สธ.เตือน จาน ชามพลาสติกสีสันสวยงามเสี่ยงมะเร็ง

แสดงความคิดเห็น

นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 2 พ.ค. นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการสำรวจภาชนะใส่อาหารประเภทถ้วย จาน ชามราคาถูกที่ทำด้วยพลาสติก รูปแบบ สีสันสวยงามที่วางจำหน่ายทั่วไป ตามตลาดนัด หาบเร่แผงลอย ร้านค้าย่อยในห้างสรรพสินค้า พบว่า สินค้าเหล่านี้แม้จะมีฉลากแต่บางผลิตภัณฑ์ ไม่แจ้งชนิดของพลาสติก บอกเพียงว่าเป็นพลาสติก บางผลิตภัณฑ์แจ้งว่าเป็นเมลามีน มีทั้งบอกและไม่บอกแหล่งผลิต ไม่บ่งบอกสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายรับรองความปลอดภัยในการใช้บรรจุอาหาร ได้ โดยสินค้าราคาถูกเหล่านี้นำเข้ามาจำหน่ายจากต่างประเทศ ไม่มีการตรวจสอบ จึงมีความเสี่ยงในการนำไปใช้งาน เพราะเมื่อนำไปใช้ต้องมีการใส่อาหารทั้งร้อนและเย็น ซึ่งอาจทำให้มีการแพร่กระจายออกมาของสารเคมีได้ โดยเฉพาะฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง

นพ.นิพนธ์ กล่าวต่อว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เก็บตัวอย่างภาชนะใส่อาหารพลาสติ 113 ตัวอย่าง ราคาต่อหน่วยอยู่ระหว่าง 5-29 บาท พบว่า มีฉลากภาษาไทย 99 ตัวอย่าง ไม่มีฉลาก 14 ตัวอย่าง เป็นภาชนะที่มีแหล่งผลิตในประเทศ 10 ตัวอย่าง ผลิตจากต่างประเทศ 94 ตัวอย่าง และไม่แจ้งแหล่งผลิต 9 ตัวอย่าง ระบุชนิดพลาสติกที่ใช้ผลิต 14 ตัวอย่าง ระบุเพียงว่าเป็นพลาสติก 80 ตัวอย่าง ไม่ระบุ 19 ตัวอย่าง ที่ฉลากระบุอุณหภูมิใช้งาน 97 ตัวอย่าง และไม่ระบุอุณหภูมิใช้งาน 16 ตัวอย่าง

“ผลการตรวจวิเคราะห์วัสดุ พบว่าเนื้อภาชนะถูกต้องตามฉลากเป็นเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ หรือเมลามีนแท้ 7 ตัวอย่าง อะคริโลไนไตรล์-บิวทาไดอีน-สไตรีน 1 ตัวอย่าง ซึ่งผลิตในประเทศไทย พอลิพรอพิลีน 1 ตัวอย่าง พอลิสไตรีน 1 ตัวอย่าง และในฉลากระบุเป็นพลาสติก 103 ตัวอย่างนั้นพบว่าเป็นยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์หรือเมลามีนปลอม แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้ เนื้อยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์เคลือบผิวด้านในด้วยเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ 45 ตัวอย่าง เนื้อยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์เคลือบผิวด้านนอกด้วยเมลามีน–ฟอร์มาลดีไฮด์ 53 ตัวอย่าง เนื้อยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์เคลือบผิวด้านในและด้านนอกด้วยเมลามีน-ฟอร์มาลดี ไฮด์ 4 ตัวอย่าง และเนื้อยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์ทั้งชิ้น 1 ตัวอย่าง”นพ.นิพนธ์ กล่าว

ถ้วย จาน พลาสติก นพ.นิพนธ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ได้นำมาตรวจวิเคราะห์เพื่อหาการแพร่กระจายออกมาของฟอร์มาลดีไฮด์ จากกลุ่มตัวอย่างเมลามีนปลอม ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส 30 นาที ตามมาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์เมลามีนแท้ พบฟอร์มาลดีไฮด์แพร่กระจายออกมาในน้ำที่ใช้ทดสอบ เกินค่ามาตรฐาน 37 ตัวอย่าง เมื่อทดสอบตามอุณหภูมิใช้งานที่ 80 องศาเซลเซียส หรือ 100 องศาเซลเซียส ซึ่งแจ้งไว้ในฉลากของผลิตภัณฑ์ พบฟอร์มาลดีไฮด์แพร่กระจายออกมาในน้ำที่ใช้ทดสอบ เกินค่ามาตรฐาน 38 ตัวอย่าง และเมื่อทำการทดสอบ โดยใช้ตัวแทนอาหารที่เป็นสารละลายกรดอะซิติก หรือกรดน้ำส้ม ความเข้มข้นร้อยละ 4 โดยปริมาตร อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เพื่อเลียนแบบการใส่อาหารประเภทต้มยำหรือแกงส้มร้อนๆ พบฟอร์มาลดีไฮด์ออกมาเกินค่ามาตรฐาน 64 ตัวอย่าง และพบปริมาณที่สูงเกินกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตร 38 ตัวอย่าง ซึ่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 295) พ.ศ.2548 เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกและสำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 524-2539 เรื่องภาชนะและเครื่องใช้เมลามีน ที่กำหนดว่าต้องไม่พบฟอร์มาลดีไฮด์

ด้านนางลัดดาวัลย์ โรจนพรรณทิพย์ ผอ.สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายหรือมาตรการควบคุมภาชนะประเภทยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์ หรือเมลามีนปลอม และไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบกำกับดูแลด้านความปลอดภัยสินค้าเหล่านี้ จากการสำรวจวิจัยครั้งนี้พบว่าภาชนะที่ทำด้วยเมลามีนปลอม มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ มีวางจำหน่ายทั่วไป ราคาถูก ตรวจพบฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งแพร่ออกมาได้ตามอุณหภูมิการใช้งาน ยิ่งใช้งานที่อุณหภูมิสูงจะมีฟอร์มาลดีไฮด์ออกมาปริมาณมาก โดยเฉพาะถ้าอาหารนั้นมีความเป็นกรดและความร้อนสูง

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ควรสังเกตและเลือกซื้อภาชนะถ้วย จาน พลาสติกที่มีฉลากกำกับให้รายละเอียดชนิดของวัสดุ ข้อกำหนดการใช้งาน มีแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ และที่สำคัญคือภาชนะเหล่านี้ต้องที่ได้รับการรับรองหรือมีตราเครื่องหมายการ รับรองคุณภาพมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการยืนยันได้ในระดับหนึ่งว่า สินค้าเหล่านั้นได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพว่าได้มาตรฐาน และควรปฏิบัติตามคำเตือนที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการได้รับสารฟอร์มาลดีไฮด์.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/politics/201637

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 4/05/2556 เวลา 02:19:30 ดูภาพสไลด์โชว์ สธ.เตือน จาน ชามพลาสติกสีสันสวยงามเสี่ยงมะเร็ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 2 พ.ค. นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการสำรวจภาชนะใส่อาหารประเภทถ้วย จาน ชามราคาถูกที่ทำด้วยพลาสติก รูปแบบ สีสันสวยงามที่วางจำหน่ายทั่วไป ตามตลาดนัด หาบเร่แผงลอย ร้านค้าย่อยในห้างสรรพสินค้า พบว่า สินค้าเหล่านี้แม้จะมีฉลากแต่บางผลิตภัณฑ์ ไม่แจ้งชนิดของพลาสติก บอกเพียงว่าเป็นพลาสติก บางผลิตภัณฑ์แจ้งว่าเป็นเมลามีน มีทั้งบอกและไม่บอกแหล่งผลิต ไม่บ่งบอกสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายรับรองความปลอดภัยในการใช้บรรจุอาหาร ได้ โดยสินค้าราคาถูกเหล่านี้นำเข้ามาจำหน่ายจากต่างประเทศ ไม่มีการตรวจสอบ จึงมีความเสี่ยงในการนำไปใช้งาน เพราะเมื่อนำไปใช้ต้องมีการใส่อาหารทั้งร้อนและเย็น ซึ่งอาจทำให้มีการแพร่กระจายออกมาของสารเคมีได้ โดยเฉพาะฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง นพ.นิพนธ์ กล่าวต่อว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เก็บตัวอย่างภาชนะใส่อาหารพลาสติ 113 ตัวอย่าง ราคาต่อหน่วยอยู่ระหว่าง 5-29 บาท พบว่า มีฉลากภาษาไทย 99 ตัวอย่าง ไม่มีฉลาก 14 ตัวอย่าง เป็นภาชนะที่มีแหล่งผลิตในประเทศ 10 ตัวอย่าง ผลิตจากต่างประเทศ 94 ตัวอย่าง และไม่แจ้งแหล่งผลิต 9 ตัวอย่าง ระบุชนิดพลาสติกที่ใช้ผลิต 14 ตัวอย่าง ระบุเพียงว่าเป็นพลาสติก 80 ตัวอย่าง ไม่ระบุ 19 ตัวอย่าง ที่ฉลากระบุอุณหภูมิใช้งาน 97 ตัวอย่าง และไม่ระบุอุณหภูมิใช้งาน 16 ตัวอย่าง “ผลการตรวจวิเคราะห์วัสดุ พบว่าเนื้อภาชนะถูกต้องตามฉลากเป็นเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ หรือเมลามีนแท้ 7 ตัวอย่าง อะคริโลไนไตรล์-บิวทาไดอีน-สไตรีน 1 ตัวอย่าง ซึ่งผลิตในประเทศไทย พอลิพรอพิลีน 1 ตัวอย่าง พอลิสไตรีน 1 ตัวอย่าง และในฉลากระบุเป็นพลาสติก 103 ตัวอย่างนั้นพบว่าเป็นยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์หรือเมลามีนปลอม แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้ เนื้อยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์เคลือบผิวด้านในด้วยเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ 45 ตัวอย่าง เนื้อยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์เคลือบผิวด้านนอกด้วยเมลามีน–ฟอร์มาลดีไฮด์ 53 ตัวอย่าง เนื้อยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์เคลือบผิวด้านในและด้านนอกด้วยเมลามีน-ฟอร์มาลดี ไฮด์ 4 ตัวอย่าง และเนื้อยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์ทั้งชิ้น 1 ตัวอย่าง”นพ.นิพนธ์ กล่าว ถ้วย จาน พลาสติกนพ.นิพนธ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ได้นำมาตรวจวิเคราะห์เพื่อหาการแพร่กระจายออกมาของฟอร์มาลดีไฮด์ จากกลุ่มตัวอย่างเมลามีนปลอม ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส 30 นาที ตามมาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์เมลามีนแท้ พบฟอร์มาลดีไฮด์แพร่กระจายออกมาในน้ำที่ใช้ทดสอบ เกินค่ามาตรฐาน 37 ตัวอย่าง เมื่อทดสอบตามอุณหภูมิใช้งานที่ 80 องศาเซลเซียส หรือ 100 องศาเซลเซียส ซึ่งแจ้งไว้ในฉลากของผลิตภัณฑ์ พบฟอร์มาลดีไฮด์แพร่กระจายออกมาในน้ำที่ใช้ทดสอบ เกินค่ามาตรฐาน 38 ตัวอย่าง และเมื่อทำการทดสอบ โดยใช้ตัวแทนอาหารที่เป็นสารละลายกรดอะซิติก หรือกรดน้ำส้ม ความเข้มข้นร้อยละ 4 โดยปริมาตร อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เพื่อเลียนแบบการใส่อาหารประเภทต้มยำหรือแกงส้มร้อนๆ พบฟอร์มาลดีไฮด์ออกมาเกินค่ามาตรฐาน 64 ตัวอย่าง และพบปริมาณที่สูงเกินกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตร 38 ตัวอย่าง ซึ่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 295) พ.ศ.2548 เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกและสำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 524-2539 เรื่องภาชนะและเครื่องใช้เมลามีน ที่กำหนดว่าต้องไม่พบฟอร์มาลดีไฮด์ ด้านนางลัดดาวัลย์ โรจนพรรณทิพย์ ผอ.สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายหรือมาตรการควบคุมภาชนะประเภทยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์ หรือเมลามีนปลอม และไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบกำกับดูแลด้านความปลอดภัยสินค้าเหล่านี้ จากการสำรวจวิจัยครั้งนี้พบว่าภาชนะที่ทำด้วยเมลามีนปลอม มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ มีวางจำหน่ายทั่วไป ราคาถูก ตรวจพบฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งแพร่ออกมาได้ตามอุณหภูมิการใช้งาน ยิ่งใช้งานที่อุณหภูมิสูงจะมีฟอร์มาลดีไฮด์ออกมาปริมาณมาก โดยเฉพาะถ้าอาหารนั้นมีความเป็นกรดและความร้อนสูง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ควรสังเกตและเลือกซื้อภาชนะถ้วย จาน พลาสติกที่มีฉลากกำกับให้รายละเอียดชนิดของวัสดุ ข้อกำหนดการใช้งาน มีแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ และที่สำคัญคือภาชนะเหล่านี้ต้องที่ได้รับการรับรองหรือมีตราเครื่องหมายการ รับรองคุณภาพมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการยืนยันได้ในระดับหนึ่งว่า สินค้าเหล่านั้นได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพว่าได้มาตรฐาน และควรปฏิบัติตามคำเตือนที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการได้รับสารฟอร์มาลดีไฮด์. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/politics/201637

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...