ภาวะ “ถูกจูงใจให้ตาบอด” กับจรรยาบรรณวิชาชีพ (2) : จรรยาบรรณที่ได้ผล

แสดงความคิดเห็น

ตอนที่แล้วผู้เขียนพูดถึงภาวะ “ถูงจูงใจให้ตาบอด” (motivated blindness) ว่าเป็นส่วนสำคัญของการทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นการเอาเปรียบลูกค้าเล็กๆ น้อยๆ หรือแอบคิดสตางค์บริษัทโดยไม่สมควร ซึ่งมีโอกาสลุกลามเป็นการทุจริตคอร์รัปชันขนาดใหญ่ ถ้าเราไม่ลงมือเองก็สุ่มเสี่ยงจะ “เอาหูไปนา เอาตาไปไร่” เวลาที่เห็นคนอื่นทำผิด

ภาวะ “ถูกจูงใจให้ตาบอด” หมายถึงแนวโน้มที่เราจะหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเองโดยอัตโนมัติในหัวเวลาทำในสิ่งที่ตงิดๆ ว่าไม่ควรทำ เพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น งานวิจัยด้านจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมากมายยืนยันว่าเราถูกจูงใจให้ตาบอดเป็นปกติ แม้แต่คนที่คนอื่นมองว่า “ซื่อสัตย์” ที่สุดก็รู้ตัวยากมากเวลาที่ทำตัวไม่ถูกต้อง

งานวิจัยยังค้นพบด้วยว่า “มุมมอง” ของคนส่งผลต่อพฤติกรรมจริงๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเชื่อว่าคนรอบตัวเราทุจริต ก็มีแนวโน้มสูงมากที่เราจะทุจริตด้วย ด้วยเหตุนี้โพลล์และสื่อที่ถามคำถามแย่ๆ อย่าง “รับได้หรือไม่ถ้าหากนักการเมืองโกงแล้วประเทศเจริญ?” (ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะคอร์รัปชันมีต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมาย ไม่เคยมีประเทศไหนที่มีมหกรรมการโกงแล้วเจริญอย่างยั่งยืนยาวนานกว่าประเทศที่คนโกงน้อยกว่า) จึงไม่ได้แย่เพราะถามคำถามแย่ (ชี้นำและไม่ตรงกับข้อเท็จจริง) อย่างเดียว แต่ยังแย่เพราะตอกตรึงความเชื่อว่า “ใครๆ ก็โกง” ในสังคม ส่งผลให้คนทั่วไปมีแนวโน้มที่จะทุจริตและรับได้กับการทุจริต จนถึงที่สุดก็ทำให้ความเชื่อนั้นกลายเป็นความจริงขึ้นมา

ในเมื่อวันนี้เรารู้แล้วว่ามนุษย์ทุกคนถูกจูงใจให้ตาบอดได้ง่ายโดยธรรมชาติ หาเหตุผลเข้าข้างตัวเองโดยอัตโนมัติและไม่รู้ตัวแทบทุกครั้งเวลาเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน แถมยังมีแนวโน้มที่จะโกงถ้าเชื่อว่าใครๆ ก็โกง วิธีบรรเทาการทุจริตคอร์รัปชันจึงปล่อยให้เป็นเรื่องของผู้บังคับใช้กฎหมายฝ่ายเดียวไม่ได้ แต่มืออาชีพเองจะต้องปรับปรุงกฎเกณฑ์ภายในวงการของตัวเองด้วย รวมถึงหลักการและวิธีบังคับใช้จรรยาบรรณวิชาชีพ

วิธีบังคับใช้จรรยาบรรณที่ได้ผลจริงๆ ก็จะต้องสามารถ 1. ขจัดโอกาสการเกิดสถานการณ์ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนตั้งแต่ต้น และ 2. เน้นเรื่องจรรยาบรรณว่าเป็นเรื่องของศีลธรรม ไม่ใช่ผลประโยชน์หรือแรงจูงใจอื่น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ “พร่าเลือนทางศีลธรรม” ชั่วคราว

ในบริบทของธุรกิจแบบไทยๆ การบังคับใช้จรรยาบรรณที่ได้ผลจะต้องสามารถเอาโลกทัศน์แบบ “ระบอบอุปถัมภ์” ซึ่งอยู่ยั้งยืนยงและมีคุณูปการมากมายในสังคมไทย ทิ้งไว้นอกประตูเวลาทำงาน ใส่หมวก “มืออาชีพ” แทน เพราะศีลธรรมของระบอบอุปถัมภ์นั้นอาจขัดแย้งกับศีลธรรมของมืออาชีพก็ได้ แต่เราไม่รู้ตัวเพราะระบอบอุปถัมภ์ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดของเรามากกว่า ยกตัวอย่างเช่น พนักงานธนาคารอาจบิดเบือนข้อมูลของลูกค้าคนหนึ่งให้ดูดีกว่าปกติ หว่านล้อมให้ธนาคารลดดอกเบี้ยเป็นพิเศษ เพราะคิดว่าต้อง “ตอบแทนบุญคุณ” ที่ลูกค้าคนนี้ให้ของขวัญปีใหม่ราคาแพง พอมองเรื่องนี้เป็นเรื่อง “บุญคุณ” การลดดอกเบี้ยเลยกลายเป็นสิ่งที่ถูกศีลธรรมของระบอบอุปถัมภ์ แต่ผิดศีลธรรมของมืออาชีพ นั่นคือ การไม่เลือกปฏิบัติต่อลูกค้า การไม่รับของแจกราคาแพง เช่น ประเมินด้วยสายตาว่าน่าจะแพงกว่า 3,000 บาท จึงเป็นจรรยาบรรณขั้นพื้นฐานข้อหนึ่งของทุกสาขาอาชีพ หลายองค์กรบัญญัติเป็นแนวปฏิบัติ (code of conduct) เป็นการทั่วไป เป้าหมายของจรรยาบรรณข้อนี้อยู่ที่การตัดไฟแต่ต้นลม ช่วยขจัดความรู้สึกว่า “เป็นหนี้บุญคุณ” ที่ต้อง “ชดเชย” ตั้งแต่ต้น

จรรยาบรรณแบบนี้เข้าข่ายข้อ 1. ข้างต้น คือ “ขจัดโอกาสการเกิดสถานการณ์ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนตั้งแต่ต้น” ตัวอย่างอื่นของการบรรลุเป้าหมายนี้มีอีกมากมาย เช่น 1. หลายองค์กรส่งผู้บริหารระดับสูงของตัวเองไปนั่งอยู่ในคณะกรรมการของบริษัทลูกหรือบริษัทร่วม เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของบริษัท แต่ให้รับได้แต่เบี้ยประชุม ส่วนโบนัสหรือผลตอบแทนอื่นใดที่กรรมการคนอื่นได้ต้องส่งคืนบริษัทแม่ หรือมูลนิธิของบริษัทแม่ เพราะถือว่าผู้บริหารคนนั้นไปเป็นกรรมการ “ในหน้าที่” ไม่ใช่ในฐานะคนนอกผู้เชี่ยวชาญ ถ้าปล่อยให้ได้โบนัสและค่าตอบแทนอื่นๆ นอกเหนือจากเบี้ยประชุม อาจก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างหมวกสองใบที่คนคนเดียวใส่ คือ “กรรมการบริษัทลูก” และ “ผู้บริหารบริษัทแม่” ได้ โชคร้ายที่บริษัทไทยหลายแห่งไม่เคยคำนึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพข้อนี้เลย โดยเฉพาะบริษัทของรัฐที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่าง ปตท. และ 2. การมีกลไก “กำแพงเมืองจีน” (Chinese Wall) ภายในองค์กรที่น่าเชื่อถือว่าเป็นกำแพงจริงๆ ไม่ใช่กำแพงมีรู เพื่อกั้นกลางระหว่างมืออาชีพฝ่ายต่างๆ ภายในองค์กรเดียวกันที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น กั้นระหว่างฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ (มีหน้าที่วิเคราะห์บริษัทอย่างเป็นกลาง) กับฝ่ายวาณิชธนกิจ (มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่บริษัท) ในสถาบันการเงิน หรือกั้นระหว่างฝ่ายขาย (มีหน้าที่หาโฆษณามาลง) กับกองบรรณาธิการ (มีหน้าที่ทำข่าวอย่างตรงไปตรงมาและเป็นอิสระ)

หลายปัญหาในหลายวงการเกิดจากการที่ “กำแพงเมืองจีน” ที่ควรจะมีกลับไม่มีอยู่ หรือไม่ก็เป็นรูพรุนไปหมดใช้การไม่ได้ เช่น นักข่าวในกองบรรณาธิการหลายคนนอกจากจะไม่สามารถทำข่าวที่เป็นลบต่อสปอนเซอร์โฆษณารายใหญ่แล้ว ยังต้องจำใจทำหน้าที่เป็นฝ่ายขายเสียเองเพราะรู้จักบริษัทต่างๆ ดีกว่าฝ่ายขาย ส่วนนักวิเคราะห์บางคนก็อาจถูกฝ่ายวาณิชธนกิจกดดันให้เขียนบทวิเคราะห์เชียร์หุ้นของบริษัทที่ฝ่ายวาณิชฯ กำลังอยากจีบมาเป็นลูกค้า นอกจากจะต้องเขียนจรรยาบรรณให้ชัด บางครั้งต้องบัญญัติเป็นกฎเพื่อขจัดโอกาสเกิดภาวะผลประโยชน์ทับซ้อน เรายังต้องเน้นว่าจรรยาบรรณเป็นเรื่องของศีลธรรม คือเป็นเรื่องของการทำใน “สิ่งที่ถูก” เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ “พร่าเลือนทางศีลธรรม” ชั่วคราว

การเน้นว่าจรรยาบรรณเป็นเรื่องของศีลธรรมนั้นมีมากมายหลายวิธี วิธีอ้อมๆ บางวิธีอาจใช้ได้ผลกว่าวิธีบอกตรงๆ แดน อาริลลี (Dan Ariely) นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมคนโปรดของผู้เขียน เคยยกตัวอย่างที่น่าสนใจมาก - ในการทดลองซีรีส์หนึ่ง ทำติดกันสามครั้ง นักวิจัยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมแอบโกงเงินจากนักวิจัยได้ การทดลองแต่ละครั้งมีเงื่อนไขสองข้อ แตกต่างกันแค่รูปแบบประโยคที่บอกผู้เข้าร่วมการวิจัย ในเงื่อนไขแรก นักวิจัยบอกว่าพวกเขาสนใจว่า “การโกงเกิดขึ้นบ่อยขนาดไหนในมหาวิทยาลัย” ในเงื่อนไขที่สอง นักวิจัยบอกว่าอยากรู้ว่า “มหาวิทยาลัยต่างๆ มีคนขี้โกงมากแค่ไหน”

ผลการทดลองปรากฏว่าความแตกต่างเล็กๆ ของประโยคสองประโยคนี้กลับส่งผลอย่างมีนัยสำคัญ ผู้เข้าร่วมการทดลองในเงื่อนไข “การโกง” โกงเงินไปมากกว่าคนที่ได้ยินประโยค “คนขี้โกง” และฝ่ายหลังไม่มีใครโกงเลย อาริลลีบอกว่าผลนี้พบทั้งในการทดลองซึ่งหน้าและการทดลองออนไลน์ ซึ่งหมายความว่าสถานะ “นิรนาม” ในโลกออนไลน์ไม่อาจบดบังความรู้สึกที่ว่าตัวเองเป็น “คนขี้โกง” หรือเปล่า เขาสรุปว่า คนเราอาจยอมให้ตัวเองโกงบ้างเป็นบางครั้ง แต่มักจะไม่ยอมโกงถ้าหากการโกงนั้นแปลว่าจะรู้สึกว่าตัวเองเป็น “คนขี้โกง” จะใช้ประโยชน์จากข้อค้นพบนี้ได้อย่างไรในโลกจริง เพื่อบังคับใช้จรรยาบรรณวิชาชีพให้ “ศักดิ์สิทธิ์” ? ที่น่ายินดีคือมีตัวอย่างให้เห็นแล้วทั่วโลก

ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/sarinee-achavanuntak/20130318/495090/ภาวะ-ถูกจูงใจให้ตาบอด-กับจรรยาบรรณวิชาชีพ-(2)-:-จรรยาบรรณที่ได้ผล.html

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจฯออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 19/03/2556 เวลา 03:25:28

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ตอนที่แล้วผู้เขียนพูดถึงภาวะ “ถูงจูงใจให้ตาบอด” (motivated blindness) ว่าเป็นส่วนสำคัญของการทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นการเอาเปรียบลูกค้าเล็กๆ น้อยๆ หรือแอบคิดสตางค์บริษัทโดยไม่สมควร ซึ่งมีโอกาสลุกลามเป็นการทุจริตคอร์รัปชันขนาดใหญ่ ถ้าเราไม่ลงมือเองก็สุ่มเสี่ยงจะ “เอาหูไปนา เอาตาไปไร่” เวลาที่เห็นคนอื่นทำผิด ภาวะ “ถูกจูงใจให้ตาบอด” หมายถึงแนวโน้มที่เราจะหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเองโดยอัตโนมัติในหัวเวลาทำในสิ่งที่ตงิดๆ ว่าไม่ควรทำ เพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น งานวิจัยด้านจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมากมายยืนยันว่าเราถูกจูงใจให้ตาบอดเป็นปกติ แม้แต่คนที่คนอื่นมองว่า “ซื่อสัตย์” ที่สุดก็รู้ตัวยากมากเวลาที่ทำตัวไม่ถูกต้อง งานวิจัยยังค้นพบด้วยว่า “มุมมอง” ของคนส่งผลต่อพฤติกรรมจริงๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเชื่อว่าคนรอบตัวเราทุจริต ก็มีแนวโน้มสูงมากที่เราจะทุจริตด้วย ด้วยเหตุนี้โพลล์และสื่อที่ถามคำถามแย่ๆ อย่าง “รับได้หรือไม่ถ้าหากนักการเมืองโกงแล้วประเทศเจริญ?” (ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะคอร์รัปชันมีต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมาย ไม่เคยมีประเทศไหนที่มีมหกรรมการโกงแล้วเจริญอย่างยั่งยืนยาวนานกว่าประเทศที่คนโกงน้อยกว่า) จึงไม่ได้แย่เพราะถามคำถามแย่ (ชี้นำและไม่ตรงกับข้อเท็จจริง) อย่างเดียว แต่ยังแย่เพราะตอกตรึงความเชื่อว่า “ใครๆ ก็โกง” ในสังคม ส่งผลให้คนทั่วไปมีแนวโน้มที่จะทุจริตและรับได้กับการทุจริต จนถึงที่สุดก็ทำให้ความเชื่อนั้นกลายเป็นความจริงขึ้นมา ในเมื่อวันนี้เรารู้แล้วว่ามนุษย์ทุกคนถูกจูงใจให้ตาบอดได้ง่ายโดยธรรมชาติ หาเหตุผลเข้าข้างตัวเองโดยอัตโนมัติและไม่รู้ตัวแทบทุกครั้งเวลาเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน แถมยังมีแนวโน้มที่จะโกงถ้าเชื่อว่าใครๆ ก็โกง วิธีบรรเทาการทุจริตคอร์รัปชันจึงปล่อยให้เป็นเรื่องของผู้บังคับใช้กฎหมายฝ่ายเดียวไม่ได้ แต่มืออาชีพเองจะต้องปรับปรุงกฎเกณฑ์ภายในวงการของตัวเองด้วย รวมถึงหลักการและวิธีบังคับใช้จรรยาบรรณวิชาชีพ วิธีบังคับใช้จรรยาบรรณที่ได้ผลจริงๆ ก็จะต้องสามารถ 1. ขจัดโอกาสการเกิดสถานการณ์ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนตั้งแต่ต้น และ 2. เน้นเรื่องจรรยาบรรณว่าเป็นเรื่องของศีลธรรม ไม่ใช่ผลประโยชน์หรือแรงจูงใจอื่น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ “พร่าเลือนทางศีลธรรม” ชั่วคราว ในบริบทของธุรกิจแบบไทยๆ การบังคับใช้จรรยาบรรณที่ได้ผลจะต้องสามารถเอาโลกทัศน์แบบ “ระบอบอุปถัมภ์” ซึ่งอยู่ยั้งยืนยงและมีคุณูปการมากมายในสังคมไทย ทิ้งไว้นอกประตูเวลาทำงาน ใส่หมวก “มืออาชีพ” แทน เพราะศีลธรรมของระบอบอุปถัมภ์นั้นอาจขัดแย้งกับศีลธรรมของมืออาชีพก็ได้ แต่เราไม่รู้ตัวเพราะระบอบอุปถัมภ์ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดของเรามากกว่า ยกตัวอย่างเช่น พนักงานธนาคารอาจบิดเบือนข้อมูลของลูกค้าคนหนึ่งให้ดูดีกว่าปกติ หว่านล้อมให้ธนาคารลดดอกเบี้ยเป็นพิเศษ เพราะคิดว่าต้อง “ตอบแทนบุญคุณ” ที่ลูกค้าคนนี้ให้ของขวัญปีใหม่ราคาแพง พอมองเรื่องนี้เป็นเรื่อง “บุญคุณ” การลดดอกเบี้ยเลยกลายเป็นสิ่งที่ถูกศีลธรรมของระบอบอุปถัมภ์ แต่ผิดศีลธรรมของมืออาชีพ นั่นคือ การไม่เลือกปฏิบัติต่อลูกค้า การไม่รับของแจกราคาแพง เช่น ประเมินด้วยสายตาว่าน่าจะแพงกว่า 3,000 บาท จึงเป็นจรรยาบรรณขั้นพื้นฐานข้อหนึ่งของทุกสาขาอาชีพ หลายองค์กรบัญญัติเป็นแนวปฏิบัติ (code of conduct) เป็นการทั่วไป เป้าหมายของจรรยาบรรณข้อนี้อยู่ที่การตัดไฟแต่ต้นลม ช่วยขจัดความรู้สึกว่า “เป็นหนี้บุญคุณ” ที่ต้อง “ชดเชย” ตั้งแต่ต้น จรรยาบรรณแบบนี้เข้าข่ายข้อ 1. ข้างต้น คือ “ขจัดโอกาสการเกิดสถานการณ์ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนตั้งแต่ต้น” ตัวอย่างอื่นของการบรรลุเป้าหมายนี้มีอีกมากมาย เช่น 1. หลายองค์กรส่งผู้บริหารระดับสูงของตัวเองไปนั่งอยู่ในคณะกรรมการของบริษัทลูกหรือบริษัทร่วม เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของบริษัท แต่ให้รับได้แต่เบี้ยประชุม ส่วนโบนัสหรือผลตอบแทนอื่นใดที่กรรมการคนอื่นได้ต้องส่งคืนบริษัทแม่ หรือมูลนิธิของบริษัทแม่ เพราะถือว่าผู้บริหารคนนั้นไปเป็นกรรมการ “ในหน้าที่” ไม่ใช่ในฐานะคนนอกผู้เชี่ยวชาญ ถ้าปล่อยให้ได้โบนัสและค่าตอบแทนอื่นๆ นอกเหนือจากเบี้ยประชุม อาจก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างหมวกสองใบที่คนคนเดียวใส่ คือ “กรรมการบริษัทลูก” และ “ผู้บริหารบริษัทแม่” ได้ โชคร้ายที่บริษัทไทยหลายแห่งไม่เคยคำนึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพข้อนี้เลย โดยเฉพาะบริษัทของรัฐที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่าง ปตท. และ 2. การมีกลไก “กำแพงเมืองจีน” (Chinese Wall) ภายในองค์กรที่น่าเชื่อถือว่าเป็นกำแพงจริงๆ ไม่ใช่กำแพงมีรู เพื่อกั้นกลางระหว่างมืออาชีพฝ่ายต่างๆ ภายในองค์กรเดียวกันที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น กั้นระหว่างฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ (มีหน้าที่วิเคราะห์บริษัทอย่างเป็นกลาง) กับฝ่ายวาณิชธนกิจ (มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่บริษัท) ในสถาบันการเงิน หรือกั้นระหว่างฝ่ายขาย (มีหน้าที่หาโฆษณามาลง) กับกองบรรณาธิการ (มีหน้าที่ทำข่าวอย่างตรงไปตรงมาและเป็นอิสระ) หลายปัญหาในหลายวงการเกิดจากการที่ “กำแพงเมืองจีน” ที่ควรจะมีกลับไม่มีอยู่ หรือไม่ก็เป็นรูพรุนไปหมดใช้การไม่ได้ เช่น นักข่าวในกองบรรณาธิการหลายคนนอกจากจะไม่สามารถทำข่าวที่เป็นลบต่อสปอนเซอร์โฆษณารายใหญ่แล้ว ยังต้องจำใจทำหน้าที่เป็นฝ่ายขายเสียเองเพราะรู้จักบริษัทต่างๆ ดีกว่าฝ่ายขาย ส่วนนักวิเคราะห์บางคนก็อาจถูกฝ่ายวาณิชธนกิจกดดันให้เขียนบทวิเคราะห์เชียร์หุ้นของบริษัทที่ฝ่ายวาณิชฯ กำลังอยากจีบมาเป็นลูกค้า นอกจากจะต้องเขียนจรรยาบรรณให้ชัด บางครั้งต้องบัญญัติเป็นกฎเพื่อขจัดโอกาสเกิดภาวะผลประโยชน์ทับซ้อน เรายังต้องเน้นว่าจรรยาบรรณเป็นเรื่องของศีลธรรม คือเป็นเรื่องของการทำใน “สิ่งที่ถูก” เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ “พร่าเลือนทางศีลธรรม” ชั่วคราว การเน้นว่าจรรยาบรรณเป็นเรื่องของศีลธรรมนั้นมีมากมายหลายวิธี วิธีอ้อมๆ บางวิธีอาจใช้ได้ผลกว่าวิธีบอกตรงๆ แดน อาริลลี (Dan Ariely) นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมคนโปรดของผู้เขียน เคยยกตัวอย่างที่น่าสนใจมาก - ในการทดลองซีรีส์หนึ่ง ทำติดกันสามครั้ง นักวิจัยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมแอบโกงเงินจากนักวิจัยได้ การทดลองแต่ละครั้งมีเงื่อนไขสองข้อ แตกต่างกันแค่รูปแบบประโยคที่บอกผู้เข้าร่วมการวิจัย ในเงื่อนไขแรก นักวิจัยบอกว่าพวกเขาสนใจว่า “การโกงเกิดขึ้นบ่อยขนาดไหนในมหาวิทยาลัย” ในเงื่อนไขที่สอง นักวิจัยบอกว่าอยากรู้ว่า “มหาวิทยาลัยต่างๆ มีคนขี้โกงมากแค่ไหน” ผลการทดลองปรากฏว่าความแตกต่างเล็กๆ ของประโยคสองประโยคนี้กลับส่งผลอย่างมีนัยสำคัญ ผู้เข้าร่วมการทดลองในเงื่อนไข “การโกง” โกงเงินไปมากกว่าคนที่ได้ยินประโยค “คนขี้โกง” และฝ่ายหลังไม่มีใครโกงเลย อาริลลีบอกว่าผลนี้พบทั้งในการทดลองซึ่งหน้าและการทดลองออนไลน์ ซึ่งหมายความว่าสถานะ “นิรนาม” ในโลกออนไลน์ไม่อาจบดบังความรู้สึกที่ว่าตัวเองเป็น “คนขี้โกง” หรือเปล่า เขาสรุปว่า คนเราอาจยอมให้ตัวเองโกงบ้างเป็นบางครั้ง แต่มักจะไม่ยอมโกงถ้าหากการโกงนั้นแปลว่าจะรู้สึกว่าตัวเองเป็น “คนขี้โกง” จะใช้ประโยชน์จากข้อค้นพบนี้ได้อย่างไรในโลกจริง เพื่อบังคับใช้จรรยาบรรณวิชาชีพให้ “ศักดิ์สิทธิ์” ? ที่น่ายินดีคือมีตัวอย่างให้เห็นแล้วทั่วโลก ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/sarinee-achavanuntak/20130318/495090/ภาวะ-ถูกจูงใจให้ตาบอด-กับจรรยาบรรณวิชาชีพ-(2)-:-จรรยาบรรณที่ได้ผล.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...