เผยนักเรียนกว่าร้อยละ 40 บอกอยู่ไม่ได้โดยไม่มีโทรศัพท์มือถือ
ในการบรรยายเรื่อง "วัยรุ่นไทยก้าวร้าวจริงหรือ?" ในงานประชุมวิชาการจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ครั้งที่ 17 "เด็กไทยกับปัญหาความรุนแรง" ณ โรงแรมปริ๊นซ์ พาเลซ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ ได้เปิดเผยผลสำรวจเด็กไทยกว่า 3,000 คน ในหัวข้อหนึ่งวันในชีวิตเด็กไทย พบว่า เด็กไทยส่วนใหญ่ใช้เวลาในการนอนหลับวันละ 8 ชั่วโมง โดยร้อยละ 35.5 เล่นเฟซบุ๊ค ไลน์ วอทแอป และคุยโทรศัพท์เป็นสิ่งสุดท้ายก่อนนอน และร้อยละ 51.1 เช็คโทรศัพท์เป็นอย่างแรกเมื่อตื่นนอน โดยผู้หญิงติดเครือข่ายทางสังคมออนไลน์เหล่านี้มากกว่าผู้ชาย
ดร.อมรวิชช์ กล่าวว่า เด็กไทยใช้เวลาแต่ละวันในการดูโทรทัศน์ 3 ชั่วโมง ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถืออีก 3 ชั่วโมง โดยมือถือจะเป็นทุกอย่างในชีวิตเด็ก จากการสำรวจร้อยละ 42.5 บอกว่า อยู่ไม่ได้โดยไม่มีโทรศัพท์มือถือ โดยเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ร้อยละ 75.7 ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ร้อยละ 20 ใช้มือถือระหว่างอยู่ในห้องเรียน และเด็กที่ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์มักจะไม่ค่อยระวังตัว โดยเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว นำไปสู่การแลกเบอร์และนัดพบ และร้อยละ 28.7 รู้สึกว่าตัวเองเคยถูกคุมคามจากเพื่อนใหม่บนเครือข่ายเหล่านั้น
ในเรื่องความรุนแรง ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ กล่าวว่า ความรุนแรงมีอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะในอเมริกาจะมีอยู่มาก ประเทศไทยยังไม่ได้มีถึงขนาดนั้น คนส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงความรุนแรงก็จะนึกถึงเด็กอาชีวะ ทั้งๆ ที่ความรุนแรงในเด็กมัธยมก็มี แต่มักไม่ค่อยเป็นข่าว สื่อมักจะจับจ้องแต่เด็กอาชีวะ แต่ในความเป็นจริงเมื่อลงไปศึกษาจะพบว่า มีความรุนแรงในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเป็นจำนวนมาก จากการเก็บข้อมูลแนวโน้มความรุนแรงในเด็กที่ถูกกรรโชกทรัพย์ ถูกทำร้ายร่างกาย พบเห็นการพกพาอาวุธร้ายแรงในสถานศึกษา โดยเปรียบเทียบ 3 ปี คือ ปี 2548 2551 และ 2554 พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี
จากการศึกษางานวิจัยของต่างประเทศ และงานวิจัยของสถาบันฯ เอง พบว่า ตัวชี้วัดที่เป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงมาจากหลายปัจจัย อาทิ ตัวเด็กเองขาดต้นแบบที่ดีในชีวิต ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ ครอบครัวไม่มีเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน พอมาโรงเรียน ก็พบความล้มเหลวทางด้านการเรียน ถูกทำร้ายหรือกรรโชกทรัพย์ในโรงเรียน ความสุขในการมาโรงเรียนลดลงไปเรื่อยๆ อยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ใช้ความรุนแรง ชุมชนที่อยู่อาศัยก็มีความรุนแรงในชุมชนบ่อยครั้ง เสพสื่อหรือเกมที่รุนแรง สิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้ทั้งนั้น
ดร.อมรวิชช์ กล่าวว่า ช่วงอายุที่สำคัญมากๆ สำหรับการเติบโตของบุคคล คือ ช่วงเด็กเล็ก วัย 0-5 ปี และช่วงเวลาที่ลูกกำลังเข้าสู่วัยรุ่น การสื่อสารกับลูกในช่วงวัยนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก และควรพยายามทำความรู้จักกับกลุ่มเพื่อนสนิทของลูกด้วย นอกจากนี้พื้นที่ในโรงเรียนก็มีความสำคัญ เราควรยุติกลไกอำนาจนิยมในโรงเรียน ให้เด็กได้มีพื้นที่บอกกล่าวในสิ่งที่เขาสนใจ ให้เขาได้ค้นพบตัวเองตั้งแต่ ม.ต้น การมีระบบแนะแนวเพื่อช่วยเหลือเด็กเป็นสิ่งสำคัญ และระบบการจัดการของโรงเรียนควรจะต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการสอนเด็ก ที่มีความหลากหลายอีกด้วย
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ในการบรรยายเรื่อง "วัยรุ่นไทยก้าวร้าวจริงหรือ?" ในงานประชุมวิชาการจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ครั้งที่ 17 "เด็กไทยกับปัญหาความรุนแรง" ณ โรงแรมปริ๊นซ์ พาเลซ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ ได้เปิดเผยผลสำรวจเด็กไทยกว่า 3,000 คน ในหัวข้อหนึ่งวันในชีวิตเด็กไทย พบว่า เด็กไทยส่วนใหญ่ใช้เวลาในการนอนหลับวันละ 8 ชั่วโมง โดยร้อยละ 35.5 เล่นเฟซบุ๊ค ไลน์ วอทแอป และคุยโทรศัพท์เป็นสิ่งสุดท้ายก่อนนอน และร้อยละ 51.1 เช็คโทรศัพท์เป็นอย่างแรกเมื่อตื่นนอน โดยผู้หญิงติดเครือข่ายทางสังคมออนไลน์เหล่านี้มากกว่าผู้ชาย ดร.อมรวิชช์ กล่าวว่า เด็กไทยใช้เวลาแต่ละวันในการดูโทรทัศน์ 3 ชั่วโมง ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถืออีก 3 ชั่วโมง โดยมือถือจะเป็นทุกอย่างในชีวิตเด็ก จากการสำรวจร้อยละ 42.5 บอกว่า อยู่ไม่ได้โดยไม่มีโทรศัพท์มือถือ โดยเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ร้อยละ 75.7 ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ร้อยละ 20 ใช้มือถือระหว่างอยู่ในห้องเรียน และเด็กที่ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์มักจะไม่ค่อยระวังตัว โดยเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว นำไปสู่การแลกเบอร์และนัดพบ และร้อยละ 28.7 รู้สึกว่าตัวเองเคยถูกคุมคามจากเพื่อนใหม่บนเครือข่ายเหล่านั้น ในเรื่องความรุนแรง ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ กล่าวว่า ความรุนแรงมีอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะในอเมริกาจะมีอยู่มาก ประเทศไทยยังไม่ได้มีถึงขนาดนั้น คนส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงความรุนแรงก็จะนึกถึงเด็กอาชีวะ ทั้งๆ ที่ความรุนแรงในเด็กมัธยมก็มี แต่มักไม่ค่อยเป็นข่าว สื่อมักจะจับจ้องแต่เด็กอาชีวะ แต่ในความเป็นจริงเมื่อลงไปศึกษาจะพบว่า มีความรุนแรงในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเป็นจำนวนมาก จากการเก็บข้อมูลแนวโน้มความรุนแรงในเด็กที่ถูกกรรโชกทรัพย์ ถูกทำร้ายร่างกาย พบเห็นการพกพาอาวุธร้ายแรงในสถานศึกษา โดยเปรียบเทียบ 3 ปี คือ ปี 2548 2551 และ 2554 พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี จากการศึกษางานวิจัยของต่างประเทศ และงานวิจัยของสถาบันฯ เอง พบว่า ตัวชี้วัดที่เป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงมาจากหลายปัจจัย อาทิ ตัวเด็กเองขาดต้นแบบที่ดีในชีวิต ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ ครอบครัวไม่มีเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน พอมาโรงเรียน ก็พบความล้มเหลวทางด้านการเรียน ถูกทำร้ายหรือกรรโชกทรัพย์ในโรงเรียน ความสุขในการมาโรงเรียนลดลงไปเรื่อยๆ อยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ใช้ความรุนแรง ชุมชนที่อยู่อาศัยก็มีความรุนแรงในชุมชนบ่อยครั้ง เสพสื่อหรือเกมที่รุนแรง สิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้ทั้งนั้น ดร.อมรวิชช์ กล่าวว่า ช่วงอายุที่สำคัญมากๆ สำหรับการเติบโตของบุคคล คือ ช่วงเด็กเล็ก วัย 0-5 ปี และช่วงเวลาที่ลูกกำลังเข้าสู่วัยรุ่น การสื่อสารกับลูกในช่วงวัยนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก และควรพยายามทำความรู้จักกับกลุ่มเพื่อนสนิทของลูกด้วย นอกจากนี้พื้นที่ในโรงเรียนก็มีความสำคัญ เราควรยุติกลไกอำนาจนิยมในโรงเรียน ให้เด็กได้มีพื้นที่บอกกล่าวในสิ่งที่เขาสนใจ ให้เขาได้ค้นพบตัวเองตั้งแต่ ม.ต้น การมีระบบแนะแนวเพื่อช่วยเหลือเด็กเป็นสิ่งสำคัญ และระบบการจัดการของโรงเรียนควรจะต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการสอนเด็ก ที่มีความหลากหลายอีกด้วย ขอบคุณ … http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1362300593&grpid=&catid=19&subcatid=1904
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)