เทคโนโลยี “เลเซอร์” เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

แสดงความคิดเห็น

การเข้าปฏิสนธิของสเปิร์ม

โดย...นพ.วรวัฒน์ ศิริปุณย์ สูตินรีแพทย์ เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชโรงพยาบาลเวชธานีลาดพร้าว111

ปัญหามีบุตรยาก ไม่ได้มีสาเหตุมาจากความไม่สมบูรณ์ของเชื้ออสุจิ หรือไข่ เพียงเท่านั้น แต่อาจเกิดขึ้นหลังการปฏิสนธิ แล้วตัวอ่อนไม่สามารถฟักตัวออกจากเปลือกไข่ได้ นับเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคสำคัญ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์ที่มักพบได้บ่อยเช่นกัน

ทำไมต้องช่วยฟักตัวอ่อน ตัวอ่อนที่ปฏิสนธิภายนอกร่างกายด้วยวิธีการอิกซี ในบางครั้งพบว่าตัวเปลือกมีความผิดปกติ หรือมีความหนาของเปลือกไข่มากกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถฟัก หรือออกมาจากเปลือกไข่ได้ ส่งผลให้ตัวอ่อนเสียชีวิตอยู่ภายในเปลือกไข่ เช่นเดียวกับลูกเจี๊ยบที่ไม่สามารถเจาะออกจากเปลือกไข่ ทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดลง เพราะตัวอ่อนไม่สามารถออกมาฝังตัว แต่หากเราช่วยให้เปลือกไข่บางลง หรือทำให้เกิดรู จะทำให้ตัวอ่อนออกจากเปลือกได้ง่ายขึ้น และมีโอกาสฝังตัวในโพรงมดลูกมากขึ้นสามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้

นพ.วรวัฒน์ ศิริปุณย์ สูตินรีแพทย์ เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชโรงพยาบาลเวชธานีลาดพร้าว111

เทคโนโลยีที่กล่าวมานี้ คือ การช่วยฟักตัวอ่อนจากเปลือกไข่ โดยในอดีตจะใช้เข็มเจาะเพื่อเปิดเปลือกไข่ต่อมาเปลี่ยนเป็นการใช้สารเคมี และในปัจจุบันได้ใช้เลเซอร์เข้ามาช่วยในการเจาะเปลือกไข่ วิธีดังกล่าวเรียกว่า LAH (Laser Assisted Hatching) ซึ่งการใช้เลเซอร์นั้น มีความแม่นยำสูง ไม่เป็นอันตรายต่อตัวอ่อนและยังเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์อีกด้วย

ผู้ที่เหมาะสมกับการใช้เลเซอร์เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ 1. ผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จจากการใช้วิธีอิกซีในรอบก่อน 2. เป็นผู้ป่วยที่มีโอกาสในการตั้งครรภ์ต่ำ พยากรณ์โรคไม่ดี และ 3. เป็นตัวอ่อนที่ผ่านกระบวนการแช่แข็งมาก่อน

นอกจากการช่วยตัวอ่อนฟักตัวออกจากเปลือกไข่ด้วยเลเซอร์แล้ว บางกรณีจะเจาะเปลือกไข่และนำเซลล์ ของตัวอ่อนออกมา เพื่อทำการตรวจคัดกรอง และวินิจฉัยโครโมโซมของตัวอ่อน ก่อนการฝังตัว (PGS/PGD :Preimplantation Genetic Screening/Diagnosis) เป็นการนำเซลล์ของตัวอ่อนในระยะ 3 หรือ 5 วัน ที่ได้จากการทำอิกซี มาตรวจวินิจฉัย เพื่อดูว่าตัวอ่อนมีความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมหรือไม่ จากนั้นจึงนำตัวอ่อนที่สมบูรณ์ใส่กลับสู่โพรงมดลูก เพื่อให้เกิดกระบวนการตั้งครรภ์ต่อไป

ผู้ที่เหมาะกับการทำPGS/PGD 1. คู่สมรสที่มีประวัติความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ที่อาจถ่ายทอดสู่ทารกได้ เช่น ธาลัสซีเมีย 2. ครอบครัวมีประวัติคลอดเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด หรือมีโรคที่ผิดปกติทางพันธุกรรม 3. มีประวัติการแท้งบ่อย 4. บุตรคนก่อนป่วยเป็นโรคที่อาจรักษาโดยปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากบุคคลอื่น ที่มีความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ 5. คู่สมรส ที่ฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสเกิดความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม ทำให้บุตรที่เกิดมา มีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมสูง 6. ไม่ตั้งครรภ์ 2 ครั้งติดต่อกันจากการรักษาโดยการทำอิกซี

วิธีการตรวจวินิจฉัย นำตัวอ่อนที่ได้จากการทำอิกซี ในระยะ 3 หรือ 5 วัน มาเจาะบริเวณเปลือกให้เป็นรูเล็กๆ ด้วยเลเซอร์ แล้วใช้แท่งแก้วขนาดเล็ก ดึงเซลล์ที่อยู่ภายในตัวอ่อนออกมาจำนวนหนึ่ง เพื่อนำมาตรวจด้วยวิธีที่เรียกว่า CGH (Comparative Genomic Hybridization) หรือ NGS (Next Generation Sequencing) ซึ่งเป็นการตรวจโครโมโซมครบทุกคู่ รวมทั้งโครโมโซมเพศด้วย หลังจากนั้น จะทำการย้ายตัวอ่อน เฉพาะตัวที่โครโมโซมปกติเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป

ข้อดี 1. เพิ่มอัตราการตั้งครรภ์จากการทำอิกซี 2. ลดอัตราการเกิดความผิดปกติของโครโมโซมของทารก และ 3.ลดอัตราการแท้งบุตร การดูดนำเซลล์จากตัวอ่อนในระยะ 3 หรือ 5 วัน จะไม่ส่งผลให้เกิดความพิการ เพราะเซลล์ทุกเซลล์ในตัวอ่อนระยะนี้ ยังไม่ได้ถูกโปรแกรมว่าจะให้เซลล์ใดเจริญไปเป็นตัวอ่อน หรืออวัยวะใดๆ ทำให้เซลล์ที่เหลือในตัวอ่อนสามารถแบ่งตัวได้ โดยจะไม่เกิดความผิดปกติต่อทารก และยังสามารถแบ่งตัวต่อไปจนฝังตัวได้ตามปกติ

ภาวะมีบุตรยากเป็นปัญหาที่สามารถหาทางออกได้ คู่สมรสที่วางแผนมีบุตร แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ สามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์ เพื่อร่วมกันหาทางออกที่เหมาะสมที่สุด อย่ากังวล หรือด่วนสรุปว่าตนจะไม่สามารถมีบุตรได้ เพราะทุกปัญหาล้วนมีทางแก้ไข

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9600000012039 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: manager.co.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ก.พ.60
วันที่โพสต์: 6/02/2560 เวลา 14:44:55 ดูภาพสไลด์โชว์ เทคโนโลยี “เลเซอร์” เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การเข้าปฏิสนธิของสเปิร์ม โดย...นพ.วรวัฒน์ ศิริปุณย์ สูตินรีแพทย์ เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชโรงพยาบาลเวชธานีลาดพร้าว111 ปัญหามีบุตรยาก ไม่ได้มีสาเหตุมาจากความไม่สมบูรณ์ของเชื้ออสุจิ หรือไข่ เพียงเท่านั้น แต่อาจเกิดขึ้นหลังการปฏิสนธิ แล้วตัวอ่อนไม่สามารถฟักตัวออกจากเปลือกไข่ได้ นับเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคสำคัญ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์ที่มักพบได้บ่อยเช่นกัน ทำไมต้องช่วยฟักตัวอ่อน ตัวอ่อนที่ปฏิสนธิภายนอกร่างกายด้วยวิธีการอิกซี ในบางครั้งพบว่าตัวเปลือกมีความผิดปกติ หรือมีความหนาของเปลือกไข่มากกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถฟัก หรือออกมาจากเปลือกไข่ได้ ส่งผลให้ตัวอ่อนเสียชีวิตอยู่ภายในเปลือกไข่ เช่นเดียวกับลูกเจี๊ยบที่ไม่สามารถเจาะออกจากเปลือกไข่ ทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดลง เพราะตัวอ่อนไม่สามารถออกมาฝังตัว แต่หากเราช่วยให้เปลือกไข่บางลง หรือทำให้เกิดรู จะทำให้ตัวอ่อนออกจากเปลือกได้ง่ายขึ้น และมีโอกาสฝังตัวในโพรงมดลูกมากขึ้นสามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้ นพ.วรวัฒน์ ศิริปุณย์ สูตินรีแพทย์ เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชโรงพยาบาลเวชธานีลาดพร้าว111 เทคโนโลยีที่กล่าวมานี้ คือ การช่วยฟักตัวอ่อนจากเปลือกไข่ โดยในอดีตจะใช้เข็มเจาะเพื่อเปิดเปลือกไข่ต่อมาเปลี่ยนเป็นการใช้สารเคมี และในปัจจุบันได้ใช้เลเซอร์เข้ามาช่วยในการเจาะเปลือกไข่ วิธีดังกล่าวเรียกว่า LAH (Laser Assisted Hatching) ซึ่งการใช้เลเซอร์นั้น มีความแม่นยำสูง ไม่เป็นอันตรายต่อตัวอ่อนและยังเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์อีกด้วย ผู้ที่เหมาะสมกับการใช้เลเซอร์เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ 1. ผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จจากการใช้วิธีอิกซีในรอบก่อน 2. เป็นผู้ป่วยที่มีโอกาสในการตั้งครรภ์ต่ำ พยากรณ์โรคไม่ดี และ 3. เป็นตัวอ่อนที่ผ่านกระบวนการแช่แข็งมาก่อน นอกจากการช่วยตัวอ่อนฟักตัวออกจากเปลือกไข่ด้วยเลเซอร์แล้ว บางกรณีจะเจาะเปลือกไข่และนำเซลล์ ของตัวอ่อนออกมา เพื่อทำการตรวจคัดกรอง และวินิจฉัยโครโมโซมของตัวอ่อน ก่อนการฝังตัว (PGS/PGD :Preimplantation Genetic Screening/Diagnosis) เป็นการนำเซลล์ของตัวอ่อนในระยะ 3 หรือ 5 วัน ที่ได้จากการทำอิกซี มาตรวจวินิจฉัย เพื่อดูว่าตัวอ่อนมีความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมหรือไม่ จากนั้นจึงนำตัวอ่อนที่สมบูรณ์ใส่กลับสู่โพรงมดลูก เพื่อให้เกิดกระบวนการตั้งครรภ์ต่อไป ผู้ที่เหมาะกับการทำPGS/PGD 1. คู่สมรสที่มีประวัติความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ที่อาจถ่ายทอดสู่ทารกได้ เช่น ธาลัสซีเมีย 2. ครอบครัวมีประวัติคลอดเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด หรือมีโรคที่ผิดปกติทางพันธุกรรม 3. มีประวัติการแท้งบ่อย 4. บุตรคนก่อนป่วยเป็นโรคที่อาจรักษาโดยปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากบุคคลอื่น ที่มีความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ 5. คู่สมรส ที่ฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสเกิดความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม ทำให้บุตรที่เกิดมา มีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมสูง 6. ไม่ตั้งครรภ์ 2 ครั้งติดต่อกันจากการรักษาโดยการทำอิกซี วิธีการตรวจวินิจฉัย นำตัวอ่อนที่ได้จากการทำอิกซี ในระยะ 3 หรือ 5 วัน มาเจาะบริเวณเปลือกให้เป็นรูเล็กๆ ด้วยเลเซอร์ แล้วใช้แท่งแก้วขนาดเล็ก ดึงเซลล์ที่อยู่ภายในตัวอ่อนออกมาจำนวนหนึ่ง เพื่อนำมาตรวจด้วยวิธีที่เรียกว่า CGH (Comparative Genomic Hybridization) หรือ NGS (Next Generation Sequencing) ซึ่งเป็นการตรวจโครโมโซมครบทุกคู่ รวมทั้งโครโมโซมเพศด้วย หลังจากนั้น จะทำการย้ายตัวอ่อน เฉพาะตัวที่โครโมโซมปกติเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป ข้อดี 1. เพิ่มอัตราการตั้งครรภ์จากการทำอิกซี 2. ลดอัตราการเกิดความผิดปกติของโครโมโซมของทารก และ 3.ลดอัตราการแท้งบุตร การดูดนำเซลล์จากตัวอ่อนในระยะ 3 หรือ 5 วัน จะไม่ส่งผลให้เกิดความพิการ เพราะเซลล์ทุกเซลล์ในตัวอ่อนระยะนี้ ยังไม่ได้ถูกโปรแกรมว่าจะให้เซลล์ใดเจริญไปเป็นตัวอ่อน หรืออวัยวะใดๆ ทำให้เซลล์ที่เหลือในตัวอ่อนสามารถแบ่งตัวได้ โดยจะไม่เกิดความผิดปกติต่อทารก และยังสามารถแบ่งตัวต่อไปจนฝังตัวได้ตามปกติ ภาวะมีบุตรยากเป็นปัญหาที่สามารถหาทางออกได้ คู่สมรสที่วางแผนมีบุตร แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ สามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์ เพื่อร่วมกันหาทางออกที่เหมาะสมที่สุด อย่ากังวล หรือด่วนสรุปว่าตนจะไม่สามารถมีบุตรได้ เพราะทุกปัญหาล้วนมีทางแก้ไข ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9600000012039

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ค้นหาข้อมูลในห้องสมุด