่องที่นำมาสวด รวมทั้งได้รับอรรถรสขั้นสุนทรีย์จากความงดงามของภาษาและท่วงทำนองที่ใช้ใน การสวดซึ่งจะช่วยหล่อหลอม กล่อมเกลาให้เยาวชนมีจิตใจที่งดงาม เข้าถึงแก่นแท้ของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย คิดที่จะทำนุบำรุง ปกปักรักษาให้มรดกวัฒนธรรมของไทยคงอยู่คู่ชาติไทยอย่างเข้าใจในคุณค่าอย่าง แท้จริงสืบไป อย่างไรก็ตาม กรมการศาสนายังพบปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินงาน เช่น การจัดกิจกรรมการสวดโอ้เอ้วิหารรายมีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนน้อย เนื่องจากเป็นช่วงปิดภาคเรียน และตรงกับช่วงสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย สถานศึกษาไม่ค่อยให้ความร่วมมือ และยังไม่เห็นถึงความสำคัญในการสวดโอ้เอ้วิหารราย อีกทั้งงบประมาณในการดำเนินงานกิจกรรมมีจำกัด ทำให้ต้องรวบรัดการฝึกหัดสวดให้เร็วขึ้น ส่งผลให้มีจำนวนนักเรียนที่ร่วมสวดโอ้เอ้วิหารรายน้อย หรือซ้ำคนเดิม เนื่องจากยังสวดไม่คล่อง... โดย...ผกามาศ ใจฉลาด ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130514/158406/มือใหม่หัดสวดโอ้เอ้วิหารราย.html#.UZGlHUqkPZ4

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...