เรียนรู้การเอาตัวรอดจากภัยพิบัติ 72 ชั่วโมง
72 ชั่วโมง เป็นเวลาที่ประเทศญี่ปุ่นกำหนดไว้ว่า เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่ต้องเอาชีวิตรอดเมื่อเกิดแผ่นดินไหว หรือภัยพิบัติต่างๆ ก่อนที่จะได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการ เนื่องจาก ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการเกิดแผ่นดินไหวภัยพิบัติมากเป็นอันดับ ต้นๆ ของโลก แต่ขณะเดียวกันก็ฟื้นฟูได้ในเวลาที่รวดเร็ว เนื่องจากการวางแผนจัดการที่ดีของผู้นำประเทศ
เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีโอกาสร่วมคณะเดินทางไปดูงานการสื่อสารความเสี่ยงด้านการแพทย์และ สาธารณสุขกรณีภัยพิบัติที่ประเทศญี่ปุ่นกับทางกระทรวงสาธารณสุข นำโดย น.พ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข คณะผู้บริหารและนักวิชาการ และได้เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ภัยพิบัติมหานครโตเกียว โดยมี มร.ยามาซากิ จูนิชิ ผู้จัดการศูนย์ฯ เป็นผู้นำชม
ศูนย์เรียนรู้ภัยพิบัติของมหานครโตเกียว เป็นศูนย์ที่ทางรัฐบาลญี่ปุ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้งขึ้นเมื่อ 6 ปีที่แล้ว โดยรัฐบาลญี่ปุ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลังเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเมืองโกเบ เมื่อปี 2538 ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเอาตัวรอด ตลอดจนการเตรียมพร้อมเมื่อเกิดภัยพิบัติให้กับประชาชนจนกว่าจะได้รับความ ช่วย เหลือ โดยเปิดให้นักเรียน และประชาชนผู้สนใจทั่วไปได้เข้าไปเรียนรู้เป็นหมู่คณะ ผ่านสถานการณ์แผ่นดินไหวจำลอง เริ่มตั้งแต่เหตุเกิดครั้งแรกจนกระทั่งได้รับความช่วยเหลือ โดยให้ผู้เรียนรู้แต่ละคนเล่นเกมนินทาโด้ เพื่อตอบคำถามวิธีการรับมือภัยพิบัติ และวิธีเอาตัวรอดในขณะอยู่ในสถานการณ์ ตลอดจนช่องทางการขอความช่วยเหลือ เมื่อจบเกมจะรวมคะแนนที่ได้ตอบในแต่ละคำถาม ซึ่งจะทำให้รู้ว่าใน 72 ชั่วโมง ผู้เล่นจะสามารถเอาตัวรอดได้หรือไม่ โดยผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 85 คะแนนขึ้นไป สามารถมีชีวิตรอดได้อย่างปลอดภัย 60 คะแนน ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ต่ำกว่า 60 ได้รับบาดเจ็บสาหัส และหากน้อยกว่า 50 จะไม่สามารถมีชีวิตรอดได้
นอกจากนี้ภายในศูนย์ฯ ยังได้มีการจำลองสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้เพื่อให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตให้ ได้ภายใน 72 ชั่วโมง จนกว่าหน่วยกู้ภัยจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือ อาทิ อาหาร น้ำ สิ่งของที่จำเป็นอื่นๆ ตลอดจนจุดหลบภัยที่จะทำให้ได้รับความปลอดภัยเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น
มร.ยามาซากิ จูนิชิ ผู้จัดการศูนย์ฯ ให้ข้อมูลว่า ศูนย์ฯ แห่งนี้ นอกจากจะเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลให้ความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติและประสานแจ้ง เตือนประชาชนแล้วยังเป็นศูนย์บัญชาการที่ผู้นำประเทศใช้เป็นฐานสั่งการให้ ความช่วยเหลือประชาชนเมื่อเหตุการณ์ภัยพิบัติด้วย โดยมีการแบ่งสายงานออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ การหาข้อมูลผ่านเฮลิคอปเตอร์ และกองบัญชาการ ซึ่งการทำงานจะทำร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
แม้ว่าญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่เกิดเหตุภัยพิบัติบ่อยครั้ง และมีการสูญเสียจำนวนมาก แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ประเทศสามารถฟื้นตัวได้เร็ว เพราะความมีระเบียบวินัยของประชากร และการตัดสินใจที่เฉียบขาดของผู้นำ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลา จึงทำประเทศญี่ปุ่นอยู่กันได้อย่างสงบสุข
ขอบคุณ... http://www.banmuang.co.th/2013/10/เรียนรู้การเอาตัวรอดจา/
( บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ต.ค.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ศูนย์เรียนรู้ภัยพิบัติของมหานครโตเกียว 72 ชั่วโมง เป็นเวลาที่ประเทศญี่ปุ่นกำหนดไว้ว่า เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่ต้องเอาชีวิตรอดเมื่อเกิดแผ่นดินไหว หรือภัยพิบัติต่างๆ ก่อนที่จะได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการ เนื่องจาก ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการเกิดแผ่นดินไหวภัยพิบัติมากเป็นอันดับ ต้นๆ ของโลก แต่ขณะเดียวกันก็ฟื้นฟูได้ในเวลาที่รวดเร็ว เนื่องจากการวางแผนจัดการที่ดีของผู้นำประเทศ เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีโอกาสร่วมคณะเดินทางไปดูงานการสื่อสารความเสี่ยงด้านการแพทย์และ สาธารณสุขกรณีภัยพิบัติที่ประเทศญี่ปุ่นกับทางกระทรวงสาธารณสุข นำโดย น.พ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข คณะผู้บริหารและนักวิชาการ และได้เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ภัยพิบัติมหานครโตเกียว โดยมี มร.ยามาซากิ จูนิชิ ผู้จัดการศูนย์ฯ เป็นผู้นำชม ศูนย์เรียนรู้ภัยพิบัติของมหานครโตเกียว ศูนย์เรียนรู้ภัยพิบัติของมหานครโตเกียว เป็นศูนย์ที่ทางรัฐบาลญี่ปุ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้งขึ้นเมื่อ 6 ปีที่แล้ว โดยรัฐบาลญี่ปุ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลังเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเมืองโกเบ เมื่อปี 2538 ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเอาตัวรอด ตลอดจนการเตรียมพร้อมเมื่อเกิดภัยพิบัติให้กับประชาชนจนกว่าจะได้รับความ ช่วย เหลือ โดยเปิดให้นักเรียน และประชาชนผู้สนใจทั่วไปได้เข้าไปเรียนรู้เป็นหมู่คณะ ผ่านสถานการณ์แผ่นดินไหวจำลอง เริ่มตั้งแต่เหตุเกิดครั้งแรกจนกระทั่งได้รับความช่วยเหลือ โดยให้ผู้เรียนรู้แต่ละคนเล่นเกมนินทาโด้ เพื่อตอบคำถามวิธีการรับมือภัยพิบัติ และวิธีเอาตัวรอดในขณะอยู่ในสถานการณ์ ตลอดจนช่องทางการขอความช่วยเหลือ เมื่อจบเกมจะรวมคะแนนที่ได้ตอบในแต่ละคำถาม ซึ่งจะทำให้รู้ว่าใน 72 ชั่วโมง ผู้เล่นจะสามารถเอาตัวรอดได้หรือไม่ โดยผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 85 คะแนนขึ้นไป สามารถมีชีวิตรอดได้อย่างปลอดภัย 60 คะแนน ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ต่ำกว่า 60 ได้รับบาดเจ็บสาหัส และหากน้อยกว่า 50 จะไม่สามารถมีชีวิตรอดได้ ศูนย์เรียนรู้ภัยพิบัติของมหานครโตเกียว นอกจากนี้ภายในศูนย์ฯ ยังได้มีการจำลองสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้เพื่อให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตให้ ได้ภายใน 72 ชั่วโมง จนกว่าหน่วยกู้ภัยจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือ อาทิ อาหาร น้ำ สิ่งของที่จำเป็นอื่นๆ ตลอดจนจุดหลบภัยที่จะทำให้ได้รับความปลอดภัยเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น มร.ยามาซากิ จูนิชิ ผู้จัดการศูนย์ฯ ให้ข้อมูลว่า ศูนย์ฯ แห่งนี้ นอกจากจะเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลให้ความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติและประสานแจ้ง เตือนประชาชนแล้วยังเป็นศูนย์บัญชาการที่ผู้นำประเทศใช้เป็นฐานสั่งการให้ ความช่วยเหลือประชาชนเมื่อเหตุการณ์ภัยพิบัติด้วย โดยมีการแบ่งสายงานออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ การหาข้อมูลผ่านเฮลิคอปเตอร์ และกองบัญชาการ ซึ่งการทำงานจะทำร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แม้ว่าญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่เกิดเหตุภัยพิบัติบ่อยครั้ง และมีการสูญเสียจำนวนมาก แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ประเทศสามารถฟื้นตัวได้เร็ว เพราะความมีระเบียบวินัยของประชากร และการตัดสินใจที่เฉียบขาดของผู้นำ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลา จึงทำประเทศญี่ปุ่นอยู่กันได้อย่างสงบสุข ขอบคุณ... http://www.banmuang.co.th/2013/10/เรียนรู้การเอาตัวรอดจา/ ( บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ต.ค.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)