ลูกคนกลาง...มักเป็นเด็กมีปัญหาพฤติกรรม
ลูกคนกลางที่เรียกว่า " Wednesday Child "นั้นมักจะเป็นเด็กที่มีปัญหา มีพฤติกรรมแปลกกว่าพี่น้องคนอื่น ๆ มากมายเพื่อเรียกร้องความรักจากพ่อแม่จริงหรือ ลำดับการเกิด “ไม่ใช่”สิ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อบุคลิกภาพต่างๆ แต่อาจมีความโน้มเอียงในบางอย่าง ส่งผลให้ลูกคนกลางบางคนอาจมีนิสัยชอบแข่งขันอิจฉาพี่น้อง จากการเลี้ยงดูที่ถูกละเลย เพราะลูกคนโตมักได้รับความสนใจในฐานะเป็นลูกคนแรก ส่วนลูกคนเล็กได้รับความทะนุถนอมเพราะเป็นคนสุดท้อง ลูกคนกลางจึงต้องเรียกร้องความสนใจเพื่อให้ได้ความรักจากพ่อแม่เช่นลูกคนอื่น ลูกคนกลางบางคนอาจมีลักษณะขาดความมั่นใจในตนเอง จากความรู้สึกไม่มั่นใจในความรักที่พ่อแม่มีต่อตนเอง แต่ลูกคนกลางบางคนอาจมีลักษณะปรับตัวเข้ากับคนง่าย เรียนรู้ที่จะประนีประนอม เพราะในชีวิตประจำวันต้องปรับตัวเข้ากับพี่น้อง เรียนรู้การให้และรับอยู่ตลอดเวลา ไม่เหมือนพี่คนโตที่อาจต้องให้อย่างเดียว หรือน้องเล็กที่คอยรับอย่างเดียว
ดีได้ไม่แตกต่าง - พญ.วรรณพักตร์ วิวัฒนวงศา กุมารแพทย์ สาขา จิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเวชธานี บอกว่า ลำดับการเกิดมีผลต่อความรู้สึกของลูกคนกลาง เพราะพ่อแม่ส่วนใหญ่มัก “ไม่มี”เวลาในการดูแลเขามากเท่ากับพี่คนโตกับน้องคนเล็ก โดยที่พ่อแม่ไม่ได้ตั้งใจ ในมุมของลูกคนกลางจึงรู้สึกว่า ตนเองอยู่นอกสายของพ่อแม่ ทำให้เกิดความรู้สึกไม่เท่าเทียม น้อยใจว่าไม่ได้รับความรักจากพ่อแม่
ดังนั้น พ่อแม่ควรเตรียมเลี้ยงลูกคนกลาง ด้วยการหมั่นดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด คอยเช็คความรู้สึกของลูกว่าพ่อแม่ลำเอียงหรือเปล่า โดยคอยสังเกต พฤติกรรมคำพูดว่า เขารู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจพ่อแม่ที่ให้ความสำคัญกับคนโตและคนเล็กมากไปหรือเปล่า ถ้าเขากำลังรู้สึกน้อยใจอยู่พ่อแม่ควรจะพูดคุยชี้แจงกับเขาเพื่อปรับความเข้าใจว่า พ่อแม่ให้ความสำคัญกับลูกเท่ากันทุกคน ขณะเดียวกันพ่อแม่ก็ต้องหมั่นสังเกตอากัปกริยาของลูกเพื่อประเมิน และปรับปรุงการปฏิบัติของตนเองให้เหมาะสม
“ควรแบ่งเวลาทำกิจกรรมกับลูกคนกลางมากขึ้น เพราะลูกทุกคนต้องการมีเวลาเป็นส่วนตัวกับพ่อแม่ กุมารแพทย์ อธิบายว่า บางครั้งลูกคนกลางอาจมีพฤติกรรมที่แตกต่างจากลูกคนอื่นๆ เช่น ไม่ค่อยเชื่อฟังพ่อแม่ ชอบทำตัวแปลกๆ ไม่ถือเป็นเรื่องผิดปกติ ฉะนั้น อย่าพูดเปรียบเทียบ เพราะจะสร้างความไม่เชื่อมั่นและกัดกร่อนจิตใจว่า พี่กับน้องจะมาแย่งชิงความรัก ทำให้เด็กจะสะสมความเกลียดชัง ไม่รักพี่น้องไปจนโต
สำคัญที่การเลี้ยงดู - วิธีช่วยกู้ความรู้สึกของลูกคนกลางกลับคืนมาและทำให้ลูกรับรู้ว่า เขาก็เป็นที่รักของพ่อแม่ ด้วยการสร้างบรรยากาศ มีกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เขารู้สึกว่า ทุกคนในบ้านรักเขา ขณะเดียวกัน พ่อแม่ควรเปลี่ยนความตั้งใจจากรักลูกให้เท่ากันและเหมือนกันเนื่องจากทำได้ยาก มารักลูกทุกคนเท่ากัน แต่ไม่เหมือนกันตามที่ลูกเป็นลูกเพราะแต่ละคนมีนิสัยและบุคลิกต่างกัน เปิดใจให้กว้าง หาจุดดีของเขาแล้วมองลูกแต่ละคนตรงความเป็นตัวของเขาเอง รักความเป็นตัวเขา แม้ลูกจะต่างกันเราก็รักเขาได้ทุกคน ที่สำคัญอย่าใช้ความรักมาเป็นเครื่องต่อรองการทำความดีของลูก หากลูกคนไหนทำความผิด ก็ควรจัดการตำหนิติเตียนที่ตัวเขาโดยตรง ไม่เอาไปโยงกับลูกคนอื่นด้วยการแสดงว่า พ่อหรือแม่หันไปเอาใจลูกคนอื่นแทน ทำให้ลูกสะสมความโกรธ เกลียด อิจฉา และไปลงที่พี่หรือน้อง กรณีพี่น้องทะเลาะกัน พ่อแม่ควรวางแผนและวางกฎเกณฑ์ในบ้านโดยมีหลักการว่าต้องไม่ละเมิดสิทธิ์กัน ไม่ว่าจะเป็นการแย่งของเล่น หรือลงไม้ลงมือ ทำให้อีกฝ่ายเจ็บตัว คนที่ลงมือก่อนไม่ว่าจะเป็นพี่หรือเป็นน้องก็ตาม ถือว่าเป็นคนผิดสมควรที่จะได้รับการลงโทษหนักกว่า ถ้าตีกันควรโดนทำโทษทั้งคู่ ทำให้เขารู้สึกว่าพ่อแม่ยุติธรรมและ ได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน
สำหรับบทลงโทษ กุมารแพทย์ ไม่แนะนำให้ลงโทษด้วยการตี แต่แนะนำว่าเมื่อลูกมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่ควรแยกเขาออกมา ให้เขาเล่นตรงนั้นต่อไม่ได้ เพื่อสอนลูกว่าถ้าเขามีพฤติกรรมไม่เหมาะสมสังคมก็จะไม่ยอมรับแล้วให้เขาไปนั่งสงบสติอารมณ์อยู่สักพักจะทำให้เขาสงบลงได้ หากทำอย่างสม่ำเสมอพฤติกรรมเหล่านี้จะค่อยๆ ลดน้อยลง สิ่งสำคัญที่สุดคือการเลี้ยงดู พ่อแม่ควรแสดงความรักต่อลูกทุกคนเท่าเทียมกันตลอดจนส่งเสริมจุดเด่น และความเชื่อมั่นในตนเองของลูกอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ลูกคนกลางก็จะไม่กลายเป็นเด็กที่มีปัญหา แต่กลับเป็นเด็กที่มีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิตได้...โดย : บุษกร ภู่แส
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คุณพ่อกำลังเลี้ยงลูกๆ ลูกคนกลางที่เรียกว่า " Wednesday Child "นั้นมักจะเป็นเด็กที่มีปัญหา มีพฤติกรรมแปลกกว่าพี่น้องคนอื่น ๆ มากมายเพื่อเรียกร้องความรักจากพ่อแม่จริงหรือ ลำดับการเกิด “ไม่ใช่”สิ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อบุคลิกภาพต่างๆ แต่อาจมีความโน้มเอียงในบางอย่าง ส่งผลให้ลูกคนกลางบางคนอาจมีนิสัยชอบแข่งขันอิจฉาพี่น้อง จากการเลี้ยงดูที่ถูกละเลย เพราะลูกคนโตมักได้รับความสนใจในฐานะเป็นลูกคนแรก ส่วนลูกคนเล็กได้รับความทะนุถนอมเพราะเป็นคนสุดท้อง ลูกคนกลางจึงต้องเรียกร้องความสนใจเพื่อให้ได้ความรักจากพ่อแม่เช่นลูกคนอื่น ลูกคนกลางบางคนอาจมีลักษณะขาดความมั่นใจในตนเอง จากความรู้สึกไม่มั่นใจในความรักที่พ่อแม่มีต่อตนเอง แต่ลูกคนกลางบางคนอาจมีลักษณะปรับตัวเข้ากับคนง่าย เรียนรู้ที่จะประนีประนอม เพราะในชีวิตประจำวันต้องปรับตัวเข้ากับพี่น้อง เรียนรู้การให้และรับอยู่ตลอดเวลา ไม่เหมือนพี่คนโตที่อาจต้องให้อย่างเดียว หรือน้องเล็กที่คอยรับอย่างเดียว ดีได้ไม่แตกต่าง - พญ.วรรณพักตร์ วิวัฒนวงศา กุมารแพทย์ สาขา จิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเวชธานี บอกว่า ลำดับการเกิดมีผลต่อความรู้สึกของลูกคนกลาง เพราะพ่อแม่ส่วนใหญ่มัก “ไม่มี”เวลาในการดูแลเขามากเท่ากับพี่คนโตกับน้องคนเล็ก โดยที่พ่อแม่ไม่ได้ตั้งใจ ในมุมของลูกคนกลางจึงรู้สึกว่า ตนเองอยู่นอกสายของพ่อแม่ ทำให้เกิดความรู้สึกไม่เท่าเทียม น้อยใจว่าไม่ได้รับความรักจากพ่อแม่ ดังนั้น พ่อแม่ควรเตรียมเลี้ยงลูกคนกลาง ด้วยการหมั่นดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด คอยเช็คความรู้สึกของลูกว่าพ่อแม่ลำเอียงหรือเปล่า โดยคอยสังเกต พฤติกรรมคำพูดว่า เขารู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจพ่อแม่ที่ให้ความสำคัญกับคนโตและคนเล็กมากไปหรือเปล่า ถ้าเขากำลังรู้สึกน้อยใจอยู่พ่อแม่ควรจะพูดคุยชี้แจงกับเขาเพื่อปรับความเข้าใจว่า พ่อแม่ให้ความสำคัญกับลูกเท่ากันทุกคน ขณะเดียวกันพ่อแม่ก็ต้องหมั่นสังเกตอากัปกริยาของลูกเพื่อประเมิน และปรับปรุงการปฏิบัติของตนเองให้เหมาะสม “ควรแบ่งเวลาทำกิจกรรมกับลูกคนกลางมากขึ้น เพราะลูกทุกคนต้องการมีเวลาเป็นส่วนตัวกับพ่อแม่ กุมารแพทย์ อธิบายว่า บางครั้งลูกคนกลางอาจมีพฤติกรรมที่แตกต่างจากลูกคนอื่นๆ เช่น ไม่ค่อยเชื่อฟังพ่อแม่ ชอบทำตัวแปลกๆ ไม่ถือเป็นเรื่องผิดปกติ ฉะนั้น อย่าพูดเปรียบเทียบ เพราะจะสร้างความไม่เชื่อมั่นและกัดกร่อนจิตใจว่า พี่กับน้องจะมาแย่งชิงความรัก ทำให้เด็กจะสะสมความเกลียดชัง ไม่รักพี่น้องไปจนโต สำคัญที่การเลี้ยงดู - วิธีช่วยกู้ความรู้สึกของลูกคนกลางกลับคืนมาและทำให้ลูกรับรู้ว่า เขาก็เป็นที่รักของพ่อแม่ ด้วยการสร้างบรรยากาศ มีกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เขารู้สึกว่า ทุกคนในบ้านรักเขา ขณะเดียวกัน พ่อแม่ควรเปลี่ยนความตั้งใจจากรักลูกให้เท่ากันและเหมือนกันเนื่องจากทำได้ยาก มารักลูกทุกคนเท่ากัน แต่ไม่เหมือนกันตามที่ลูกเป็นลูกเพราะแต่ละคนมีนิสัยและบุคลิกต่างกัน เปิดใจให้กว้าง หาจุดดีของเขาแล้วมองลูกแต่ละคนตรงความเป็นตัวของเขาเอง รักความเป็นตัวเขา แม้ลูกจะต่างกันเราก็รักเขาได้ทุกคน ที่สำคัญอย่าใช้ความรักมาเป็นเครื่องต่อรองการทำความดีของลูก หากลูกคนไหนทำความผิด ก็ควรจัดการตำหนิติเตียนที่ตัวเขาโดยตรง ไม่เอาไปโยงกับลูกคนอื่นด้วยการแสดงว่า พ่อหรือแม่หันไปเอาใจลูกคนอื่นแทน ทำให้ลูกสะสมความโกรธ เกลียด อิจฉา และไปลงที่พี่หรือน้อง กรณีพี่น้องทะเลาะกัน พ่อแม่ควรวางแผนและวางกฎเกณฑ์ในบ้านโดยมีหลักการว่าต้องไม่ละเมิดสิทธิ์กัน ไม่ว่าจะเป็นการแย่งของเล่น หรือลงไม้ลงมือ ทำให้อีกฝ่ายเจ็บตัว คนที่ลงมือก่อนไม่ว่าจะเป็นพี่หรือเป็นน้องก็ตาม ถือว่าเป็นคนผิดสมควรที่จะได้รับการลงโทษหนักกว่า ถ้าตีกันควรโดนทำโทษทั้งคู่ ทำให้เขารู้สึกว่าพ่อแม่ยุติธรรมและ ได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน สำหรับบทลงโทษ กุมารแพทย์ ไม่แนะนำให้ลงโทษด้วยการตี แต่แนะนำว่าเมื่อลูกมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่ควรแยกเขาออกมา ให้เขาเล่นตรงนั้นต่อไม่ได้ เพื่อสอนลูกว่าถ้าเขามีพฤติกรรมไม่เหมาะสมสังคมก็จะไม่ยอมรับแล้วให้เขาไปนั่งสงบสติอารมณ์อยู่สักพักจะทำให้เขาสงบลงได้ หากทำอย่างสม่ำเสมอพฤติกรรมเหล่านี้จะค่อยๆ ลดน้อยลง สิ่งสำคัญที่สุดคือการเลี้ยงดู พ่อแม่ควรแสดงความรักต่อลูกทุกคนเท่าเทียมกันตลอดจนส่งเสริมจุดเด่น และความเชื่อมั่นในตนเองของลูกอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ลูกคนกลางก็จะไม่กลายเป็นเด็กที่มีปัญหา แต่กลับเป็นเด็กที่มีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิตได้...โดย : บุษกร ภู่แส ขอบคุณ ... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/health/20130321/494605/ลูกคนกลาง.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)