‘สรัลชา’ เลขาฯสภาทนาย ดูแล 2 บ้านอบอุ่น ภูมิใจว่าความช่วย ‘สาวพิการ’
เอ่ยถึงสรัลชา ศรีชลวัฒนา เลขาธิการสภาทนายความ เป็นอีกคนที่มีชื่อติดหูในห้วงนี้เหตุเพราะบทบาทในการเป็นโต้โผรักษาสิทธิให้ทนายความ กรณี พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง พ.ศ.2553 ที่บัญญัติให้ทนายความต้องเข้ารับอบรม “ที่ปรึกษากฎหมาย” เพื่อทำหน้าที่ในการดำเนินคดีเยาวชน “ถอดเครื่องแบบ” สัปดาห์นี้เลยขอทำความรู้จักกับผู้บริหารสภาทนายความ ให้ความรู้กับประชาชนตามจังหวัดต่างๆ และเป็นอาจารย์พิเศษสอนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยบูรพา วิชาว่าความ
“แต่พอถึงเวลาพักสมอง จะคลายเครียดด้วยการดูละคร ดูภาพยนตร์ อ่านหนังสือ ฟังเพลง ออกกำลังกายวิ่งจ๊อกกิ้งบ้างเป็นครั้งคราว” ส่วนของสะสม สรัลชาบอกว่า สะสมพระเครื่องบ้าง แต่ไม่เยอะ ที่บูชาขึ้นคออยู่มี 2 องค์ คือพระพุธมณฑลปางประทานพร และพระพรหม
“ที่ผมบูชาพระเครื่อง 2 องค์นี้ขึ้นคอ มีที่มาที่ไปจากการศึกษาตำราบอกว่า คนที่เกิดวันพฤหัสบดีต้องมีพระปางนี้ไว้ปกป้องคุ้มครอง และที่พักติดตัวตลอดเวลาคือรูปของคุณพ่อคุณแม่ที่เราเคารพนับถือ นอกจากนี้ ของสะสมอีกอย่างคือ แสตมป์ แต่ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาจึง/ไม่ค่อยได้สะสมเพิ่มเติม” ถามถึงเรื่องครอบครัวสรัลชาเป็นอีกคนที่มีเซอร์ไพรส์ชนิดคาดไม่ถึง เจ้าตัวบอกอย่างภูมิใจว่ามี 2 ครอบครัว “ผมเป็นคนโชคดี มี 2 ครอบครัว และใช้ชีวิตอย่างนี้มานาน 30 ปี มีภรรยา 2 คน ลูก 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน ครอบครัวหนึ่งอยู่ที่กรุงเทพฯมีลูกชาย 1 คน หญิง 1 คน อีกครอบครัวอยู่ที่ จ.ชลบุรี มีลูกชาย 1 คน ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องแบ่งเวลาให้ครอบครัวละกี่วัน แต่ทั้งสองครอบครัวมีความสุขเดี๋ยวนี้ลูกๆโตกันหมดแล้ว อายุเกิน 30 ปีกันหมดแล้ว”สรัลชาเล่าปนยิ้ม
ส่วนเคล็ดลับการปกครองและเลี้ยงดูลูกๆ 2 บ้าน สรัลชาบอกว่า “จะให้ความยุติธรรมกับครอบครัวและลูกๆ ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ใครบอกว่ามีภรรยาหลายคนจะมีปัญหา ผมว่าไม่จริงคนที่มีภรรยาคนเดียวก็มีปัญหาหลายคู่”
“ผมไม่เคยใช้ไม้เรียวตีลูกๆ สุภาษิตโบราณที่ว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ผมว่ามันหมดสมัย ต้องใช้วิธีพูดจากันดูเหตุผล สิ่งใดถูกสิ่งใดผิด เด็กจะมีพัฒนาการที่ดี จิตใจแจ่มใส ลุกๆผมมีสุขภาพจิตดี เรียนเก่งทุกคน ไม่มีใครน้อยใจใคร ผมให้การศึกษาที่ดีกับลุก มีหน้าที่เรียนอย่างเดียวให้ดีที่สุดลูกอยู่กรุงเทพฯ 2 คน จบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกียรตินิยมทั้งคู่ ส่วนลูกที่อยู่ จ.ชลบุรี จบปริญญาตรี 2 ใบ ทั้งวิศวกรรมศาสตร์และนิติศาสตร์ ปัจจุบันเป็นทนายความ ทุกคนมีหน้าที่การงานที่ดี”
สรัลชายอมรับว่าสมัยเริ่มทำงานต้องเหนื่อยหน่อยเพราะมี 2 ครอบครัว ต้องวิ่งว่าความทั่วราชอาณาจักร เคยมีคดีเสี่ยงต่อการถูกอิทธิพลมืดคุกคามก็เยอะ แต่ก็ไม่กลัว เพราะต้องหาเงินส่งเสียเลี้ยงดูครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นคดีคนในพื้นที่ไม่รับทำเพราะกลังอิทธิพล
“แต่คดีที่ผมไม่รับว่าความ และประกาศไว้ตั้งแต่ตอนเปิดสำนักงานสรัลชาทนายความและการบัญชี ที่ จ.ชลบุรี คือ คดียาเสพติดเพราะบั่นทอนทำลายความมั่นคงของประเทศชาติ ทำให้ลูกหลายเสียอนาคต ผมบอกลุกน้องเลยว่าถ้าใครรับคดียาเสพติดให้ไปเปิดสำนักงานเอาเอง นอกเสียจากว่าจำเลยถูกเจ้าหน้าที่ยัดยาเสพติด หรือเป็นคดีที่ศาลของแรง” สรัลชาเผยถึงปณิธาน
ส่วนคดีที่รู้สึกภาคภูมิใจและประทับใจมากที่สุดสรัลชาเผยว่า ไม่ใช่คดีดังใหญ่โตหรือมีทุนทรัพย์มากมายมหาศาล แต่เป็นคดีที่สามารถช่วยให้หญิงสาวพิการขาขาดต้องนั่งวีลแชร์ชนะคดีที่ถูกชายฉ้อโกงเงินและได้เงินคืนกว่า 20 ปีที่ผ่านมา
“คดีนี้ไม่ว่าสาวพิการจะไปข้อร้องให้ทนายความไหนช่วยว่าความให้ ก็ไม่มีใครรับ เพราะเห็นว่าเป็นคนพิการไม่มีเงิน อีกทั้งไม่มีสัญญากู้ยืมเป็นหลักฐาน เมื่อผมรู้จึงรับว่าความให้ เรื่องมีอยู่ว่าหญิงพิการคนนี้ไปหลงรักผู้ชายคนหนึ่ง ผู้ชายทำทีว่าชอบแล้วก็หลอกขอกู้เงินผู้หญิง 40,000-50,000 บาท โดยไม่ได้ทำสัญญาเงินกู้เป็นหลักฐาน แล้วก็หนีหายไปไม่ยอมจ่ายเงินคืน
“ครั้งนี้ผมคิดวิธีหาหลักฐานอยู่นานก็ยังไม่ได้จนสุดท้ายให้หญิงสาวเขียนจดหมายไปหาผู้ชายขอให้จ่ายเงินที่ติดค้างไว้ กระทั้งผู้ชายตอบจดหายกลับมาพร้อมลงชื่อในจดหมาย ผมจึงใช้จดหมายที่มีลายเซ็นผู้ชายเป็นหนังสือหลักฐานนำไปฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดชลบุรี และศาลพิพากษาให้ชนะคดีสามารถยึดทรัพย์สินนำมาชำระหนี้ให้สาวพิการได้เหตุที่ภูมิใจเพราะเหมือนได้ทำบุญที่ช่วยสาวพิการคนนี้ได้ โดยผมไม่ได้คิดเงินแม้แต่บาทเดียวรู้สึกภูมิใจมากกว่าชนะคดีทุนทรัพย์ 40-50 ล้านบาทเสียอีก” สรัลชา เล่าอย่างภาคภูมิใจ
ก่อนจบบทสนทนา สรัลชาฝากบอกเพื่อนทนายความว่า อาชีพทนายความเป็นวิชาชีพที่มีศักดิ์ศรี มีเกียรติภูมิ เหมือนอาชีพหมอที่รักษาคนไข้เราเป็นหมอความช่วยแก้ไขปัญหาความทุกข์ทางกฎหมายให้ “อยากให้ทนายความรุ่นใหม่มีจิตวิญญาณจิตอาสา คุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพเพื่อให้ผู้คนยกย่องวิชาชีพนี้ ไม่ใช่ยกย่องตัวเอง ผมพยายามบอกผู้มาอบรมจริยธรรมก่อนเป็นทนายความให้นึกถึงผู้ร่วมอาชีพ สร้างชื่อให้วิชาชีพ อย่าเห็นเงินสำคัญกว่าความถูกต้อง” สรัลชาทิ้งท้าย : สมสกุล ไซรลบ
อ่านประวัติ สรัลชา ศรีชลวัฒนา เลขาธิการสภาทนายความ โดยย่อ คลิก http://www.lawyerscouncil.or.th/boss/bosssaran.pdf
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เอ่ยถึงสรัลชา ศรีชลวัฒนา เลขาธิการสภาทนายความ เป็นอีกคนที่มีชื่อติดหูในห้วงนี้เหตุเพราะบทบาทในการเป็นโต้โผรักษาสิทธิให้ทนายความ กรณี พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง พ.ศ.2553 ที่บัญญัติให้ทนายความต้องเข้ารับอบรม “ที่ปรึกษากฎหมาย” เพื่อทำหน้าที่ในการดำเนินคดีเยาวชน “ถอดเครื่องแบบ” สัปดาห์นี้เลยขอทำความรู้จักกับผู้บริหารสภาทนายความ ให้ความรู้กับประชาชนตามจังหวัดต่างๆ และเป็นอาจารย์พิเศษสอนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยบูรพา วิชาว่าความ “แต่พอถึงเวลาพักสมอง จะคลายเครียดด้วยการดูละคร ดูภาพยนตร์ อ่านหนังสือ ฟังเพลง ออกกำลังกายวิ่งจ๊อกกิ้งบ้างเป็นครั้งคราว” ส่วนของสะสม สรัลชาบอกว่า สะสมพระเครื่องบ้าง แต่ไม่เยอะ ที่บูชาขึ้นคออยู่มี 2 องค์ คือพระพุธมณฑลปางประทานพร และพระพรหม “ที่ผมบูชาพระเครื่อง 2 องค์นี้ขึ้นคอ มีที่มาที่ไปจากการศึกษาตำราบอกว่า คนที่เกิดวันพฤหัสบดีต้องมีพระปางนี้ไว้ปกป้องคุ้มครอง และที่พักติดตัวตลอดเวลาคือรูปของคุณพ่อคุณแม่ที่เราเคารพนับถือ นอกจากนี้ ของสะสมอีกอย่างคือ แสตมป์ แต่ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาจึง/ไม่ค่อยได้สะสมเพิ่มเติม” ถามถึงเรื่องครอบครัวสรัลชาเป็นอีกคนที่มีเซอร์ไพรส์ชนิดคาดไม่ถึง เจ้าตัวบอกอย่างภูมิใจว่ามี 2 ครอบครัว “ผมเป็นคนโชคดี มี 2 ครอบครัว และใช้ชีวิตอย่างนี้มานาน 30 ปี มีภรรยา 2 คน ลูก 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน ครอบครัวหนึ่งอยู่ที่กรุงเทพฯมีลูกชาย 1 คน หญิง 1 คน อีกครอบครัวอยู่ที่ จ.ชลบุรี มีลูกชาย 1 คน ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องแบ่งเวลาให้ครอบครัวละกี่วัน แต่ทั้งสองครอบครัวมีความสุขเดี๋ยวนี้ลูกๆโตกันหมดแล้ว อายุเกิน 30 ปีกันหมดแล้ว”สรัลชาเล่าปนยิ้ม ส่วนเคล็ดลับการปกครองและเลี้ยงดูลูกๆ 2 บ้าน สรัลชาบอกว่า “จะให้ความยุติธรรมกับครอบครัวและลูกๆ ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ใครบอกว่ามีภรรยาหลายคนจะมีปัญหา ผมว่าไม่จริงคนที่มีภรรยาคนเดียวก็มีปัญหาหลายคู่” “ผมไม่เคยใช้ไม้เรียวตีลูกๆ สุภาษิตโบราณที่ว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ผมว่ามันหมดสมัย ต้องใช้วิธีพูดจากันดูเหตุผล สิ่งใดถูกสิ่งใดผิด เด็กจะมีพัฒนาการที่ดี จิตใจแจ่มใส ลุกๆผมมีสุขภาพจิตดี เรียนเก่งทุกคน ไม่มีใครน้อยใจใคร ผมให้การศึกษาที่ดีกับลุก มีหน้าที่เรียนอย่างเดียวให้ดีที่สุดลูกอยู่กรุงเทพฯ 2 คน จบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกียรตินิยมทั้งคู่ ส่วนลูกที่อยู่ จ.ชลบุรี จบปริญญาตรี 2 ใบ ทั้งวิศวกรรมศาสตร์และนิติศาสตร์ ปัจจุบันเป็นทนายความ ทุกคนมีหน้าที่การงานที่ดี” สรัลชายอมรับว่าสมัยเริ่มทำงานต้องเหนื่อยหน่อยเพราะมี 2 ครอบครัว ต้องวิ่งว่าความทั่วราชอาณาจักร เคยมีคดีเสี่ยงต่อการถูกอิทธิพลมืดคุกคามก็เยอะ แต่ก็ไม่กลัว เพราะต้องหาเงินส่งเสียเลี้ยงดูครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นคดีคนในพื้นที่ไม่รับทำเพราะกลังอิทธิพล “แต่คดีที่ผมไม่รับว่าความ และประกาศไว้ตั้งแต่ตอนเปิดสำนักงานสรัลชาทนายความและการบัญชี ที่ จ.ชลบุรี คือ คดียาเสพติดเพราะบั่นทอนทำลายความมั่นคงของประเทศชาติ ทำให้ลูกหลายเสียอนาคต ผมบอกลุกน้องเลยว่าถ้าใครรับคดียาเสพติดให้ไปเปิดสำนักงานเอาเอง นอกเสียจากว่าจำเลยถูกเจ้าหน้าที่ยัดยาเสพติด หรือเป็นคดีที่ศาลของแรง” สรัลชาเผยถึงปณิธาน ส่วนคดีที่รู้สึกภาคภูมิใจและประทับใจมากที่สุดสรัลชาเผยว่า ไม่ใช่คดีดังใหญ่โตหรือมีทุนทรัพย์มากมายมหาศาล แต่เป็นคดีที่สามารถช่วยให้หญิงสาวพิการขาขาดต้องนั่งวีลแชร์ชนะคดีที่ถูกชายฉ้อโกงเงินและได้เงินคืนกว่า 20 ปีที่ผ่านมา “คดีนี้ไม่ว่าสาวพิการจะไปข้อร้องให้ทนายความไหนช่วยว่าความให้ ก็ไม่มีใครรับ เพราะเห็นว่าเป็นคนพิการไม่มีเงิน อีกทั้งไม่มีสัญญากู้ยืมเป็นหลักฐาน เมื่อผมรู้จึงรับว่าความให้ เรื่องมีอยู่ว่าหญิงพิการคนนี้ไปหลงรักผู้ชายคนหนึ่ง ผู้ชายทำทีว่าชอบแล้วก็หลอกขอกู้เงินผู้หญิง 40,000-50,000 บาท โดยไม่ได้ทำสัญญาเงินกู้เป็นหลักฐาน แล้วก็หนีหายไปไม่ยอมจ่ายเงินคืน “ครั้งนี้ผมคิดวิธีหาหลักฐานอยู่นานก็ยังไม่ได้จนสุดท้ายให้หญิงสาวเขียนจดหมายไปหาผู้ชายขอให้จ่ายเงินที่ติดค้างไว้ กระทั้งผู้ชายตอบจดหายกลับมาพร้อมลงชื่อในจดหมาย ผมจึงใช้จดหมายที่มีลายเซ็นผู้ชายเป็นหนังสือหลักฐานนำไปฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดชลบุรี และศาลพิพากษาให้ชนะคดีสามารถยึดทรัพย์สินนำมาชำระหนี้ให้สาวพิการได้เหตุที่ภูมิใจเพราะเหมือนได้ทำบุญที่ช่วยสาวพิการคนนี้ได้ โดยผมไม่ได้คิดเงินแม้แต่บาทเดียวรู้สึกภูมิใจมากกว่าชนะคดีทุนทรัพย์ 40-50 ล้านบาทเสียอีก” สรัลชา เล่าอย่างภาคภูมิใจ ก่อนจบบทสนทนา สรัลชาฝากบอกเพื่อนทนายความว่า อาชีพทนายความเป็นวิชาชีพที่มีศักดิ์ศรี มีเกียรติภูมิ เหมือนอาชีพหมอที่รักษาคนไข้เราเป็นหมอความช่วยแก้ไขปัญหาความทุกข์ทางกฎหมายให้ “อยากให้ทนายความรุ่นใหม่มีจิตวิญญาณจิตอาสา คุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพเพื่อให้ผู้คนยกย่องวิชาชีพนี้ ไม่ใช่ยกย่องตัวเอง ผมพยายามบอกผู้มาอบรมจริยธรรมก่อนเป็นทนายความให้นึกถึงผู้ร่วมอาชีพ สร้างชื่อให้วิชาชีพ อย่าเห็นเงินสำคัญกว่าความถูกต้อง” สรัลชาทิ้งท้าย : สมสกุล ไซรลบ อ่านประวัติ สรัลชา ศรีชลวัฒนา เลขาธิการสภาทนายความ โดยย่อ คลิก http://www.lawyerscouncil.or.th/boss/bosssaran.pdf
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)