หวั่น "พายุยุงลาย" ถล่มหน้าฝน สธ.เล็งชง ครม.สั่งทุกกระทรวงกำจัดลูกน้ำ
สธ.หวั่น "พายุยุงลาย" ถล่มหน้าฝน พ.ค.นี้ หลังพบ 2 เดือนแรกปีนี้ มีผู้ป่วยมากกว่าปีที่แล้วเกือบ 4 เท่า เสียชีวิตแล้ว 12 รายเตรียมชง ครม.สั่งทุกกระทรวงร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ส่งเสริมใช้สมุนไพรที่ยุงเกลียดเผยหากปชช.ทุกพื้นที่ร่วมกันกำจัดจะลดผู้ป่วยลงได้ครึ่งหนึ่ง
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม สธ.ได้มีการพิจารณาปัญหาไข้เลือดออก หลังคณะผู้เชี่ยวชาญและสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค (คร.) ประเมินสถานการณ์ว่าในปีนี้จะรุนแรงกว่าปีที่แล้ว จะมีจำนวนผู้ป่วยสูงถึง 120,000 - 150,000 ราย เสียชีวิตถึง 120-200 ราย โดยประมาณ 15,000 รายจะนอนโรงพยาบาล ทั้งนี้ จากรายงาน จำนวนผู้ป่วยเดือน ม.ค.-ก.พ. 2556 มีถึง 9,824 ราย เฉลี่ยสัปดาห์ละ 800-1,000 ราย สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเกือบ 4 เท่า และมีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคนี้แล้ว 12 ราย ซึ่งร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเป็นนักเรียน
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สาเหตุที่ทำให้โรคไข้เลือดออกระบาดหนักคือ จำนวนยุงลายที่เพิ่มมากขึ้น แนวทางการจัดการคือต้องกำจัดลูกน้ำยุงลายในอาคารบ้านเรือนและโรงเรียนทั่ว ประเทศก่อนที่จะถึงฤดูฝน อย่างไรก็ตาม สธ.เพียงกระทรวงเดียวจะกำจัดได้ประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น ไม่สามารถสกัดกั้นการแพร่ระบาดได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานและประชาชน ด้วยการช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน ซึ่งเป็นวิธีที่ทำง่ายที่สุดและได้ผลดีที่สุด ส่วนการลดป่วยลดการเสียชีวิตคือ รณรงค์ให้ประชาชนป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด โดยจะส่งเสริมการปลูกและใช้สมุนไพรพื้นบ้านที่ยุงลายเกลียด เช่น น้ำมันตะไคร้หอม รณรงค์ให้นอนในมุ้งหรือในห้องที่มีมุ้งลวดทั้งกลางวันและกลางคืน โดยจะเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็วๆนี้เพื่อระดมความร่วมมือจากทุกกระทรวงอย่างจริงจังตั้งแต่เดือนมี.ค.เป็นต้นไป
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า ประชาชน จะต้องร่วมมือกันทำลายลูกน้ำยุงลายทุกพื้นที่ หากช่วยกันกำจัดอย่างต่อเนื่องทุกเดือน คาดว่าเมื่อถึงฤดูกาลระบาดช่วงเดือน พ.ค.เป็นต้นไป ปริมาณยุงลายจะมีไม่มาก และเมื่อดำเนินการทั้งปีคาดว่าจะลดจำนวนคนป่วยลงได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 สำหรับการป้องกันการเสียชีวิตหลังป่วยไข้เลือดออก สธ.ได้จัดเวชภัณฑ์และเตรียมทีมแพทย์ดูแลรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกให้พร้อมทุก โรงพยาบาล สามารถตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยในเด็กและผู้ใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว หรือส่งผู้ป่วยรักษาต่ออย่างปลอดภัย พร้อมเตรียมทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาแพทย์ที่รักษาตลอด 24 ชั่วโมง และให้คำแนะนำกลุ่มเสี่ยงที่อาจป่วยเป็นไข้เลือดออกให้พบแพทย์เร็วขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีไข้สูงลอยติดต่อกัน 2 วันขึ้นไป กินยาลดไข้แล้วไข้ยังไม่ลด หรืออาเจียน รับประทานอาหารและน้ำได้น้อยมีอาการอ่อนเพลียมากให้รีบพบแพทย์
ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดี คร. กล่าวว่า นิสัยการวางไข่ของยุงลาย โดยทั่วไปยุงจะวางไข่ติดที่ผนังด้านในของภาชนะขังน้ำสะอาด อยู่เหนือผิวน้ำประมาณครึ่งเซนติเมตร เมื่อเติมน้ำลงไปในภาชนะจนท่วมไข่ ยุงก็จะฟักเป็นตัวลูกน้ำ ดังนั้นการกำจัดจะต้องล้างขัดภาชนะเพื่อกำจัดไข่ยุงให้หลุดไป ในปีนี้ คร.ได้จัดทำคู่มือกำจัดไข้เลือดออก 5 ล้านฉบับเพื่อแจกประชาชน ขณะนี้มีหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย 5,000 กว่าแห่ง ตั้งเป้าจะสร้างหมู่บ้านปลอดยุงลายอย่างน้อยให้ได้ตำบลละ 1 หมู่บ้าน และขยายให้เต็มทุกพื้นที่ ซึ่งจะเป็นวิธีพิชิตโรคไข้เลือดออกที่ยั่งยืน
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000026454 (ขนาดไฟล์: 164)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กลุ่มลูกน้ำ สธ.หวั่น "พายุยุงลาย" ถล่มหน้าฝน พ.ค.นี้ หลังพบ 2 เดือนแรกปีนี้ มีผู้ป่วยมากกว่าปีที่แล้วเกือบ 4 เท่า เสียชีวิตแล้ว 12 รายเตรียมชง ครม.สั่งทุกกระทรวงร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ส่งเสริมใช้สมุนไพรที่ยุงเกลียดเผยหากปชช.ทุกพื้นที่ร่วมกันกำจัดจะลดผู้ป่วยลงได้ครึ่งหนึ่ง นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม สธ.ได้มีการพิจารณาปัญหาไข้เลือดออก หลังคณะผู้เชี่ยวชาญและสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค (คร.) ประเมินสถานการณ์ว่าในปีนี้จะรุนแรงกว่าปีที่แล้ว จะมีจำนวนผู้ป่วยสูงถึง 120,000 - 150,000 ราย เสียชีวิตถึง 120-200 ราย โดยประมาณ 15,000 รายจะนอนโรงพยาบาล ทั้งนี้ จากรายงาน จำนวนผู้ป่วยเดือน ม.ค.-ก.พ. 2556 มีถึง 9,824 ราย เฉลี่ยสัปดาห์ละ 800-1,000 ราย สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเกือบ 4 เท่า และมีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคนี้แล้ว 12 ราย ซึ่งร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเป็นนักเรียน นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สาเหตุที่ทำให้โรคไข้เลือดออกระบาดหนักคือ จำนวนยุงลายที่เพิ่มมากขึ้น แนวทางการจัดการคือต้องกำจัดลูกน้ำยุงลายในอาคารบ้านเรือนและโรงเรียนทั่ว ประเทศก่อนที่จะถึงฤดูฝน อย่างไรก็ตาม สธ.เพียงกระทรวงเดียวจะกำจัดได้ประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น ไม่สามารถสกัดกั้นการแพร่ระบาดได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานและประชาชน ด้วยการช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน ซึ่งเป็นวิธีที่ทำง่ายที่สุดและได้ผลดีที่สุด ส่วนการลดป่วยลดการเสียชีวิตคือ รณรงค์ให้ประชาชนป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด โดยจะส่งเสริมการปลูกและใช้สมุนไพรพื้นบ้านที่ยุงลายเกลียด เช่น น้ำมันตะไคร้หอม รณรงค์ให้นอนในมุ้งหรือในห้องที่มีมุ้งลวดทั้งกลางวันและกลางคืน โดยจะเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็วๆนี้เพื่อระดมความร่วมมือจากทุกกระทรวงอย่างจริงจังตั้งแต่เดือนมี.ค.เป็นต้นไป นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า ประชาชน จะต้องร่วมมือกันทำลายลูกน้ำยุงลายทุกพื้นที่ หากช่วยกันกำจัดอย่างต่อเนื่องทุกเดือน คาดว่าเมื่อถึงฤดูกาลระบาดช่วงเดือน พ.ค.เป็นต้นไป ปริมาณยุงลายจะมีไม่มาก และเมื่อดำเนินการทั้งปีคาดว่าจะลดจำนวนคนป่วยลงได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 สำหรับการป้องกันการเสียชีวิตหลังป่วยไข้เลือดออก สธ.ได้จัดเวชภัณฑ์และเตรียมทีมแพทย์ดูแลรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกให้พร้อมทุก โรงพยาบาล สามารถตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยในเด็กและผู้ใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว หรือส่งผู้ป่วยรักษาต่ออย่างปลอดภัย พร้อมเตรียมทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาแพทย์ที่รักษาตลอด 24 ชั่วโมง และให้คำแนะนำกลุ่มเสี่ยงที่อาจป่วยเป็นไข้เลือดออกให้พบแพทย์เร็วขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีไข้สูงลอยติดต่อกัน 2 วันขึ้นไป กินยาลดไข้แล้วไข้ยังไม่ลด หรืออาเจียน รับประทานอาหารและน้ำได้น้อยมีอาการอ่อนเพลียมากให้รีบพบแพทย์ ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดี คร. กล่าวว่า นิสัยการวางไข่ของยุงลาย โดยทั่วไปยุงจะวางไข่ติดที่ผนังด้านในของภาชนะขังน้ำสะอาด อยู่เหนือผิวน้ำประมาณครึ่งเซนติเมตร เมื่อเติมน้ำลงไปในภาชนะจนท่วมไข่ ยุงก็จะฟักเป็นตัวลูกน้ำ ดังนั้นการกำจัดจะต้องล้างขัดภาชนะเพื่อกำจัดไข่ยุงให้หลุดไป ในปีนี้ คร.ได้จัดทำคู่มือกำจัดไข้เลือดออก 5 ล้านฉบับเพื่อแจกประชาชน ขณะนี้มีหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย 5,000 กว่าแห่ง ตั้งเป้าจะสร้างหมู่บ้านปลอดยุงลายอย่างน้อยให้ได้ตำบลละ 1 หมู่บ้าน และขยายให้เต็มทุกพื้นที่ ซึ่งจะเป็นวิธีพิชิตโรคไข้เลือดออกที่ยั่งยืน ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000026454
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)