อุทธรณ์ลดโทษ หมูแฮม รอดคุก-รอลงอาญา

แสดงความคิดเห็น

เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ

ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดโทษ นายกัณฑ์พิทักษ์ ปัจฉิมสวัสดิ์ หรือ "หมูแฮม" บุตรชายนายกัณฑ์เอนก ปัจฉิมสวัสดิ์ กับนางสาวิณี ปะการะนัง อดีตนางสาวไทยปี 2527 คดีขับเบนซ์ชนคนตายและได้รับบาดเจ็บ บริเวณปากซอยสุขุมวิท 26 แยกอารีย์ แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา เมื่อปี "50 โดยก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นสั่งจำคุก 10 ปี มาถึงชั้นอุทธรณ์พิจารณาลดโทษเหลือ 2 ปี และให้รอลงอาญาไว้ก่อน

เมื่อวันที่ 5 มี.ค. ที่ศาลจังหวัดพระโขนง ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีที่ พนักงานอัยการฝ่ายคดีศาลจังหวัดพระโขนงเป็นโจทก์ นายมาโนจน์ หรือ ธนชรพล โตจวง, น.ส.สังวาล สีหะวงษ์, น.ส.สุชีรา อินทร์สุวรรณ์ และนางทองดำ หลวงแสง เป็นโจทก์ร่วมที่ 1-4 ร่วมกันฟ้องนายกัณฑ์พิทักษ์ ปัจฉิมสวัสดิ์ หรือ "หมูแฮม" อายุ 25 ปี บุตรชายนายกัณฑ์เอนก ปัจฉิมสวัสดิ์ กับนางสาวิณี ปะการะนัง อดีตนางสาวไทยปี 2527 เป็นจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา พยายามฆ่าผู้อื่น และทำร้ายร่างกายผู้อื่นทำให้ได้รับอันตรายแก่กาย

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 50 เวลา 22.50 น. จำเลยใช้ก้อนหินทุบใบหน้านายสถาพร อรุณศิริ พนักงานขับรถโดยสารปรับอากาศ สาย 513 ทะเบียน 12-0939 กรุงเทพ มหานคร และขับรถเบนซ์ ทะเบียน ศศ 6699 กรุงเทพมหานคร พุ่งชนผู้โดยสารที่ยืนบน ทางเท้า และนางสายชล หลวงแสง พนักงานการเงิน ขสมก. เสียชีวิต หลังเกิดเหตุรถเมล์ ขับปาดหน้ารถของนายกัณฑ์พิทักษ์ให้หยุดบริเวณหน้าป้อมตำรวจจราจรที่ปากซอยสุขุมวิท 26 แยกอารีย์ แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม.

คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 52 ว่า การกระทำของจำเลย ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยมีสติฟั่นเฟือน ที่อ้างว่ามีอาการเกร็งในขณะเกิดเหตุและตัวเองต้องได้รับการรักษาอาการป่วยจากแพทย์นั้น ศาลเห็นว่าที่จำเลยมีอาการเกร็งเกิดจากความเครียดจากการก่อเหตุเท่านั้น และที่จำเลยอ้างว่าบังคับตัวเองไม่ได้เพราะมีสภาพจิตแปรปรวน จำเลยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันทางการแพทย์ชัดเจน ซึ่งการกระทำของจำเลยเกิดจากนายกัณฑ์เอนก ปัจฉิมสวัสดิ์ บิดาของจำเลยเลี้ยงดูตามใจ จึงก่อเหตุดังกล่าว จำเลยกระทำผิดตามฟ้อง พิพากษาลงโทษฐานฆ่าผู้อื่น จำคุก 10 ปี ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจำคุก 1 เดือน และริบรถยนต์ของกลาง และให้ชำระค่าเสียหายแก่นางสมจิตร แกล้วกล้า กระเป๋ารถเมล์ ผู้เสียหายที่ 7 จำนวน 1 แสนบาท น.ส.สังวาล โจทก์ร่วมที่ 2 จำนวน 8 แสนบาท น.ส.สุชีรา โจทก์ร่วมที่ 3 จำนวน 79,412 บาท และนางทองดำ หลวงแสง โจทก์ร่วมที่ 4 มารดาของนางสายชล หลวงแสง ผู้เสียชีวิต จำนวน 2,158,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 นับตั้งแต่วันทำละเมิด วันที่ 4 ก.ค.50 จนกว่าจะชำระเสร็จ ส่วนผู้เสียหายอื่นรวม 7 ราย จำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายจนเป็นเป็นที่พอใจแล้ว

ศาลอุทธรณ์ประชุมปรึกษาหารือแล้วเห็นว่า จากพฤติการณ์และสิ่งแวดล้อมในทางนำสืบ เชื่อว่าขณะเกิดเหตุจำเลยกระทำผิดขับรถขึ้นไปบนทางเท้าชนผู้ตายและผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ ในขณะที่จำเลยยังไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โดยก่อนเกิดเหตุและขณะเกิดเหตุจำเลยยังสามารถรู้สึกผิดชอบและสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญซึ่งตรวจรักษาได้ประชุมร่วมกับจิตแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก และลงความเห็นว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยป่วยเป็นโรคอารมณ์แปรปรวน มีลักษณะหุนหันพลันแล่น ที่มีผลต่อการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากมีสติฟั่นเฟือน โดยจำเลยมีอาการชักตั้งแต่เด็ก การกระทำของจำเลยจึงเป็นการไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถบังคับตัวเองได้ จนเกิดเหตุร้ายดังกล่าว จึงมีความผิดฐานขับรถชนคนตายและบาดเจ็บที่กระทำไปโดยไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กำหนดไว้สำหรับความผิดเพียงใดก็ได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรค 2 ที่ศาลชั้นต้นลงโทษว่า จำเลยมีความผิดฐานเจตนาฆ่าผู้อื่นนั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์จำเลยฟังขึ้นบางส่วน ศาลอุทธรณ์จึงเห็นควรลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีพิพากษาแก้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นในขณะไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 228 ประกอบมาตรา 65 วรรค 2 เห็นควรให้จำคุกจำเลย 3 ปี และเมื่อจำเลยได้บรรเทาผลร้าย โดยชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียชีวิต 1 ราย และผู้บาดเจ็บ 3 ราย จนเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญากับจำเลยต่อไป จึงเห็นควรลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุกจำเลยเป็นเวลา 2 ปี และเมื่อรวมโทษฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นอีก 1 เดือน รวมจำคุกทั้งสิ้นเป็นเวลา 2 ปี 1 เดือน เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี โดยให้จำเลยรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานคุมประพฤติ 3 เดือนต่อครั้ง ภายในกำหนด 2 ปี เพื่อให้เจ้าพนักงานคุมประพฤติได้แนะนำและคอยตักเตือนจำเลยเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และให้จำเลยไปรักษาความบกพร่องทางจิตเป็นประจำตามที่แพทย์กำหนด โดยให้รายงานผลการรักษาต่อพนักงานคุมประพฤติทุกครั้งตลอดระยะเวลาของการรอลงอาญา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ด้านน.ส.สุชีรา อินทร์สุวรรณ์ อายุ 31 ปี ลูกสาวของนางสายชล หลวงแสง ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวกล่าวว่า การสูญเสียแม่ไม่มีอะไรมาชดเชยได้ น่าจะมีบรรทัดฐานว่าคนที่กระทำผิดควรได้รับโทษในสิ่งที่เขากระทำไม่ว่าเขาจะอายุน้อย เป็นผู้เยาว์ หรือบกพร่องทางจิต โทษจำคุกหรืออะไรก็ตามระยะเวลาไม่มีความสำคัญ ส่วนการชดเชยด้วยเงินเป็นการเยียวยาภายนอก ไม่สามารถชดเชยบาดแผลภายในจิตใจได้ ขณะนี้รอคัดคำพิพากษาเพื่อร่วมพิจารณากับทนายว่าจะฎีกาหรือไม่ อยากให้สังคมได้รับทราบคำตัดสินเพื่อเป็นกรณีศึกษาต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนายกัณฑ์พิทักษ์ก่อคดีขับรถชนคนเมื่อปี "50 และเรื่องยังอยู่ในการพิจารณาของศาล ต่อมาวันที่ 20 มี.ค. 51 นายกัณฑ์พิทักษ์ก็ก่อเหตุขับรถชนอีกจนได้ โดยขับรถเก๋งยี่ห้อฮอนด้า แอคคอร์ด หมายเลขทะเบียน 9ธ -7617 กรุงเทพมหานคร เฉี่ยวชนกับรถประจำทางสาย 545 หมายเลขทะเบียน 12-6002 ที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารสำโรง-นนทบุรี เหตุเกิดขึ้นที่บริเวณหน้าตลาดโชคชัย 4 ซอยลาดพร้าว 55/2 ทั้งนี้ ขณะเกิดเหตุนายกัณฑ์พิทักษ์ได้แสดงตัวว่ารู้จักกับนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ขณะตำรวจจราจรได้เข้ามาเคลียร์พื้นที่ และหลังจากนั้นนายกัณฑ์เอนกได้เดินทางมาที่เกิดเหตุและเข้ามาเจรจากับผู้ขับขี่รถประจำทาง ตกลงค่าเสียหายในการซ่อมแซมรถจำนวน 2,000 บาท อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ครั้งนั้นไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

ขอบคุณ

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNVEEyTURNMU5nPT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE15MHdNeTB3Tmc9PQ==

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 6/03/2556 เวลา 04:05:35 ดูภาพสไลด์โชว์ อุทธรณ์ลดโทษ หมูแฮม รอดคุก-รอลงอาญา

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดโทษ นายกัณฑ์พิทักษ์ ปัจฉิมสวัสดิ์ หรือ "หมูแฮม" บุตรชายนายกัณฑ์เอนก ปัจฉิมสวัสดิ์ กับนางสาวิณี ปะการะนัง อดีตนางสาวไทยปี 2527 คดีขับเบนซ์ชนคนตายและได้รับบาดเจ็บ บริเวณปากซอยสุขุมวิท 26 แยกอารีย์ แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา เมื่อปี "50 โดยก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นสั่งจำคุก 10 ปี มาถึงชั้นอุทธรณ์พิจารณาลดโทษเหลือ 2 ปี และให้รอลงอาญาไว้ก่อน เมื่อวันที่ 5 มี.ค. ที่ศาลจังหวัดพระโขนง ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีที่ พนักงานอัยการฝ่ายคดีศาลจังหวัดพระโขนงเป็นโจทก์ นายมาโนจน์ หรือ ธนชรพล โตจวง, น.ส.สังวาล สีหะวงษ์, น.ส.สุชีรา อินทร์สุวรรณ์ และนางทองดำ หลวงแสง เป็นโจทก์ร่วมที่ 1-4 ร่วมกันฟ้องนายกัณฑ์พิทักษ์ ปัจฉิมสวัสดิ์ หรือ "หมูแฮม" อายุ 25 ปี บุตรชายนายกัณฑ์เอนก ปัจฉิมสวัสดิ์ กับนางสาวิณี ปะการะนัง อดีตนางสาวไทยปี 2527 เป็นจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา พยายามฆ่าผู้อื่น และทำร้ายร่างกายผู้อื่นทำให้ได้รับอันตรายแก่กาย โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 50 เวลา 22.50 น. จำเลยใช้ก้อนหินทุบใบหน้านายสถาพร อรุณศิริ พนักงานขับรถโดยสารปรับอากาศ สาย 513 ทะเบียน 12-0939 กรุงเทพ มหานคร และขับรถเบนซ์ ทะเบียน ศศ 6699 กรุงเทพมหานคร พุ่งชนผู้โดยสารที่ยืนบน ทางเท้า และนางสายชล หลวงแสง พนักงานการเงิน ขสมก. เสียชีวิต หลังเกิดเหตุรถเมล์ ขับปาดหน้ารถของนายกัณฑ์พิทักษ์ให้หยุดบริเวณหน้าป้อมตำรวจจราจรที่ปากซอยสุขุมวิท 26 แยกอารีย์ แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 52 ว่า การกระทำของจำเลย ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยมีสติฟั่นเฟือน ที่อ้างว่ามีอาการเกร็งในขณะเกิดเหตุและตัวเองต้องได้รับการรักษาอาการป่วยจากแพทย์นั้น ศาลเห็นว่าที่จำเลยมีอาการเกร็งเกิดจากความเครียดจากการก่อเหตุเท่านั้น และที่จำเลยอ้างว่าบังคับตัวเองไม่ได้เพราะมีสภาพจิตแปรปรวน จำเลยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันทางการแพทย์ชัดเจน ซึ่งการกระทำของจำเลยเกิดจากนายกัณฑ์เอนก ปัจฉิมสวัสดิ์ บิดาของจำเลยเลี้ยงดูตามใจ จึงก่อเหตุดังกล่าว จำเลยกระทำผิดตามฟ้อง พิพากษาลงโทษฐานฆ่าผู้อื่น จำคุก 10 ปี ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจำคุก 1 เดือน และริบรถยนต์ของกลาง และให้ชำระค่าเสียหายแก่นางสมจิตร แกล้วกล้า กระเป๋ารถเมล์ ผู้เสียหายที่ 7 จำนวน 1 แสนบาท น.ส.สังวาล โจทก์ร่วมที่ 2 จำนวน 8 แสนบาท น.ส.สุชีรา โจทก์ร่วมที่ 3 จำนวน 79,412 บาท และนางทองดำ หลวงแสง โจทก์ร่วมที่ 4 มารดาของนางสายชล หลวงแสง ผู้เสียชีวิต จำนวน 2,158,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 นับตั้งแต่วันทำละเมิด วันที่ 4 ก.ค.50 จนกว่าจะชำระเสร็จ ส่วนผู้เสียหายอื่นรวม 7 ราย จำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายจนเป็นเป็นที่พอใจแล้ว ศาลอุทธรณ์ประชุมปรึกษาหารือแล้วเห็นว่า จากพฤติการณ์และสิ่งแวดล้อมในทางนำสืบ เชื่อว่าขณะเกิดเหตุจำเลยกระทำผิดขับรถขึ้นไปบนทางเท้าชนผู้ตายและผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ ในขณะที่จำเลยยังไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โดยก่อนเกิดเหตุและขณะเกิดเหตุจำเลยยังสามารถรู้สึกผิดชอบและสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญซึ่งตรวจรักษาได้ประชุมร่วมกับจิตแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก และลงความเห็นว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยป่วยเป็นโรคอารมณ์แปรปรวน มีลักษณะหุนหันพลันแล่น ที่มีผลต่อการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากมีสติฟั่นเฟือน โดยจำเลยมีอาการชักตั้งแต่เด็ก การกระทำของจำเลยจึงเป็นการไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถบังคับตัวเองได้ จนเกิดเหตุร้ายดังกล่าว จึงมีความผิดฐานขับรถชนคนตายและบาดเจ็บที่กระทำไปโดยไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กำหนดไว้สำหรับความผิดเพียงใดก็ได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรค 2 ที่ศาลชั้นต้นลงโทษว่า จำเลยมีความผิดฐานเจตนาฆ่าผู้อื่นนั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์จำเลยฟังขึ้นบางส่วน ศาลอุทธรณ์จึงเห็นควรลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีพิพากษาแก้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นในขณะไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 228 ประกอบมาตรา 65 วรรค 2 เห็นควรให้จำคุกจำเลย 3 ปี และเมื่อจำเลยได้บรรเทาผลร้าย โดยชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียชีวิต 1 ราย และผู้บาดเจ็บ 3 ราย จนเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญากับจำเลยต่อไป จึงเห็นควรลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุกจำเลยเป็นเวลา 2 ปี และเมื่อรวมโทษฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นอีก 1 เดือน รวมจำคุกทั้งสิ้นเป็นเวลา 2 ปี 1 เดือน เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี โดยให้จำเลยรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานคุมประพฤติ 3 เดือนต่อครั้ง ภายในกำหนด 2 ปี เพื่อให้เจ้าพนักงานคุมประพฤติได้แนะนำและคอยตักเตือนจำเลยเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และให้จำเลยไปรักษาความบกพร่องทางจิตเป็นประจำตามที่แพทย์กำหนด โดยให้รายงานผลการรักษาต่อพนักงานคุมประพฤติทุกครั้งตลอดระยะเวลาของการรอลงอาญา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ด้านน.ส.สุชีรา อินทร์สุวรรณ์ อายุ 31 ปี ลูกสาวของนางสายชล หลวงแสง ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวกล่าวว่า การสูญเสียแม่ไม่มีอะไรมาชดเชยได้ น่าจะมีบรรทัดฐานว่าคนที่กระทำผิดควรได้รับโทษในสิ่งที่เขากระทำไม่ว่าเขาจะอายุน้อย เป็นผู้เยาว์ หรือบกพร่องทางจิต โทษจำคุกหรืออะไรก็ตามระยะเวลาไม่มีความสำคัญ ส่วนการชดเชยด้วยเงินเป็นการเยียวยาภายนอก ไม่สามารถชดเชยบาดแผลภายในจิตใจได้ ขณะนี้รอคัดคำพิพากษาเพื่อร่วมพิจารณากับทนายว่าจะฎีกาหรือไม่ อยากให้สังคมได้รับทราบคำตัดสินเพื่อเป็นกรณีศึกษาต่อไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนายกัณฑ์พิทักษ์ก่อคดีขับรถชนคนเมื่อปี "50 และเรื่องยังอยู่ในการพิจารณาของศาล ต่อมาวันที่ 20 มี.ค. 51 นายกัณฑ์พิทักษ์ก็ก่อเหตุขับรถชนอีกจนได้ โดยขับรถเก๋งยี่ห้อฮอนด้า แอคคอร์ด หมายเลขทะเบียน 9ธ -7617 กรุงเทพมหานคร เฉี่ยวชนกับรถประจำทางสาย 545 หมายเลขทะเบียน 12-6002 ที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารสำโรง-นนทบุรี เหตุเกิดขึ้นที่บริเวณหน้าตลาดโชคชัย 4 ซอยลาดพร้าว 55/2 ทั้งนี้ ขณะเกิดเหตุนายกัณฑ์พิทักษ์ได้แสดงตัวว่ารู้จักกับนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ขณะตำรวจจราจรได้เข้ามาเคลียร์พื้นที่ และหลังจากนั้นนายกัณฑ์เอนกได้เดินทางมาที่เกิดเหตุและเข้ามาเจรจากับผู้ขับขี่รถประจำทาง ตกลงค่าเสียหายในการซ่อมแซมรถจำนวน 2,000 บาท อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ครั้งนั้นไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ขอบคุณ … http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNVEEyTURNMU5nPT0=§ionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE15MHdNeTB3Tmc9PQ==

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...