พก.กับงานพัฒนาศักยภาพคนพิการโดยชุมชน...ต้นแบบงาน CBR ให้กับประเทศเพื่อนบ้าน

แสดงความคิดเห็น

นางมยุรี ผิวสุวรรณ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก)ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการพัฒนาศักยภาพคนพิการโดยชุมชน (CBR) ระดับประเทศ ครั้งที่ ๓ ณ โรงแรมรามาการ์เด้น โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยคณะกรรมการและองค์กรเครือข่าย CBR เครือข่ายอาสาสมัครช่วยเหลือคนพิการ (อพมก.) อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) องค์การบริหารตำบล (อบต.) พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) และผู้สนใจ รวมประมาณ ๒๓๐ ตน

นางมยุรี ผิวสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประธานคณะทำงานเครือข่ายการพัฒนาศักยภาพคนพิการโดยชุมชน ( CBR : Community Based Rehabilitation) ได้กล่าวเปิดการประชุมฯ โดยประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

เนื่องจากประเทศไทยโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO ) และ สำนักงานองค์การสหประชาชาติ ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (UNESCAP) ได้จัดการประชุมการพัฒนาศักยภาพคนพิการโดยชุมชนระดับเอเชียและแปซิฟิก( Asia-Pacific CBR Congress) ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๘ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ณ กรุงเทพฯ ซึ่งที่ประชุมได้ประกาศข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการทำงานด้านการพัฒนาศักยภาพคนพิการ โดยเห็นชอบให้จัดตั้ง “เครือข่ายการทำงานด้านการพัฒนาศักยภาพคนพิการโดยชุมชนในระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก” (CBR Asia-Pacific Network) หลังจากนั้น เป็นต้นมา พก. จึงได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย CBR จัดประชุมเครือข่ายมาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับแนวทางการดำเนินการ CBR ในประเทศไทยนั้น ได้ดำเนินการตามแนวทาง “ CBR Guideline” ขององค์การอนามัยโลก สหประชาชาติและหน่วยงานระดับโลกอื่นๆ โดยครอบคลุมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการใน ๖ ด้าน ประกอบด้วย ๑)ด้านสุขภาพ ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การบริการทางแพทย์ การฟื้นฟูสมรรถภาพและอุปกรณ์เครื่องช่วย ๒)ด้านการศึกษา ได้แก่ การศึกษาปฐมวัย การประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา การศึกษานอกระบบและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ๓)ด้านอาชีพ ได้แก่ การพัฒนาทักษะ การจ้างงานตนเอง การจ้างงานในระบบ บริการด้านการเงินและการคุ้มครองทางสังคม ๔)ด้านสังคม ได้แก่ ผู้ช่วยส่วนบุคคล ความสัมพันธ์ครอบครัวการแต่งงาน วัฒนธรรมศิลปะ นันทนาและการกีฬา และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และ๕)ด้านส่งเสริมศักยภาพ ได้แก่ การสื่อสาร การเคลื่อนไหวทางสังคม การมีส่วนร่วมทางการเมือง กลุ่มพึ่งตนเองและการจัดตั้งองค์กรคนพิการ การทำงานด้าน CBR นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทำงานแบบบูรณาการและเชื่อมต่องานของทุกภาคส่วนรวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในด้านต่างๆ เช่น สาธารณสุข การศึกษา สังคมและอาชีพ เป็นต้น

สิ่งสำคัญเราต้องตั้งคำถามว่า “คนพิการจะได้อะไร” แล้วจึงนำไปสู่การเชื่อมต่อการจัดบริการให้คนพิการ โดยคนพิการ ครอบครัวคนพิการ คนในชุมชน และภาคประชาสังคมต้องมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นทั้งกระบวนการ ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่จะช่วยให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการสาธารณะได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ จากการดำเนินงาน CBR ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๗ ของ พก. ภายใต้โครงการการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนเพื่อให้บริการคนพิการแบบครบวงจรในระดับชุมชน ครอบคลุมทั้ง ๗๗ จังหวัด โดยใช้กลไกการให้บริการคนพิการโดย “อาสาสมัครพัฒนาสังคมฯช่วยเหลือคนพิการ” (อพมก.) เป็นผลให้คนพิการในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และได้จดทะเบียนเพื่อเข้าถึงสิทธิคนพิการ

การดำเนินโครงการฯ ดังกล่าวได้เป็นต้นแบบ งาน CBR ให้กับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งกำลังจะร่วมเป็นประชาคมอาเซียน เช่น ประเทศพม่าได้มาศึกษาดูงาน และนำไปใช้ พร้อมกับการแปลคู่มือ อพมก.ของ พก.เป็นภาษาพม่าอีกด้วย ประเทศบูรไนก็ได้ติดต่อขอดูงานอยู่ในขณะนี้ และยังมีประเทศเพื่อนบ้านติดต่อโดยตรงไปยังพื้นที่โดยตรงที่ไม่ติดต่อผ่าน พก. อีกจำนวนมาก (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๙ ก.ย.๕๕)

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๙ ก.ย.๕๕
วันที่โพสต์: 1/10/2555 เวลา 01:23:18 ดูภาพสไลด์โชว์ พก.กับงานพัฒนาศักยภาพคนพิการโดยชุมชน...ต้นแบบงาน CBR ให้กับประเทศเพื่อนบ้าน

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

สถิติความสนใจ

ชอบ: 1 คน (100%)

ไม่ชอบ: 0 คน (0%)

ไม่มีความเห็น: 0 คน (0%)

จำนวนคนโหวตทั้งหมด: 1 คน (100%)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นางมยุรี ผิวสุวรรณเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก)ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการพัฒนาศักยภาพคนพิการโดยชุมชน (CBR) ระดับประเทศ ครั้งที่ ๓ ณ โรงแรมรามาการ์เด้น โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยคณะกรรมการและองค์กรเครือข่าย CBR เครือข่ายอาสาสมัครช่วยเหลือคนพิการ (อพมก.) อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) องค์การบริหารตำบล (อบต.) พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) และผู้สนใจ รวมประมาณ ๒๓๐ ตน นางมยุรี ผิวสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประธานคณะทำงานเครือข่ายการพัฒนาศักยภาพคนพิการโดยชุมชน ( CBR : Community Based Rehabilitation) ได้กล่าวเปิดการประชุมฯ โดยประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ เนื่องจากประเทศไทยโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO ) และ สำนักงานองค์การสหประชาชาติ ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (UNESCAP) ได้จัดการประชุมการพัฒนาศักยภาพคนพิการโดยชุมชนระดับเอเชียและแปซิฟิก( Asia-Pacific CBR Congress) ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๘ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ณ กรุงเทพฯ ซึ่งที่ประชุมได้ประกาศข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการทำงานด้านการพัฒนาศักยภาพคนพิการ โดยเห็นชอบให้จัดตั้ง “เครือข่ายการทำงานด้านการพัฒนาศักยภาพคนพิการโดยชุมชนในระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก” (CBR Asia-Pacific Network) หลังจากนั้น เป็นต้นมา พก. จึงได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย CBR จัดประชุมเครือข่ายมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับแนวทางการดำเนินการ CBR ในประเทศไทยนั้น ได้ดำเนินการตามแนวทาง “ CBR Guideline” ขององค์การอนามัยโลก สหประชาชาติและหน่วยงานระดับโลกอื่นๆ โดยครอบคลุมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการใน ๖ ด้าน ประกอบด้วย ๑)ด้านสุขภาพ ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การบริการทางแพทย์ การฟื้นฟูสมรรถภาพและอุปกรณ์เครื่องช่วย ๒)ด้านการศึกษา ได้แก่ การศึกษาปฐมวัย การประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา การศึกษานอกระบบและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ๓)ด้านอาชีพ ได้แก่ การพัฒนาทักษะ การจ้างงานตนเอง การจ้างงานในระบบ บริการด้านการเงินและการคุ้มครองทางสังคม ๔)ด้านสังคม ได้แก่ ผู้ช่วยส่วนบุคคล ความสัมพันธ์ครอบครัวการแต่งงาน วัฒนธรรมศิลปะ นันทนาและการกีฬา และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และ๕)ด้านส่งเสริมศักยภาพ ได้แก่ การสื่อสาร การเคลื่อนไหวทางสังคม การมีส่วนร่วมทางการเมือง กลุ่มพึ่งตนเองและการจัดตั้งองค์กรคนพิการ การทำงานด้าน CBR นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทำงานแบบบูรณาการและเชื่อมต่องานของทุกภาคส่วนรวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในด้านต่างๆ เช่น สาธารณสุข การศึกษา สังคมและอาชีพ เป็นต้น สิ่งสำคัญเราต้องตั้งคำถามว่า “คนพิการจะได้อะไร” แล้วจึงนำไปสู่การเชื่อมต่อการจัดบริการให้คนพิการ โดยคนพิการ ครอบครัวคนพิการ คนในชุมชน และภาคประชาสังคมต้องมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นทั้งกระบวนการ ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่จะช่วยให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการสาธารณะได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ จากการดำเนินงาน CBR ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๗ ของ พก. ภายใต้โครงการการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนเพื่อให้บริการคนพิการแบบครบวงจรในระดับชุมชน ครอบคลุมทั้ง ๗๗ จังหวัด โดยใช้กลไกการให้บริการคนพิการโดย “อาสาสมัครพัฒนาสังคมฯช่วยเหลือคนพิการ” (อพมก.) เป็นผลให้คนพิการในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และได้จดทะเบียนเพื่อเข้าถึงสิทธิคนพิการ การดำเนินโครงการฯ ดังกล่าวได้เป็นต้นแบบ งาน CBR ให้กับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งกำลังจะร่วมเป็นประชาคมอาเซียน เช่น ประเทศพม่าได้มาศึกษาดูงาน และนำไปใช้ พร้อมกับการแปลคู่มือ อพมก.ของ พก.เป็นภาษาพม่าอีกด้วย ประเทศบูรไนก็ได้ติดต่อขอดูงานอยู่ในขณะนี้ และยังมีประเทศเพื่อนบ้านติดต่อโดยตรงไปยังพื้นที่โดยตรงที่ไม่ติดต่อผ่าน พก. อีกจำนวนมาก (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๙

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...