อีกภาพปีติ ทรงเมตตา นศ.พิการ พระเทพฯเสด็จจากที่ประทับ ทรงมอบใบปริญญาให้ถึงตัวเปิดใจ"จิตรกรหนุ่ม"แขนด้วน
หนุ่มพิการไร้แขน บัณฑิตคณะจิตร กรรม มทร.รัตนโกสินทร์ เผยนาทีมหามงคลปลื้มปีติที่สุดในชีวิต เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จลง จากพระราชอาสน์เพื่อพระราชทานปริญญาบัตรให้ด้วยพระองค์เอง ในพิธีพระราชทานปริญญาเมื่อเดือนเม.ย. 2555 โดยบัณฑิตหนุ่มต้องใช้ไหล่รับแทนมือ นอกจากนั้น ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสอบถามเรื่องงาน จนมีโอกาสประกอบวิชาชีพ "ครูสอนศิลปะ" อยู่ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี ตั้งปณิธานอุทิศตนเพื่อสังคม หาบ้านเปิดสอนศิลปะให้คนทั่วไปโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ควบคู่กับการสอนที่วิทยาลัย
จากภาพข่าวพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโน้มพระวรกายพระ ราชทานใบปริญญาบัตรแก่ น.ส.อภิรดี โปร่งใจ หรือน้องน้อย บัณฑิตพิการจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ขณะน.ส. อภิรดี นั่งอยู่บนวีลแชร์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่นที่ 38 ประจำปี 2556 วันที่ 8 มี.ค. เป็นภาพที่สร้างความปลาบปลื้มปีติซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณแก่ผู้อยู่ร่วมในเหตุการณ์วันนั้น ต่อมาภาพมงคลแห่งความประทับใจดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ลงในเว็บไซต์ยูทูบและส่งต่อทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กอย่างแพร่หลาย พสกนิกรต่างแซ่ซ้องสรรเสริญในพระจริยวัตรและมีประชาชนหลั่งไหลเข้าชื่นชมกดไลก์จำนวนมาก
ขณะเดียวกัน น.ส.อภิรดียังเผยด้วยว่า ในวันรับพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อถึงช่วงอาจารย์อ่านรายชื่อและตนเข้าไปรับ พยายามจะรับให้ได้เหมือนกับคนอื่น แต่เพราะมือสองข้างของตนอ่อนแรงก็ได้ยินสมเด็จพระเทพฯ ตรัสถามด้วยความห่วงใยว่า "จับสองมือได้ไหม" ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเอกชัย วรรณแก้ว หนุ่มพิการไร้แขน บัณฑิตคณะจิตรกรรม วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (มทร.รัตนโกสินทร์) เป็นบัณฑิตอีกคนซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จลงจากพระราชอาสน์ เพื่อพระราชทานปริญญาบัตรให้บัณฑิตด้วยพระองค์เอง ในพิธีพระราชทานปริญญาของ มทร.รัตนโกสินทร์ ประจำปี 2553 เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2555
นายเอกชัยกล่าวเปิดใจถึงความรู้สึกในวันดังกล่าวว่า ตนพิการแขน-ขาตั้งแต่เด็ก แต่อุตสาหะพยายามเรียนจนจบได้รับปริญญาเหมือนเพื่อนคนอื่นๆ วันซ้อมรับปริญญาตนซ้อมแยกต่างหาก เดิมทีข้าราชสำนักจะให้นั่งวีลแชร์รับปริญญา แต่ตนบอกว่าตัวเองเดินได้ และขอใช้ไหล่รับแทนมือ ข้าราชสำนักจึงถ่ายรูปแล้วส่งให้สมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตรว่าบัณฑิตจะรับแบบนี้ กระทั่งวันจริงตนยังคิดว่า จะต้องรออยู่ด้านล่างเวทีเหมือนกับเพื่อนๆ แต่มหาดเล็กและอาจารย์บอกว่า ให้ไปนั่งอยู่ด้านหลังสมเด็จพระเทพฯ และพระองค์ท่านจะพระราชทานปริญญาบัตรให้เป็นคนสุดท้าย
"ตอนนั้นตื่นเต้นมาก ยืนรอตัวเกร็งอยู่ด้านหลัง พออาจารย์ประกาศชื่อ มหาดเล็กให้เดินไปด้านหน้าเวที สมเด็จพระเทพฯ เสด็จลงจากพระราชอาสน์ แย้มพระสรวลเข้ามาหา แล้วใช้พระหัตถ์ทั้ง 2 ข้าง พระราชทานปริญญาบัตรให้ ผมก็ยื่นไหล่รับ จากนั้นพระองค์ตรัสถามว่า เขียนรูปอย่างไร ผมไม่รู้จะตอบอย่างไร เพราะไม่รู้คำราชาศัพท์ มหาดเล็กเลยบอกว่าพูดธรรมดาก็ได้ ก็เลยตอบว่าใช้เท้าเขียนครับ พระองค์ตรัสชื่นชมว่าเก่งมาก เป็นตัวอย่างให้หลายคน เมื่อเสร็จสิ้นพิธีผมก็กลับไปหลังเวที และเมื่อพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินกลับ มหาดเล็กให้ผมไปส่งเสด็จที่รถอีก เมื่อพระองค์เห็นก็กล่าวชื่นชมอีก และตรัสถามว่าอยากทำอะไร อยากเรียนอะไร ผมตอบว่าอยากทำงานก่อน พระองค์ก็ตรัสว่าเดี๋ยวจะดูให้" นายเอกชัย เล่าด้วยความปลาบปลื้ม
นายเอกชัยเผยว่า สัปดาห์ต่อมา มีมหาดเล็กโทรศัพท์บอกให้ไปร่วมประชุม เนื่องจากสมเด็จพระเทพฯ อยากทราบว่าตนอยากทำงานอะไร จึงตอบมหาดเล็กไปว่าอยากสอนศิลปะ จากนั้นพระองค์ให้มาสอนศิลปะที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี ปัจจุบันสอนได้ 4-5 เดือนแล้ว สมเด็จพระเทพฯ ตรัสถามผ่านทางมหาดเล็กตลอดว่า ตนเป็นอย่างไรบ้าง ขาดเหลืออะไรบ้าง และให้ถ่ายรูปตอน สอนไปให้ทอดพระเนตรด้วย ทุกวันนี้รู้สึกดีใจและปลาบปลื้มมากที่สมเด็จพระเทพฯทรงไถ่ถามถึงเรื่อยมา และเมื่อไม่นานมานี้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ เขียนรูปให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติ ยาภา ทั้งสองพระองค์ก็ตรัสชมว่าสวยมาก หลังจากนี้ตั้งเป้าไว้ว่าจะสอนศิลปะไปเรื่อยๆ และอยากหาบ้านสักหลังเปิดสอนศิลปะให้คนทั่วไปโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ควบคู่กับการสอนที่วิทยาลัย
"การที่สมเด็จพระเทพฯ ทรงห่วงใยถามทุกข์สุข ถือเป็นกำลังใจในการทำงานอย่างมาก ในบรรดาพี่น้อง 5 คน มีผมคนเดียวที่ได้รับปริญญาและได้ใกล้ชิดพระองค์ ที่ผ่านมาไม่เคยคิดว่าตัวเองจะมีวันนี้ ก่อนจะมีโอกาสเข้าเรียนต้องอ่านหนังสือมาก เตรียมตัวมากและถูกปฏิเสธมาเยอะ หลายคนบอกว่าให้ไปเรียนอย่างอื่น แต่ก็สู้จนได้เรียนอย่างที่ฝัน กระทั่งได้เรียนแล้วก็ยังมีอุปสรรคมากให้ต้องแก้ไข เผชิญทั้งปัญหาในการเดินทาง การยอมรับจากครูและเพื่อน ขณะที่พ่อแม่ก็เป็นแค่ชาวนา ความรู้น้อย จึงต้องดิ้นรนด้วยตัวเองมาตลอด" นายเอกชัยกล่าว
บัณฑิตสู้ชีวิตยังกล่าวแนะนำถึงเยาวชน ผู้พิการคนอื่นๆ ด้วยว่า "อยากบอกน้องๆ ผู้พิการว่าทุกครั้งที่ผมท้อ หรือหมดกำลังใจ ผมจะบอกตัวเองว่า อย่าเพิ่งคิดว่าตัวเองทำไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้ลงมือทำ หลายคนเป็นคนปกติ แต่พอเจอเรื่องยากก็บอกว่าทำไม่ได้ ผมอยากให้กลับไปถามตัวเองก่อนว่า แล้วคุณทำเต็มที่แล้วหรือยัง"
วันเดียวกัน นางนภา เศรษฐกร เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวถึงการดูแลด้านการศึกษาให้กับกลุ่มคนพิการว่า ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 กำหนดว่าคนพิการต้องได้รับโอกาสทางการศึกษาโดยเรียนฟรีตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงจบมหาวิทยาลัย ซึ่งลักษณะการเรียนอาจเป็นการเรียนร่วมหรือเรียนคู่ขนานแล้วแต่กรณี โดยการเรียนคู่ขนานหมายถึงบางครั้งผู้พิการอาจมีความพิการมาก มีความรุนแรงต้องแยกออกมาเรียนเฉพาะกลุ่มคนพิการ ส่วนการเรียนรวมหมายถึงคนพิการที่เรียนร่วมกับคนปกติ ซึ่งขณะนี้สำนักงานมองว่า การเรียนร่วมกับคนปกติจะช่วยให้คนพิการพัฒนาเร็วขึ้น เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยมีความเข้าใจคนพิการมากขึ้น สามารถช่วยเหลือและเป็นที่พึ่งพาให้คนพิการได้
นางนภาระบุว่า สำนักงานยังทำงานควบคู่กับกระทรวงศึกษาธิการด้วย โดยกระทรวงศึกษาธิการจะออกแบบสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับคนพิการแต่ละประเภท ทั้งนี้ในปัจจุบันกลุ่มคนพิการ และผู้ปกครองรับทราบข้อกำหนดในการช่วยเหลือมากขึ้น เพราะฝากกระทรวงศึกษาธิการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รับรู้ จนมีผู้พิการมาขอรับความช่วยเหลือด้านการศึกษาเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งทำหน้าที่คอยไกล่เกลี่ยเมื่อผู้พิการไม่ได้รับสิทธิทางการศึกษาตามที่ได้กำหนดไว้ด้วย
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นาย เอกชัย วรรณแก้ว หนุ่มพิการเปิดใจนาทีปีติได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ จากที่ประทับ ลงมาพระราชทานปริญญาบัตร มทร.รัตนโกสินทร์ให้ด้วยพระองค์เอง เมื่อปี 2555 หนุ่มพิการไร้แขน บัณฑิตคณะจิตร กรรม มทร.รัตนโกสินทร์ เผยนาทีมหามงคลปลื้มปีติที่สุดในชีวิต เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จลง จากพระราชอาสน์เพื่อพระราชทานปริญญาบัตรให้ด้วยพระองค์เอง ในพิธีพระราชทานปริญญาเมื่อเดือนเม.ย. 2555 โดยบัณฑิตหนุ่มต้องใช้ไหล่รับแทนมือ นอกจากนั้น ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสอบถามเรื่องงาน จนมีโอกาสประกอบวิชาชีพ "ครูสอนศิลปะ" อยู่ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี ตั้งปณิธานอุทิศตนเพื่อสังคม หาบ้านเปิดสอนศิลปะให้คนทั่วไปโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ควบคู่กับการสอนที่วิทยาลัย จากภาพข่าวพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโน้มพระวรกายพระ ราชทานใบปริญญาบัตรแก่ น.ส.อภิรดี โปร่งใจ หรือน้องน้อย บัณฑิตพิการจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ขณะน.ส. อภิรดี นั่งอยู่บนวีลแชร์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่นที่ 38 ประจำปี 2556 วันที่ 8 มี.ค. เป็นภาพที่สร้างความปลาบปลื้มปีติซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณแก่ผู้อยู่ร่วมในเหตุการณ์วันนั้น ต่อมาภาพมงคลแห่งความประทับใจดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ลงในเว็บไซต์ยูทูบและส่งต่อทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กอย่างแพร่หลาย พสกนิกรต่างแซ่ซ้องสรรเสริญในพระจริยวัตรและมีประชาชนหลั่งไหลเข้าชื่นชมกดไลก์จำนวนมาก ขณะเดียวกัน น.ส.อภิรดียังเผยด้วยว่า ในวันรับพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อถึงช่วงอาจารย์อ่านรายชื่อและตนเข้าไปรับ พยายามจะรับให้ได้เหมือนกับคนอื่น แต่เพราะมือสองข้างของตนอ่อนแรงก็ได้ยินสมเด็จพระเทพฯ ตรัสถามด้วยความห่วงใยว่า "จับสองมือได้ไหม" ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเอกชัย วรรณแก้ว หนุ่มพิการไร้แขน บัณฑิตคณะจิตรกรรม วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (มทร.รัตนโกสินทร์) เป็นบัณฑิตอีกคนซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จลงจากพระราชอาสน์ เพื่อพระราชทานปริญญาบัตรให้บัณฑิตด้วยพระองค์เอง ในพิธีพระราชทานปริญญาของ มทร.รัตนโกสินทร์ ประจำปี 2553 เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2555 นายเอกชัยกล่าวเปิดใจถึงความรู้สึกในวันดังกล่าวว่า ตนพิการแขน-ขาตั้งแต่เด็ก แต่อุตสาหะพยายามเรียนจนจบได้รับปริญญาเหมือนเพื่อนคนอื่นๆ วันซ้อมรับปริญญาตนซ้อมแยกต่างหาก เดิมทีข้าราชสำนักจะให้นั่งวีลแชร์รับปริญญา แต่ตนบอกว่าตัวเองเดินได้ และขอใช้ไหล่รับแทนมือ ข้าราชสำนักจึงถ่ายรูปแล้วส่งให้สมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตรว่าบัณฑิตจะรับแบบนี้ กระทั่งวันจริงตนยังคิดว่า จะต้องรออยู่ด้านล่างเวทีเหมือนกับเพื่อนๆ แต่มหาดเล็กและอาจารย์บอกว่า ให้ไปนั่งอยู่ด้านหลังสมเด็จพระเทพฯ และพระองค์ท่านจะพระราชทานปริญญาบัตรให้เป็นคนสุดท้าย "ตอนนั้นตื่นเต้นมาก ยืนรอตัวเกร็งอยู่ด้านหลัง พออาจารย์ประกาศชื่อ มหาดเล็กให้เดินไปด้านหน้าเวที สมเด็จพระเทพฯ เสด็จลงจากพระราชอาสน์ แย้มพระสรวลเข้ามาหา แล้วใช้พระหัตถ์ทั้ง 2 ข้าง พระราชทานปริญญาบัตรให้ ผมก็ยื่นไหล่รับ จากนั้นพระองค์ตรัสถามว่า เขียนรูปอย่างไร ผมไม่รู้จะตอบอย่างไร เพราะไม่รู้คำราชาศัพท์ มหาดเล็กเลยบอกว่าพูดธรรมดาก็ได้ ก็เลยตอบว่าใช้เท้าเขียนครับ พระองค์ตรัสชื่นชมว่าเก่งมาก เป็นตัวอย่างให้หลายคน เมื่อเสร็จสิ้นพิธีผมก็กลับไปหลังเวที และเมื่อพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินกลับ มหาดเล็กให้ผมไปส่งเสด็จที่รถอีก เมื่อพระองค์เห็นก็กล่าวชื่นชมอีก และตรัสถามว่าอยากทำอะไร อยากเรียนอะไร ผมตอบว่าอยากทำงานก่อน พระองค์ก็ตรัสว่าเดี๋ยวจะดูให้" นายเอกชัย เล่าด้วยความปลาบปลื้ม นายเอกชัยเผยว่า สัปดาห์ต่อมา มีมหาดเล็กโทรศัพท์บอกให้ไปร่วมประชุม เนื่องจากสมเด็จพระเทพฯ อยากทราบว่าตนอยากทำงานอะไร จึงตอบมหาดเล็กไปว่าอยากสอนศิลปะ จากนั้นพระองค์ให้มาสอนศิลปะที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี ปัจจุบันสอนได้ 4-5 เดือนแล้ว สมเด็จพระเทพฯ ตรัสถามผ่านทางมหาดเล็กตลอดว่า ตนเป็นอย่างไรบ้าง ขาดเหลืออะไรบ้าง และให้ถ่ายรูปตอน สอนไปให้ทอดพระเนตรด้วย ทุกวันนี้รู้สึกดีใจและปลาบปลื้มมากที่สมเด็จพระเทพฯทรงไถ่ถามถึงเรื่อยมา และเมื่อไม่นานมานี้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ เขียนรูปให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติ ยาภา ทั้งสองพระองค์ก็ตรัสชมว่าสวยมาก หลังจากนี้ตั้งเป้าไว้ว่าจะสอนศิลปะไปเรื่อยๆ และอยากหาบ้านสักหลังเปิดสอนศิลปะให้คนทั่วไปโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ควบคู่กับการสอนที่วิทยาลัย "การที่สมเด็จพระเทพฯ ทรงห่วงใยถามทุกข์สุข ถือเป็นกำลังใจในการทำงานอย่างมาก ในบรรดาพี่น้อง 5 คน มีผมคนเดียวที่ได้รับปริญญาและได้ใกล้ชิดพระองค์ ที่ผ่านมาไม่เคยคิดว่าตัวเองจะมีวันนี้ ก่อนจะมีโอกาสเข้าเรียนต้องอ่านหนังสือมาก เตรียมตัวมากและถูกปฏิเสธมาเยอะ หลายคนบอกว่าให้ไปเรียนอย่างอื่น แต่ก็สู้จนได้เรียนอย่างที่ฝัน กระทั่งได้เรียนแล้วก็ยังมีอุปสรรคมากให้ต้องแก้ไข เผชิญทั้งปัญหาในการเดินทาง การยอมรับจากครูและเพื่อน ขณะที่พ่อแม่ก็เป็นแค่ชาวนา ความรู้น้อย จึงต้องดิ้นรนด้วยตัวเองมาตลอด" นายเอกชัยกล่าว บัณฑิตสู้ชีวิตยังกล่าวแนะนำถึงเยาวชน ผู้พิการคนอื่นๆ ด้วยว่า "อยากบอกน้องๆ ผู้พิการว่าทุกครั้งที่ผมท้อ หรือหมดกำลังใจ ผมจะบอกตัวเองว่า อย่าเพิ่งคิดว่าตัวเองทำไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้ลงมือทำ หลายคนเป็นคนปกติ แต่พอเจอเรื่องยากก็บอกว่าทำไม่ได้ ผมอยากให้กลับไปถามตัวเองก่อนว่า แล้วคุณทำเต็มที่แล้วหรือยัง" วันเดียวกัน นางนภา เศรษฐกร เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวถึงการดูแลด้านการศึกษาให้กับกลุ่มคนพิการว่า ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 กำหนดว่าคนพิการต้องได้รับโอกาสทางการศึกษาโดยเรียนฟรีตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงจบมหาวิทยาลัย ซึ่งลักษณะการเรียนอาจเป็นการเรียนร่วมหรือเรียนคู่ขนานแล้วแต่กรณี โดยการเรียนคู่ขนานหมายถึงบางครั้งผู้พิการอาจมีความพิการมาก มีความรุนแรงต้องแยกออกมาเรียนเฉพาะกลุ่มคนพิการ ส่วนการเรียนรวมหมายถึงคนพิการที่เรียนร่วมกับคนปกติ ซึ่งขณะนี้สำนักงานมองว่า การเรียนร่วมกับคนปกติจะช่วยให้คนพิการพัฒนาเร็วขึ้น เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยมีความเข้าใจคนพิการมากขึ้น สามารถช่วยเหลือและเป็นที่พึ่งพาให้คนพิการได้ นางนภาระบุว่า สำนักงานยังทำงานควบคู่กับกระทรวงศึกษาธิการด้วย โดยกระทรวงศึกษาธิการจะออกแบบสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับคนพิการแต่ละประเภท ทั้งนี้ในปัจจุบันกลุ่มคนพิการ และผู้ปกครองรับทราบข้อกำหนดในการช่วยเหลือมากขึ้น เพราะฝากกระทรวงศึกษาธิการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รับรู้ จนมีผู้พิการมาขอรับความช่วยเหลือด้านการศึกษาเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งทำหน้าที่คอยไกล่เกลี่ยเมื่อผู้พิการไม่ได้รับสิทธิทางการศึกษาตามที่ได้กำหนดไว้ด้วย ขอบคุณ… http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNakV5TURNMU5nPT0=§ionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE15MHdNeTB4TWc9PQ==
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)