3 โมเดลธุรกิจเพื่อสังคม จ้างงานผู้ด้อยโอกาส สร้างสรรค์ความเท่าเทียม

แสดงความคิดเห็น

ในประชาคมโลกทั้งหมด มีคนพิการอยู่ถึง 15% กลุ่มคนเหล่านี้มีความไม่สมบูรณ์พร้อมบางอย่างซึ่งต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะไปจนถึงระบบการศึกษาที่เอื้อให้ แก่คนพิการ หากว่าสังคมใดไม่สามารถมอบสิ่งเหล่านี้ให้คน พิการก็จะถูกกีดกันโดยปริยาย ทั้งยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่ได้รับการศึกษา ไม่ถูกจ้างงาน และต้องพึ่งพิงระบบสังคมสงเคราะห์ เช่น เดียวกัน ในกรณีของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ได้แก่ ผู้พ้นโทษ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี คนไร้สัญชาติ คนยากจน คนเร่ร่อน พวกเขามักจะถูกกีดกันจนไม่ได้รับการจ้างงาน ไม่อาจเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ ไม่สามารถยกระดับฐานะของตนเองขึ้นได้

ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของคน กลุ่มนี้คือ "การจ้างงาน" เมื่อไม่ถูกจ้างงานจากธุรกิจทั่วไป เครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจภาคสังคมเพื่อผู้ด้อยโอกาสแห่งอาเซียน จึงพยายามผลักดันผู้ประกอบการให้ทำธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อที่จะจ้างงานคนเหล่านี้ หรือให้พวกเขาสามารถทำธุรกิจของตนเองขึ้นได้

สร้างธุรกิจเพื่อผู้ป่วยออทิสติก - หนึ่ง ในตัวอย่างธุรกิจเพื่อผู้พิการที่กำลังเริ่มต้น จากความร่วมมือของ บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด และกิจการเพื่อสังคมไนส์คอร์ป จึงก่อตั้งเป็นโรงงานซิลก์สกรีนผ้า"โรงงานในอารักษ์ในโครงการจัดตั้งศูนย์วิชาชีพเพื่อคนพิการทางสติปัญญา"

"บุษบา จิราธิวัฒน์" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึงโรงงานนี้ว่า เป็น Social Enterprise เต็มตัว เพราะไม่ได้เป็นแค่การจ้างงานของเซ็นทรัล แต่คือการบริจาคทุนแบบให้เปล่าแก่ "สมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย" เป็นเจ้าของและดำเนินการเองเซ็นทรัลรีเทลลงทุน 12 ล้านบาท ในการสร้างโรงงานให้ และตั้งเป้าว่าโรงงานนี้จะต้องมีกำไรและอยู่ได้เองภายใน 2 ปี ต้องแข่งขันทางธุรกิจกับโรงงานอื่น ๆ ได้ตามปกติ "เพราะเราอยู่ใน สายงานธุรกิจ เราต้องบอกว่าโรงงานนี้ทำซิลก์สกรีนได้ดีมากและในราคาที่ถูก เหล่านี้ต่างหากที่จะทำให้คนมาจ้างงาน การที่สิ่งนี้ทำโดยคนออทิสติกจะเป็นแค่ส่วนเสริมให้ลูกค้าเลือกเราเมื่อมีคุณภาพกับราคาเท่ากับคู่แข่ง" โดยเซ็นทรัลรีเทลจะเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำทางธุรกิจก่อนในระยะแรก ส่วนสมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาฯจะเป็นฝ่ายฝึกหัดผู้ป่วยออทิสติกให้พร้อมเข้าทำงาน

"ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนสร้างโรงงานและทำแผนธุรกิจ อนาคตอาจจะมีการพัฒนาทำแบรนดิ้งเสื้อผ้าด้วย ซึ่งจะเปิดตัวได้ราว ๆ เดือนกรกฎาคมนี้"

ผุดรายการทีวีเพื่อผู้พิการ- อีกหนึ่งโมเดลธุรกิจที่สร้างขึ้นทั้งเพื่อให้ผู้พิการมีพื้นที่สื่อสารกับสังคม และกระตุ้นให้ผู้พิการอยู่ได้ด้วยตนเอง "เคียงบ่าเคียงไหล่" คือรายการโทรทัศน์จากฝีมือผู้พิการ "ภาณุมาศ สุขอัมพร" อดีตพระเอกชื่อดังของเมืองไทย ภาณุมาศเล่าถึงแนวคิดการทำรายการว่า ตนเองเคยเป็นหัวแรงใหญ่สนับสนุนกีฬาเฟสปิกเกมส์และพาราลิมปิกเกมส์มาก่อน

"ทำไป 6-7 ปี คนเริ่มรู้ว่าคนพิการมีความสามารถด้านกีฬา ซึ่งจริง ๆ ไม่ใช่ คนพิการมีความสามารถอีกหลายด้าน ผม จึงคุยกับ คุณสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ จากมูลนิธิพระมหาไถ่ฯว่า สังคมจะเข้าใจคนพิการได้ ต้องมีพื้นที่สื่อที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่เฉพาะช่วงที่มีกีฬา จึงเกิดเป็นรายการเคียงบ่าเคียงไหล่ขึ้น"

โดย รายการนี้มีคนพิการเป็นทั้งพิธีกร ตากล้อง ตัดต่อภาพ ซึ่งยุ่งยากในการทำงานมาก แต่ภาณุมาศมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเปิดพื้นที่ให้คนพิการทำงานและให้ สังคมได้รับรู้ "เราไม่เคยเอาเรื่องเงินเป็นที่ตั้งว่างานนี้ เราทำแล้วเราจะได้เท่าไหร่ เราจะมองว่างานนี้เราจะทำไหม และถ้าทำแล้วสังคมจะได้อะไร ผมจะบอกคนในองค์กรเสมอว่า ถ้าสังคมอยู่ได้ ชุมชนอยู่ได้ เราก็อยู่ได้"

ภาครัฐและสังคมต้องมีส่วนร่วม - พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ทำให้ภาคเอกชนต้องรับบทหนัก รับคนพิการเข้าทำงาน อย่างไรก็ตาม ปัญหาไม่ได้มีแค่โอกาสการจ้างงานเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาเรื่องศูนย์ฝึกอาชีพให้คนพิการ สิ่งอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะ ทัศนคติของคนทั่วไป หรือแม้แต่ทัศนคติของผู้พิการเอง

"บุษบา จิราธิวัฒน์" ชี้แจงว่า รัฐบาลควรทำหน้าที่ส่งเสริมให้สังคมเล็งเห็นว่า ผู้พิการก็สามารถทำงานได้ "และ ถามรัฐบาลกลับไปว่า เรารับคนพิการเข้าทำงานแล้ว เขาออกจากบ้านมาทำงานกับเราได้ไหม รัฐบาลต้องให้สิ่งอำนวยความสะดวกเฉพาะกับเขา ไม่ว่าจะวีลแชร์หรือขาเทียม"

"ด้าน คนพิการ ครอบครัวต้องช่วยฝึกฝน กระตุ้นให้เขาออกมาอยู่ข้างนอก ไม่ใช่ปกป้องเขาจนเกินพอดีเหมือนเขาเป็นทารก ต้องทำให้เขารู้สึกมีศักดิ์ศรีและพร้อมจะเผชิญโลก" "รัฐบาลต้องสื่อสารให้สังคมมองเขาเป็นคนปกติ ไม่ใช่มองที่ความพิการ ก็เหมือนกับการใส่ผ้าคาดปากเวลาไอจาม เมื่อก่อนเป็นเรื่องประหลาด แต่ตอนนี้ทุกคนคาดได้เป็นปกติ ถ้าเราช่วยกันพูด ช่วยกันทำ มันก็เป็นไปได้" การสงเคราะห์กลุ่มผู้ด้อยโอกาสด้วยการบริจาคนั้นสามารถช่วยบรรเทาทุกข์ให้ได้ก็จริง แต่เมื่อเงินบริจาคหมด ผู้ด้อยโอกาสก็จะทำได้เพียงรอการสงเคราะห์ครั้งต่อไป คงเป็นการดีกว่าที่จะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ เพื่อให้พวกเขา "ยืนบนลำแข้ง" ตนเองสำเร็จ

ขอบคุณ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1369028854 (ขนาดไฟล์: 143)

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 21/05/2556 เวลา 03:26:43

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ในประชาคมโลกทั้งหมด มีคนพิการอยู่ถึง 15% กลุ่มคนเหล่านี้มีความไม่สมบูรณ์พร้อมบางอย่างซึ่งต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะไปจนถึงระบบการศึกษาที่เอื้อให้ แก่คนพิการ หากว่าสังคมใดไม่สามารถมอบสิ่งเหล่านี้ให้คน พิการก็จะถูกกีดกันโดยปริยาย ทั้งยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่ได้รับการศึกษา ไม่ถูกจ้างงาน และต้องพึ่งพิงระบบสังคมสงเคราะห์ เช่น เดียวกัน ในกรณีของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ได้แก่ ผู้พ้นโทษ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี คนไร้สัญชาติ คนยากจน คนเร่ร่อน พวกเขามักจะถูกกีดกันจนไม่ได้รับการจ้างงาน ไม่อาจเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ ไม่สามารถยกระดับฐานะของตนเองขึ้นได้ ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของคน กลุ่มนี้คือ "การจ้างงาน" เมื่อไม่ถูกจ้างงานจากธุรกิจทั่วไป เครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจภาคสังคมเพื่อผู้ด้อยโอกาสแห่งอาเซียน จึงพยายามผลักดันผู้ประกอบการให้ทำธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อที่จะจ้างงานคนเหล่านี้ หรือให้พวกเขาสามารถทำธุรกิจของตนเองขึ้นได้ สร้างธุรกิจเพื่อผู้ป่วยออทิสติก - หนึ่ง ในตัวอย่างธุรกิจเพื่อผู้พิการที่กำลังเริ่มต้น จากความร่วมมือของ บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด และกิจการเพื่อสังคมไนส์คอร์ป จึงก่อตั้งเป็นโรงงานซิลก์สกรีนผ้า"โรงงานในอารักษ์ในโครงการจัดตั้งศูนย์วิชาชีพเพื่อคนพิการทางสติปัญญา" "บุษบา จิราธิวัฒน์" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึงโรงงานนี้ว่า เป็น Social Enterprise เต็มตัว เพราะไม่ได้เป็นแค่การจ้างงานของเซ็นทรัล แต่คือการบริจาคทุนแบบให้เปล่าแก่ "สมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย" เป็นเจ้าของและดำเนินการเองเซ็นทรัลรีเทลลงทุน 12 ล้านบาท ในการสร้างโรงงานให้ และตั้งเป้าว่าโรงงานนี้จะต้องมีกำไรและอยู่ได้เองภายใน 2 ปี ต้องแข่งขันทางธุรกิจกับโรงงานอื่น ๆ ได้ตามปกติ "เพราะเราอยู่ใน สายงานธุรกิจ เราต้องบอกว่าโรงงานนี้ทำซิลก์สกรีนได้ดีมากและในราคาที่ถูก เหล่านี้ต่างหากที่จะทำให้คนมาจ้างงาน การที่สิ่งนี้ทำโดยคนออทิสติกจะเป็นแค่ส่วนเสริมให้ลูกค้าเลือกเราเมื่อมีคุณภาพกับราคาเท่ากับคู่แข่ง" โดยเซ็นทรัลรีเทลจะเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำทางธุรกิจก่อนในระยะแรก ส่วนสมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาฯจะเป็นฝ่ายฝึกหัดผู้ป่วยออทิสติกให้พร้อมเข้าทำงาน "ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนสร้างโรงงานและทำแผนธุรกิจ อนาคตอาจจะมีการพัฒนาทำแบรนดิ้งเสื้อผ้าด้วย ซึ่งจะเปิดตัวได้ราว ๆ เดือนกรกฎาคมนี้" ผุดรายการทีวีเพื่อผู้พิการ- อีกหนึ่งโมเดลธุรกิจที่สร้างขึ้นทั้งเพื่อให้ผู้พิการมีพื้นที่สื่อสารกับสังคม และกระตุ้นให้ผู้พิการอยู่ได้ด้วยตนเอง "เคียงบ่าเคียงไหล่" คือรายการโทรทัศน์จากฝีมือผู้พิการ "ภาณุมาศ สุขอัมพร" อดีตพระเอกชื่อดังของเมืองไทย ภาณุมาศเล่าถึงแนวคิดการทำรายการว่า ตนเองเคยเป็นหัวแรงใหญ่สนับสนุนกีฬาเฟสปิกเกมส์และพาราลิมปิกเกมส์มาก่อน "ทำไป 6-7 ปี คนเริ่มรู้ว่าคนพิการมีความสามารถด้านกีฬา ซึ่งจริง ๆ ไม่ใช่ คนพิการมีความสามารถอีกหลายด้าน ผม จึงคุยกับ คุณสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ จากมูลนิธิพระมหาไถ่ฯว่า สังคมจะเข้าใจคนพิการได้ ต้องมีพื้นที่สื่อที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่เฉพาะช่วงที่มีกีฬา จึงเกิดเป็นรายการเคียงบ่าเคียงไหล่ขึ้น" โดย รายการนี้มีคนพิการเป็นทั้งพิธีกร ตากล้อง ตัดต่อภาพ ซึ่งยุ่งยากในการทำงานมาก แต่ภาณุมาศมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเปิดพื้นที่ให้คนพิการทำงานและให้ สังคมได้รับรู้ "เราไม่เคยเอาเรื่องเงินเป็นที่ตั้งว่างานนี้ เราทำแล้วเราจะได้เท่าไหร่ เราจะมองว่างานนี้เราจะทำไหม และถ้าทำแล้วสังคมจะได้อะไร ผมจะบอกคนในองค์กรเสมอว่า ถ้าสังคมอยู่ได้ ชุมชนอยู่ได้ เราก็อยู่ได้" ภาครัฐและสังคมต้องมีส่วนร่วม - พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ทำให้ภาคเอกชนต้องรับบทหนัก รับคนพิการเข้าทำงาน อย่างไรก็ตาม ปัญหาไม่ได้มีแค่โอกาสการจ้างงานเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาเรื่องศูนย์ฝึกอาชีพให้คนพิการ สิ่งอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะ ทัศนคติของคนทั่วไป หรือแม้แต่ทัศนคติของผู้พิการเอง "บุษบา จิราธิวัฒน์" ชี้แจงว่า รัฐบาลควรทำหน้าที่ส่งเสริมให้สังคมเล็งเห็นว่า ผู้พิการก็สามารถทำงานได้ "และ ถามรัฐบาลกลับไปว่า เรารับคนพิการเข้าทำงานแล้ว เขาออกจากบ้านมาทำงานกับเราได้ไหม รัฐบาลต้องให้สิ่งอำนวยความสะดวกเฉพาะกับเขา ไม่ว่าจะวีลแชร์หรือขาเทียม" "ด้าน คนพิการ ครอบครัวต้องช่วยฝึกฝน กระตุ้นให้เขาออกมาอยู่ข้างนอก ไม่ใช่ปกป้องเขาจนเกินพอดีเหมือนเขาเป็นทารก ต้องทำให้เขารู้สึกมีศักดิ์ศรีและพร้อมจะเผชิญโลก" "รัฐบาลต้องสื่อสารให้สังคมมองเขาเป็นคนปกติ ไม่ใช่มองที่ความพิการ ก็เหมือนกับการใส่ผ้าคาดปากเวลาไอจาม เมื่อก่อนเป็นเรื่องประหลาด แต่ตอนนี้ทุกคนคาดได้เป็นปกติ ถ้าเราช่วยกันพูด ช่วยกันทำ มันก็เป็นไปได้" การสงเคราะห์กลุ่มผู้ด้อยโอกาสด้วยการบริจาคนั้นสามารถช่วยบรรเทาทุกข์ให้ได้ก็จริง แต่เมื่อเงินบริจาคหมด ผู้ด้อยโอกาสก็จะทำได้เพียงรอการสงเคราะห์ครั้งต่อไป คงเป็นการดีกว่าที่จะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ เพื่อให้พวกเขา "ยืนบนลำแข้ง" ตนเองสำเร็จ ขอบคุณ… http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1369028854

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...