สิทธิของผู้พิการ

แสดงความคิดเห็น

กฎหมายข้างตัว

คนพิการในบ้านเมืองของเรามีอยู่ไม่น้อย สถิติที่มาจดทะเบียนคนพิการทั่วประเทศตีเลขกลม ๆ มีถึงหนึ่งล้านห้าแสนคน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐)

อย่างไรถือว่าเป็นผู้ พิการ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔ ตามมาตรา ๔ ท่านว่า หมายถึงคนที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย หรือทางสติปัญญาหรือทางจิตใจตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือ ฉบับใหม่ล่าสุด พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ท่านว่าในมาตรา ๔ เหมือนกันหมายถึงบุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องในการเห็น ในการได้ยิน ...ฯลฯ...

ในทางปฏิบัติยังมีการกำหนดรายละเอียดของลักษณะที่จะถือว่า เป็นผู้พิการให้ชัดเจนลงไปอีก อย่างเช่น ผู้พิการทางสายตาถ้าตาบอดเพียงหนึ่งข้าง ตาเข ตาเหล่ สายตาสั้น ยาว หรือผู้ที่หูหนวก หูตึง ถ้าเป็นเพียงข้างเดียว ท่านว่าไม่เป็นผู้พิการตามกฎหมาย

ไม่นานมานี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำวินิจฉัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับสิทธิผู้พิการ กระผมขอนำมารายงานท่านผู้อ่านเพื่อประโยชน์ของผู้พิการและผู้สูงวัยต่อไป อย่างกระผมด้วยครับ แหะ ๆ

คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีมีอยู่สามท่าน ท่านแรกขาทั้งสองข้างขาดแต่กำเนิด ส่วนอีกสองท่านขาทั้งสองข้างไม่มีความรู้สึกอันเกิดจากอุบัติเหตุไม่สามารถ เคลื่อนไหวได้

ทั้งสามท่านยื่นฟ้องกรุงเทพมหานครผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ ๒ ผู้อำนวยการสำนักโยธาที่ ๓ และบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน)ที่ ๔ ต่อศาลปกครองว่าบริษัทผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้รับสัมปทานจาก กทม. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ให้ก่อสร้างโครงการขนส่งระบบมวลชนกรุงเทพมหานครและได้ก่อสร้างสถานีขนส่ง รวม ๒๓ สถานี

ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ มีหน้าที่ควบคุมตามสัญญาสัมปทานต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔

แต่ทว่ามีแค่ห้าสถานีเอง ที่มีบันไดเลื่อนไฟฟ้าและมีลิฟต์ในบางจุดแต่ไม่มีทางลาดในพื้นที่ต่างระดับ อีก ๑๘ สถานี ไม่ทำอะไรสักอย่างแบบว่าตาบอดหูหนวกขาพิการจัดเต็มมายังไง ก็ตัวใครตัวมันนะโยม

นอกจากนี้ยังไม่มีแผนผังหรือป้ายติดประกาศขนาดใหญ่และติดไฟให้คนสายตาเลือนรางเห็นชัดเจน ไม่มีป้ายบอกทางข้อมูลตารางการเดินรถเป็นตัวอักษรเบรลล์และตัวพิมพ์ใหญ่และอีกหลายสิ่งที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้สำหรับผู้พิการก็ไม่ทำ ไปร้องขอและเข้าประชุมหลายครั้งเพื่อขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่จัดทำก็เงียบเฉย จึงมาฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครอง

ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเนื่องจากพ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการฯมิได้กำหนดรายละเอียดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ กฎและระเบียบที่เกี่ยวกับการนี้ออกมาภายหลังการทำสัญญาสัมปทานทั้งสิ้น

ในชั้นศาลปกครองสูงสุดมีประเด็นวินิจฉัยที่น่าสนใจดังนี้ขอรับ หนึ่ง ผู้ฟ้องคดีทั้งสามมีสิทธิฟ้อง ผอ.สำนักการโยธาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ หรือไม่ ท่านว่าไม่มีสิทธิฟ้องเนื่องจากเป็นข้าราชการในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และอยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้ร้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่แต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องจากการกระทำของผู้ถูก ฟ้องคดีที่ ๓

สอง ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องในกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีหรือไม่ ท่านว่าคำฟ้องที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาให้ศาลมีคำสั่งไม่รับไว้พิจารณา เว้นแต่ศาลเห็นว่าเป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวม ศาลจะรับไว้พิจารณาก็ได้ คำสั่งรับคำฟ้องไว้พิจารณาให้เป็นที่สุด และคำสั่งดังกล่าวจะเป็นที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นคำสั่งรับคำฟ้องเป็นองค์คณะ ซึ่งในคดีนี้ปรากฏว่าศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาซึ่งกระทำโดยองค์คณะและได้ มีการวินิจฉัยว่า การยื่นฟ้องคดีนี้จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมคือคนพิการและผู้สูงอายุโดยทั่วไป คำสั่งรับคำฟ้องไว้พิจารณาจึงเป็นที่สุด

บริษัท ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ต่อสู้ว่ามิได้เป็นหน่วยงานทางปกครองเนื่องจากมิได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแล หรือสั่งการของ กทม.และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ท่านว่าผู้ถูกฟ้อง คดีที่ ๔ แม้จะมิใช่กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ...ฯลฯ...แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เป็นหน่วยงานที่ดำเนินกิจการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครโดยได้รับสัมปทาน จากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ซึ่งเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เป็นหน่วยงาน ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการบริการสาธารณะด้านการขนส่งมวลชนอันเป็นกิจการทางปกครองจึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง

แล้ว กทม.โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ในการไม่ติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการหรือไม่ เนื่องจากกฎและระเบียบต่าง ๆ ที่บังคับในเรื่องนี้ออกมาภายหลังการทำสัญญาสัมปทานนี้แล้วทั้งสิ้น

ท่านว่าเมื่อ กฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (๒๕๔๒) ออกตามความ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔ กำหนดอาคารที่ต้องจัดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการและ ระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่ง มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔ จึงไม่อาจใช้บังคับกับสัญญาสัมปทานได้ (ภายหลังสัญญาสัมปทาน) แต่เมื่อ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการฯ ไม่มีบทเฉพาะกาลกำหนดไม่ให้ใช้บังคับกับอาคารสถานที่ยานพาหนะที่มีอยู่ก่อน เมื่อกฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวใช้บังคับแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของ กทม.ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว

ยังปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่าเอกสารสรุปการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการโครงการขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรายงานต่อเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแสดงว่าอยู่ในวิสัยของกทม.ที่จะดำเนินการได้

นอกจากนี้นับแต่วันที่กฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวได้บังคับใช้มาจนถึงวันที่ ผู้ฟ้องคดีทั้งสามยื่นฟ้องในคดีนี้เป็นระยะเวลากว่า ๖ ปีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จัดเพียงทางขึ้นลงเป็นบันไดเลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าและมีลิฟต์บางจุดเพียง ๕ สถานีจากจำนวน ๒๓ สถานีเท่านั้น

จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ พิพากษา กลับ เป็นให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกตามกฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษา (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๖๕๐/๒๕๕๗)

กำลังสร้างอีกหลายสาย ไม่น่าจะมีคดีกันอีกนะขอรับ.

พิสิษฐ์ พลรักษ์เขตต์

www.facebook.com/pisit polruckket (ขนาดไฟล์: 2959) อีเมล : pisit_polruckket@hotmail.com

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/319786

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 พ.ค.58
วันที่โพสต์: 11/05/2558 เวลา 11:31:57 ดูภาพสไลด์โชว์ สิทธิของผู้พิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กฎหมายข้างตัว คนพิการในบ้านเมืองของเรามีอยู่ไม่น้อย สถิติที่มาจดทะเบียนคนพิการทั่วประเทศตีเลขกลม ๆ มีถึงหนึ่งล้านห้าแสนคน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐) อย่างไรถือว่าเป็นผู้ พิการ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔ ตามมาตรา ๔ ท่านว่า หมายถึงคนที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย หรือทางสติปัญญาหรือทางจิตใจตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือ ฉบับใหม่ล่าสุด พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ท่านว่าในมาตรา ๔ เหมือนกันหมายถึงบุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องในการเห็น ในการได้ยิน ...ฯลฯ... ในทางปฏิบัติยังมีการกำหนดรายละเอียดของลักษณะที่จะถือว่า เป็นผู้พิการให้ชัดเจนลงไปอีก อย่างเช่น ผู้พิการทางสายตาถ้าตาบอดเพียงหนึ่งข้าง ตาเข ตาเหล่ สายตาสั้น ยาว หรือผู้ที่หูหนวก หูตึง ถ้าเป็นเพียงข้างเดียว ท่านว่าไม่เป็นผู้พิการตามกฎหมาย ไม่นานมานี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำวินิจฉัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับสิทธิผู้พิการ กระผมขอนำมารายงานท่านผู้อ่านเพื่อประโยชน์ของผู้พิการและผู้สูงวัยต่อไป อย่างกระผมด้วยครับ แหะ ๆ คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีมีอยู่สามท่าน ท่านแรกขาทั้งสองข้างขาดแต่กำเนิด ส่วนอีกสองท่านขาทั้งสองข้างไม่มีความรู้สึกอันเกิดจากอุบัติเหตุไม่สามารถ เคลื่อนไหวได้ ทั้งสามท่านยื่นฟ้องกรุงเทพมหานครผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ ๒ ผู้อำนวยการสำนักโยธาที่ ๓ และบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน)ที่ ๔ ต่อศาลปกครองว่าบริษัทผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้รับสัมปทานจาก กทม. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ให้ก่อสร้างโครงการขนส่งระบบมวลชนกรุงเทพมหานครและได้ก่อสร้างสถานีขนส่ง รวม ๒๓ สถานี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ มีหน้าที่ควบคุมตามสัญญาสัมปทานต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔ แต่ทว่ามีแค่ห้าสถานีเอง ที่มีบันไดเลื่อนไฟฟ้าและมีลิฟต์ในบางจุดแต่ไม่มีทางลาดในพื้นที่ต่างระดับ อีก ๑๘ สถานี ไม่ทำอะไรสักอย่างแบบว่าตาบอดหูหนวกขาพิการจัดเต็มมายังไง ก็ตัวใครตัวมันนะโยม นอกจากนี้ยังไม่มีแผนผังหรือป้ายติดประกาศขนาดใหญ่และติดไฟให้คนสายตาเลือนรางเห็นชัดเจน ไม่มีป้ายบอกทางข้อมูลตารางการเดินรถเป็นตัวอักษรเบรลล์และตัวพิมพ์ใหญ่และอีกหลายสิ่งที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้สำหรับผู้พิการก็ไม่ทำ ไปร้องขอและเข้าประชุมหลายครั้งเพื่อขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่จัดทำก็เงียบเฉย จึงมาฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครอง ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเนื่องจากพ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการฯมิได้กำหนดรายละเอียดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ กฎและระเบียบที่เกี่ยวกับการนี้ออกมาภายหลังการทำสัญญาสัมปทานทั้งสิ้น ในชั้นศาลปกครองสูงสุดมีประเด็นวินิจฉัยที่น่าสนใจดังนี้ขอรับ หนึ่ง ผู้ฟ้องคดีทั้งสามมีสิทธิฟ้อง ผอ.สำนักการโยธาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ หรือไม่ ท่านว่าไม่มีสิทธิฟ้องเนื่องจากเป็นข้าราชการในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และอยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้ร้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่แต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องจากการกระทำของผู้ถูก ฟ้องคดีที่ ๓ สอง ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องในกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีหรือไม่ ท่านว่าคำฟ้องที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาให้ศาลมีคำสั่งไม่รับไว้พิจารณา เว้นแต่ศาลเห็นว่าเป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวม ศาลจะรับไว้พิจารณาก็ได้ คำสั่งรับคำฟ้องไว้พิจารณาให้เป็นที่สุด และคำสั่งดังกล่าวจะเป็นที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นคำสั่งรับคำฟ้องเป็นองค์คณะ ซึ่งในคดีนี้ปรากฏว่าศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาซึ่งกระทำโดยองค์คณะและได้ มีการวินิจฉัยว่า การยื่นฟ้องคดีนี้จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมคือคนพิการและผู้สูงอายุโดยทั่วไป คำสั่งรับคำฟ้องไว้พิจารณาจึงเป็นที่สุด บริษัท ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ต่อสู้ว่ามิได้เป็นหน่วยงานทางปกครองเนื่องจากมิได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแล หรือสั่งการของ กทม.และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ท่านว่าผู้ถูกฟ้อง คดีที่ ๔ แม้จะมิใช่กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ...ฯลฯ...แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เป็นหน่วยงานที่ดำเนินกิจการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครโดยได้รับสัมปทาน จากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ซึ่งเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เป็นหน่วยงาน ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการบริการสาธารณะด้านการขนส่งมวลชนอันเป็นกิจการทางปกครองจึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง แล้ว กทม.โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ในการไม่ติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการหรือไม่ เนื่องจากกฎและระเบียบต่าง ๆ ที่บังคับในเรื่องนี้ออกมาภายหลังการทำสัญญาสัมปทานนี้แล้วทั้งสิ้น ท่านว่าเมื่อ กฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (๒๕๔๒) ออกตามความ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔ กำหนดอาคารที่ต้องจัดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการและ ระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่ง มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔ จึงไม่อาจใช้บังคับกับสัญญาสัมปทานได้ (ภายหลังสัญญาสัมปทาน) แต่เมื่อ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการฯ ไม่มีบทเฉพาะกาลกำหนดไม่ให้ใช้บังคับกับอาคารสถานที่ยานพาหนะที่มีอยู่ก่อน เมื่อกฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวใช้บังคับแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของ กทม.ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว ยังปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่าเอกสารสรุปการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการโครงการขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรายงานต่อเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแสดงว่าอยู่ในวิสัยของกทม.ที่จะดำเนินการได้ นอกจากนี้นับแต่วันที่กฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวได้บังคับใช้มาจนถึงวันที่ ผู้ฟ้องคดีทั้งสามยื่นฟ้องในคดีนี้เป็นระยะเวลากว่า ๖ ปีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จัดเพียงทางขึ้นลงเป็นบันไดเลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าและมีลิฟต์บางจุดเพียง ๕ สถานีจากจำนวน ๒๓ สถานีเท่านั้น จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ พิพากษา กลับ เป็นให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกตามกฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษา (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๖๕๐/๒๕๕๗) กำลังสร้างอีกหลายสาย ไม่น่าจะมีคดีกันอีกนะขอรับ. พิสิษฐ์ พลรักษ์เขตต์ www.facebook.com/pisit polruckket อีเมล : pisit_polruckket@hotmail.com ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/319786

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ค้นหาข้อมูลในห้องกฎหมาย