ยุค ‘ขึ้นหิ้ง’ ใกล้สิ้นสุด ‘อาชีพนักวิจัย’ รู้ไว้ ‘รายได้ไม่ขี้เหร่’

แสดงความคิดเห็น

นักวิจัย

เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวเกี่ยวกับการสำรวจ ’เด็กไทย“ อายุระหว่าง 7-14 ปี เกี่ยวกับ ’อาชีพในฝัน“ โดยมีประเด็นประกอบส่วนหนึ่งที่เป็นเรื่องมุมมองเกี่ยวกับการเป็นอาชีพที่ ดี-เท่ และเรื่อง ’รายได้“ ซึ่งผลการสำรวจดังกล่าวนี้ได้ข้อสรุปอาชีพในฝันของเด็กไทย 5 อันดับแรก คือ... 1.แพทย์, 2.วิศวกร, 3.ตำรวจ, 4.นักธุรกิจ, และ 5.ครู

’นักวิจัย“ อาชีพนี้ ’สำคัญ“ แต่ไม่ติดอยู่ในโผ!! ทั้งนี้ กับเรื่อง “วิจัย” นั้น ในมุมที่คนไทยมักจะคุ้น ๆ คือกรณี “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” งานวิจัยที่ไม่มีการนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ และรวมถึงกรณี “นักวิจัยขาดแคลน” ซึ่งกับกรณีงานวิจัยขึ้นหิ้ง ปัจจุบันหลาย ๆ ฝ่ายก็พยายามจะช่วยกันทำไม่ให้เป็นเช่นนั้น และก็เป็นผลแล้วในระดับหนึ่ง ส่วนกรณีนักวิจัยขาดแคลน ก็คงต้องให้เด็กไทยคนรุ่นใหม่พิจารณา และวันนี้ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ก็จะนำเสนอบางแง่มุมเกี่ยวกับ “อาชีพนักวิจัย”

“ได้ศึกษาข้อมูลอาชีพ และผลตอบแทนของนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน พบว่ารายได้นักวิจัยตั้งแต่จบใหม่ เมื่อเข้าทำงานในบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ จะอยู่ที่ 60,000-100,000 บาท เช่นเดียวกับนักวิจัยในสถาบันวิจัยหรือมหาวิทยาลัยของรัฐบางแห่ง แต่ถ้ามีประสบการณ์มากกว่า 12 ปี จะมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 100,000 บาท ส่วนรายได้ต่ำสุดประมาณ 40,000 บาท นอกจากนี้ยังมีรายได้ในรูปแบบอื่น ๆ ด้วย”...นี่เป็นการระบุโดย ดร.กิตติพงศ์ พร้อมวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการจัดการนโยบาย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และกับประเด็นนี้ ดร.เกรียงชัย รุ่งฟ้าใหม่ นักวิจัยนโยบายอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ก็ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ว่า... ถ้าเป็นบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ จะให้ค่าตอบแทนสำหรับนักวิจัยที่จบปริญญาเอกใหม่ ๆ ในสาขาที่บริษัทต้องการ ประมาณ 80,000 บาท/เดือน ยังไม่รวมสวัสดิการอื่น ๆ อีก แต่นักวิจัยกลุ่มนี้ แม้ว่าค่าตอบแทนสูงมาก แต่การแข่งขันก็สูงมากเช่นกัน ในขณะที่นักวิจัยปริญญาเอกจบใหม่ในภาครัฐ ถ้าเป็นหน่วยงานที่เป็นเอกเทศ จะอยู่ที่ประมาณ 35,000 บาท/เดือน แต่หากเป็นสาขาที่ต้องการมาก ก็อาจต่อรองให้สูงขึ้นได้อีก

ดร.เกรียงชัย บอกอีกว่า... ขณะนี้ความต้องการนักวิจัยในสายวิทยาศาสตร์มีมาก มาจากหลายสาเหตุ ซึ่งหากย้อนดูเหตุที่อาชีพนักวิจัยที่ทำงานในภาคเอกชนยังไม่บูมในสมัยก่อน ก็เพราะ...บริษัทเอกชนหากจะพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีของตนเองก็จะใช้วิธี ให้ฝรั่งมาลงทุน หรือเมื่อซื้อเครื่องจักรอะไรเข้ามาก็จะซื้อเทคโนโลยีมาด้วย โดยไม่พัฒนานักวิจัยเอง ซึ่งแรก ๆ ฝรั่งก็ยอมขาย เพราะเห็นว่าประเทศไทยไม่ใช่คู่แข่ง แต่ช่วงหลัง ๆ มานี้ การแข่งขันสูงขึ้น เพราะการเปิดโลก และการที่ไทยกำลังจะเข้าสู่เออีซี ซึ่งต่อไปบริษัทไทยจะแข่งขันได้ในระดับโลกโดยการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ตอนนี้ฝรั่งเริ่มไม่ขายเทคโนโลยีบางส่วนให้แล้ว เพราะเห็นว่าไทยก็เป็นคู่แข่ง ความต้องการนักวิจัยที่มีสูงในตอนนี้ อีกเหตุหนึ่งเพราะมีบริษัทต่างชาติที่ต้องใช้ไทยเป็นฐานการผลิต กำลังมาลง R&D center ที่ประเทศไทย ซึ่งต้องใช้นักวิจัย แต่กลับหานักวิจัยในระดับปริญญาเอกแทบไม่ได้เลย

“นักวิจัยกระจุกอยู่ในภาคอุดมศึกษาเกือบ 70% มหาวิทยาลัยเป็นหอคอยงาช้าง ค่อนข้างสบาย อีกอย่างคนที่เลือกเป็นอาจารย์ก็เพราะไม่ชอบทำงานในภาคเอกชน ที่ต้องเจอทั้งระบบการแข่งขัน และโดนกดดันมาก จึงเลือกอยู่ในมหาวิทยาลัย ซึ่งก็สามารถจะหารายได้ได้มากมายหลายวิธี”...ดร.เกรียงชัย ระบุ และสลับกลับไปที่ประเด็นในอดีตนักวิจัยสายวิทยาศาสตร์ไม่ได้บูมมากในตลาด เอกชนอีกว่า... เพราะในอดีตคนที่เรียนจบมาแล้วทางเดินของอาชีพนักวิจัยนั้นมักจะสั้น และไม่ชัด อนาคตไม่แน่นอน ไม่ค่อยมีการสนับสนุนเหมือนในปัจจุบัน ดังนั้น คนที่เรียนจบมาจึงเบนเข็มไปเป็นอาจารย์มากกว่า

สถานการณ์นักวิจัยในยุคนี้ จริง ๆ ตลอดระยะเวลา 3-5 ปีที่ผ่านมาก็มีการเพิ่มจำนวนผู้ที่มาทางด้านนักวิจัยเหมือนกัน แต่จะทำอย่างไรจึงจะมีนักวิจัยเพิ่มเข้าสู่ภาคเอกชนซึ่งมีความต้องการจำนวน มากด้วย อันเนื่องจากการที่ ไทยนั้น โครงสร้างอุตสาหกรรม การผลิต การบริการ กำลังจะขยับเป็นประเทศที่พัฒนา

ในส่วนภาครัฐก็มีการปรับ คือการผลิตงานวิจัยต้องทำตามความต้องการตลาดด้วย เพื่อไม่ให้งานวิจัยอยู่แต่บนหิ้ง สวทน.ก็มีโครงการซึ่งเป็นข้อเสนอนโยบายส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงภาครัฐและเอกชน เชื่อมโยงในระดับอุตสาหกรรมใหญ่และเอสเอ็มอี โดย สวทน.เป็นตัวกลาง

ทั้งนี้ ดร.เกรียงชัย ระบุด้วยว่า... นักวิจัยสายวิทยาศาสตร์ตลาดกำลังต้องการสูง เพราะโครงสร้างของประเทศกำลังไปทางที่จะเจริญขึ้น ถ้าจบในสาขาที่มีความต้องการจะได้งานทันที ’รายได้นักวิจัย ณ ปัจจุบัน เมื่อเทียบกับสมัยก่อน ก็ไม่ขี้เหร่ สามารถไปทำงานต่างประเทศได้ด้วยหากมีความสามารถ อนาคตค่อนข้างแน่นอน จึงอยากให้คนปรับทัศนคติ มุมมอง และความคิด เกี่ยวกับอาชีพนี้เสียใหม่“สรุปคือ ’อาชีพนักวิจัย“ นั้น ’นับวันยิ่งโดดเด่น“ เชื่อว่า ’อีกไม่นานจะเป็นอีกอาชีพในฝัน“ แน่!!.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/220931

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 25/07/2556 เวลา 04:08:10 ดูภาพสไลด์โชว์ ยุค ‘ขึ้นหิ้ง’ ใกล้สิ้นสุด ‘อาชีพนักวิจัย’ รู้ไว้ ‘รายได้ไม่ขี้เหร่’

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นักวิจัย เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวเกี่ยวกับการสำรวจ ’เด็กไทย“ อายุระหว่าง 7-14 ปี เกี่ยวกับ ’อาชีพในฝัน“ โดยมีประเด็นประกอบส่วนหนึ่งที่เป็นเรื่องมุมมองเกี่ยวกับการเป็นอาชีพที่ ดี-เท่ และเรื่อง ’รายได้“ ซึ่งผลการสำรวจดังกล่าวนี้ได้ข้อสรุปอาชีพในฝันของเด็กไทย 5 อันดับแรก คือ... 1.แพทย์, 2.วิศวกร, 3.ตำรวจ, 4.นักธุรกิจ, และ 5.ครู ’นักวิจัย“ อาชีพนี้ ’สำคัญ“ แต่ไม่ติดอยู่ในโผ!! ทั้งนี้ กับเรื่อง “วิจัย” นั้น ในมุมที่คนไทยมักจะคุ้น ๆ คือกรณี “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” งานวิจัยที่ไม่มีการนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ และรวมถึงกรณี “นักวิจัยขาดแคลน” ซึ่งกับกรณีงานวิจัยขึ้นหิ้ง ปัจจุบันหลาย ๆ ฝ่ายก็พยายามจะช่วยกันทำไม่ให้เป็นเช่นนั้น และก็เป็นผลแล้วในระดับหนึ่ง ส่วนกรณีนักวิจัยขาดแคลน ก็คงต้องให้เด็กไทยคนรุ่นใหม่พิจารณา และวันนี้ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ก็จะนำเสนอบางแง่มุมเกี่ยวกับ “อาชีพนักวิจัย” “ได้ศึกษาข้อมูลอาชีพ และผลตอบแทนของนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน พบว่ารายได้นักวิจัยตั้งแต่จบใหม่ เมื่อเข้าทำงานในบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ จะอยู่ที่ 60,000-100,000 บาท เช่นเดียวกับนักวิจัยในสถาบันวิจัยหรือมหาวิทยาลัยของรัฐบางแห่ง แต่ถ้ามีประสบการณ์มากกว่า 12 ปี จะมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 100,000 บาท ส่วนรายได้ต่ำสุดประมาณ 40,000 บาท นอกจากนี้ยังมีรายได้ในรูปแบบอื่น ๆ ด้วย”...นี่เป็นการระบุโดย ดร.กิตติพงศ์ พร้อมวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการจัดการนโยบาย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และกับประเด็นนี้ ดร.เกรียงชัย รุ่งฟ้าใหม่ นักวิจัยนโยบายอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ก็ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ว่า... ถ้าเป็นบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ จะให้ค่าตอบแทนสำหรับนักวิจัยที่จบปริญญาเอกใหม่ ๆ ในสาขาที่บริษัทต้องการ ประมาณ 80,000 บาท/เดือน ยังไม่รวมสวัสดิการอื่น ๆ อีก แต่นักวิจัยกลุ่มนี้ แม้ว่าค่าตอบแทนสูงมาก แต่การแข่งขันก็สูงมากเช่นกัน ในขณะที่นักวิจัยปริญญาเอกจบใหม่ในภาครัฐ ถ้าเป็นหน่วยงานที่เป็นเอกเทศ จะอยู่ที่ประมาณ 35,000 บาท/เดือน แต่หากเป็นสาขาที่ต้องการมาก ก็อาจต่อรองให้สูงขึ้นได้อีก ดร.เกรียงชัย บอกอีกว่า... ขณะนี้ความต้องการนักวิจัยในสายวิทยาศาสตร์มีมาก มาจากหลายสาเหตุ ซึ่งหากย้อนดูเหตุที่อาชีพนักวิจัยที่ทำงานในภาคเอกชนยังไม่บูมในสมัยก่อน ก็เพราะ...บริษัทเอกชนหากจะพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีของตนเองก็จะใช้วิธี ให้ฝรั่งมาลงทุน หรือเมื่อซื้อเครื่องจักรอะไรเข้ามาก็จะซื้อเทคโนโลยีมาด้วย โดยไม่พัฒนานักวิจัยเอง ซึ่งแรก ๆ ฝรั่งก็ยอมขาย เพราะเห็นว่าประเทศไทยไม่ใช่คู่แข่ง แต่ช่วงหลัง ๆ มานี้ การแข่งขันสูงขึ้น เพราะการเปิดโลก และการที่ไทยกำลังจะเข้าสู่เออีซี ซึ่งต่อไปบริษัทไทยจะแข่งขันได้ในระดับโลกโดยการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ตอนนี้ฝรั่งเริ่มไม่ขายเทคโนโลยีบางส่วนให้แล้ว เพราะเห็นว่าไทยก็เป็นคู่แข่ง ความต้องการนักวิจัยที่มีสูงในตอนนี้ อีกเหตุหนึ่งเพราะมีบริษัทต่างชาติที่ต้องใช้ไทยเป็นฐานการผลิต กำลังมาลง R&D center ที่ประเทศไทย ซึ่งต้องใช้นักวิจัย แต่กลับหานักวิจัยในระดับปริญญาเอกแทบไม่ได้เลย “นักวิจัยกระจุกอยู่ในภาคอุดมศึกษาเกือบ 70% มหาวิทยาลัยเป็นหอคอยงาช้าง ค่อนข้างสบาย อีกอย่างคนที่เลือกเป็นอาจารย์ก็เพราะไม่ชอบทำงานในภาคเอกชน ที่ต้องเจอทั้งระบบการแข่งขัน และโดนกดดันมาก จึงเลือกอยู่ในมหาวิทยาลัย ซึ่งก็สามารถจะหารายได้ได้มากมายหลายวิธี”...ดร.เกรียงชัย ระบุ และสลับกลับไปที่ประเด็นในอดีตนักวิจัยสายวิทยาศาสตร์ไม่ได้บูมมากในตลาด เอกชนอีกว่า... เพราะในอดีตคนที่เรียนจบมาแล้วทางเดินของอาชีพนักวิจัยนั้นมักจะสั้น และไม่ชัด อนาคตไม่แน่นอน ไม่ค่อยมีการสนับสนุนเหมือนในปัจจุบัน ดังนั้น คนที่เรียนจบมาจึงเบนเข็มไปเป็นอาจารย์มากกว่า สถานการณ์นักวิจัยในยุคนี้ จริง ๆ ตลอดระยะเวลา 3-5 ปีที่ผ่านมาก็มีการเพิ่มจำนวนผู้ที่มาทางด้านนักวิจัยเหมือนกัน แต่จะทำอย่างไรจึงจะมีนักวิจัยเพิ่มเข้าสู่ภาคเอกชนซึ่งมีความต้องการจำนวน มากด้วย อันเนื่องจากการที่ ไทยนั้น โครงสร้างอุตสาหกรรม การผลิต การบริการ กำลังจะขยับเป็นประเทศที่พัฒนา ในส่วนภาครัฐก็มีการปรับ คือการผลิตงานวิจัยต้องทำตามความต้องการตลาดด้วย เพื่อไม่ให้งานวิจัยอยู่แต่บนหิ้ง สวทน.ก็มีโครงการซึ่งเป็นข้อเสนอนโยบายส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงภาครัฐและเอกชน เชื่อมโยงในระดับอุตสาหกรรมใหญ่และเอสเอ็มอี โดย สวทน.เป็นตัวกลาง ทั้งนี้ ดร.เกรียงชัย ระบุด้วยว่า... นักวิจัยสายวิทยาศาสตร์ตลาดกำลังต้องการสูง เพราะโครงสร้างของประเทศกำลังไปทางที่จะเจริญขึ้น ถ้าจบในสาขาที่มีความต้องการจะได้งานทันที ’รายได้นักวิจัย ณ ปัจจุบัน เมื่อเทียบกับสมัยก่อน ก็ไม่ขี้เหร่ สามารถไปทำงานต่างประเทศได้ด้วยหากมีความสามารถ อนาคตค่อนข้างแน่นอน จึงอยากให้คนปรับทัศนคติ มุมมอง และความคิด เกี่ยวกับอาชีพนี้เสียใหม่“สรุปคือ ’อาชีพนักวิจัย“ นั้น ’นับวันยิ่งโดดเด่น“ เชื่อว่า ’อีกไม่นานจะเป็นอีกอาชีพในฝัน“ แน่!!. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/220931 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...