อดนอนร่างกายวิปริต ยีนต่างๆทำงานรวน
นักวิจัยอังกฤษค้นพบว่า การอดหลับอดนอนติดๆกันหลายวัน จะทำให้การทำงานในร่างกายมนุษย์เกิดการแปรปรวนขึ้น ยีนเป็นร้อยๆปฏิบัติหน้าที่กันอย่างระส่ำระสาย
พวกเขาได้เปิดเผยในวารสาร “สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ของสหรัฐฯว่า การนอนไม่พอ ทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม เหตุที่เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วนและสมองทึบ ล้วนแต่เกี่ยวกับการอดนอนทั้งสิ้น นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเซอเรย์ได้ ศึกษากับ กลุ่มคนที่ได้นอนอย่างเต็มอิ่มวันละ 10 ชม. ทั้งอาทิตย์ เปรียบเทียบกับคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้หลับนอนวันละไม่ถึง 6 ชม. โดยตรวจเลือดดูด้วย ได้พบว่ามียีนที่มีหน้าที่สร้างโปรตีนไม่ต่ำกว่า700ตัวถูกกระทบกระเทือนอีกทั้งนาฬิกาชีวภาพในตัวก็พลอยสับสน
ศาสตราจารย์ โคลิน สมิธ หัวหน้านักวิจัย กล่าวว่า การนอนไม่พอ ทำให้การทำงานของยีนหลายประเภทเปลี่ยนแปร โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันโรค และการซ่อมแซมความสึกหรอของร่างกาย เห็นได้ชัดว่า การนอนหลับสนิท เป็นสิ่งจำเป็นกับการซ่อมแซม และคงภาวะการทำงานปกติของร่างกาย ความเสียหายที่ปรากฏ แสดงให้เห็นว่าจะเป็นเหตุให้สุขภาพเสื่อมโทรม.
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/330040 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพวาดการ์ตูน ชายวัยทำงานนั่งแสดงอาการปวดศีรษะ นักวิจัยอังกฤษค้นพบว่า การอดหลับอดนอนติดๆกันหลายวัน จะทำให้การทำงานในร่างกายมนุษย์เกิดการแปรปรวนขึ้น ยีนเป็นร้อยๆปฏิบัติหน้าที่กันอย่างระส่ำระสาย พวกเขาได้เปิดเผยในวารสาร “สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ของสหรัฐฯว่า การนอนไม่พอ ทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม เหตุที่เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วนและสมองทึบ ล้วนแต่เกี่ยวกับการอดนอนทั้งสิ้น นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเซอเรย์ได้ ศึกษากับ กลุ่มคนที่ได้นอนอย่างเต็มอิ่มวันละ 10 ชม. ทั้งอาทิตย์ เปรียบเทียบกับคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้หลับนอนวันละไม่ถึง 6 ชม. โดยตรวจเลือดดูด้วย ได้พบว่ามียีนที่มีหน้าที่สร้างโปรตีนไม่ต่ำกว่า700ตัวถูกกระทบกระเทือนอีกทั้งนาฬิกาชีวภาพในตัวก็พลอยสับสน ศาสตราจารย์ โคลิน สมิธ หัวหน้านักวิจัย กล่าวว่า การนอนไม่พอ ทำให้การทำงานของยีนหลายประเภทเปลี่ยนแปร โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันโรค และการซ่อมแซมความสึกหรอของร่างกาย เห็นได้ชัดว่า การนอนหลับสนิท เป็นสิ่งจำเป็นกับการซ่อมแซม และคงภาวะการทำงานปกติของร่างกาย ความเสียหายที่ปรากฏ แสดงให้เห็นว่าจะเป็นเหตุให้สุขภาพเสื่อมโทรม. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/330040
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)