คนไทยกินเกลือเกินจำเป็นเสี่ยงอัมพฤกษ์
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ซอยศูนย์วิจัยผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย แถลงข่าว "การจัดงานสัปดาห์วันไตโลก ลดเค็มครึ่งหนึ่ง" ว่า จากการสำรวจการบริโภคเกลือของคนไทยโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า คนไทย บริโภคเกลือและโซเดียมสูงเกินกว่าที่แนะนำ 2 เท่า หรือ 10.8 กรัม (โซเดียม 5,000 มิลลิกรัม) สูงเป็น 2 เท่าของที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ที่ควรบริโภคไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน (โซเดียม 2,400 มิลลิกรัม) โดยร้อยละ 71 มาจากการเติมเครื่องปรุงรสระหว่างการประกอบอาหาร ที่นิยมใช้มาก 5 ลำดับแรกคือน้ำปลา,ซีอิ๊วขาว,เกลือ,กะปิและซอสหอยนางรม
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบจะพบว่าเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 6,000 มิลลิกรัม น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 1,160-1,420 มิลลิกรัม ซีอิ๊ว 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 960-1420 มิลลิกรัม ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะมีปริมาณโซเดียม 1,150 มิลลิกรัม กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 1,430-1,490 มิลลิกรัม ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 420-490 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ยังพบว่าอาหารถุงปรุงสำเร็จ มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ยต่อถุง 815 -3,527 มิลลิกรัม เช่น ไข่พะโล้ แกงไตปลา คั่วกลิ้ง เป็นต้น ส่วนอาหารจานเดียว มีปริมาณโซเดียม 1,000-2,000 มิลลิกรัมต่อ 1 จาน อาทิ ข้าวหน้าเป็ดข้าวมันไก่ข้าวขาหมูและข้าวคลุกกะปิเป็นต้น
"การรับประทานอาหารรสเค็มจัด จะส่งผลให้ความดันโลหิตสูง เพิ่มการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ และยังมีผลเสียต่อไตโดยตรง ทำให้หัวใจทำงานหนักก่อให้เกิดภาวะหัวใจวาย และความดันโลหิตสูง ความดันในสมองเพิ่มขึ้น มีโอกาสเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ จึงควรสร้างนิสัยการรับประทานอาหารอ่อนเค็ม เพื่อสุขภาพที่ดี เริ่มจากการการลดเค็มลงครึ่งหนึ่ง จะช่วยคนไทยห่างไกลโรค" ผศ.นพ.สุรศักดิ์กล่าว และว่า การลดปริมาณโซเดียมที่รับประทานทำได้โดย หลีกเลี่ยงการใช้เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสต่างๆ และผงชูรส ในการปรุงอาหาร,หลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุง เช่น ปรุงรสเพิ่มในก๋วยเตี๋ยว เติมพริกน้ำปลาในข้าวแกง เป็นต้น
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1361248145&grpid=03&catid=12&subcatid=1203
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.พ.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ซอยศูนย์วิจัยผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย แถลงข่าว "การจัดงานสัปดาห์วันไตโลก ลดเค็มครึ่งหนึ่ง" ว่า จากการสำรวจการบริโภคเกลือของคนไทยโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า คนไทย บริโภคเกลือและโซเดียมสูงเกินกว่าที่แนะนำ 2 เท่า หรือ 10.8 กรัม (โซเดียม 5,000 มิลลิกรัม) สูงเป็น 2 เท่าของที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ที่ควรบริโภคไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน (โซเดียม 2,400 มิลลิกรัม) โดยร้อยละ 71 มาจากการเติมเครื่องปรุงรสระหว่างการประกอบอาหาร ที่นิยมใช้มาก 5 ลำดับแรกคือน้ำปลา,ซีอิ๊วขาว,เกลือ,กะปิและซอสหอยนางรม ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบจะพบว่าเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 6,000 มิลลิกรัม น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 1,160-1,420 มิลลิกรัม ซีอิ๊ว 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 960-1420 มิลลิกรัม ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะมีปริมาณโซเดียม 1,150 มิลลิกรัม กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 1,430-1,490 มิลลิกรัม ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 420-490 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ยังพบว่าอาหารถุงปรุงสำเร็จ มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ยต่อถุง 815 -3,527 มิลลิกรัม เช่น ไข่พะโล้ แกงไตปลา คั่วกลิ้ง เป็นต้น ส่วนอาหารจานเดียว มีปริมาณโซเดียม 1,000-2,000 มิลลิกรัมต่อ 1 จาน อาทิ ข้าวหน้าเป็ดข้าวมันไก่ข้าวขาหมูและข้าวคลุกกะปิเป็นต้น "การรับประทานอาหารรสเค็มจัด จะส่งผลให้ความดันโลหิตสูง เพิ่มการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ และยังมีผลเสียต่อไตโดยตรง ทำให้หัวใจทำงานหนักก่อให้เกิดภาวะหัวใจวาย และความดันโลหิตสูง ความดันในสมองเพิ่มขึ้น มีโอกาสเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ จึงควรสร้างนิสัยการรับประทานอาหารอ่อนเค็ม เพื่อสุขภาพที่ดี เริ่มจากการการลดเค็มลงครึ่งหนึ่ง จะช่วยคนไทยห่างไกลโรค" ผศ.นพ.สุรศักดิ์กล่าว และว่า การลดปริมาณโซเดียมที่รับประทานทำได้โดย หลีกเลี่ยงการใช้เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสต่างๆ และผงชูรส ในการปรุงอาหาร,หลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุง เช่น ปรุงรสเพิ่มในก๋วยเตี๋ยว เติมพริกน้ำปลาในข้าวแกง เป็นต้น ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1361248145&grpid=03&catid=12&subcatid=1203 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.พ.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)