บำบัดเด็กออทิสติกด้วยABA

แสดงความคิดเห็น

เด็กหญิงกำลังเป่าดอกหญ้าเล่น

„ต้องบอกก่อนว่า ขึ้นชื่อว่าเด็กพิเศษแล้ว ต่อให้อยู่ในกลุ่มอาการเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีลักษณะหรือการแสดงออกที่เหมือนกัน เด็กออทิสติกก็เช่นกัน แต่จะพบว่าส่วนใหญ่แล้วเด็กออทิสติกจะมีปัญหาหลัก ๆ คือเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการและพฤติกรรม ดังนั้น การบำบัดจึงหนีไม่พ้นเรื่องเหล่านี้ ซึ่งจริง ๆ แล้วเด็กเหล่านี้เมื่อได้รับการบำบัดก็มักจะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น (หรือที่เรียกว่านิ่งขึ้น) ดังนั้น การบำบัดจึงควรเริ่มให้เร็วที่สุด

การบำบัดเด็กออทิสติกนั้นมีหลากหลายวิธี ซึ่ง Applied Behavior Analysis หรือ ABA หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีด้านพฤติกรรมมาปรับพฤติกรรมของคนอีกทอดหนึ่ง เป็นวิธีการปรับพฤติกรรมที่คลาสสิกที่สุดและยังคงได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพมาก

สำหรับการบำบัดโดยใช้วิธี ABA นั้นได้รับการอ้างอิงมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ว่าสามารถใช้ได้ผลและเด็กออทิสติกก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาก สำหรับการบำบัดโดยใช้ ABA นั้น ผู้บำบัดจะใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อวันในการปรับพฤติกรรมเด็ก 1 คนโดยมีคอนเซปต์ง่าย ๆ นั่นคือ สิ่งเร้า การตอบสนอง การให้รางวัลเท่านั้นเอง โดยเริ่มการฝึกด้วยสิ่งง่าย ๆ และให้เด็กเลือกเอง เช่น ถามว่าวันนี้เราจะเรียน “สวัสดี” กันให้เด็กเลือกรางวัลที่อยากได้ก่อน หลังจากนั้นผู้บำบัดจะแสดงตัวอย่างให้เด็กทำตามแล้วจะให้เด็กลองทำตาม ซึ่งจะให้เด็กทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าเด็กจะทำได้อย่างถูกต้องและเมื่อทำได้ถูกต้องแล้ว ผู้บำบัดจะให้รางวัลไม่ว่าจะเป็นคำชมหรือขนมที่เด็กอยากได้เมื่อตอนแรก ถ้าเด็กทำผิด พฤติกรรมที่ผิดนั้นจะถูกแทนที่ด้วยวิธีการที่ถูกต้องแล้วจึงให้เด็กทำซ้ำจนกว่าเด็กจะทำถูกต้อง

จุดมุ่งหมายสำคัญของการฝึกแบบ ABA นี้คือ เพื่อเพิ่มพฤติกรรมที่พึงประสงค์ (การเล่นกับคนอื่น) สอนทักษะใหม่ ๆ (การช่วยตัวเองในลักษณะต่าง ๆ หรือการฝึกการพูด) การทำซ้ำให้เด็กทำจนเป็นนิสัย (การควบคุมตนเอง) การฝึกทักษะทางสังคมและการลดพฤติกรรมอันอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้นเราสามารถฝึกทักษะการพูด การช่วยตัวเอง การเข้าสังคม รวมทั้งสอดแทรกวิชาการในกรณีที่เป็นเด็กเล็กโดยใช้วิธี ABA ได้เป็นหลายร้อยวิธีการ แต่วิธีการ ABA นี้อาจใช้เวลามากคือหลายปีที่จะค่อย ๆ สอนให้เด็กมีการซึมซับ จนกระทั่งเด็กสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

นอกจากนี้แล้ว ABA ยังแตกได้เป็นอีกหลายวิธีการไม่ว่าจะเป็น Discrete Trial Training (DTT) Applied Verbal Behavior (AVB) Pivotal Response Therapy (PRT) เช่น DTT จะเน้นการฝึกทักษะ โดยแบ่งเป็นกิจกรรมย่อย ๆ ยิ่งย่อยมากยิ่งดี การจะสอนให้เด็กพูดคำว่าสวัสดีกับคุณแม่นั้นจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นการสอนให้เด็กหันไปทางแม่แล้วสบตา ส่วนที่สองคือการสอนคำว่า “สวัสดี” แล้วจึงนำมารวมกัน AVB จะเน้นเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารและการพูดโดยเฉพาะโดยสอนเป็นกลุ่มคำ เช่น พวกสัตว์จะมี “ปลา” “นก” “เป็ด” “หมู” “หมา” หรือการสอนทักษะการขอร้อง เช่น “ให้” “ไม่ให้” “ใช่” “ไม่ใช่” “ขอบคุณ” “ขอโทษ” เพื่อให้เด็กสามารถสื่อสารโดยใช้คำพูดแทนที่จะแสดงออกโดยใช้ท่าทาง PRT นั้นอาจจะแตกต่างจาก ABA ในแง่ที่ว่าข้อแรก PRT จะเน้นหลักการสำคัญของพัฒนาการและพฤติกรรมนั่นคือจะกระตุ้นให้เด็กสนใจได้อย่างไรจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างไร จะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาอย่างถูกต้องเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันได้อย่างไร ข้อสองคือจะเน้นที่ตัวเด็กเป็นหลักแทนที่จะเป็นผู้บำบัดเป็นหลัก และข้อสามคือรางวัลจะแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกไม่ใช่คำชมอย่างเดียวหรือไม่ใช่การให้ขนมอย่างเดียว เช่น เมื่อเด็กเรียนรู้การขอของเล่นที่ถูกต้องผู้บำบัดจึงจะให้ของเล่น การบำบัดด้วยวิธีนี้จะสอนในขณะที่เด็กกำลังทำพฤติกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวันของตัวเอง ไม่ใช่การให้นั่งอยู่กับที่ ส่วนเนื้อหาในการบำบัดนั้น ยังคงใช้เนื้อหาเดียวกับการปรับพฤติกรรมโดยใช้หลัก ABA นั่นคือภาษาการสื่อสารทักษะทางสังคมทักษะทางการศึกษาและการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

ในต่างประเทศนั้นจะพบว่าผู้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นนักพฤติกรรมศาสตร์ที่เชี่ยวชาญด้าน ABA นั้นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปรับพฤติกรรมประเภทต่าง ๆ (ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มีปัญหาด้านการกลืนเด็กที่มีปัญหาด้านการนอน) ไม่จำเพาะว่าจะนำไปปรับใช้กับเด็กออทิสติกนั้น จะต้องได้รับประกาศนียบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งขั้นต้นแล้วจะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องขั้นต่ำระดับปริญญาโท และเรียนภาคทฤษฎีจำนวน 225 ชั่วโมงรวมถึงต้องมีประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติการเฉพาะ 1,500 ชั่วโมงก่อนด้วย

การบำบัดเด็กออทิสติกด้วยวิธีนี้ถึงแม้ว่าจะใช้เวลาต่อคนมากแต่ก็นับว่าได้ผลดี และเป็นพื้นฐานการต่อยอดไปสู่การบำบัดด้วยวิธีอื่น ๆ ที่จะช่วยให้เด็กออทิสติกมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น ** สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเป็นออทิสติกที่มีอายุระหว่าง 3-7 ปีและสนใจการบำบัดด้วยวิธี ABA สามารถนัดเพื่อขอคำแนะนำและได้รับการประเมินเบื้องต้นได้ที่ 0-2200-4029. อาจารย์ ดร.ปรียาสิริ วิฑูรชาติ ศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล“

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/327820

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มิ.ย.58
วันที่โพสต์: 18/06/2558 เวลา 11:08:58 ดูภาพสไลด์โชว์ บำบัดเด็กออทิสติกด้วยABA

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เด็กหญิงกำลังเป่าดอกหญ้าเล่น „ต้องบอกก่อนว่า ขึ้นชื่อว่าเด็กพิเศษแล้ว ต่อให้อยู่ในกลุ่มอาการเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีลักษณะหรือการแสดงออกที่เหมือนกัน เด็กออทิสติกก็เช่นกัน แต่จะพบว่าส่วนใหญ่แล้วเด็กออทิสติกจะมีปัญหาหลัก ๆ คือเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการและพฤติกรรม ดังนั้น การบำบัดจึงหนีไม่พ้นเรื่องเหล่านี้ ซึ่งจริง ๆ แล้วเด็กเหล่านี้เมื่อได้รับการบำบัดก็มักจะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น (หรือที่เรียกว่านิ่งขึ้น) ดังนั้น การบำบัดจึงควรเริ่มให้เร็วที่สุด การบำบัดเด็กออทิสติกนั้นมีหลากหลายวิธี ซึ่ง Applied Behavior Analysis หรือ ABA หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีด้านพฤติกรรมมาปรับพฤติกรรมของคนอีกทอดหนึ่ง เป็นวิธีการปรับพฤติกรรมที่คลาสสิกที่สุดและยังคงได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพมาก สำหรับการบำบัดโดยใช้วิธี ABA นั้นได้รับการอ้างอิงมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ว่าสามารถใช้ได้ผลและเด็กออทิสติกก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาก สำหรับการบำบัดโดยใช้ ABA นั้น ผู้บำบัดจะใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อวันในการปรับพฤติกรรมเด็ก 1 คนโดยมีคอนเซปต์ง่าย ๆ นั่นคือ สิ่งเร้า การตอบสนอง การให้รางวัลเท่านั้นเอง โดยเริ่มการฝึกด้วยสิ่งง่าย ๆ และให้เด็กเลือกเอง เช่น ถามว่าวันนี้เราจะเรียน “สวัสดี” กันให้เด็กเลือกรางวัลที่อยากได้ก่อน หลังจากนั้นผู้บำบัดจะแสดงตัวอย่างให้เด็กทำตามแล้วจะให้เด็กลองทำตาม ซึ่งจะให้เด็กทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าเด็กจะทำได้อย่างถูกต้องและเมื่อทำได้ถูกต้องแล้ว ผู้บำบัดจะให้รางวัลไม่ว่าจะเป็นคำชมหรือขนมที่เด็กอยากได้เมื่อตอนแรก ถ้าเด็กทำผิด พฤติกรรมที่ผิดนั้นจะถูกแทนที่ด้วยวิธีการที่ถูกต้องแล้วจึงให้เด็กทำซ้ำจนกว่าเด็กจะทำถูกต้อง จุดมุ่งหมายสำคัญของการฝึกแบบ ABA นี้คือ เพื่อเพิ่มพฤติกรรมที่พึงประสงค์ (การเล่นกับคนอื่น) สอนทักษะใหม่ ๆ (การช่วยตัวเองในลักษณะต่าง ๆ หรือการฝึกการพูด) การทำซ้ำให้เด็กทำจนเป็นนิสัย (การควบคุมตนเอง) การฝึกทักษะทางสังคมและการลดพฤติกรรมอันอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้นเราสามารถฝึกทักษะการพูด การช่วยตัวเอง การเข้าสังคม รวมทั้งสอดแทรกวิชาการในกรณีที่เป็นเด็กเล็กโดยใช้วิธี ABA ได้เป็นหลายร้อยวิธีการ แต่วิธีการ ABA นี้อาจใช้เวลามากคือหลายปีที่จะค่อย ๆ สอนให้เด็กมีการซึมซับ จนกระทั่งเด็กสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ABA ยังแตกได้เป็นอีกหลายวิธีการไม่ว่าจะเป็น Discrete Trial Training (DTT) Applied Verbal Behavior (AVB) Pivotal Response Therapy (PRT) เช่น DTT จะเน้นการฝึกทักษะ โดยแบ่งเป็นกิจกรรมย่อย ๆ ยิ่งย่อยมากยิ่งดี การจะสอนให้เด็กพูดคำว่าสวัสดีกับคุณแม่นั้นจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นการสอนให้เด็กหันไปทางแม่แล้วสบตา ส่วนที่สองคือการสอนคำว่า “สวัสดี” แล้วจึงนำมารวมกัน AVB จะเน้นเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารและการพูดโดยเฉพาะโดยสอนเป็นกลุ่มคำ เช่น พวกสัตว์จะมี “ปลา” “นก” “เป็ด” “หมู” “หมา” หรือการสอนทักษะการขอร้อง เช่น “ให้” “ไม่ให้” “ใช่” “ไม่ใช่” “ขอบคุณ” “ขอโทษ” เพื่อให้เด็กสามารถสื่อสารโดยใช้คำพูดแทนที่จะแสดงออกโดยใช้ท่าทาง PRT นั้นอาจจะแตกต่างจาก ABA ในแง่ที่ว่าข้อแรก PRT จะเน้นหลักการสำคัญของพัฒนาการและพฤติกรรมนั่นคือจะกระตุ้นให้เด็กสนใจได้อย่างไรจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างไร จะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาอย่างถูกต้องเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันได้อย่างไร ข้อสองคือจะเน้นที่ตัวเด็กเป็นหลักแทนที่จะเป็นผู้บำบัดเป็นหลัก และข้อสามคือรางวัลจะแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกไม่ใช่คำชมอย่างเดียวหรือไม่ใช่การให้ขนมอย่างเดียว เช่น เมื่อเด็กเรียนรู้การขอของเล่นที่ถูกต้องผู้บำบัดจึงจะให้ของเล่น การบำบัดด้วยวิธีนี้จะสอนในขณะที่เด็กกำลังทำพฤติกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวันของตัวเอง ไม่ใช่การให้นั่งอยู่กับที่ ส่วนเนื้อหาในการบำบัดนั้น ยังคงใช้เนื้อหาเดียวกับการปรับพฤติกรรมโดยใช้หลัก ABA นั่นคือภาษาการสื่อสารทักษะทางสังคมทักษะทางการศึกษาและการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ในต่างประเทศนั้นจะพบว่าผู้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นนักพฤติกรรมศาสตร์ที่เชี่ยวชาญด้าน ABA นั้นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปรับพฤติกรรมประเภทต่าง ๆ (ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มีปัญหาด้านการกลืนเด็กที่มีปัญหาด้านการนอน) ไม่จำเพาะว่าจะนำไปปรับใช้กับเด็กออทิสติกนั้น จะต้องได้รับประกาศนียบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งขั้นต้นแล้วจะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องขั้นต่ำระดับปริญญาโท และเรียนภาคทฤษฎีจำนวน 225 ชั่วโมงรวมถึงต้องมีประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติการเฉพาะ 1,500 ชั่วโมงก่อนด้วย การบำบัดเด็กออทิสติกด้วยวิธีนี้ถึงแม้ว่าจะใช้เวลาต่อคนมากแต่ก็นับว่าได้ผลดี และเป็นพื้นฐานการต่อยอดไปสู่การบำบัดด้วยวิธีอื่น ๆ ที่จะช่วยให้เด็กออทิสติกมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น ** สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเป็นออทิสติกที่มีอายุระหว่าง 3-7 ปีและสนใจการบำบัดด้วยวิธี ABA สามารถนัดเพื่อขอคำแนะนำและได้รับการประเมินเบื้องต้นได้ที่ 0-2200-4029. อาจารย์ ดร.ปรียาสิริ วิฑูรชาติ ศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล“ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/327820

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ค้นหาข้อมูลในห้องสมุด