บอร์ด สปสช. มีมติเพิ่มเงินช่วยหลือ แพทย์-พยาบาลเจ็บป่วยจากการทำงาน

แสดงความคิดเห็น

นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่อง “การทบทวนและปรับปรุงอัตราการจ่ายเงินชดเชยช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข ตามมาตรา ๑๘ (๔)”ว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีระบบการชดเชยความเสียหายทางการแพทย์ให้ทั้งผู้ให้บริการหรือบุคลากรทางการแพทย์สาธารณสุข และผู้รับบริการหรือประชาชน โดยผู้รับบริการมีมาตรา ๔๑ชดเชยความเสียหายให้กับประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และผู้ป่วยแล้วนั้น

สำหรับในส่วนของผู้ให้บริการ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขก็มีมาตรา ๑๘(๔) ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ให้การคุ้มครองดูแล เพราะเนื่องจากที่ผ่านมา มีแพทย์-พยาบาล ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ (ห้องแล็ป) ติดเชื้อโรคจากเหตุสุดวิสัย ดังนั้น การมีระบบเยียวยาชดเชยดังกล่าว ก็เพื่อสร้างขวัญกำลังใจที่ดีให้เจ้าหน้าที่ เป็นการสร้างความมั่นใจถึงระบบการปฏิบัติงานสาธารณสุขการเยียวยาและชดเชยรองรับให้ เป็นสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากับทุกฝ่าย

นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาในส่วนของอัตราการจ่ายชดเชยสำหรับประชาชาชนผู้รับบริการนั้น ได้มีการปรับอัตราเพิ่มไปแล้วในวงเงิน ๒ เท่า ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑ตุลาคมที่ผ่านมา ดังนั้นมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ได้มอบให้ สปสช. เสนอการปรับปรุงข้อบังคับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือสำหรับผู้ให้บริการให้อัตราการจ่ายเท่าเทียมกับข้อบังคับของผู้รับบริการ ซึ่งที่ประชุมได้ มีมติเห็นชอบให้เพิ่มอัตราการจ่ายช่วยเหลือสำหรับผู้ให้บริการเท่ากับผู้รับบริการ และกรณีพื้นที่เสี่ยงภัยจะเพิ่มอัตราจ่ายเป็นสองเท่าของอัตราที่กำหนดเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัย เช่น กรณี ๓จังหวัดชายแดนใต้ เป็นต้น ที่ผ่านมาในกรณีพื้นที่เสี่ยงภัยตั้งแต่ปี ๒๕๔๗-๒๕๕๕มีการพิจารณาจ่าย ๔ ราย เป็นเงิน ๑๖๐,๐๐๐ บาท

นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช. กล่าวว่า สำหรับการปรับอัตราการจ่ายใหม่เป็นดังนี้ ๑.กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวรหรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิตและมีผลกระทบรุนแรงต่อการดำรงชีวิต ข้อบังคับเดิมจ่ายไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ข้อบังคับใหม่จ่าย ๒๔๐,๐๐๐-๔๐๐,๐๐๐ บาท ๒.สูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ข้อบังคับเดิมจ่ายไม่เกิน ๑๒๐,๐๐๐ บาท ข้อบังคับใหม่จ่าย ๑๐๐,๐๐๐-๒๔๐,๐๐๐ บาท และ ๓.บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง ข้อบังคับเดิมจ่ายไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท ข้อบังคับใหม่จ่ายไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หลังจากนี้ สปสช.จะจัดทำร่างข้อบังคับเสนอประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาลงนามต่อไป

ทั้งนี้ มีมาตรา ๔๑ชดเชยความเสียหายให้กับประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และผู้ป่วย โดยมติดังกล่าวมีผลตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ๑. กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร ให้จ่ายเงินช่วยเหลือได้ ตั้งแต่ ๒๔๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท ๒.กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ให้จ่ายเงินช่วยเหลือได้ ตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒๔๐,๐๐๐ บาท ๓.กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่องให้จ่ายเงินช่วยเหลือได้ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท(บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๕ ก.พ.๕๖)

ที่มา: บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๕ ก.พ.๕๖
วันที่โพสต์: 6/02/2556 เวลา 23:30:12

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่อง “การทบทวนและปรับปรุงอัตราการจ่ายเงินชดเชยช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข ตามมาตรา ๑๘ (๔)”ว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีระบบการชดเชยความเสียหายทางการแพทย์ให้ทั้งผู้ให้บริการหรือบุคลากรทางการแพทย์สาธารณสุข และผู้รับบริการหรือประชาชน โดยผู้รับบริการมีมาตรา ๔๑ชดเชยความเสียหายให้กับประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และผู้ป่วยแล้วนั้น สำหรับในส่วนของผู้ให้บริการ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขก็มีมาตรา ๑๘(๔) ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ให้การคุ้มครองดูแล เพราะเนื่องจากที่ผ่านมา มีแพทย์-พยาบาล ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ (ห้องแล็ป) ติดเชื้อโรคจากเหตุสุดวิสัย ดังนั้น การมีระบบเยียวยาชดเชยดังกล่าว ก็เพื่อสร้างขวัญกำลังใจที่ดีให้เจ้าหน้าที่ เป็นการสร้างความมั่นใจถึงระบบการปฏิบัติงานสาธารณสุขการเยียวยาและชดเชยรองรับให้ เป็นสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากับทุกฝ่าย นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาในส่วนของอัตราการจ่ายชดเชยสำหรับประชาชาชนผู้รับบริการนั้น ได้มีการปรับอัตราเพิ่มไปแล้วในวงเงิน ๒ เท่า ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑ตุลาคมที่ผ่านมา ดังนั้นมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ได้มอบให้ สปสช. เสนอการปรับปรุงข้อบังคับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือสำหรับผู้ให้บริการให้อัตราการจ่ายเท่าเทียมกับข้อบังคับของผู้รับบริการ ซึ่งที่ประชุมได้ มีมติเห็นชอบให้เพิ่มอัตราการจ่ายช่วยเหลือสำหรับผู้ให้บริการเท่ากับผู้รับบริการ และกรณีพื้นที่เสี่ยงภัยจะเพิ่มอัตราจ่ายเป็นสองเท่าของอัตราที่กำหนดเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัย เช่น กรณี ๓จังหวัดชายแดนใต้ เป็นต้น ที่ผ่านมาในกรณีพื้นที่เสี่ยงภัยตั้งแต่ปี ๒๕๔๗-๒๕๕๕มีการพิจารณาจ่าย ๔ ราย เป็นเงิน ๑๖๐,๐๐๐ บาท นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช. กล่าวว่า สำหรับการปรับอัตราการจ่ายใหม่เป็นดังนี้ ๑.กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวรหรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิตและมีผลกระทบรุนแรงต่อการดำรงชีวิต ข้อบังคับเดิมจ่ายไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ข้อบังคับใหม่จ่าย ๒๔๐,๐๐๐-๔๐๐,๐๐๐ บาท ๒.สูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ข้อบังคับเดิมจ่ายไม่เกิน ๑๒๐,๐๐๐ บาท ข้อบังคับใหม่จ่าย ๑๐๐,๐๐๐-๒๔๐,๐๐๐ บาท และ ๓.บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง ข้อบังคับเดิมจ่ายไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท ข้อบังคับใหม่จ่ายไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หลังจากนี้ สปสช.จะจัดทำร่างข้อบังคับเสนอประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาลงนามต่อไป ทั้งนี้ มีมาตรา ๔๑ชดเชยความเสียหายให้กับประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และผู้ป่วย โดยมติดังกล่าวมีผลตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ๑. กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร ให้จ่ายเงินช่วยเหลือได้ ตั้งแต่ ๒๔๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท ๒.กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ให้จ่ายเงินช่วยเหลือได้ ตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒๔๐,๐๐๐ บาท ๓.กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่องให้จ่ายเงินช่วยเหลือได้ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท(บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๕ ก.พ.๕๖)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...